ผู้เขียน หัวข้อ: ใครหนอ สมคบคิดกับเอกชน เข้ามาแทรกแซงป่วนล้มประมูล เพื่อล็อคสเปค ATK ?  (อ่าน 397 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สปสช.แม้จะอ้างว่าตนเองเป็นผู้จัดซื้อ (Purchaser) นั้นแต่ก็ไม่มีอำนาจในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เลย มีแต่อำนาจซื้อบริการทางการแพทย์ในนามประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพภายใต้งบประมาณอันจำกัด ซึ่งใช้การเหมาจ่ายรายหัว (Capitation) เป็นหลักในการควบคุมต้นทุน (Cost containment)

โดยหลักการอำนาจในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์นั้น เป็นของผู้ให้บริการทางการแพทย์ (Healthcare service provider) เพราะคนดูแลรักษาประชาชนต้องมีความรู้ในทางวิชาการและพิจารณาเลือกซื้อใช้ในสิ่งที่เหมาะสมกับการรักษาดูแลสุขภาพ อธิบายได้ว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะคือสถานพยาบาลและวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องทำหน้าที่ในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ เพราะมีความรู้ในการประกอบโรคศิลปะและเป็นผู้ใช้งานโดยตรง ไม่ใช่ให้ สปสช. ที่ทำหน้าที่การเงินมาสั่งซื้อของที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางเช่นนี้ เลยมีการซื้อวัคซีนเด็กมากมายโดยสปสช. ส่งไปแล้วไม่ได้ใช้ที่ค่ายทหารในเขตชายแดนภาคใต้ เพราะไม่รู้ว่าต้องใช้อะไร ไม่ตรงตามความต้องการของพื้นที่เลย

ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดไว้เช่นนั้นอย่างชัดเจนมาแต่ต้น แต่ สปสช. ในอดีตและกระทั่งปัจจุบันก็พยายามเข้ามาจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ด้วยตนเอง สมัยหนึ่งนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน พี่ใหญ่แพทย์ชนบทของน้อง ๆ เป็นทั้งกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเป็นทั้งประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ทำให้เกิดเงิน rebate ค่าซื้อยาจากอภ. โดย สปสช. เป็นการกระทำละเมิดและเป็นลาภมิควรได้ เอาส่วนลด 5 % เหล่านี้มาเป็นเงินอุดหนุนกิจกรรมภาครัฐ ซื้อ uniform ให้พนักงาน สปสช. สวมใส่ เอามาซื้อรถตู้ให้พนักงาน สปสช. ใช้บริการ มีการพาไปดูงานเมืองนอก ให้ทุนการศึกษาพนักงาน สปสช. และอื่น ๆ อีกมาก ทำผิดกฎหมายอย่างเย้ยฟ้าท้าดิน ทั้ง ๆ ที่เงินเหล่านี้ต้องกลับคือมาซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อรักษาประชาชน แต่ สปสช. ก็กระทำผิดมาอย่างต่อเนื่อง

แต่การกระทำเช่นนี้ก็ต้องยุติลง หลังจาก คสช. มีมติครม. เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ให้สปสช. ห้ามซื้อยาและเวชภัณฑ์อีก ผลประโยชน์มหาศาลที่ สปสช. ได้รับมาตลอด (ทั้งบนดิน และใต้ดิน หากมี) ก็เลยหายไป ทั้งนี้ก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) แม้กระทั่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ก็เคยมีมติว่าการเข้ามาจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของ สปสช. เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและทำไม่ได้เลยตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็คนไม่ได้รักษาไม่ได้ดูแลคนไข้จะมาซื้อยาและเวชภัณฑ์ไปใช้ในการรักษาและดูแลคนไข้ได้อย่างไร เป็นเรื่องสู่รู้ ทำเกินอำนาจหน้าที่ ละเมิด และทำโดยมีผลประโยชน์ และไม่เป็นการสุจริตเลยแม้แต่น้อย

ในความเห็นของข้าพเจ้า หลักการบัญชีและการเงิน จะต้องแยกให้ออกระหว่าง บัญชี/การเงิน/และจัดซื้อ ออกจากกันเพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล ทั้งนี้มติครม. สมัยคสช. ได้ระบุว่า สปสช. ทำแผนจัดซื้อประจำปีเฉพาะยา/เวชภัณฑ์จำเป็นอันได้แก่ ยาบัญชีหลักแห่งชาติชนิด จ.2 และยากำพร้า ตลอดจนยาต้านพิษบางตัวซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้ใช้แพร่หลาย นอกจากนี้สปสช. ยังมีหน้าที่กำหนดอัตราค่าใช้จ่าย การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายคือการกำหนดวงเงินงบประมาณ แต่ไม่ควรจะมีหน้าที่ในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายยาและเวชภัณฑ์ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการล็อคสเปค หน้าที่ของ สปสช. เพื่อให้เกิดการแบ่งแยกอำนาจให้ชัดเจนในการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายจึงควรเป็นแค่การสืบราคา (Price inquiry) ไม่ใช่การเจรจาต่อรองราคา (Price negotiation) แต่อย่างใด สปสช. ยังมีหน้าที่ลงบัญชีและโอนเงินให้หน่วยบริการ

ตัวแทนหน่วยบริการสุขภาพคือโรงพยาบาลราชวิถีมีหน้าที่กำหนด specification ของการสั่งซื้อในฐานะตัวแทนของ healthcare service provider และถ้าจะให้ดีการกำหนด specification นั้นทางโรงพยาบาลราชวิถีต้องทำหน้าที่ทางวิชาการที่เข้มแข็ง ไม่ทำตัวเป็น messenger แต่อย่างเดียว นอกจากนี้ต้องทำหน้าที่สำรวจ/รวบรวม/กลั่นกรอง ความต้องการจากสถานพยาบาล/โรงพยาบาล และในขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) ทางการแพทย์ (ยาหรือเวชภัณฑ์) โดยประสานกับกระทรวงสาธารณสุข สถานบริการสุขภาพ/โรงพยาบาล เพื่อให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ทำหน้าที่ประสานงานกับ healthcare service provider ด้วยกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทั่วถึง มีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรอันมีจำกัดกับสถานพยาบาลต่างๆ หลังจากจัดสรรแล้วก็ต้องจัดส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งต้องทำให้ดี ประหยุดต้นทุนการขนส่งและทันเวลา ตรงเวลา

โรงพยาบาลราชวิถียังต้องทำหน้าที่ในการตรวจรับของจากองค์การเภสัชกรรม แล้วจึงโอนเงินจ่ายเงินที่รับจาก สปสช. ไปยังองค์การเภสัชกรรมผู้ทำหน้าที่ขายและผลิตยาและเวชภัณฑ์ของรัฐอีกด้วย

สำหรับองค์การเภสัชกรรมในฐานะผู้ทำหน้าที่ขายและผลิตยาและเวชภัณฑ์ของรัฐต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการประมูล อันได้แก่ การขายซองประมูล เปิดซองประมูล ดำเนินการประมูลจัดซื้อ เจรจาต่อรองราคา รับมอบและตรวจสอบคุณภาพจากบริษัทยาและเวชภัณฑ์ ดังแผนภาพด้านล่างนี้ซึ่งเป็นไปตามหลักการในการจัดซื้อจัดจ้างที่ควรเป็นและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 กันยายน 2560

อย่างไรก็ตามการประมูลจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้นนี้กลับไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการที่ควรจะเป็น แต่น่าจะกลับกลายเป็นมหากาพย์แห่งการสมคบคิดกับเอกชน เข้ามาแทรกแซงป่วนล้มประมูล เพื่อล็อคสเปค ATK โดยชมรมแพทย์ชนบท? ดังรูปด้านล่างนี้

ในการจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น สปสช. ได้ตั้งคณะทำงานกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ. โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมาเป็นประธาน มีกรรมการคือนายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาต ผอ. โรงพยาบาลสิชล และ นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ทั้งสามคนเป็นอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท และคณะทำงานคนอื่นๆ ที่เหลือเป็นเจ้าหน้าที่ของสปสช. ทั้งสิ้น โดยที่คณะทำงานกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ได้เข้ามาล้วงลูกทำในสามสิ่งที่ผมคิดว่าไม่น่าจะถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าใช้จ่าย

ประการแรก คือการสมคบคิดกับภาคเอกชน
ประการสอง คือการล้มประมูล
ประการสาม คือการล็อคสเปคในการจัดซื้อจัดจ้าง

การกระทำทั้งสามอย่างถือว่าเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ.ฮั้วประมูล

ประการแรกและประการที่สองนั้นต่อเนื่องกันไป สิ่งที่น่าสนใจคือมีคำสั่ง สปสช. กำหนดหน้าที่ให้คณะทำงานกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในข้อ 2.2 ดำเนินการต่อรองราคากับผู้ขาย เพื่อให้ได้อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม

มีคนส่งคลิปวันเปิดข้อเสนอในการประมูล ATK 8.5 ล้านชิ้นขององค์การเภสัชกรรมในวันที่ 27 กรกฎาคม มาให้ผมฟัง ความยาวหลายชั่วโมงครับ เป็นคลิปที่บันทึกการประชุมออนไลน์ในการเปิดซองประมูลครั้งแรก และนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติและนายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ คณะทำงานกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่ได้กระทำการที่แสดงให้เห็นชัดว่าน่าจะสมคบคิดกับเอกชนในการโวยวายป่วยการประชุมเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งชั่วโมงจนต้องล้มการประมูลรอบแรก

โดยสองคนที่มีหน้าที่แค่เข้ามาสังเกตการณ์ ได้ทำหน้าที่เกินกว่าการสังเกตการณ์ น่าจะไปต่อรองราคาตามที่ไม่สมควรทำ เพราะอาจจะกลายเป็นการสมคบคิดกับเอกชนได้ แต่พฤติกรรมในการเข้ามาสังเกตุการณ์ในการประชุมย่อมถือว่าไม่ธรรมดาแต่อย่างใด มีความผิดปกติหลายประการ

เช่น ออกมาโวยวายว่ารายใหญ่ที่สุดไม่ได้เข้าประมูล อภ. ไปตัดออกไม่ได้ ต้องได้รับรอง WHO เท่านั้น (แต่มาตรฐาน WHO ต่ำกว่าของ อย ไทย เพราะ อย. กำหนดให้ความไวและความจำเพาะของ ATK ที่จะได้รับรองโดย อย. สูงกว่าของ WHO) หมออาถึงกับกล่าวว่า ราคากลางที่นำไปเสนองบประมาณก็เอามาจาก mp แล้ว อภ. กลับมาตัด mp (มีส่วนได้เสียหรือสมคบคิดอะไรกับ mp และ mp ไม่ยื่นซองประมูลเอง ทำไมต้องมาเดือดร้อนโวยวาย หรือ mp ยังมีสินค้าในสต็อกไม่พอจะ lock spec เรื่องการจัดส่ง สังคมก็ถามได้) จะเอา professional use แต่ตัวเองทำ TOR มาเป็น home use โดยพยายามเถียงแทนว่ามันเทคโนโลยีเดียวกัน แต่ Standard Q นั้น WHO รับรองเฉพาะ professional use ไม่รับรอง home use คนละรหัสยากัน แต่ก็พยายามโยงว่าเหมือนกัน รับรองอันหนึ่งก็เหมือนกับอีกอันได้รับรองไปด้วย

ผมนั่งฟังคลิปนี้ไปด้วยความแปลกใจสงสัยว่า หมอสองคนจาก สปสช. ราวกับปกติ mp ของเสี่ยเป็ด และรักษาผลประโยชน์ให้เสี่ยเป็ด mp พยายามให้ Standard Q เข้ามาให้ได้ จะไม่ยอมให้การประมูลได้ไปต่อ

การออกมาปกป้องผู้ขายเช่นนี้ เป็นหน้าที่คณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายหรือไม่ เป็นการสมคบคิดหรือไม่ พยายามเข้ามาป่วนการประชุมเกือบชั่วโมงไปเพื่ออะไร มีนอกมีในอะไรหรือไม่ ทำไมต้องทำเช่นนี้ มีผลประโยชน์อะไรหรือไม่แอบแฝง?

การที่สามอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ เป็นประธานและกรรมการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายของสปสช.

แล้วพยายามล็อคสเปค โดยที่ หนึ่ง กำหนดว่าต้อง WHO รับรอง สอง ล็อคเรื่องกำหนดเวลาส่งของที่เป็นไปไม่ได้เลย

อนาคตจะเหมือนกับ ชูชีพ หาญสวัสดิ์ และวิทยา เทียนทอง ที่ศาลฎีกา ศาลอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุกหกปี เพราะล็อกสเปคและฮั้วประมูลปุ๋ยแสนกว่าตัน ให้บริษัทเดียวได้ โดยเงื่อนไขการส่งมอบคือแสนตันภายในสองสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ นอกจากมีการกักตุนสินค้าไว้ก่อน ฎีกา อม 27/2558 เข้าคุกกันมาแล้วนะครับ

อดีตประธานแพทย์ชนบทสามคน ได้ทำแบบเดียวกัน รอบหนึ่งกำหนดสเปคมาว่าให้ส่ง ATK 8.5 ล้านชิ้นให้ได้ภายใน 10 สิงหาหรือไม่ถึงสองสัปดาห์ แสดงว่ามีการกักตุนสินค้าไว้ และเจ้าเดียวที่เข้าเกณฑ์ได้เป็นพวกเดียวกันเองหรือไม่

อีกรอบประมูล กำหนดว่า หนึ่งวันหลังลงนามในสัญญาส่งได้ 3 ล้านชิ้น และอีกสามวันหลังลงนาม ส่งได้อีก 3 ล้านชิ้น คนจะเข้าประมูลได้ต้องมีของกักตุนสินค้าในมือไว้ 8.5 ล้านชิ้น และเป็นสินค้านำเข้าทั้งสิ้่น ต้องใช้เวลากว่าจะเข้ามาได้

ผมคิดว่า ป.ป.ช. จะชี้มูลได้ง่าย และศาลอาญาทุจริตประพฤติมีชอบกลางหากรับคดีไปจาก ป.ป.ช. ก็จะตัดสินคดีได้ง่าย เพราะมีแนวฎีกาในกรณีผิดพรบ ฮั้วประมูล 2542 ไว้อย่างชัดเจน

ผมอยากให้แพทย์อ้างชนบทดิ้นให้มากๆ ให้เป็นลิงแก้แหรัดตัวเองให้แน่นๆ นะครับ

ตกลงนี่คือ สมคบคิดกับเอกชน เข้ามาแทรกแซงป่วนล้มประมูล เพื่อล็อคสเปค ATK โดยชมรมแพทย์ชนบทใช่หรือไม่? สังคมถามได้ ป.ป.ช. ก็จะถาม ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลางก็ถามได้ถ้ามีคนไปฟ้องศาล

6 ก.ย. 2564 17:08   โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
https://mgronline.com/daily/detail/9640000088244