ผู้เขียน หัวข้อ: ดราม่าสะเทือน!วงการแพทย์จบใหม่ สธ.คลอดเกณฑ์สุดแปลก ใครสอบประเมินได้ลำดับที่1-425  (อ่าน 959 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เกิดกระแสวิพากษ์​วิจารณ์ ตลอดจนการแสดงความไม่พอใจและการประกาศจุดยืนคัดค้านขึ้นในกลุ่ม “นักศึกษาแพทย์จบใหม่” อย่างกว้างขวาง ภายหลังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดย กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัด สธ. ได้ออกเกณฑ์ “การคัดเลือกเพื่อบรรจุแพทย์ผู้ทำสัญญาชดใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2565 เข้ารับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ” (https://hr.moph.go.th/site/hr_moph/?page_id=229607)

เกณฑ์ดังกล่าว ระบุถึงรายละเอียดการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ สังกัดสำนักงาน สธ. รอบที่ 1 โครงการทั่วไป (จับสลาก)

กระแสความไม่พึงพอใจเกิดขึ้นทันทีหลังมีการเผยแพร่เกณฑ์ข้างต้นออกมา นั่นเพราะสาระสำคัญในเกณฑ์นี้ ได้สร้างผลกระทบต่อนักศึกษาแพทย์จบใหม่ที่กำลังจะ “เลือกสถานที่ใช้ทุน” เนื่องจากมีการกำหนดเกณฑ์การเลือกสถานพยาบาลที่สุ่มเสี่ยงต่อความไม่เป็นธรรมขึ้น

ประกาศได้ระบุถึง “เกณฑ์การตัดสิน” ไว้ตอนหนึ่งว่า ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนรวมการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 อยู่ในลำดับที่ 1-425 เท่านั้น โดยแบ่งสัดส่วนของคะแนนขั้นตอนที่ 1 : ขั้นตอนที่ 2 ออกเป็น 40:60

ในกรณีที่มีคะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนสอบขั้นที่ 2 มากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าคะแนนการสอบขั้นตอนที่ 2 เท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจำตัวสมัครเข้ารับการคัดเลือกก่อน เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า

นอกจากนี้ ประกาศยังได้ระบุถึง “การเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุน” โดยเขียนเอาไว้ว่า ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและมีคุณสมบัติครบถ้วน คือได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมากแพทยสภา ภายในวันที่ 2 พ.ค. 2565 จะดำเนินการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุน โดยแบ่งตามรอบการแสดงความจำนงและจัดสรรพื้นที่เท่ากับแพทย์ผู้ทำสัญญาฯ ที่มีสิทธิ์เลือกพื้นที่ทั้งหมดโดยรอบที่ 1 มีสิทธิเลือกพื้นที่ก่อน สำหรับรอบที่ 2-3 ให้เลือกพื้นที่ที่เหลือตามลำดับ (https://drive.google.com/file/d/1TZxaNvpvbiQpaon05QoTwOtjYDqL9_rb/view?usp=drivesdk))

ที่ผ่านมา การประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะเป็นเพียงการสอบเพื่อพิจารณาว่า “ผ่าน-ไม่ผ่าน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากเป็นการจัดสอบวัดความรู้ขั้นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้นผลการสอบจึงใช้สำหรับประเมินว่า “ผ่าน หรือ ตก” แต่ไม่ได้เปรียบเทียบว่า “ใครเก่งกว่าใคร” หรือใครมีความสามารถที่มากกว่า ด้วยเนื้อหาข้อสอบไม่ครอบคลุมความรู้ขั้นสูงในโรคหรือภาวะที่ซับซอน

มากไปกว่านั้น การเลือกสถานที่-สถานพยาบาลเพื่อใช้ทุนนั้น ในอดีตจะเป็นไปอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันด้วยวิธีการ “จับสลาก” โดยพร้อมเพรียง

ไม่เคยมีกรณีการใช้คะแนนเปรียบเทียบเพื่อจัดลำดับคนในการให้สิทธิ “เลือกก่อน”

นั่นทำให้นักศึกษาแพทย์จบใหม่ ตลอดจน “อาจารย์แพทย์” หลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านแนวทางนี้อย่างรุนแรง

ผู้ช่วย ศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ สาขานิติเวชวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า ไม่เห็นด้วยมากๆ กับประกาศนี้ โดยประกาศนี้มีผลกระทบมากๆ กับนักศึกษาแพทย์จบใหม่ที่กำลังเลือกสถานที่ใช้ทุนมากๆ เนื่องจากมีกำหนดเกณฑ์ให้คนที่ได้คะแนนสอบการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดีสุดแค่ 425 คนแรกได้รับการจับสลากก่อนคนอื่น

“ที่ไม่เห็นด้วยเพราะผลการสอบ ศ.ร.ว. (ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม) ของนักศึกษาแพทย์เอาเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่านอย่างเดียว ไม่ควรเอาคะแนนมาเปรียบเทียบ นอกจากนี้ประกาศนี้มาหลังจากนักศึกษาแพทย์สอบเสร็จไปแล้วด้วยครับ ไม่ได้เป็นการตกลงกันก่อนมีการสอบเลย

“ปล. ปีนี้เป็นปีแรกที่ใช้ระบบแบบนี้ สรุปถ้าจะให้แก้ก็คือทุกคนที่จะใช้ทุน ควรจับสลากพร้อมกันครับ ไม่ควรให้แค่ 425 คนแรกได้จับก่อน” ผู้ช่วย ศ.นพ.สมิทธิ์ ระบุ

สอดคล้องกับ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 3 พ.ย. แสดงความคิดเห็นดังนี้

“ประสบการณ์ส่วนตัว ผมเองก็ผ่านการจับสลากใช้ทุนเหมือนหมอจบใหม่ส่วนใหญ่ จำได้ว่าเป็นปีแรกที่นำเอาระบบ intern กลับมาใช้ใหม่แบบที่ต้องมีการเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 1 ปี ก่อนออกไปใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) อีก 2 ปีที่เหลือ

“แม้ส่วนตัวจะไม่เคยเห็นด้วยกับการจับสลากใช้ทุน คิดว่ามันเป็นระบบที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการกระจายแพทย์เลย หลักฐานก็เห็นอยู่ผ่านมา 40-50 ปีที่มีการจับสลากใช้ทุน แพทย์ใน รพช.จังหวัดต่างๆ ก็ไม่เคยพอต้องอาศัยพึ่งน้องๆ แพทย์จบใหม่วนเวียนมาทำงานตามพันธะ 3 ปีแล้วก็ไปตลอดมา เข้าใจได้ว่าระบบ negative reinforcement (บังคับจัดแพทย์ลงตาม slot ที่ว่าง ไม่ใช้ทุนก็ใช้เงิน) มันทำง่ายกว่า positive reinforcement (สร้างระบบหรือแรงจูงใจที่ดีในการดึงดูดให้แพทย์อยากมาใช้ทุน) แต่ในเมื่อรัฐไม่เคยคิดจะเปลี่ยน mindset ระบบการจับสลากย่อมง่ายและยุติธรรมสุด

“อย่างไรก็ดี การตัดสินใจเปลี่ยนเกณฑ์จัดสรรแพทย์จบใหม่แบบฉับพลัน โดยวิธีอิงคะแนนสอบ นอกจากจะไม่ช่วยทำให้การจัดสรรแพทย์ดีขึ้น ยังก่อให้เกิดปัญหาและสร้างความแตกแยกในหมู่แพทย์จบใหม่ด้วยกันเอง แถมยังซ้ำเติมการขาดแคลนให้หนักขึ้น เมื่อหลายคนที่รู้ชะตาชีวิตตนเองอาจเลือกจะใช้เงินไปก่อนเลย นอกจากนี้ยังผิดหลัก common sense ที่ควรต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้สิ่งเหล่านี้ก่อน เพื่อให้เขาสามารถวางแผนหรือปรับเปลี่ยน/ปรับปรุงเพื่อทำคะแนนได้ เช่น การสอบแล้วใช้คะแนนพิจารณารับแบบ Entrance/Admission หรือการประกวดต่างๆ การประกาศเกณฑ์แบบนี้ไม่เปิดโอกาสให้แพทย์จบใหม่ได้พยายามปรับปรุงคะแนนสอบตัวเองได้เลย ไม่ต่างอะไรกับการมัดมือชก

“ผู้มีอำนาจหน้าที่น่าจะได้รับ feedback ไปไม่น้อยแล้ว ปรับเปลี่ยนเถอะครับ อย่างน้อยกลับไปใช้วิธีเดิมในปีนี้ แล้วค่อย ๆ พัฒนาวิธีให้ดีขึ้นในปีถัดไป ที่สำคัญ สื่อสารให้เด็กๆ รับทราบก่อนครับ”

ทางด้าน ผศ.ดร.พญ.มยุรี หอมสนิท อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ช่วยคิดให้รอบคอบก่อนสั่งการใดๆ ด้วยว่าสิ่งที่ทำจะเกิดผลกระทบอะไรต่อวงการแพทย์ ต่อแพทยศาสตร์ศึกษาบ้าง สิ่งที่ทำจะส่งผลให้เกิดการแข่งขัน การเรียนแบบตัวใครตัวมัน เอาตัวรอดเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจ performance ในการทำงานที่ในชีวิตจริงสำคัญที่สุด แต่ผู้เรียนอาจไม่ให้ความสำคัญเพราะมุ่งเป้าในการทำคะแนนหรือเปล่า ถ้าเช่นนั้นเราจะได้หมอที่ดี ที่เห็นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจี่สองอย่างนั้นหรือ

“สิ่งใดๆ ที่จะตัดสินใจสั่งการในเรื่องของส่วนรวม ไม่ควรเอาความเห็นส่วนตัวหรือของคนส่วนน้อยเป็นตัวกำหนด การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมา ทุกอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ ควรคิดแบบ system thinking" ผศ.ดร.พญ.มยุรี ระบุ

ล่าสุด นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่า ขณะนี้รับทราบเรื่องกรณีการจัดสรรแพทย์ใช้ทุนที่มีปัญหาแล้ว โดยจะทำเรื่องขอทราบข้อเท็จจริงจากผู้รับผิดชอบ และขอให้ทบทวนในประเด็นที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแพทย์จบใหม่ต่อไป

3 พฤศจิกายน 2564
https://www.thecoverage.info/news/content/2651

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นายกแพทยสภาทำหนังสือถึง ปลัด สธ. ขอให้ทบทวนคะแนนสอบ NL กรณีคัดเลือก " นักศึกษาแพทย์จบใหม่" ใช้ทุนจับสลากเลือกโรงพยาบาล หลังดราม่าหนักหวั่นกระทบหมอใหม่

วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564  ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุข (สธ)  กรณีเรื่อง ขอให้ทบทวนการให้คะแนนการสอบของ ศร. มาคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรียน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเกณฑ์ลายละเอียดการคัดเลือกเพื่อบรรจุและ แต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ โดยในข้อ 8 กําหนดเกณฑ์การตัดสินดังนี้

การประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.) ขั้นตอนที่ 1 คือ 40 คะแนน ขั้นตอนที่ 2 คือ 60 คะแนน รวมทั้งหมด 100 คะแนน

ในกรณีที่มีคะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ใด้คะแนนการสอบขั้นตอนที่ 2 มากกว่า เป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่า ถ้า คะแนนการสอบขั้นตอนที่ 2 เท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจําตัวสมัครเข้ารับการคัดเลือกก่อนเป็นผู้อยู่ในลําดับที่ สูงกว่า

แพทยสภาขอเรียนให้ทราบว่า การสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของ ศรว. เป็นการจัดสอบเพื่อวัดความรู้ขั้นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและได้ผลการสอบเป็น ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน เท่านั้น ตรว. ยังได้แจ้งให้ผู้เข้าสอบทราบด้วยว่า ไม่ควรใช้คะแนนเพื่อเปรียบเทียบว่า ผู้สอบคนใดมี ความสามารถเหนือว่าผู้เสยบคนอื่น เนื่องจากเนื้อหาข้อสอบไม่ครอบคลุมความรู้ชั้นสูงในโรคหรือภาวะที่ซับซ้อน ดังนั้น ข้อกําหนดในการคัดเลือกบุคคลดังกล่าวข้างต้นจึงไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาทบทวนข้อกาหนดดังกล่าว โดยไม่ใช้คะแนนของการสอบเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ของ ศรว. ในการจัดลําดับเพื่อบรรจุ แพทย์เข้ารับราชการ จักเป็นพระคุณยิ่ง

Thu, 2021-11-04  -- hfocus

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เชื่อจริง ๆ หรือ ว่าคะแนนสอบสามารถแยกแยะความสามารถในการทำงานได้
เคยราวน์วอร์ดกับ resident 1 ที่จบ พบ. ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 คนไข้ที่ราวน์มาที่ ER ด้วย shock ได้รับการรักษาเบื้องต้นที่แพทย์เวรประมาณ 2 วัน ก็ admit มาที่วอร์ด ซึ่งมาถึงวอร์ดอาการก็ดีขึ้นแล้ว
ถามว่า
"ตอนมา BP เท่าไหร่คะ"
"baseline BP เท่าไหร่คะ"
"volume status เป็นอย่างไร perfusion เป็นอย่างไร"
"ได้ fluid อะไร ปริมาณเท่าไหร่ ในเวลากี่ชั่วโมง urine ออกเท่าไหร่ BUN, creatinine เป็นอย่างไรบ้าง"
ทั้งหมดที่ถามคือตอบไม่ได้ ต้องเปิด chart ดูตลอด ถามไปถามมา แทนที่เธอจะรู้สึกตัวว่าเธอเก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน ยังดูคนไข้ไม่ละเอียด เธอกลับไม่พอใจที่ถูกถาม สะบัดเสียงใส่ว่า
"ไม่ทราบค่ะ หนูไม่ใช่คนดูคนไข้ที่ ER"
เลยอบรมใหญ่ไป 1 รอบ
น้องอีกคนหนึ่งจบช้ากว่าเพื่อน ต้อง add ward หลังจบไปทำงาน เมื่อกลับมารับปริญญาทางคณะฯ ได้มีการสอบถามผู้ใช้บัณฑิต ว่ามีความเห็นอย่างไรต่อบัณฑิตแพทย์ที่จบออกไปบ้าง ปรากฎว่าน้องคนนี้ได้รับคำชมอย่างมาก คำชมที่ไม่ใช่คำตอบแบบ rating scale ที่ให้เลือก แต่เป็นคำชมที่คนชมตั้งใจเขียนตอบในช่องแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม และคำชมนี้ไม่ได้มาจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว แต่มาจากผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย
ผู้ใหญ่ที่ออกคำสั่งในเรื่องการเลือกที่ใช้ทุน โดยเอาคะแนน NL มาเป็นตัวตั้ง ไม่ทราบว่ามี rationale หรือ justification อย่างไร ถ้าหากเคยทำเวชปฏิบัติแล้วยังไม่ลืมชีวิตการทำงานช่วงนั้น ก็น่าจะเข้าใจว่าคะแนนไม่ใช่ตัวบอกความสามารถในการทำงาน แค่บอกว่าทำข้อสอบเก่งเท่านั้น
คงต้องย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ของการสอบ NL ด้วย ว่าสอบเพื่ออะไร ถ้าหากสอบเพื่อประเมินว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ การนำผลการสอบมาใช้ก็ควรเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ถ้าจะชุบมือเปิบเอาสิ่งที่ตนเองไม่ได้ลงทุนลงแรงมาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการทำสิ่งนั้น โดยไม่มีเหตุผลที่ฟังขึ้น และไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ก็เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม หากจะทำเช่นนี้จริงก็ควรจัดสอบเอง หรือประสานกับ ศรว. ก่อน แล้วก็ต้องแจ้งล่วงหน้า ก่อนนิสิตนักศึกษาแพทย์สอบ NL1 ด้วยซ้ำ
และช่วยคิดให้รอบคอบก่อนสั่งการใด ๆ ด้วย ว่าสิ่งที่ทำจะเกิดผลกระทบอะไรต่อวงการแพทย์ ต่อแพทยศาสตร์ศึกษาบ้าง สิ่งที่ทำจะส่งผลให้เกิดการแข่งขัน การเรียนแบบตัวใครตัวมัน เอาตัวรอดเพื่อให้ได้คะแนนสูง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจ performance ในการทำงานที่ในชีวิตจริงสำคัญที่สุด แต่ผู้เรียนอาจไม่ให้ความสำคัญเพราะมุ่งเป้าในการทำคะแนนหรือเปล่า ถ้าเช่นนั้นเราจะได้หมอที่ดี ที่เห็นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจทึ่สองอย่างนั้นหรือ
สิ่งใด ๆ ที่จะตัดสินใจสั่งการในเรื่องของส่วนรวม ไม่ควรเอาความเห็นส่วนตัวหรือของคนส่วนน้อยเป็นตัวกำหนด การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมา ทุกอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ ควรคิดแบบ system thinking
ไม่ทราบว่าท่านทั้งหลายที่มีส่วนในการทำให้เกิดคำสั่งนี้ออกมา ได้ GPA เท่าใดกันบ้าง

3ตค2564
Facebook : Mayuree Homsanit
https://web.facebook.com/100003577967320/posts/4317594148369808/?sfnsn=mo&_rdc=1&_rdr