หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์

กรมอนามัยเผยสิ่งที่เกิดขึ้น หลังใช้ภาษีน้ำตาล มา 4 ปี

(1/1)

story:
กรมอนามัย เผยผลที่เกิดขึ้น หลังกฎหมายภาษีน้ำตาลใช้มา 4 ปี ทำให้คนไทยบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มลดลง และคนเป็นโรคอ้วนในประเทศไทยลดลง

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคฟันผุ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานของ   คนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 5 ปี จากพ.ศ. 2546 - 2552 มีการบริโภคเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.6 ส่งผลให้คนไทยได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มคิดเป็นร้อยละ 45.9 ซึ่งสอดคล้องกับความชุกของโรคอ้วนในคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไปที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2551 เป็น 37.5 ในปี 2557 อีกทั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของคนไทย คิดเป็นร้อยละ 82 ของสาเหตุการตายทั้งหมดในปี 2556

         นอกจากนี้ ในเด็กอายุ 12 ปี พบอัตราการเกิดโรคฟันผุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 57.3 ในปี 2543 จากปัญหาดังกล่าว นำมาสู่แนวคิดการจัดทำมาตรการจัดเก็บภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาวะคนไทย โดยได้มีการออกพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เครื่องดื่มผง (3 in 1) และเครื่องดื่มเข้มข้นตามปริมาณน้ำตาล

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กล่าวเสริมว่า  ผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนมาตรการจัดเก็บภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาวะคนไทย ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ได้แก่ 1. ในภาพรวม ราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่ผลิตในประเทศและนำเข้ามีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.7 และ 18.1 ตามลำดับ 2. เครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศมีสัดส่วนจำนวนชนิดของเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ในขณะที่เครื่องดื่มที่มีปริมาณ น้ำตาลสูงมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร มีสัดส่วนลดลงมากที่สุด

และ 3. สัดส่วนรายได้จากภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิตทั้งหมด ซึ่งจากการศึกษาปริมาณเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่ดื่มเฉลี่ยต่อวัน   ในกลุ่มประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2563 พบกลุ่มตัวอย่างมีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลดลงจาก 283.6 มิลลิลิตร ในปี 2561 เป็น 275.8 มิลลิลิตร ในปี 2562 หรือลดลง  ร้อยละ 2.8 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีการบริโภคลดลงสูงสุด ร้อยละ 7.2 โดยเครื่องดื่มที่มีการบริโภคลดลงมากที่สุด พบว่าเครื่องดื่มผสมโซดาแบบกระป๋องมีสัดส่วน การบริโภคลดลงมากที่สุด ร้อยละ 17.7 ตามด้วยเครื่องดื่มสมุนไพร ร้อยละ 10.0 และน้ำผลไม้แบบกล่อง ร้อยละ 9.2 ตามลำดับ

        “ การสำรวจปริมาณการบริโภคน้ำตาลของคนไทยในปี 2555 – 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ปี 2551-2560 คนไทยมีการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น แต่หลัง     การบังคับใช้พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ในการจัดเก็บภาษี เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เครื่องดื่มผง       (3 in 1) และเครื่องดื่มเข้มข้นตามปริมาณน้ำตาล ส่งผลให้คนไทยมีการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 15.3 และ 14.0 ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ และในปี 2563 พบว่าคนเป็นโรคอ้วนลดลง 9,306 คน” ทพญ.ปิยะดา กล่าว

23 ก.ย. 2564
https://www.bangkokbiznews.com/health/961725

story:
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัล United Nations Inter-Agency Task Force (UNIATF Award) on the Prevention and Control of Non-communicable Diseases ในการประชุม side event ของการประชุมองค์การสหประชาชาติ ครั้งที่ 76 ในวันที่ 22 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาผ่านระบบออนไลน์ (Web conference) โดยรางวัลที่ได้เป็นรางวัลขององค์การสหประชาชาติที่มอบให้แก่หน่วยงาน/องค์กรที่มีผลงานโดดเด่นในด้านการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากทั่วโลก ในการผลักดันนโยบาย และขับเคลื่อน ควบคุม และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามกรอบ SDGs ในปีนี้มีหน่วยงาน/องค์กร ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 19 รางวัล โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลในหมวดภาครัฐด้านสาธารณสุข ที่มีผลงานโดดเด่นในการผลักดันนโยบายภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ลดการบริโภคน้ำตาลในประชากรไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้นำผลงานดังกล่าวของกรมอนามัยไปนำเสนอ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านผลการดำเนินนโยบาย และเป็นผู้นำในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง

ทพญ. ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนมาตรการจัดเก็บภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาวะคนไทยที่ผ่านมา ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ในภาพรวมราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่ผลิตในประเทศ และนำเข้ามีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.7 และ 18.1 ตามลำดับ 2) เครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศมีสัดส่วนจำนวนชนิดของเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ในขณะที่เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร มีสัดส่วนลดลงมากที่สุด และ 3) สัดส่วนรายได้จากภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิตทั้งหมด ซึ่งจากการศึกษาปริมาณเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่ดื่มเฉลี่ยต่อวันในกลุ่มประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2563 พบกลุ่มตัวอย่างมีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลดลงจาก 283.6 มิลลิลิตร ในปี 2561 เป็น 275.8 มิลลิลิตร ในปี 2562 หรือลดลงร้อยละ 2.8 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีการบริโภคลดลงสูงสุด ร้อยละ 7.2 โดยเครื่องดื่มที่มีการบริโภคลดลงมากที่สุดพบว่า เครื่องดื่มผสมโซดาแบบกระป๋องมีสัดส่วน การบริโภคลดลงมากที่สุด ร้อยละ 17.7 ตามด้วยเครื่องดื่มสมุนไพร ร้อยละ 10.0 และน้ำผลไม้แบบกล่อง ร้อยละ 9.2 ตามลำดับ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การบริโภคหวานจนเกินพอดีของคนไทยเป็น 1 ในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs หลายโรคมาก การขับเคลื่อนมาตรการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มีส่วนช่วยลดการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเพิ่มทางเลือกอาหารสุขภาพที่สามารถเข้าถึงและหาซื้อได้ง่ายขึ้นให้กับผู้บริโภค นำมาสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินอยู่ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ ปี 2552 สสส. และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ซึ่งก็มีบุคลากรของกรมอนามัยร่วมเป็นแกนนำ ได้ร่วมรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมเพื่อลดการบริโภคหวานที่ล้นเกินมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม กฎกระทรวงห้ามเติมน้ำตาลในนมผงสูตรต่อเนื่อง การสื่อสารประเด็น “อ่อนหวาน” หรือ “หวานน้อยสั่งได้” มาตรการขอความร่วมมืออุตสาหกรรม ให้ลดขนาดน้ำตาลซองไม่เกิน 4 กรัม นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมสรรพสามิตอย่างเข้มข้น มีการสื่อสารสาธารณะ รวมถึงขับเคลื่อนนโยบายในระดับภาคการเมือง โดยผ่านทางสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่คนไทย

“รางวัลที่ได้รับครั้งนี้ ถือเป็นกำลังใจให้กับขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ ภาคีเครือข่ายที่ทำงานกันอย่างหนักหน่วง เป็นหลักฐานยืนยันว่า มาตรการทางภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นนโยบายทางการเงินการคลังที่ช่วยปกป้องสุขภาพประชาชน ลดโอกาสเสี่ยงจากโรค NCDs เช่นเดียวกับการผลักดันมาตรการทางภาษีโซเดียมในประเทศไทย ที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านข้อมูลและหลักฐานทางวิชาการ เพื่อการกำหนดกระบวนการขับเคลื่อนทางนโยบายที่เหมาะสมต่อไป” ดร.สุปรีดา กล่าว

27 กันยายน พ.ศ. 2564
https://www.thaipost.net/main/detail/117987

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version