ผู้เขียน หัวข้อ: โคราชได้วัคซีนไฟเซอร์มากสุด บุรีรัมย์ติดท็อปเท็น สมุทรสงคราม-ระนองน้อยสุด  (อ่าน 387 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
เปิดเอกสารแผนการจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์รอบต้นเดือน ส.ค. 64 สำหรับบุคลากรด่านหน้า รวม 3.22 แสนโดส พบนครราชสีมาได้มากที่สุด 1.5 หมื่นโดส รองลงมาชลบุรี และนนทบุรี ขณะที่บุรีรัมย์ติด 1 ใน 10 แต่สมุทรสงคราม กับระนองได้น้อยสุด 1,200 โดส

วันนี้ (4 ส.ค.) จากกรณีที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 ยี่ห้อโคเมอร์เนตี (COMIRNATY) ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค จำนวน 1,503,450 โดสให้แก่ประเทศไทย ภายใต้แผนบริจาควัคซีนจำนวน 80 ล้านโดสในทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 23 ล้านโดสที่มอบให้แก่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย โดยได้มาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา

กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนจะฉีดให้ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโควิดโดยตรง เป็นบูสเตอร์โดสเข็มที่ 3 จำนวน 700,000 โดส 2. กลุ่มเปราะบาง เฉพาะ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่ม 7 โรคเรื้อรังอายุ 12 ปีขึ้นไป และคนท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 645,000 โดส

3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เป็นกลุ่มสูงอายุ, 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และคนท้อง 12 สัปดาห์ ไปจนถึงคนไทยที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องฉีดไฟเซอร์ เช่น นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น จำนวน 150,000 โดส และ 4. ทำการศึกษาวิจัย โดยการอนุมัติของคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม จำนวน 5,000 โดส

รายงานข่าวแจ้งว่า ในโซเชียลมีเดียได้เผยแพร่หนังสือ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ.0410.3/ว 516 ลงวันที่ 4 ส.ค. ถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งเป็นหนังสือการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไฟเซอร์ รอบต้นเดือนสิงหาคม 2564 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ระบุว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการจัดหาและจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (วัคซีนโควิด-19) สำหรับให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น

กระทรวงสาธารณสุขขอจัดส่งวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ รอบต้นเดือนสิงหาคม 2564 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อลดการป่วยรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต และปกป้องระบบสาธารณสุขของประเทศ จึงขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาเร่งรัดการให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทุกคนที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 จากการปฏิบัติงานทั่วประเทศ รวมทั้งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิดจากการปฏิบัติงาน เช่น แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 อื่นๆ ตามการพิจารณาของสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด โดยมีหลักการให้วัคซีน ดังนี้

1.1 บุคลากรที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มครบ 2 เข็ม อย่างน้อย 1 เดือน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์กระตุ้น 1 เข็ม

1.2 บุคลากรที่ได้รับวัคซีนใดๆ มาแล้วเพียง 1 เข็ม พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นหลัก

1.3 บุคลากรที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และไม่เคยได้รับวัคซีน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากวันที่พบการติดเชื้ออย่างน้อย 1 เดือน

ประเภทที่ 2 บุคลากรที่ไม่เคยได้วัคซีนใดๆ มาก่อน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ เนื่องจากวัคซีนจะเก็บอยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้เพียง 1 เดือน ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะส่งวัคซีนไฟเซอร์สำหรับผู้รับวัคซีนเข็ม 2 ในกลุ่มเป้าหมายประเภท 2 ประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2564 และหากจังหวัดได้ตรวจสอบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณสมบัติตามกลุ่มเป้าหมายประเภทที่ 1 และ 2 เพิ่มเติมสามารถแจ้งขอรับการสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติมได้ที่กรมควบคุมโรค อนึ่ง ในกรณีที่มีวัคซีนเพียงพอ สามารถจัดสรรให้แก่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเห็นสมควร

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า จากเอกสารแผนการจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์รอบต้นเดือนสิงหาคม 2564 พบว่ามีวัคซีนที่จัดส่งรวม 322,800 โดส แบ่งออกเป็นกลุ่มเป้าหมายประเภทที่ 1 จำนวน 301,200 โดส และกลุ่มเป้าหมายประเภทที่ 2 จำนวน 21,600 โดส กำหนดการจัดส่ง 4-6 ส.ค. โดยพบว่า 10 จังหวัดแรกที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์มากที่สุด ได้แก่

อันดับ 1 นครราชสีมา 15,360 โดส
อันดับ 2 ชลบุรี 12,720 โดส
อันดับ 3 นนทบุรี 11,280 โดส
อันดับ 4 สงขลา 10,800 โดส
อันดับ 5 เชียงใหม่ 10,320 โดส
อันดับ 6 สมุทรปราการ 10,080 โดส
อันดับ 6 อุบลราชธานี 10,080 โดส
อันดับ 8 ขอนแก่น 9,840 โดส
อันดับ 9 สุราษฎร์ธานี 7,680 โดส
อันดับ 10 บุรีรัมย์ 7,200 โดส

ส่วนจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรน้อยที่สุด คือ สมุทรสงคราม และระนอง จังหวัดละ 1,200 โดส สำหรับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานส่วนกลางอยู่ระหว่างพิจารณาจัดสรร

4 ส.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ประธานคณะทำงานวัคซีนโควิด "ไฟเซอร์" เผยสาเหตุจัดส่งวัคซีนแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ยังไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพียงรอบส่งวันที่ 4-6 ส.ค.นี้ โดย 76 จังหวัดรวม 322,800 โดส กทม.อีก 1.2 แสนโดสในรพ. 162 แห่ง ประกอบกับตัวเลขดังกล่าวมาจากจังหวัดสำรวจ และส่งข้อมูลมาที่ส่วนกลาง ขณะที่บุคลากรแต่ละพื้นที่มีจำนวนไม่เท่ากัน บางจังหวัดมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ โดสด้วยแอสตร้าฯ แล้ว

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขส่งหนังสือถึงผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ 13 เขตสุขภาพ - นพ.สสจ. เผยรายละเอียดจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ล็อต 1.5 ล้านโดส รอบต้นเดือนส.ค. ระหว่างวันที่ 4-6 ส.ค.2564 ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 2 ประเภท จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์บางพื้นที่ได้มาก ได้น้อยนั้น

เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กรณีวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เอกสารที่นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข ลงนามไปนั้นเป็นการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ไปยัง 76 จังหวัดรวม 322,800 โดส กทม.อีก 1.2 แสนโดสในสถานพยาบาล 162 แห่ง ซึ่งเป็นเพียงการจัดส่งในรอบแรก 4-6 ส.ค. 2564 อัตราการจัดส่งคิดเป็น 50-70% เป็นยอดจากการสำรวจเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่จังหวัดส่งขึ้นมาเทียบกับฐานข้อมูลบุคลากรที่กระทรวงสาธารณสุขมีอยู่

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ฉีดสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนใดๆ มาก่อนเลยแล้วจะให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มแรก รวมถึงกลุ่มที่ได้วัคซีนชนิดอื่นๆ เป็นเข็มแรกไปแล้วให้ฉีดไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ซึ่งรอทางจังหวัดส่งตัวเลขมาเพื่อที่เราจัดลงไปเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในจำนวนวัคซีนที่ส่งไปวันนี้สามารถฉีดให้กลุ่มบุคลากรเป้าหมายได้ทุกกลุ่มอยู่แล้ว น่าจะฉีดให้เสร็จใน 1 สัปดาห์ ส่วนล็อตต่อไปคาดว่าน่าจะส่งเร็วๆ นี้

“ตัวเลขวัคซีนที่ส่งไปในแต่ละจังหวัดที่เห็นว่าไม่เท่ากัน บางพื้นที่ได้มาก บางพื้นที่ได้น้อยนั้นเป็นตัวเลขที่มาจากทางจังหวัดสำรวจ และส่งข้อมูลมาที่ส่วนกลาง และนำมาแมตซ์กันกับข้อมูลที่ส่วนกลาง ตัวเลขที่ไม่เท่ากันก็เพราะตัวเลขบุคลากรแต่ละพื้นที่มีไม่เท่ากัน บางจังหวัดมีบุคลากรไม่มาก บางจังหวัดมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ โดสด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนกาไปแล้ว ก็เลยตัดตรงนั้นออกไป ไม่ใช่ว่ากระทรวงสาธารณสุขคิดตัวเลขขึ้นมาเอง เราให้ตามสัดส่วนบุคลากร” นพ.สุระ กล่าว

2021-08-04 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2021/08/22572