ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องสถานการณ์ประชากรไทยลดลง ใกล้วัน ‘คนเกิด-คนตาย’ เท่ากัน  (อ่าน 303 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เคยคาดการณ์ไว้ว่าประเทศไทยจะมีประชากรถึง 70 ล้านคน แต่สถานการร์วันนี้อาจไม่เป็นอย่างนั้น หาคำตอบในงานครบรอบ 50 ปี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม จัดภายใต้หัวข้อ “50 ปี: ประชากรที่เปลี่ยนไป”

 ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ต้องถือว่าสถานการณ์ประชากรไทยเปลี่ยนแปลงไปมากมาย อย่างเทียบกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว หรือปี พ.ศ.2513 ไทยมีประชากร 34.4 ล้านคน จนมาปี 2564 ไทยมีประชากรเพิ่มเป็น 66.5 ล้านคน

ทั้งนี้ เมื่อดูในรายละเอียดจะพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรไทย จากปรากฏการณ์คนเกิดน้อยลง และคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น โดยข้อมูลพบว่า ในอดีตไทยมีสัดส่วนประชากรเด็กเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 45 หรือเกือบครึ่งของประชากรทั้งหมด แต่ปัจจุบันประชากรเด็กมีสัดส่วนร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด ขณะเดียวกันแต่ก่อนประชากรสูงอายุมีน้อยมาก ประมาณร้อยละ 4.9 แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนร้อยละ 18 หรือเรียกว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แล้ว และอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือมีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด

  “นับเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี ที่อัตราการเกิดของคนไทยลดต่ำกว่า 6 แสนคนต่อปี โดยข้อมูลปี 2563 พบว่ามีเด็กไทยเกิด 5.8 แสนคนต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีทิศทางลดลงไปอีก โดยเฉพาะในเวลาไม่เกิน 10 ปีจากนี้ อัตราการเกิดคนไทยจะลดลงต่ำกว่า 5 แสนคนแน่นอน ขณะที่ปัจจุบันไทยมีอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี หรือแทบจะไม่เพิ่มเลย ต่างจากในอดีตอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี”

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ยังฉายสไลด์ข้อมูลสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และสำนักบริการการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย พบแนวโน้มอัตราการเกิดและอัตราการตายของประเทศไทย จะมาเท่ากันประมาณปี 2567 จากนั้นอัตราการตายจะสูงกว่าอัตราการเกิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าตกอกตกใจแต่อย่างใด เพราะอัตราการเกิดที่น้อย ไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของการเกิด เช่น การเกิดจากความตั้งใจ เกิดอย่างมีแผน เพื่อปูทางสู่การเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต

ส่วนข้อกังวลว่าเกิดน้อยแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต  ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์มองว่า สามารถหาแรงงานประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนได้ อีกทั้งใช้ เครื่องจักร เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์มาเสริมได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ประชากรรุ่นเกิดเกินล้านคนต่อปี หรือเกิดระหว่างปี พ.ศ.2506-2526 พบว่า 2 ปีข้างหน้า จะทยอยเข้าสู่วัยสูงอายุจนหมดปีละเกือบ 2 ล้านคน ในะเวลา 20 ปี จะทำอย่างไรต่อไป

7ธค2564
มติชน