ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอธีระวัฒน์” ชี้ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังประหยัดได้ 5 เท่า แถมมีผลข้างเคียงน้อย  (อ่าน 449 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผยข้อมูลว่าการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังได้ผลเท่ากับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ประหยัดวัคซีนได้อย่างน้อย 5 เท่า และเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์เผยถึงการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ได้ผลเท่ากับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ประหยัดวัคซีนได้อย่างน้อย 5 เท่า และเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า

โดยระบุข้อความว่า “ในประเทศไทย การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal หรือ ID) เริ่มต้นในปี 1987 โดยพวกเราคนไทยเองแก้ปัญหาวัคซีนไม่พอสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นใช้กลวิธีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal) โดยใช้ปริมาณ 0.1 ซีซีแทนที่จะใช้ 0.5 ซีซีหรือ 1.0 ซีซี (แล้วแต่ยี่ห้อ) เข้ากล้าม (intramuscular หรือ IM)

ทั้งนี้ โดยกำหนดให้มีความแรงของวัคซีนที่ชัดเจน และนำไปสู่การใช้ในประเทศไทยในปี 1988 และนำเสนอต่อองค์การอนามัยโลกจนกระทั่งยอมรับใช้ทั่วโลกในปี 1991 และการประชุมล่าสุดในปี 2017 ยังเป็นที่รับรองจนถึงปัจจุบันโดยได้ผลเท่ากันทั้งการกระตุ้นภูมิ (immunigenicity) และประสิทธิภาพในการป้องกันโรค (efficacy) กลไกในการออกฤทธิ์การฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีนพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นเชื้อตายจะผ่านกลไกที่เรียกว่า Th2 แทนที่จะเป็น Th1 และเราได้รายงานในวารสารวัคซีนในปี 2010 และบรรจุในคู่มือ WHO จนปัจจุบัน

สำหรับวัคซีนโควิด ขณะนี้เรามีทั้งวัคซีนเชื้อตาย ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม และฝากกับไวรัสเป็น เช่น แอสตร้าฯ เจเจ สปุตนิก ชนิด mRNA ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแบบชิ้นโปรตีนย่อย ใบยา โนวาแวคซ์ ทางที่เป็นได้

1. คนเสี่ยงสูงสุดที่ได้ซิโนแวค IM ไปแล้วสองเข็มต่อด้วยแอสตร้าฯ ID 1 จุด 0.1 ซีซี (เริ่มมีข้อมูลแล้ว) และกันสายพันธุ์หลากหลายได้ และประเทศจีนมีการศึกษารายงานแล้ว

2. คนทั้งประเทศปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ID ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย หรือชนิดอื่น ทั้งนี้ โดยที่รายงานจากเนเธอร์แลนด์แสดงว่าการฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีน mRNA ในปริมาณน้อยกว่าธรรมดา 5 ถึง 10 เท่า (10 หรือ 20 ไมโครกรัม) แทนที่จะเป็น 100 แบบ IM ได้ผลเช่นกัน

3. คนที่ได้รับการฉีดแบบเข้ากล้าม หรือ IM ไปแล้ว ฉีดให้ครบสูตรทั้งสองเข็ม ไม่สลับ IM ID ในเข็ม 1 และ 2 แต่กระตุ้นเข็ม 3 เป็น ID ได้เช่นเดียวกัน คนฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ID ก็ชั้นผิวหนังตลอดทั้งเข็มหนึ่งและเข็มสอง

ถ้าได้วัคซีนมา 1,000,000 โดสก็จะกลายเป็น 10 ล้านโดส เราสามารถเก็บข้อมูลตามข้อมูลในขณะที่เริ่มการฉีดเข้าชั้นผิวหนังได้ทันทีเลย การฉีดเข้าชั้นผิวหนังเหมือนกับการฉีดวัคซีนบีซีจีในเด็กแรกเกิด หรือการฉีดดูปฏิกิริยาวัณโรค (tuberculon test) หรือฉีดในคนที่แพ้ฝุ่น เป็นต้น (desensitization)”

16 ก.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์ข้อความถึงปัญหาวัคซีนโควิด-19 ขาดแคลนในประเทศไทย โดยแนะให้ฉีดแบบเข้าชั้นผิวหนังใช้วัคซีนน้อยลง 5 ถึง 10 เท่าถึงจะเพียงพอทั้งประเทศ พร้อมเผยเป็นเทคนิคซึ่งใช้กันมา 37 ปีแล้ว

วันนี้ (25 ส.ค.) เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ปัญหาการขาดแคลนวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย โดยแนะให้ฉีดแบบเข้าชั้นผิวหนังถึงจะเพียงพอทั้งประเทศ โดยระบุข้อความว่า “นี่คือสงคราม วัคซีนมีไม่พอ ทำอย่างไรจะฉีดคนไทยได้หมดใน 3 เดือนเพื่อคุมโรคระบาดและไม่ให้การกลายพันธุ์ ฉีดเข้ากล้าม ฉีดง่าย ปักเลยแต่ต้องใช้ปริมาณวัคซีนมาก ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ต้องประดิดประดอยเล็กน้อย แต่ใช้วัคซีนน้อยลง 5 ถึง 10 เท่า

นั่นคือ 1 ล้านโดส จะกลายเป็น 5 หรือ 10 ล้านโดส เป็นเทคนิคใช้กันมา 37 ปีแล้ว วัคซีนหมาบ้า ไข้เหลืองในแอฟริกา ไข้หวัดใหญ่ที่ปัจจุบันใช้กัน ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากันในด้านกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และผลข้างเคียงน้อยกว่า สำหรับกรณีวัคซีนโควิดเข็มหนึ่ง และสองโมเดนามีศึกษาเข้าชั้นผิวหนังแล้ว ได้ผลเท่าฉีดเข้ากล้าม ซิโนแวคเข้ากล้าม 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันขึ้นช้า แต่ตกเร็วจนไม่เหลือ ดังนั้นเมื่อต่อด้วยแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่สามเข้าชั้นผิวหนัง พบว่ากระตุ้นภูมิได้สูงมากขึ้นไปอีกจากที่ไม่มีภูมิแล้ว ทั้งยับยั้งสายพันธุ์เดลตาได้ และได้ผลเท่ากับฉีดเข้ากล้าม”

25 ส.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์