ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของการเขียนสาเหตุการตาย ในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1)  (อ่าน 2376 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด


ข่าวดังในช่วงนี้ มีการบันทึกสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตายเข้ามาเกี่ยวข้อง มีการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลกันอย่างหนาหู เคยมีการศึกษาวิจัยตีพิมพ์ในวารสารขององค์การอนามัยโลก (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548) เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตและสาเหตุของการตายจาก 115 ประเทศ

เป็นที่น่าตกใจมาก เนื่องจากข้อมูลการบันทึกสาเหตุการตายของประเทศไทยแย่ที่สุดใน 115 ประเทศที่นำมาศึกษา คือ มีการบันทึกสาเหตุการตายที่ไม่ชัดเจน (ill-defined codes) มากถึง 49 % นั่นคือข้อมูลเกือบครึ่งของเราเอาไปใช้ประโยชน์ในการหาปัญหาสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรค วางแผนและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรคของประเทศไม่ได้เลย
(ปัจจุบันดีขึ้นบ้างแล้ว)

สรุปว่า คุณภาพของข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการตาย (Quality of cause of death information) ในการวิจัยนี้จัดเป็น 3 กลุ่ม
1.กลุ่มข้อมูลคุณภาพสูง (high quality of data) มี 23 ประเทศ
2.กลุ่มข้อมูลคุณภาพปานกลาง (medium quality of data)  มี 55 ประเทศ
3.กลุ่มข้อมูลคุณภาพต่ำ (low quality of data)  มี 28 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้และต่ำที่สุดด้วย

Low Quality of data (28)
Albania, Argentina, Armania, Bahrain, Bosnia and Herzegovina, Cyprus, Ecuador, Egypt, Fiji, Greece, Jamaica, Kiribati, Nicaragua, Oman, Paraquay, Peru, Poland, Portugal, Qatar, San Mairno, South Africa, Sri Lanka, Suriname, Syria Arab Republic, Tajikistan, Thailand, Tonga, Tuvalu

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน
 
ไทย อยู่ในกลุ่ม low quality
มาเลเซีย กับ ฟิลิปปินส์ อยู่ในกลุ่ม medium quality
สิงคโปร์ อยู่ในกลุ่ม high quality

(กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม ไม่มีข้อมูลในการวิจัยนี้)

Bulletin of the World Health Organization 2005;83:171-177.



ทำไมข้อมูลของประเทศไทยจึงอยู่ในกลุ่มคุณภาพต่ำ? เพราะแพทย์ไทยจำนวนมากบันทึกรูปแบบการตาย (Mode of Death) ลงในหนังสือรับรองการตาย แทนการลงสาเหตุการตาย (Causes of death) ซึ่งไม่ถูกต้อง

รูปแบบการตายแตกต่างจากสาเหตุการตายต้นกำเนิดตรงที่ว่า
รูปแบบการตาย คือ การบ่งบอกว่า อวัยวะที่สำคัญใด หยุดทำงานไปก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต
สาเหตุการตายต้นกำเนิด บอกว่า เหตุต้นกำเนิดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดการเจ็บป่วยอันทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ จนนำไปสู่การตายนั้นคืออะไร

*ไม่ควรเขียน รูปแบบการตาย (Mode of Death) เช่น หัวใจล้มเหลว ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน เป็นต้น
* ควรเขียน สาเหตุการตาย (Causes of death) ซึ่งบอกว่า โรคหรือความผิดปกติหรือการบาดเจ็บจากเหตุการณ์หลายอย่าง เช่น อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย เป็นต้น ประกอบกันจนทำให้ตาย

จากคู่มือการบันทึกหนังสือรับรองการตาย (ปรับปรุงปี 2017)
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข


สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ
27 สิงหาคม 2564
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 สิงหาคม 2021, 15:43:43 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นายอำเภอท่าแซะ สั่งล็อคตัว ผญบ.-จนท.สาธารณสุข พันเหตุใบแจ้งตายปลอม ช่วยเศรษฐีนี หนีคดีจ้างฆ่าลูกสะใภ้
เมื่อเวลา 13.30น. วันที่ 19 พ.ย.2558 นายนักรบ ณ ถลาง นายอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร เปิดเผยถึงคดีการแจ้งตายเท็จของเศรษฐีนี คนดังในพื้นที่ และเป็นผู้ต้องหาคดีจ้างฆ่าลูกสะใภ้ ว่าจากการที่ได้มีการตรวจสอบ พบว่า วันที่ 24 ก.พ.57 บุตรสาวเศรษฐีนีถือใบรับแจ้งการตาย มาแจ้งผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ท่าแวะ จ.ชุมพร เป็นนายทะเบียนรับแจ้งการตาย และจนท.สาธารณสุข รพ.สต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นผู้ระบุสาเหตุการตาย

และทางสำนักงานทะเบียนท่าแวะ ได้ทำการตรวจสอบเอกสารที่เกียวข้องถูกต้องครบถ้วน ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักงานกลาง ว่าด้วยการทำทะเบียนราษฏร์ 2535 จึงได้ออกใบมรณบัตรเลขที่ 0286024052 ลงวันที่ 24 ก.พ.57 ไปกับผู้แจ้ง ตามเอกสาร และเมื่อวันที่9 มิ.ย.2557

ทั้งนี้ ศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งให้เจ้าหน้าที่อ.ท่าแซะ ไปเป็นพยานในการออกเอกสารใบมรณะบัตร จึงมีผลให้ว่าเศรษฐีนีคนดังกล่าวไม่ได้ตายจริง

ต่อมา เมื่อวันที่ 6 พ.ย.58 ทางอำเภอทราบข่าวว่า การตายมีเงื่อนงำ จึงได้มีการมอบหมายให้ นายปัญยม รอดคง ปลัดอำเภอ หน.ฝ่ายมั่นคง อ.ท่าแซะ ไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเบื้องต้น ในพื้นที่โดยไปพบกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้รับแจ้งตาย แต่ไม่พบตัว จึงได้แจ้งกับภรรยาของผญบ.เอาไว้

จากนนั้นจึงได้ไปสอบสวน จนท.สาธารณสุข รพ.สต.นากระตาม ได้ความว่า ผญบ.ได้ถือใบแจ้งการตายมาให้ตนเองระบุสาเหตุการตาย ในใบรับแจ้ง จึงระบุการตายตามคำบอกเล่าว่า หัวใจวายเฉียบพลัน โดยไม่ได้ไปดูศพ

นายอำเภอท่าแซะ ยังกล่าวว่า ต่อมาในวันที่ 9 พ.ย.58 ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงเป็นหนังสือรับรองการตาย และต่อมาในวันที่13พย.58 ได้มีการตรวจสอบการแจ้งการตายโดยมิชอบ จนเศรษฐีนีเข้ามอบตัวกับกองปราบ และในวันนี้ทางอ.ท่าแซะ ได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง

โดยการทำหนังสือแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องทั้ง2คน ทั้งผญบ.และจนท.สาธารณสุข ที่เป็นคนระบุการตายว่าหัวใจวายเฉียบพลันโดยไม่มีการตรวจสอบศพ ในเบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวทั้ง2คนเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันการหลบหนี

19 พฤศจิกายน 2558
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/675136?fbclid=IwAR1X6WyBQ0GZI--wWPkaL-J5jREM3yIsinqBZTRdsJiSfrxK1_cRUmyokmQ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปมร้อนถุงคลุมหัวรีดทรัพย์ ฆ่านักค้ายาเสพติด วันนี้ ( 25 ส.ค.64 ) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เตรียมเข้ายื่นเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สอบสวนเอาผิดนายแพทย์โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ ที่ออกหนังสือรับรองการตายของผู้ต้องหา โดยสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาได้เสียชีวิตเพราะพิษจากสารแอมเฟตามีน โดยปรากฏหลักฐานเป็นคลิปภาพที่ถูกนำออกมาเปิดเผยว่า ผู้ต้องหาถูกตำรวจชุด “ผกก.โจ้” ใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะ เพื่อรีดเงิน 2 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิต

การเขียนสาเหตุของการตายว่า “สันนิษฐานว่า พิษจากสารแอมเฟตามีน” ซึ่งระบุเหตุแห่งที่ตายคือการ Overdose ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในคลิปวิดีโอโดยชัดแจ้ง การเขียนในลักษณะนี้ชี้ให้เห็นว่า เป็นการจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการหรือไม่ ซึ่งหาพิสูจน์แล้วว่าเป็นการร่วมมือกันกับตำรวจในกรณีดังกล่าวจริง แพทยสภาจะต้องดำเนินการถอนถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ในลำดับถัดไปด้วย เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและขัดต่อจรรยาบรรณแพทย์อย่างร้ายแรง
           
นายศรีสุวรรณ ระบุด้วยว่า แม้เป็นแค่หนังสือรับรองการตาย หรือใบ ท.ร. ให้ญาตินำไปขอใบมรณะบัตรที่อำเภอ จะได้นำศพไปทำพิธีได้ ซึ่งหนังสือรับรองการตายมีความมุ่งหมายเพื่อเก็บสถิติการตาย ไม่เกี่ยวกับใบชันสูตรพลิกศพที่หมอจะออกมาให้ตำรวจเพื่อใช้ทำคดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อศพมาถึง รพ. การตรวจร่างกายทั่วไปว่าพบร่องรอยชัดเจนใดๆ ที่เป็นสาเหตุการตายหรือไม่ หรือทำแค่ฟังตำรวจให้ว่าเสพยาบ้ามาและช็อกหมดสติไปเท่านั้น เพราะถ้าเป็นการตายผิดธรรมชาติตามระเบียบต้องมีการผ่าชันสูตรศพเท่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา148 วรรคหนึ่งกำหนด แล้วจึงออกใบชันสูตรศพให้อีกครั้ง ว่าตายจากสาเหตุใด ซึ่งจะนำไปสู่การไต่สวนโดยศาล ตามมาตรา 150 ว.3  และ ว.5 ต่อไป แต่ประเด็นสำคัญคือ ศพได้ผ่าจริงๆ หรือไม่ เท่านั้น
         
กรณีดังกล่าวเป็นข้อพิรุธ ที่อาจเชื่อได้ว่าแพทย์จากโรงพยาบาลดังกล่าว อาจร่วมมือกับตำรวจในการจัดทำเอกสารใบรับรองการตายอันเป็นเท็จ เพื่อทำให้รูปคดีเปลี่ยนไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นอันตรายต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง  โดยในวันพรุ่งนี้ (26 ส.ค.64) ตนจะเข้ายื่นคำร้องให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็ว

25 ส.ค. 2564
https://news.ch7.com/detail/510098

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จ่อเชิญ ผบ.ตร.-แพทย์ แจงคดี"ผู้กำกับโจ้"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2021, 20:47:49 »
"สิระ"เตรียมเชิญ ผบ.ตร.-ผบช.ภ.6.- แพทย์ แจงคดี"ผู้กำกับโจ้" พร้อมตรวจสอบใบรับรองแพทย์เป็นเท็จหรือไม่ พร้อมลุยนครสวรรค์พบพ่อ-แม่ ผู้เสียชีวิต พรุ่งนี้

วันที่ 27 ส.ค.2564  ที่รัฐสภา นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผู้กำกับโจ้ อดีต ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ได้โฟนอินตอบคำถามสื่อมวลชนปฎิเสธไม่ได้ข่มขู่เอาเงิน ว่าจากการฟังคำตอบของผู้กำกับโจ้แล้วเห็นว่าคำตอบเป็นไปในเชิงที่ตั้งหลักในการสู้คดีในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาแล้ว ซึ่งกรณีดังกล่าวทางคณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ จะติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเป็นการช่วยเหลือกันหรือไม่

ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.ย.นี้ ทางคณะกรรมาธิการฯ จะเชิญพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร.) พล.ต.ท.อภิชาติ ศิริสิทธิ์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 6 ( ผบช.ภ.6.)  และนายแพทย์ผู้ออกใบรับรองการเสียชีวิตของผู้ต้องหาคดียาเสพติด เข้าชี้แจงในประเด็นที่ว่า เป็นการทำให้ตายหรือโดนฆ่าตาย นี่คือต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม ถ้าหากพบว่าใบรับรองแพทย์เป็นเท็จ แพทย์ที่สนิทสนมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรืออาจจะมีผลประโยชน์ต่างๆร่วมกันหรือไม่ เราจะตรวจสอบในประเด็นดังกล่าวอย่างชัดเจนว่าแพทย์มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกใบรับรองแพทย์หรือไม่

27 ส.ค. 2564
https://www.thansettakij.com/politics/493601