ผู้เขียน หัวข้อ: “บ้านหลังใหญ่ของสัตว์ป่า” ปัจจัยสำคัญทำให้ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ได้เป็นมรดกโลก  (อ่าน 318 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ยูเนสโกพิจารณา กลุ่มป่าแก่งกระจาน ภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 คือด้านความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์พืช และสัตว์ป่า ส่งผลให้กลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่เป็นดัง “บ้านหลังใหญ่ของสัตว์ป่า” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ลำดับที่ 6 ของเมืองไทย

ขอแสดงความยินดีกับ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย

มรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย ต่อจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2534 และ กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2548

กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรีมีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และ 1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่

-อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
-อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
-อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

สำหรับการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทยของกลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น ยูเนสโก พิจารณาภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 คือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นมรดกโลก มี 10 ข้อ ข้อที่1-6 เป็นหลักเกณฑ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ข้อที่ 7-10 เป็นหลักเกณฑ์แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ)

โดยหลักเกณฑ์ข้อที่ 10 คือ เป็นถิ่นอาศัยทางธรรมชาติในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพบชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่ายิ่งด้านการอนุรักษ์และวิทยาศาสตร์ โดยมีชนิดพันธุ์สำคัญที่ถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

สำหรับความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่นสำคัญของกลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น “ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ” กองการต่างประเทศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เผยแพร่ข้อมูลเอาไว้ดังนี้

-ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน มีจำนวน 459 ชนิด จำแนกตามสถานภาพตามบัญชีแดงของสหภาพสากลเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List)

รายชื่อสัตว์ป่าที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (ภาพ : ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานฯ)
รายชื่อสัตว์ป่าที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (ภาพ : ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานฯ)

-สัตว์ป่าที่อยู่ในขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (CR – Critically Endangered Species) จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ จระเข้น้ำจืด(𝘊𝘳𝘰𝘤𝘰𝘥𝘺𝘭𝘶𝘴 𝘴𝘪𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴) ลิ่นชวา (𝘔𝘢𝘯𝘪𝘴 𝘫𝘢𝘷𝘢𝘯𝘪𝘤𝘢) เต่าเหลือง (𝘐𝘯𝘥𝘰𝘵𝘦𝘴��𝘶𝘥𝘰 𝘦𝘭𝘰𝘯𝘨𝘢𝘵𝘦) และ เต่าหก (𝘔𝘢𝘯𝘰𝘶𝘳𝘪𝘢 𝘦𝘮𝘺𝘴)

-สัตว์ป่าชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ (EN – Endangered Species) จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ เสือโคร่ง (𝘗𝘢𝘯𝘵𝘩𝘦𝘳𝘢 𝘵𝘪𝘨𝘳𝘪𝘴) วัวแดง (𝘉𝘰𝘴 𝘫𝘢𝘷𝘢𝘯𝘪𝘤𝘶𝘴) เนื้อทราย (𝘈𝘹𝘪𝘴 𝘱𝘰𝘳𝘤𝘪𝘯𝘶𝘴) ละมั่ง (𝘙𝘶𝘤𝘦𝘳𝘷𝘶𝘴 𝘦𝘭𝘥𝘪𝘪) หมาใน (𝘊𝘶𝘰𝘯 𝘢𝘭𝘱𝘪𝘯𝘶𝘴) สมเสร็จ (𝘛𝘢𝘱𝘪𝘳𝘶𝘴 𝘪𝘯𝘥𝘪𝘤𝘶𝘴) ช้างป่า (𝘌𝘭𝘦𝘱𝘩𝘢𝘴 𝘮𝘢𝘹𝘪𝘮𝘶𝘴) และ ชะนีธรรมดา (𝘏𝘺𝘭𝘰𝘣𝘢𝘵𝘦𝘴 𝘭𝘢𝘳)

-สัตว์ป่าที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (VU – VulnerableSpecies) จำนวน 23 ชนิด เช่น เลียงผา(𝘊𝘢𝘱𝘳𝘪𝘤𝘰𝘳𝘯𝘪 𝘴𝘴𝘶𝘮𝘢𝘵𝘳𝘢𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴) กระทิง (𝘉𝘰𝘴 𝘨𝘢𝘶𝘳𝘶𝘴) กวางป่า (𝘙𝘶𝘴𝘢 𝘶𝘯𝘪𝘤𝘰𝘭𝘰𝘳) เสือดาวหรือเสือดำ (𝘗𝘢𝘯𝘵𝘩𝘦𝘳𝘢 𝘱𝘢𝘳𝘥𝘶𝘴)

-สัตว์ป่าที่อยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (NT – Near Threatened Species) จำนวน 25 ชนิด เช่น ค่างแว่นถิ่นใต้ (𝘛𝘳𝘢𝘤𝘩𝘺𝘱𝘪𝘵𝘩𝘦𝘤𝘶𝘴 𝘰𝘣𝘴𝘤𝘶𝘳𝘶𝘴) ค่างดา (𝘗𝘳𝘦𝘴𝘣𝘺𝘵𝘪𝘴 𝘧𝘦𝘮𝘰𝘳𝘢𝘭𝘪𝘴) ค่างหงอก (𝘛𝘳𝘢𝘤𝘩𝘺𝘱𝘪𝘵𝘩𝘦𝘤𝘶𝘴 𝘤𝘳𝘪𝘴𝘵𝘢𝘵𝘶𝘴) พญากระรอกดำ (𝘙𝘢𝘵𝘶𝘧𝘢 𝘣𝘪𝘤𝘰𝘭𝘰𝘳)

-สัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC – Least Concern Species) จำนวน 378 ชนิด

จะเห็นได้ว่ากลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นดัง “บ้านหลังใหญ่ของสัตว์ป่า” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ได้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ซึ่งเราต้องช่วยกันปกปักรักษาและอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่โลกของเราตราบนานเท่านาน

26 ก.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์