ผู้เขียน หัวข้อ: อัพเดท! ปมร่างกฎหมาย สธ. นิรโทษฯตัวเอง จัดหา 'วัคซีน'พลาดไม่ผิด 'อนุทิน' แจงแล้ว  (อ่าน 574 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
อัพเดท! ฮอตโซเชียล จับตา! ร่างกฎหมาย สธ. นิรโทษกรรมตัวเอง จัดหา "วัคซีน" พลาดไม่ผิด ด้าน "อนุทิน" แจงหวั่นคนหัวใสฟ้องแพทย์พยาบาล

กลายเป็นประเด็นในโซเชียลออนไลน์ กรณี ส.ส.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นเรื่องร่างออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบกึ่งเหมาเข่ง ให้กับคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา และบริหารวัคซีนโควิด

ล่าสุด (9ส.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวกรณีที่พรรคก้าวไกล ออกมาค้านการออกพระราชกำหนดคุ้มครองบุคลากรสาธารณสุข โดยมองว่าเป็นการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ผู้ที่จัดหาวัคซีน นั้น นายอนุทิน ระบุว่า ไม่ใช่ เพราะเราต้องให้ความมั่นใจกับบุคลากรทางการแพทย์ และ สาธารณสุข เพราะช่วงนี้มีการรักษาคนไข้เรือนแสน ดังนั้นเพื่อความคลายกังวลในการรักษาพยาบาลและการวินิจฉัยโรค

"จึงต้องให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับความเป็นธรรม ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวเกิดมีช่องโหว่แล้วคนหัวใสก็จะฟ้องร้อง เราจึงไม่อยากให้บรรดาแพทย์พยาบาล ต้องวิตกกังวล เมื่อเขามีขวัญกำลังใจเต็มที่ ก็จะทุ่มเทในการรักษาพยาบาล คนที่จะได้ประโยชน์ ก็คือประชาชน และวัคซีนก็ต้องเข็มสามเพื่อให้ปลอดภัย" รมว.สธ. ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ส.ส.วิโรจน์ เปิดเผยว่าได้รับเอกสารการนำเสนแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์สำหรับการปฏิบัติงานตามข้อสังการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นเอกสารฉบับทางการหรือไม่ เป็นเอกสารฉบับล่าสุดหรือเปล่า ปัจจุบันได้มีการแก้ไข ปรับปรุงอะไรไปบ้างแล้วหรือไม่

จากเอกสารที่ได้รับ ขออนุญาตให้ทรรศนะของผม ในเบื้องต้นก่อนดังนี้ ส่วนข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร คงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง เพื่อให้สังคมเกิดความกระจ่างอีกครั้งหนึ่งต่อไป

โดยแนวคิดสำคัญของเอกสารนำเสนอฉบับนี้ คือ การตรากฎหมาย พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ.

โดยหลักการแล้ว ในสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้ การจำกัดความรับผิดทั้งทางอาญา และแพ่ง ให้กับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ที่ปฏิบัติด่านหน้า ที่ทำงานเต็มความสามารถ โดยสุจริต และไม่ได้เลือกปฏิบัติ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว

แต่ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ การที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเกิดขึ้นรุนแรงอยู่ที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งมาจากการตัดสินใจเชิงนโยบาย ทั้งๆ ที่ควรจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น

1) การไม่กระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีน
2) การจัดฉีดวัคซีนที่ล่าช้า ขาดการวางระบบในการจัดการ และการบริหารฐานข้อมูลที่ดี
3) การเบิกจ่ายงบประมาณในการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็น ที่ขาดประสิทธิภาพ ดูเบาต่อสถานการณ์
ฯลฯ

ซึ่งประเด็นต่างๆ ข้างต้น นี้เป็นที่สงสัยจากภาคประชาชนว่า เป็น สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก ต้องตายคาบ้าน ตายกลางถนน ซึ่งเป็นความสูญเสียอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ทำให้เด็กตัวเล็กๆ เพียงไม่กี่ขวบปี หลายคน ต้องเป็นกำพร้า และจะไม่ได้รับโอกาสที่จะได้กอดพ่อแม่ของพวกเขาอีก และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มากมายเหลือคณานับ หลายคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว แถมยังต้องแบกหนี้สินที่ล้นพ้นตัวอีก

ซึ่งควรต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริง ไม่ควรที่จะออกกฎหมาย "นิรโทษกรรมแบบกึ่งเหมาเข่ง" แบบนี้

ในข้อที่ 7. ที่จะคุ้มครองให้บุคคล และคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหา หรือบริหารวัคซีน ซึ่งควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล ประชาชนทุกข์ยากแสนสาหัส นั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือคณะบุคคลเหล่านี้หรือไม่

ข้อยกเว้น ที่กฎหมายนี้จะไม่คุ้มครอง ที่มีอยู่เพียง 3 ข้อ ได้แก่
- การกระทำโดยไม่สุจริต
- การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- การกระทำเกิดจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

เป็นข้อยกเว้นที่กว้างเกินไป และในทางปฏิบัติ ก็สามารถอ้างได้อยู่แล้ว ว่าทำโดยสุจริต มีคณะร่วมตัดสินใจอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้คนพ้นจากความรับผิดได้อยู่แล้ว

หากจำเป็นต้องมี พ.ร.ก.ฉบับนี้ ก็ควรจะคุ้มครองเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายเท่านั้น

แต่ไม่ควรคุ้มครอง บุคคล หรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินใจในการจัดหา และบริหารจัดการวัคซีน ซึ่งหากดำเนินการด้วยความสุจริตจริง กระบวนการยุติธรรม ตามปกติ ก็คุ้มครองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายกึ่งนิรโทษกรรมล่วงหน้า แบบที่คณะรัฐประหารใช้ แบบนี้

การกระทำ หรือการตัดสินใจใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักวิชา หรือไม่นำพาผลการศึกษาวิจัยที่เป็นปัจจุบัน ไม่ใส่ใจในคำทักท้วงของผู้รู้ หรือสมาคมวิชาชีพ ถือดีว่าตนเป็นผู้มีคุณวุฒิสูง ก็เอาอัตตาของตนเองเป็นที่ตั้ง นำเอาชีวิตของประชาชนมาเดิมพัน ย่อมไม่ควรได้รับความคุ้มครองให้ปราศจากความรับผิดตามกฎหมาย

ส่วนจะถูก หรือผิด กระบวนการยุติธรรม โดยศาลยุติธรรม ท่านก็จะวินิจฉัยเองว่า ควรได้รับโทษทางอาญา หรือทางแพ่ง หรือไม่ อย่างไร

การออกกฎหมายกึ่งนิรโทษกรรมให้กับคณะบุคคลที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่สำคัญแบบนี้ หากในอนาคต เราพบข้อเท็จจริงที่เป็นกรณีบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือกรณีที่เล็งเห็นถึงหายนะที่เกิดขึ้นได้ แต่เพิกเฉย ลอยชายตามระบบรัฐราชการรวมศูนย์ เห็นชีวิตประชาชนเป็นผักปลา แล้วเราจะให้ความเป็นธรรมกับประชาชนที่ตายไปได้อย่างไร

"เราจะมีหน้า มองตาของเด็กๆ ที่ต้องกำพร้าพ่อแม่ ได้อย่างไร เห็นด้วยให้คุ้มครองเฉพาะบุคลากรคนด่านหน้า อย่านิรโทษล่วงหน้า ให้กับผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย" ส.ส.วิโรจน์ ระบุ

9 สิงหาคม 2564
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953589

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ชี้ "ทีมหมอ" ไร้ผิด แก้โควิดตามมาตรฐานวิชาชีพ - ไม่จำเป็นออกกฎหมายนิรโทษกรรม ตั้งคำถามฝ่ายบริหาร จงใจทำเพื่อตัวเอง หลังแก้โควิดล้มเหลว

      นพ.เรวัต วิศรุตเวช  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย กล่าวต่อกรณีที่มีเอกสารของที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งที่ 282 ประจำวันที่ 26 กรกฏาคม เสนอร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู่ป่วยโควิด-19 พ.ศ.... ว่า ตนแปลกใจทำไมต้องออกกฎหมายดังกล่าว เพราะการปฏิบัติหน้าที่ตามหลัก การประกอบวิชาชีพถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ และไม่ประมาทเลินเล่อ จะได้รับความคุ้มครอง ไม่มีความผิด เช่นเดียวกับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรม   และหากออกกฎหมายดังกล่าว เพื่อใช้เฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตนขอต้องตั้งคำถามด้วยว่าทำไมไม่ทำกับทุกสถานการณ์หรือทุกเรื่อง เพราะต้องยอมรับว่าการปฏิบัติหน้าที่ฐานะแพทย์ พยาบาล ทุกสาขาของสาธารณสุข เพราะมีกรณีที่เกิดความผิดพลาด ผู้รับการรักษาเสียชีวิต หรือพิการจากการรับการรักษาเกิดขึ้น

      นพ.เรวัต กล่าวด้วยว่าส่วนกรณีที่ระบุประเภทของบุคลากรที่จะได้รับการนิรโทษกรรมซึ่ง ระบุถึงบุคคล หรือ คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหารือบริหารวัคซีน ตนขอตั้งคำถามว่าว่า ต้องการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือคนกลุ่มใดหรือไม่

      "หากเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นจริง และมีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ ผมจะคัดค้านอย่างเต็มที่  เพราะมีความสงสัยว่าออกกฎหมายเพื่อตัวเองหรือไม่ เนื่องจากสถานการณ์ระบาด และการแก้ปัญหามีภาพประจักษ์ชัดว่า มีความผิดพลาด บกพร่องอย่างร้ายแรง รวมถึงมีความบกพร่องในการทำหน้าที่จัดหาวัคซีน ที่ล่าช้า ทำให้ประชาชนรอคอยวัคซีนจำนวนมาก รวมถึงมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก หรือไม่ ดังนั้นนฐานะผู้บริหาร เมื่อพบการบริหารที่ผิดพลาดต้องรับผิดชอบไม่ใช่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเอง” นพ.เรวัต กล่าว.

ฺฺBBC ไทย
9 สิงหาคม 2564
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953623
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 สิงหาคม 2021, 20:58:02 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ชี้แจงเหตุผลของการร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พ.ศ. ... ว่าเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นใจและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดและทรัพยากรที่มีจำกัด ให้ปฏิบัติงานได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลถูกฟ้องร้อง

ทว่า ประเด็นหลักที่สังคมกำลังตั้งคำถามต่อ ร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดฯ ที่ สธ. กำลังดำเนินการจัดทำและยกร่างอยู่ในขณะนี้คือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ "นิรโทษกรรม" ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาหรือบริหารวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีจำนวนไม่เพียงพอและจัดหาได้ล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์และยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เสียงวิจารณ์นี้เกิดขึ้นภายหลังนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ตั้งคำถามว่า "ควรแล้วหรือ ที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบกึ่งเหมาเข่ง ให้กับคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและบริหารวัคซีน" โดยในโพสต์ดังกล่าวได้แนบเอกสารที่ปรากฏชื่อของ นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นผู้จัดทำ

เอกสารดังกล่าวเป็นสไลด์ 8 แผ่น สรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดของบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยระบุว่าที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคโควิด-19 ของ สธ. มีมติเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมในประเด็นการคุ้มครองบุคลากรการแพทย์สำหรับปฏิบัติงานตามข้อสั่งการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เอกสารที่นายวิโรจน์นำมาเผยแพร่ยังระบุเงื่อนไขการได้รับความคุ้มครอง "กรณีจัดหาและบริหารวัคซีน" ดังนี้

เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่ได้กระทําด้วยความจงใจให้เกิดความเสียหาย เว้นแต่กรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
ไม่ได้กระทําด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ในการแถลงข่าววันนี้ (9 ส.ค.) นพ. ธเรศได้รับกล่าวถึงเอกสารที่ ส.ส. ก้าวไกลนำมาเปิดเผย แต่ยอมรับว่า สธ. ได้ตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายดังกล่าว โดยมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานหลัก และมีภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาควิชาชีพ ภาคกฎหมายมาช่วยกันพิจารณากลไกคุ้มครองผู้ทำงานในช่วงภัยพิบัติโรคระบาดให้ทำหน้าที่ได้เต็มความสามารถโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกฟ้องร้อง

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพอธิบายเพิ่มเติมถึงที่มาของการร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออันตรายใหม่และได้รับการประกาศให้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ประกอบกับการมีข้อจำกัดหลายประการไม่ว่าจะเป็นแนวทางการรักษา เรื่องยารักษาโรค และจำนวนการติดเชื้อที่มากขึ้นจากระบาดหลายครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ วัสดุอุปกรณ์และเตียงรักษาผู้ป่วยที่มีจำกัดและไม่เพียงพอ จนต้องไปเปิดโรงพยาบาลสนามและฮอสปิเทล

"ดังนั้น การที่มีภูมิต้านทานสำคัญจากการถูกฟ้องร้อง จะทำให้บุคลากรทางแพทย์มีขวัญกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งมีข้อเสนอจากองค์กรวิชาชีพจากสภาวิชาชีพต่าง ๆ และโรงพยาบาลเอกชนได้เสนอให้มีกฎหมายในลักษณะนี้ขึ้น" นพ. ธเรศกล่าว

ร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดฯ คุ้มครองใครบ้าง
นพ. ธเรศเปิดเผยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้ว่า ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมความผิดทางแพ่ง ทางอาญา ความรับผิดชอบทางวินัย และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย

1. บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะในแขนงต่าง ๆ

2. อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครต่าง ๆ

3. บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีส่วนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมไปถึงยารักษาโรคและวัคซีน

ทั้งนี้ กฎหมายนี้คาดว่าจะครอบคลุมไปถึงสถานพยาบาลของทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งการปฏิบัติการนอกสถานที่ เช่น โรงพยาบาลสนาม การเดินทางไปรับส่งผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่เฉพาะ

"ทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบใหญ่คือ การกระทำต้องเป็นไปโดยสุจริต ไม่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง" นพ. ธเรศกล่าว

อนุทินป้องร่าง พ.ร.ก. อ้างเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางแพทย์
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีการยกร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดฯ ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนที่เตรียมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ยังไม่ได้มีการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

"เราต้องการให้แพทย์ พยาบาล มีขวัญกำลังใจเต็มที่จะได้ทุ่มเทในการรักษาพยาบาล วัคซีนก็ต้องจัดหาเข็มสาม เพื่อความปลอดภัยในการไปรักษาคนไข้ มีความกังวลให้น้อยที่สุด สุดท้ายประชาชน คนไข้ก็ได้ประโยชน์" นายอนุทินกล่าว

9สค2564
https://www.msn.com/th-th/news/national/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%98-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%81-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94/ar-AAN6kuw?ocid=msedgntp

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
อย่าขวาง กม.ปกป้องคนทำงาน! “ศุภชัย” แจงปมดรามา พ.ร.ก.จำกัดความผิด สธ. ย้ำ อย่าเรียกนิรโทษกรรม เพราะยังไม่มีใครทำผิด

วันนี้ (9 ส.ค.) จากกรณีดรามา เรื่อง “พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19” ที่ฝ่ายการเมืองมองว่า เป็นการนิรโทษกรรม ฝ่ายบริหารจัดการวัคซีน

ล่าสุด 9 สิงหาคม 2564 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า
อย่าขวางกฎหมายปกป้องคนทำงาน

อคติทางการเมืองบังตาจนน่ารังเกียจ กับกลุ่มที่ตั้งป้อมโจมตี “พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19”

โดยฝ่ายการเมืองตั้งชื่อให้ใหม่ว่าเป็น “กฎหมายนิรโทษกรรมวัคซีน”
ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า “นิรโทษกรรม” แปลว่า การยกเลิกโทษแก่ผู้กระทำความผิด

แต่ ณ ปัจจุบัน ในการบริหารจัดการปัญหาโควิด-19 นั้น ยังไม่มีใครต้องโทษแม้แต่คนเดียว

อันที่จริง กฎหมายที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่นี้ มีเจตนาที่ดีมากๆ คือ

“ปกป้องคนทำงาน”

ทั้งฝ่ายปฏิบัติ และฝ่ายบริหาร

สาระสำคัญของของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเปิดเผยโดย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา

ระบุว่า

เจตนารมณ์ที่ทำร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ และเพื่อให้บุคลากรทุกภาคส่วนของสาธารณสุขสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจ มีขวัญและกำลังใจที่จะดูแลประชาชนอย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น

โดยบุคคลที่จะได้รับความคุ้มครอง คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน และคุ้มครองการทำงานในสถานพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่จัดตั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

ทั้งนี้ พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นกฎหมายที่มีจุดประสงค์ควบคุมการกระทำของบุคลากรสาธารณสุขให้เป็นไปด้วยความสุจริต และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

เนื้อหาสาระของกฎหมาย เป็นไปเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคนทำงานด้านสาธารณสุข ทุกหมู่เหล่า มิใช่ว่า ทำงานไป กลัวถูกเล่นงานไป

ประเด็นคือ กฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่กฎหมายที่ออกมาปกป้องคนชั่ว ปกป้องคนเลว เพราะมีข้อยกเว้น ให้การกระทำต่อไปนี้ ต้องรับผิดทางกฎหมาย

- การกระทำโดยไม่สุจริต
- การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- การกระทำเกิดจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

แน่นอนว่า กฎหมายนี้ ไม่ได้ปิดกั้นการฟ้องร้อง หากฝ่ายการเมืองคิดว่าที่ผ่านมา การจัดหาวัคซีนนั้น มีข้อไหนที่ขัดต่อกฎหมาย ก็ไปฟ้องเอาผิดได้เลย หากว่าผู้ถูกฟ้องร้องมีพฤติกรรมเข้าเงื่อนไขด้านบน คือ กระทำโดยทุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

ก็ย่อมถูกลงโทษ

การออกกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคนทำงานนั้น ไม่ใช่เรืองที่ควรขัดขวางแต่ควรส่งเสริมให้เดินหน้าต่อด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงแบบสุดๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ล้วนมีความหวาดระแวง ในการปฏิบัติหน้าที่
อย่าปฏิเสธ ว่า ไม่มีการจับผิดคนทำงาน

ทุกอย่างปรากฏให้เห็นแล้ว ทั้งเรื่อง การวิพากษ์ตำรวจด่านหน้ารับเข็ม 3

การวิพากษ์ แพทย์จังหวัดเลย ที่ได้รับไฟเซอร์

และอีกสารพัดกรณีตัวอย่าง ที่ทำให้คนทำงานรู้สึกกังวล

เรื่องดราม่าเหล่านี้เกิดขึ้นทุกวัน

เช่นเดียวกับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ก็เกิดขึ้นทุกวัน

ซึ่งหมอ และพยาบาล ต่างก็ลุ้นว่า ในการรักษาผู้ป่วยวันละ 1.5-2 หมื่นเคส อาจจะมีผู้ป่วย “ฉลาดแกมโกง” งัดกฎหมายมาเอาผิดหมอ

หมอทำงานทุกวันด้วยใจสั่นระรัว

นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ กฎหมายนี้ ต้องออกมาเป็น พ.ร.ก. เพราะต้องลัดขั้นตอนสภา ให้ออกมาบังคับใช้ให้เร็วที่สุด

เหล่านี้คือภาพสะท้อนความจำเป็น และตอบคำถามว่า ทำไม “พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19”

จึงไม่ควรถูกขัดขวาง

พร้อมแฮชแท็ก #ปกป้องคนทำงาน

9 ส.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” แจง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดบุคลากรการแพทย์ในการรักษาโควิด มีเพื่อมุ่งสร้างความมั่นใจให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปัดลักไก่เอื้อนิรโทษกรรมรัฐบาล อัดคนหัวขี้เท่อจ้องแต่เล่นการเมืองบนความเหนื่อยล้าของคนทำงาน

วันนี้ (9 ส.ค. 2564) จากกรณีกระทรวงสาธารณสุข เตรียมออก (ร่าง) พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายเป็นดรามา เมื่อฝ่ายการเมืองมองว่าเป็นไปเพื่อนิรโทษกรรมคณะบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19

โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวย้ำว่า ยังไม่มีกฎหมายออกมา เพราะอยู่ระหว่างการฟังความเห็น จากภาคส่วนต่างๆ ก่อนเสนอเข้า ครม.ต่อไป

แต่ที่มาแน่ๆ แล้ว คือ โควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก และมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอด กระทบกับแผนในการควบคุมโรคในทุกมิติ ซึ่งเป็นปัญหาที่นานาชาติกำลังประสบ ในประเทศไทยบุคลากรด้านการสาธารณสุขทำงานกันหนักมาก ตั้งแต่โลกรู้จักโควิด ไทยก็เริ่มดำเนินการเพื่อแก้ไขอย่างเร่งด่วน แพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านการสาธารณสุข ทำงานกันอย่างหนักหนาสาหัส สิ่งที่ต้องทำคือ ให้คนทำงานมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องการให้ต้องกังวลเรื่องการถูกฟ้อง ทั้งที่ทำด้วยใจบริสุทธิ์ ทำอย่างสุดความสามารถ

เมื่อถามถึงกรณีที่ฝ่ายการเมือง ออกมาระบุว่าการออกกฎหมายดังกล่าว เป็นการดึงแพทย์มาบังหน้า ลักไก่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมรัฐบาลในการบริหารโควิด-19 ที่ผิดพลาด นายอนุทิน กล่าวว่า จะลักไก่ได้อย่างไร แล้วจะนิรโทษกรรมใคร เพราะ (ร่าง) พ.ร.ก.ดังกล่าว ส่วนหนึ่งทางองค์กรวิชาชีพ สภาวิชาชีพต่างๆ สมาคม รพ.เอกชน แพทยสภา ก็เสนอให้มีกฎหมายลักษณะนี้ เพื่อป้องกันคนทำงานที่อาจถูกฟ้องร้องจากการปฏิบัติหน้าที่

เพราะตัวโรคโควิด-19 เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การรักษาไม่มียาเวชภัณฑ์เฉพาะโรค ไม่มีแนวทางเฉพาะทาง แต่คนทำงาน ต่างหวังดี อยากรักษาทุกคนให้ปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องการรักษาหรือการจัดการวัคซีน เป็นงานของแพทย์ ข้าราชการประจำ ฝ่ายการเมืองทำในเรื่องสนับสนุนภารกิจ กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ทำเพื่อป้องกันตัวเอง แต่ ทำเพื่อปกป้องบุคลากรสาธารณสุขให้เกิดความมั่นใจ ไม่ต้องวิตกกังวลต่ออนาคต และแน่นอนต้องมีเจตนาสุจริตในการทำงาน

“ด้วย ประสงค์ของ พ.ร.ก. เพื่อป้องกันคนหัวใสฟ้องร้องเอาผิดคนทำงาน แต่ก็ไม่คิดว่าจะมีคนหัวขี้เท่อ จ้องเล่นแต่การเมืองบนความเหนื่อยล้าของคนทำงาน แพทย์ หรือจิตอาสาที่เข้ามาทำงานด้วยความเต็มใจ ร่างดังกล่าวชัดเจนว่าเราไม่ได้ออกมาเพื่อคุ้มครองใครคนใดคนหนึ่ง และในคณะทำงานยก (ร่าง) พ.ร.ก. ก็ไม่ได้มีแค่หน่วยงานกำกับของกระทรวง แต่ยังมีภาควิชาชีพ ภาคกฎหมายเข้ามาร่วมดูแลกฎหมายฉบับนี้ ด้วย ทุกอย่างทำตามขั้นตอน ด้วยเจตนาเพื่อดูแลคนทำงาน” นายอนุทิน กล่าว


9 ส.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 10 สิงหาคม นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามแทนนายกรัฐมนตรีภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการเตรียมเสนอ พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ…. โดยมีเสียงคัดค้านจากประชาชนหากเป็นการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ว่า ในกรณีนี้ยืนยันว่ายังไม่มีการสรุปใดๆ ทั้งสิ้น ในส่วนของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวก็ยังไม่เสร็จสิ้นในการพิจารณาใดๆ ขณะนี้ต้องรับฟังความเห็นจากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนหรือแม้กระทั่งคณะกรรมการกฤษฎีกาที่จะดูในรายละเอียด ดังนั้นรายละเอียดทั้งหมดยังไม่ดำเนินการ ย้ำว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังไม่ได้มีการพิจารณาเพราะกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ส่งเรื่องใดๆมาทั้งสิ้น ซึ่งต้องมีอีกหลายส่วนพูดคุยหารือเพื่อความรอบคอบต่อไป

10 สิงหาคม 2564
https://www.matichon.co.th/politics/news_2877844