ผู้เขียน หัวข้อ: กสม.ชี้กรณี“ผกก.โจ้”ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนชัดแจ้ง แนะรัฐเร่งดันร่าง กม.ซ้อมทรมาน  (อ่าน 419 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กรรมการสิทธิฯ ชี้เหตุตำรวจซ้อมทรมานผู้ต้องขังถึงแก่ความตาย ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง แนะรัฐบาลเร่งผลักดันร่างกฎหมายซ้อมทรมาน ปฏิรูปองค์กรตำรวจตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

วันนี้ (25 ส.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุตามที่ปรากฏข่าวและคลิปของเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ ใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะและซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อเรียกรับผลประโยชน์กระทั่งผู้ต้องหารายดังกล่าวได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ต้องหาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอาจได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิต จึงถือว่าขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ตลอดจนไม่สอดคล้องตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม

กรรมการสิทธิฯ เห็นว่า กรณีดังกล่าวเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัญหาการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งยังคงปรากฏเป็นเรื่องร้องเรียนมายัง กสม.เป็นระยะ ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์แจ้งในการกระทำความผิด จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสอบสวนและดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มดังกล่าวด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ตลอดจนจัดให้มีการคุ้มครองพยานที่รัดกุม โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรพิจารณาสั่งการให้มีการติดกล้องวงจรปิดในกระบวนการและสถานที่สอบสวนทุกแห่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน

เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.... ตามที่ กสม.เคยมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล และล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0503/ว(ล)26227 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2564 เห็นชอบให้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CAT ที่ประเทศไทยเป็นภาคีโดยเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาและบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซ้อมทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายได้อย่างเป็นรูปธรรม

และผลักดันให้มีการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ทั้งในเชิงโครงสร้าง กระบวนการ และกฎระเบียบ โดยเฉพาะกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้อัยการเข้ามากำกับการสอบสวนตั้งแต่ชั้นตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสากลและหลักสิทธิมนุษยชน อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

กสม.หวังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะองค์กรตำรวจ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่ประชาชนทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องขังหรือผู้ต้องสงสัย ว่ามีความผิดหรือไม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

25 ส.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
MGR Online - รมว.ยุติธรรม มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ-สยจ. ดูแลเยียวยาครอบครัวผู้เสียหายคดีตำรวจทำร้ายจนเสียชีวิต ย้ำแม้เกี่ยวข้องยาเสพติดก็ไม่ควรทำรุนแรงเช่นนี้

วันนี้ (25 ส.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) กล่าวถึงกรณี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนพล ผู้กำกับการ สภ.เมืองนครสวรรค์ ออกจากราชการไว้ก่อนจากการถูกกล่าวหาผิดวินัยร้ายแรง และตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กรณีถูกร้องเรียนว่า ทรมาน นายจิระพงศ์ ผู้ต้องหาคดียาเสพติด เรียกเงิน 2 ล้านบาท จนเสียชีวิตและถูกดำเนินคดีร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ว่า เบื้องต้นตามข่าวสื่อมวลชน คาดว่า เป็นความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 การเอาถุงพลาสติกคลุมหัวทำให้ขาดอากาศหายใจ ศาลฎีกาเคยระบุไว้ว่า กรณีแบบนี้แม้จำเลยจะไม่ประสงค์ให้ตาย แค่จะทรมาน แต่ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ขาดอากาศและถึงแก่ความตายได้ จำเลยถือว่ามีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้ให้ทางกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ดูแลค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ซึ่งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ได้ดำเนินการประสาน พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์ เพื่อแจ้งสิทธิแก่ทายาท ซึ่งมีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนถึงแก่ความตาย 50,000 บาท ค่าจัดการศพ 20,000 บาท ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู 40,000 บาท รวมทั้งสิ้น 110,000 บาท

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ แม้ว่าผู้เสียหายจะเป็นกลุ่มค้ายาเสพติด แต่เราก็ไม่มีสิทธิที่จะกระทำการที่รุนแรงเช่นนี้ ขณะนี้ประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว เราไม่ได้มุ่งเน้นตัดตอนเอาชีวิต แต่เน้นการยึดทรัพย์ตัดวงจรเครือข่าย เรื่องนี้เราจะติดตามดู และจะเป็นคดีตัวอย่าง สังคมไม่ควรเกิดแบบนี้ หากประมวลกฎหมายยาเสพติดออกมาบังคับใช้จะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน คนที่ทำแบบนี้อยากได้ทรัพย์สินเขา แต่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพติดจะมีการยึดทรัพย์ และจะมีรางวัลค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ทำงานอย่างสมเหตุสมผล จะช่วยให้คนไม่ถูกทำร้ายด้วยเรื่องทรัพย์สินอีก

“นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งอยู่ระหว่างการรอบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรก ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การทำให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบ มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น”

นายสมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างกฎหมายนี้ จะทำให้การกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐลดลงหรือหมดไป ซึ่งจะช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรม และยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเพิ่มมากขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยในสังคมโลก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนเทียบเท่ากับระดับสากล ส่งเสริมให้สังคมไทยมีหลักประกันความปลอดภัยมากขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นด้านกระบวนการยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน เพิ่มแรงจูงใจให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุน เพราะมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวเพราะพวกเขาจะมีความมั่นใจว่าเราได้ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และมีกฎหมายกำหนดให้การกระทำทรมาน รวมทั้งเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการงดเว้นการลงโทษแก่บุคคลใดๆ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรม

25 ส.ค. 2564  โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม
https://mgronline.com/crime/detail/9640000083862

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
“หมอพรทิพย์” กังวลคดี “ผกก.โจ้” เริ่มมีการได้รับการช่วยเหลือ ชี้ทำไมไม่ให้ผู้ต้องหาคนอื่นในคดีได้พูด และทำไมคนอื่นถูกใส่กุญแจมือ แต่ตัวหัวหน้าถูกผูกข้อมือด้วยวัสดุต่างกันส่อเค้าตาชั่งเอียง แนะเร่งปฏิรูปตำรวจ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า หลังดูแถลงการณ์ให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือโจ้ อดีตผู้กำกับ สภ.เมืองนครสวรรค์ เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา หลังก่อเหตุพร้อมตำรวจรวม 7 คน ใช้ถุงคลุมหัวพ่อค้ายาเสพติดจนให้เสียชีวิต

โดยระบุว่า แถลงข่าวจบไม่มีคำชื่นชมใดๆเกิดขึ้นกลับมีแต่ความกังวลว่าคดีนี้เริ่มมีการได้รับการช่วยเหลือ ทำไมไม่ให้ผู้ต้องหาคนอื่นในคดีนี้ได้พูด ทำไมคนอื่นถูกใส่กุญแจมือแต่ตัวหัวหน้าถูกผูกข้อมือด้วยวัสดุต่างกัน ฟังแต่ละคนที่ให้ข้อมูลก็ยิ่งดูเหมือนการอุ้ม รีด ซ้อม ทรมาน ยัดเยียดที่เป็นสิ่งที่มีมาคู่กับงานของตำรวจนานแล้วกลายเป็นสิ่งที่ธรรมดา ถูกต้อง ทำเพราะมีเจตนาดีเพื่อช่วยควบคุมปัญหายาเสพติด อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพวกเฉยเลย คนเอาคลิปมาเปิดเผยกลายเป็นผู้ขัดแย้งหรือขัดผลประโยชน์กับผกก.ทันที แบบนี้ยิ่งต้องรีบปฏิรูปตำรวจด้านการอำนวยความยุติธรรมโดยเร็วที่สุด

ในชีวิตเคยตรวจสอบการตายที่ผู้ต้องหาทางใต้ หลังถูกจับไม่ถึงสองชั่วโมงก็ตายในห้องขัง เบื้องต้นช่วยกันสรุปว่าขาดอากาศตาย แต่เมื่อญาติร้องขอความเป็นธรรมจึงพบว่าถูกซ้อมซี่โครงหักกดหัวใจแตก ถูกเผาไข่ตอนกำลังจะตายแต่ก็ช่วยกันสรุปเบื้องต้นว่าขาดอากาศตาย อีกคดีหดหู่คือคดีที่ผู้ต้องหาถูกอุ้มจากอ่างทองมาพบเป็นศพที่แจ้งวัฒนะ กรุงเทพ แต่ทำคดีว่ามีการต่อสู้การจับกุมเลยถูกยิงตายที่แจ้งวัฒนะ ญาติร้องขอให้ผ่าศพครั้งที่สองจึงพบหลักฐานสำคัญค้างในศพคือเสื้อคนตายและหลักฐานที่บอกเวลาตาย ทำให้สภาทนายความในสมัยนั้นส่งทีมไปหาหลักฐานเพิ่มได้ที่อ่างทอง ว่าแท้ที่จริงถูกยิงเสียชีวิตที่อ่างทอง

ทั้งสองคดีญาติต้องเป็นฝ่ายร้องขอความเป็นธรรมและต่อสู้เอง ใช้เวลาหลายปีจนจบคดีในขั้นตอนการไต่สวนวิสามัญด้วยเงินจำนวนหลายล้าน ผู้กระทำผิดยังคงอยู่ในระบบราชการเพราะให้ฝ่ายเดียวกันตรวจสอบและ ขั้นตอนกฎหมายปล่อยให้ข้อมูลและหลักฐานถูกตัดออกไปจากสำนวนด้วยข้อกฎหมายที่เอื้อช่องว่างและการใช้ดุลพินิจ

ถ้าตำรวจยังคงเห็นว่าวิธีเดิม อุ้ม รีด ซ้อม ยัดเยียด ป้ายสี จนถึงฆ่าแล้วบอกว่าพลั้งมือเป็นสิ่งที่ไม่ผิดเห็นที พ.ร.บ.ตำรวจที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการและพ.ร.บ. ห้ามอุ้มหายและซ้อมทรมานก็ไม่ช่วยอะไร เนื้อหาในกฎหมายที่อยู่ในชั้นส.ส.มีแต่หลักการเตือน แต่ไม่มีวิธีตรวจสอบการซ้อม ตรวจสอบการตายรวมทั้งไม่มีระบบการตรวจสอบศพนิรนามด้วยหน่วยงานกลาง เห็นทีความยุติธรรมคงไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง ไม่เชื่อลองไปตามคดีเหล่านี้ดูว่าเอาตัวเจ้าหน้าที่ที่ลงมือมาลงโทษได้แค่ไหน

ต้องทำให้ตำรวจมีจิตสำนึกเคารพในสิทธิของบุคคล ถ้าเลือกทำงานในกระบวนการยุติธรรมต้องมีศรัทธาในการทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นธรรม ถ้ายังคงเลือกเพราะเป็นเส้นทางแห่งความมั่งคั่ง ความยุติธรรมจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ตาชั่งเอียงตั้งแต่เริ่มต้น ยากที่ตาชั่งจะกลับมาอยู่ในดุลย์... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/news/207908/

27 สิงหาคม 2564
https://www.dailynews.co.th/news/207908/