ผู้เขียน หัวข้อ: ถอดบทเรียนสิงคโปร์ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มสูงสุดระดับโลกแต่กลับระบาดหนักสูงที่สุด  (อ่าน 322 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สิงคโปร์และประเทศไทยเป็น 2 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยถูกจับตามองว่ามีความพยายามที่จะอยู่กับโรคโควิด-19 ให้ได้

เพราะความยากสำหรับในเรื่องโรคระบาดตลอด 2 ปีที่ผ่านมาคือ กระบวนทัศน์ในการหยุดโรคระบาดมักมาพร้อมกับทำลายทางเศรษฐกิจ และแรงกดดันนี้ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้เดินหน้าในการแย่งวัคซีนมาให้ประชาชนของประเทศตัวเองฉีดวัคซีนให้มากที่สุด

คำถามที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือวัคซีน คือหัวใจที่จะนำไปสู่การ“ป้องกันโรค”ได้จริงหรือไม่?

ในช่วงที่ผ่านมา แพทย์ทั้งหลายที่รณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนในประเทศไทยพยายามเลี่ยงคำตอบนี้ด้วยการ“ส่งสัญญาณ”โดยใช้คำว่า“วัคซีนไม่ได้ป้องกันได้100 เปอร์เซนต์”!!!?

การส่งสัญญาณว่าวัคซีนป้องกันโควิด-ไม่ได้ หรือวัคซีนป้องกันได้น้อยมาก จะมีความหมายต่างจากการส่งสัญญาณคำว่า “วัคซีนไม่ได้ป้องกันได้100 เปอร์เซนต์”

ด้วยการส่งสัญญาณเช่นนี้ ย่อมทำให้ประชาชนหลายคนเข้าใจไปได้ว่า วัคซีนช่วยป้องกันเกือบ 100 เปอร์เซนต์หรือไม่?

เพราะถ้าผู้ที่ฉีดวัคซีนเข้าใจว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100 เปอร์เซนต์เช่นนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนก็มีโอกาสที่จะการ์ดตกระวังตัวน้อยลง สวมหน้ากากอนามัยน้อยกว่าเดิม เว้นระยะห่างน้อยกว่าเดิม จริงหรือไม่?

และถ้าไม่ต้องเว้นระยะห่างได้จริงก็แปลว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นด้วย เพราะมีประชาชนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กัน และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น จริงหรือไม่?

แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นกลับไม่เป็นเช่นนั้น ประเทศต้นแบบที่เชื่อกันแต่เดิมว่าได้หยุดการระบาดจากวัคซีนได้แล้วตั้งแต่ระลอกเดือนพฤศจิกายน 2563-กุมภาพันธ์ 2564 ประเทศเหล่านั้นกลับมาระบาดหนักยิ่งกว่าเดิมในระลอกเดือนมิถุนายน-2564 ทั้งอิสราเอล สหราชอาณาจักร โดยข้ออ้างหรือเหตุผลที่ว่า “เชื้อกลายพันธุ์”เป็นสายพันธุ์เดลต้า

ทั้งๆ ที่ในช่วงเวลาที่ระบาดหนักในช่วงมิถุนายน-สิงหาคม 2564 นั้น ทั่วโลกมีการเดินทางไปมาหาสู่กันน้อยมาก!!!!
ปรากฏการณ์ผู้ติดเชื้อลดลงในอิสราเอลและสหราชอาณาจักรในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จนกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ (ชั่วคราว) ได้กลายเป็นความหวังของคนทั่วโลกว่า วัคซีนอาจจะเป็นทางออกของการป้องกันการติดเชื้อได้

ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าประเทศไทยทั้งมาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ต่างระดมเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้รวดเร็วกว่าประเทศไทยอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามอัตราการติดเชื้อต่อประชากร 1 ล้านคน กลับมากกว่าประเทศไทย อย่างเห็นได้ชัด

ดังตัวอย่างการรายงานของเว็บไซต์“Our World in Data”ได้เปรียบเทียบเมื่อวันที่ 26ตุลาคม 2564พบว่า

สิงคโปร์ ฉีควัคซีนครบ 2 เข็มแล้วมากถึงร้อยละ 80 และฉีดแล้วแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 1 ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าฉีดวัคซีนเร็วและมากที่สุดในภูมิภาค แต่กลับมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 590.4 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

โดยเฉพาะนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 มาจนถึงปัจจุบันนั้น สิงคโปร์ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เพียงแค่การระบาดมากที่สุดในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเลขระบาดต่อจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่การกำเนินโควิด-19 ที่ผ่านมาของสิงคโปร์เอง

ความรุนแรงของการระบาดโรคโควิด-19 นั้น สิงคโปร์ถึงขั้นต้องกลับลำจากควาหวังว่าจะอยู่ร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ มาเป็นการใช้มาตรการมาปิดเมืองและควบคุมเข้มงวดอีกครั้ง และประกาศว่า“ชีวิตคนสำคัญกว่าเศรษฐกิจ”

มาเลเซีย ฉีควัคซีนครบ 2 เข็มแล้วมากถึงร้อยละ 73 และฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 4.2 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26ตุลาคม 2564อยู่ที่ 175.9 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

บรูไน ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วร้อยละ 55 และฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 24 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26 ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 448.88 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

แต่ประเทศไทยฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วร้อยละ 41 และฉีดแล้วแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 17 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26 ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 130.56 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

ตัวอย่างกรณีศึกษาข้างต้นเห็นได้ชัดเจนว่าสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ซึ่งฉีดวัคซีนเร็วกว่าและมากกว่าประเทศไทยกลับมีอัตราการติดเชื้อมากกว่าประเทศไทยทั้งส้ิน !!!

ในทางตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาในประเทศภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการรวบรวมข้อมูลในระดับน่าเชื่อถือในประเทศที่ฉีดวัคซีน “น้อยกว่า” ประเทศไทย เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม กลับพบว่ามีอัตราการติดเชื้อต่อประชากรน้อยกว่าประเทศไทย ดังนี้

อินโดนีเซีย ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 25 และฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 16 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 2.48 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
เวียดนาม ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 22 และฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 32 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 37.72 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
ฟิลิปปินส์ ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 19 และฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบอีกร้อยละ 5.8 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ณวันที่ 26ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 43.66 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

ตลกร้ายหรือไม่ ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ประเทศที่ระดมเร่งฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเร็วกว่าและมากกว่าประเทศไทย โควิด-19 กลับมาระบาดยิ่งกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศซึ่งฉีดวัคซีนช้ากว่าและน้อยกว่าประเทศไทย กลับให้ผลตรงกันข้ามคือมีการระบาดน้อยกว่าประเทศไทย

ความจริงข้างต้น จึงสั่นคลอนความเชื่อเดิมๆที่ระบุว่าวัคซีนจะช่วยป้องกันโรคอาจไม่ได้เป็นความจริงอีกต่อไป

ข้อสำคัญภูมิปัญญาเดิมของการแพทย์แผนไทยและอายุรเวทอินเดียที่เชื่อเรื่องอิทธิพลของฤดูกาล ดูอาจจะมีน้ำหนักมากกว่า

เพราะ “ลูกคลื่น” ที่เกิดการระบาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกรกฎาคมถึงตุลาคม 2564 ทั้งการระบาดเพิ่มขึ้น และการระบาดลดลง พร้อมใจเป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด ทั้งๆที่มีการเดินทางไปมาหากันน้อยมาก

ยกเว้นสิงคโปร์ที่มีการระดมฉีดวัคซีนมากเป็นอันดับต้นๆของโลก แล้วกลับมาระบาดหนักที่สุดในภูมิภาคและในประวัติการณ์ของสิงคโปร์ และยังไม่รู้ว่าจะมีการทุเลาลงเมื่อไหร่

“ลูกคลื่น”ของการระบาดที่สอดคล้องกันไปตามฤดูกาลนั้นส่งผลทำให้ปลายเดือนสิงหาคม 2564 การระบาดโดยรวมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทยอยทุเลาลดลงตามลำดับ

และโรคเกี่ยวกับเสมหะและทางเดินหายใจจะมีความเสี่ยงขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว อันอาจเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

ซึ่งในการแพทย์ภูมิปัญญาทั้งอายุรเวทอินเดียและประเทศไทยนั้นแม้จะมองไม่เห็นไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่การแบ่งแยกสรรพสิ่งด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงย่อมมีภูมิปัญญาที่ทำให้รู้ว่าการดำเนินของการระบาดโรคที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลด้วย

แต่หลายคนอาจจะมีความคาดหวังในเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อ“ลดความรุนแรง”ของโรคซึ่งหากจะพิจารณา“อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย”นั้นดูจะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก

เพราะอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 นั้นขึ้นอยู่กับ“คุณภาพ”ทางการแพทย์ หมายถึง“ปริมาณเตียง”และ“ความสามารถในการรองรับผู้ป่วย”ว่ามีมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการพึ่งพาโรงพยาบาล

เพราะถ้าเมื่อไหร่เกิดภาวะผู้ป่วยล้นเตียงในโรงพยาบาล ก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทันที ไม่ว่าคุณภาพในการรักษาจะมีเพียงใดก็ตาม

ดังนั้นกราฟซึ่งแสดงเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ กลับไม่พบความสัมพันธ์ของอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงในลูกคลื่นเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2564 เลย

กล่าวคือ ลูกคลื่นระบาดมากขึ้นอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยก็จะมากขึ้น ลูกคลื่นระบาดน้อยลงอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยก็จะลดลง ในขณะที่กราฟแสดงไม่เห็นความแตกต่างในเรื่องการเปรียบเทียบความสามารถในทางการแพทย์ของแต่ละประเทศ

การเปรียบเทียบดังกล่าวนี้ยังไม่สอดคล้องหรือสัมพันธ์กับอัตราการฉีดวัคซีนของประชากรว่าการฉีดวัคซีนที่ผ่านมาจะช่วยทำให้ลดอัตราความรุนแรงลงได้จริง ดังตัวอย่างข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ดังนี้
สิงคโปร์ ฉีควัคซีนครบ 2 เข็มแล้วมากถึงร้อยละ 80 (อันดับ 1 ในภูมิภาค) แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 0.44
มาเลเซีย ฉีควัคซีนครบ 2 เข็มแล้วมากถึงร้อยละ 73 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 0.98
บรูไน ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วร้อยละ 55 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 0.28
ประเทศไทย ฉีควัคซีนครบ 2 เข็มแล้วร้อยละ 41 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 0.63
อินโดนีเซีย ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 25 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 3.17
เวียดนาม ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 22 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 0.67
ฟิลิปปินส์ ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพียงร้อยละ 19 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ร้อยละ 1.87

แม้จะดูคล้ายๆ ว่าประเทศที่ฉีดวัคซีนมากๆ จะมีอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าประเทศที่ฉีดวัคซีนน้อยกว่า…

แต่ในความจริงแล้วมาตรฐานทางการแพทย์ของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ดังนั้นหากเปรียบประเทศที่ฉีดวัคซีนมากๆดังเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ก็ไม่ได้พบว่ามีอัตราการเสียชีวิต “เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม” ก่อนฉีดวัคซีนมากนัก และช่วงที่มีการระบาดมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 ก็มีอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นด้วยซ้ำไป

ดังนั้นความเชื่อที่ว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยทำให้ความรุนแรงของโรคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงนั้น ยังเป็นข้อมูลที่ยังเลื่อนลอยและยากแก่การพิสูจน์ในขณะนี้ได้ว่าจะเป็นไปตามความคาดหวังจริงๆ

และความจริงโรคที่เกี่ยวกับไวรัสนั้นที่วัคซีนอาจจะไม่สามารถเอาชนะได้เสมอไป เพราะแม้แต่โรคเอดส์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยวัคซีน จริงหรือไม่?

ยิ่งโรคหวัดซึ่งเป็นโรคตามฤดูกาลการฉีดวัคซีนก็ยังไม่สามารถไล่ตามการกลายพันธุ์ตามฤดูกาลได้ทัน จนสยบโรคหวัดได้ จริงหรือไม่?

แต่ในอดีตสำหรับโรคระบาด (ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น) มนุษย์เราสามารถเอาชนะได้ด้วย “การรักษา” ควบคู่ไปกับการจัดการความสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน เราจึงสามารถรอดพ้นโรคระบาดของไวรัสหลายชนิดได้

เรากำลังหลงประเด็นหรือไม่ว่า การป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกันนั้นต้องอาศัยวัคซีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เรากำลังหลงลืมไปหรือไม่ว่า มนุษย์มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติตั้งแต่กำเนิดที่เรียกว่า Innate Immuntiy ซึ่งทำหน้าที่อย่างสลับซับซ้อนและชาญฉลาดในการจัดการกับการติดเชื้อจากจุลชีพทุกชนิด ผู้ป่วยทุกประเทศทั่วโลกโดยส่วนใหญ่หรือ “เกือบทั้งหมด”จึงรอดชีวิตมาได้ ตั้งแต่ยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษาโรคโควิด-19 เลย

เรื่องที่น่าตั้งข้อสังเกตุคือการฉีดวัคซีน ซึ่งมีแนวคิดในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจง (Adaptive Immunity) นั้น กำลังถูกท้าทายด้วยการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ เพราะแม้เพียงแต่การกลายพันธุ์เพียงน้อยนิดก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นอาจไม่สามารถจัดการกับเชื้อโควิด-19 ได้

สิ่งที่ดูจะไม่แฟร์สำหรับประชาชนในเรื่องวัคซีน (ซึ่งเป็นการใช้อย่างฉุกเฉินโดยข้ามขั้นตอนการวิจัยมาตรฐาน) คือ ไม่มีการรายงานเรื่องผู้ป่วยที่ติดเชื้อรายใหม่ที่ฉีดวัคซีนแล้วว่าฉีดวัคซีนไปแล้วกี่เข็ม ยี่ห้ออะไร ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนคืออะไร โดยเฉพาะข้อสงสัยเรื่องการปกปิดผลข้างเคียงและโยนความผิดไปให้โรคอื่นๆ จริงหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นเรายังไม่เคยได้รับรายงานว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เสียชีวิตทั้งๆที่ฉีดวัคซีนครบไปแล้วมีกี่คน ความจริงในข้อนี้รัฐบาลควรจะเปิดเผยมากกว่ามัวแต่จะปกป้องวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียว

เมื่อวัคซีนอันเป็นความหวังของโลกกำลังถูกบีบบังคับให้ยอมจำนนต่อฤดูกาลและกลายกลายพันธุ์ของไวรัสมากขึ้นเรื่อยๆเพื่อยอมรับว่า มนุษย์อาจป้องกันไม่ได้ด้วยวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะยอมรับความจริงและคิด “นอกกรอบ”ไปกว่า “ลัทธิวัคซีน”

ถ้าเราจะอยู่กับโควิด-19 ให้ได้ รัฐบาลและประชาชนต้องเริ่มต้นจากนำพาประชาชนให้ก้าวข้าม“ความกลัว”และให้ยอมรับว่าโควิด-19เป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้แต่เป็นโรคไม่รุนแรงทำให้ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมากเกินกว่าที่จะรับได้ (เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่)และภายใต้หลักคิดนี้ประชาชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากที่สุดและพึ่งพาโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด

จากการวิจัยในหลอดทดลองที่มากขึ้นทุกวันพบว่า ไม่ได้มีเพียงยาฟ้าทะลายโจรหรือสารสกัดกระชายขาวเท่านั้นที่จะยับยั้งเชื้อโควิด-19ในหลอดทดลองได้ แต่ยังมีสมุนไพรอีกจำนวนมากที่ออกฤทธิ์ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นตำรับยาห้าราก ยาจันทลีลา ยาครอบไข้ ยาขาว ตำรับยาของครูบาอาจารย์ ตำรับยาหมอพื้นบ้าน และตำรับยาโฮมีโอพาธีร์ ฯลฯ

ตำรับยาไทยทั้งหลายของคนที่มีศักยภาพในหลอดทดลอง ยังไม่มีโอกาสที่จะเข้าสู่ “การวิจัย”ในมนุษย์ได้ เนื่องด้วยผลประโยชน์และอคติทางวิชาชีพที่คอยกีดกั้นอยู่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในการผลักดันในทุกหนอทางอย่างเป็นรูปธรรม

ถึงแม้สมมุติว่าตำรับยาไทยได้ผล แต่ต้องอาศัยจำนวนสมุนไพรเป็นเครื่องยาจำนวนมาก จึงยังต้องการได้รับการแก้ปัญหาในเรื่อง “คุณภาพ”วัตถุดิบที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูหรือพัฒนาอย่างเป็นระบบซึ่งอาจทำให้ตำรับยาไทยเหล่านี้เสียชื่อเสียงด้วยอวิชชาอคติและกิเลสของมนุษย์ได้

“ยาฟ้าทะลายโจร”จึงเป็นสมุนไพรตัวเดียวที่หาง่ายคุมคุณภาพได้ง่ายปลูกขึ้นง่ายจึงแก้ไขปัญหาการขาดแคลนได้อย่างรวดเร็วเข้าถึงง่ายราคาถูกประชาชนจะพึ่งพาตัวเองได้แต่ก็มีศัตรูกับผลประโยชน์ของบริษัทยารอบด้าน

และเนื่องจากฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและเป็นยาสามัญประจำบ้านมาอย่างยาวนานในการแก้โรคหวัด และยับยั้งไวรัสโดยภาพกว้าง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองและส่งสัญญาณการวิจัยอย่างเป็นระบบอย่างจริงจังและจริงใจ

และถ้าเราจะอยู่กับโควิด-19 ให้ได้ ต้องให้ประชาชนพึ่งพาโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด และพึ่งพาตัวเองไห้มากที่สุด ด้วยหลักการดังนี้

ประการแรก เป็นโรคที่สามารถรักษาได้
ประการที่สอง เป็นโรคที่สามารถรักษาง่าย
ประการที่สาม ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวยาได้ง่าย
ประการที่สี่ ราคาไม่แพง หรือแม้แต่กระทั่งสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องเสียเงินเลย

ด้วยปริมาณยาที่ถูกกำหนดเอาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติของผงยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาโรคหวัดนั้น 6-12 กรัมต่อวันเป็นเวลา 5 วัน หากสามารถถูกพัฒนาไปสู่การพิสูจน์ปริมาณยาในการใช้กับโรคโควิด-19 ได้เหมือนกัน จะทำให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนอันสำคัญในการก้าวข้าม “ความกลัว”ได้

ถ้าทำได้แปลว่าเรากำลังจัดการกับโรคนี้ได้ไม่ต่างจากโรคหวัดธรรมดาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ เพราะเพียงแค่มีอาการก็รีบใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทันทีโดยไม่ต้องตรวจเชื้อด้วยซ้ำไป (เนื่องด้วยเพราะใช้ปริมาณยาไม่ต่างกัน)

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่ประชาชนที่พึ่งพาตัวเองได้ มีแนวโน้มจะเป็นไปได้มากที่สุดในฐานะเป็นยาที่ “ใช้ทันทีเมื่อมีอาการ”โดยไม่ต้องรอตรวจด้วยซ้ำไป

ด้วยหลักฐานและข้อมูลการทดสอบในผู้ป่วยเบื้องต้น ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพบว่ายาฟ้าทะลายโจรช่วยลดภาวะการปอดอักเสบได้ร้อยละ 93

หรือสถิติการใช้ยาฟ้าทะลายที่เรือนจำทั่วประเทศไทยแล้วพบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยรวมกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยนอกเรือนจำทั้งปะเทศ

หรือข้อมูลเบื้องต้นในการให้ยาฟ้าทะลายโจรแล้วหายเร็วป่วยกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ 4 วัน ทั้งๆที่ใช้เพียง 4.8 กรัมต่อวันในเรือนจำกรุงเทพ(ซึ่งน้อยกว่าปริมาณยาในไข้หวัดธรรมดา)

รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของวัดสะพาน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานครที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรและสมุนไพรหลายชนิดแล้วพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตต่ำมาก เพราะเสียชีวิตเพียง 1 คนเท่านั้น(ร้อยละ 0.02) จากผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 4,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นสถิติอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าแทบทุกประเทศที่เป็นต้นแบบของฉีดวัคซีนทั้งสิ้น

จากข้อมูลข้างต้นนี้ ยาฟ้าทะลายโจร และตำรับยาไทยทั้งหลาย จึงไม่เพียงควรค่าแก่การทลายการกีดกั้นการวิจัยเท่านั้น แต่ต้องกำหนดเป็นการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติด้วยให้วิจัยสำเร็จอย่างจริงจังด้วย

จากข้อมูลของ“มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน”ซึ่งได้จัดทำโครงการแจกยาฟ้าทะลายโจรต้านภัยโควิด-19ตั้งแต่กรกฎาคมถึงตุลาคม 2564กว่า 32ล้านแคปซูลจึงทำให้ได้รับความจริงว่ามีผู้ป่วยโควิด-19จำนวนมากกำลังเป็น “กบฏฟ้าทะลายโจร”ด้วยการ “ไม่รายงานภาครัฐ”และเลือกหนทางในการพึ่งพาตัวเองด้วยการกินฟ้าทะลายโจรทันทีเมื่อมีอาการแทนการไปโรงพยาบาลแล้วถูกกีดกั้นไม่ไห้ได้รับยาฟ้าทะลายโจร และหายป่วยไปแล้วจำนวนมาก และมีการบอกต่อๆกันไปแล้วทั่วประเทศ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงปรากฏเป็นตัวเลขและสถิติที่รู้กันดีว่า ปัจจุบันด้วย“สัดส่วนการตรวจพบเชื้อเทียบกับจำนวนที่ตรวจ”ของประเทศไทยที่สูงอยู่ในระดับต้นๆของโลกแม้จะทำให้มั่นใจได้ว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากติดเชื้อแล้วไม่รายงานภาครัฐหรืออีกนัยหนึ่งประเทศไทยตรวจน้อยจึงพบผู้ป่วยน้อยทั้งๆที่มีการระบาดมากกว่าที่รายงานมาก แต่ก็ยังไม่น่าวิตกนัก

เพราะเหตุที่ว่า ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยยังคงระดับอัตราการเสียชีวิตที่ไม่สูง ไม่ล้นโรงพยาบาลแบบเดิมนั้น ก็เพราะประชาชนเร่ิมเรียนรู้ในการพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไปโรงพยาบาลน้อยลง และรู้จักยาฟ้าทะลายโจร ตำรับยาไทย วิตามิน ออกกำลังกาย รมควันด้วยสมุนไพร ฯลฯ

และความแตกต่างนี้เองทำให้ประเทศไทยมีความแตกต่างจากสิงคโปร์ และจะเริ่มมีความคล้ายคลึงกับประเทศอินเดียและจีน ที่ประชาชนพึ่งพาตัวเองด้วยสมุนไพรได้มากขึ้นและมีรายงานสถิติของผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดน้อยลงอย่างมาก อัตราการเสียชีวิตก็อยู่ในระดับต่ำด้วยเช่นกัน

แม้รัฐบาลอาจจะไม่มีความชัดเจนในเรื่องวิสัยทัศน์นี้ แต่ประชาชนเมื่อมีความรู้และปัญญามากพอ ก็จะพากันเป็นกบฏฟ้าทะลายโจรก้าวข้ามฝ่าความกลัว พึ่งพาตัวเองและอยู่กับโควิด-19 ได้ในที่สุด

มาร่วมกันสั่งสมอาวุธทางปัญญาและยาฟ้าทะลายโจร เพื่อเตรียมจัดตั้งขบวนการ ”กบฏฟ้าทะลายโจร” เพื่อรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้ ให้เพียงพอตั้งแต่วันนี้เถิด

ด้วยความปรารถนาดี

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

29 ต.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์