ผู้เขียน หัวข้อ: รอยเตอร์เปิดประเด็น "จม.ลับแอสตราเซเนก้า" ให้ "อนุทิน" ยันบ.ยาอังกฤษส่งได้แค่ 6  (อ่าน 319 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
รอยเตอร์/MGRออนไลน์ – ในจดหมายที่รั่วไหลออกมาพบว่า บริษัทแอสตราเซเนก้าระบุว่า ทางบริษัทสามารถส่งมอบวัคซีนโควิด-19ได้แค่จำนวน 6 ล้านโดสต่อเดือนไม่ใช่ 10 ล้านโดสตามที่รัฐบาลไทยออกมาประกาศ และได้ให้สิทธิไทยสามารถร้องขอวัคซีนโควิด-19ได้มากกว่าจำนวน 3 ล้านโดสระหว่างประชุมกันยายนปีที่แล้วผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกที่แอสตราเซเนก้าเข้าร่วมส่งมอบวัคซีนให้ แต่ไทยปฎิเสธเข้าร่วมโครงการแต่เดินหน้าออร์เดอร์วัคซีนจากบริษัทในเดือนมกราคมและอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม

รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(19 ก.ค)ว่า ที่ผ่านมาไทยพยายามผลักดันที่จะได้วัคซีนโควิด-19ถึง 10 ล้านโดสต่อเดือนและกำลังพิจารณาที่จะสั่งห้ามการส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนก้าที่ผลิตจากโรงงานในประเทศเพื่อทำให้วัคซีนตอบสนองกับจำนวนความต้องการภายในประเทศท่ามกลางการระบาดซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ภายใน 24 ชั่วโมง 11,305 คน และเสียชีวิต 80 คนของวันอังคาร(20)

รอยเตอร์รายงานว่า ในจดหมายจากบริษัทแอสตราเซเนเก้าที่ส่งถึงรัฐมนตรีสาธารณสุขของไทยโดยลงวันที่ 25 มิ.ย ที่ผ่านมานั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าบริษัทยาอังกฤษ-สวีดิชยืนยันว่ามีความสามารถในการส่งมอบวัคซีนให้กับทางการไทยได้ตกราว 5 ล้านโดส – 6 ล้านโดสาสต่อเดือนจากโรงงานพาร์ทเนอร์ที่ตั้งอยู่ในไทย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของการผลิตที่บริษัทพาร์ทเนอร์ในไทยทำการผลิต

ชวร์ด ฮับเบน (Sjoerd Hubben)  รองประธานด้านคอร์โปเรตสัมพันธ์ทั่วโลกของแอสตราเซเนก้า กล่าวในจดหมายว่า “ผมหวังว่าคุณคงจะยินดีที่สิ่งนี้เป็นจำนวนเกือบ 2 เท่าของยอดโวลูมที่พวกเราได้เคยหารือร่วมกัน”

ซึ่งเขาได้อ้างอิงไปถึงการประชุมร่วมกันกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ไทยเมื่อกันยายน ปี 2020

โดยในการประชุมครั้งนั้นทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลฝ่ายไทยได้ทำการประเมินว่าไทยมีความต้องการวัคซีนจำนวน 3 ล้านโดสต่อเดือน ฮับเบนชี้แจงในจดหมาย

นอกจากนี้ บริษัทแอสตราเซเนก้ายังเปิดต่อว่า และในที่ประชุมที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนนั้น ทางบริษัทยาอธิบายให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลรับทราบว่าทางฝ่ายไทย มีโอกาสที่จะได้วัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติมผ่านโครงการไม่แสวงหาผลกำไรในการจัดหาวัคซีน COVAX ขององค์การอนามัยโลก

รอยเตอร์ระบุว่า ไทยที่ไม่เคยทำสัญญาเพื่อร่วมโครงการ COVAX เพื่อเข้ารับวัคซีนผ่านโครงการนี้ แต่ทว่ากลับตัดสินใจในเดือนมกราคมเพื่อสั่งซื้อ 26 ล้านโดสจากบริษัทแอสตราเซเนก้า และอีก 35 ล้านโดสในเดือนพฤษภาคม อ้างอิงจากจดหมายของบริษัทยาถึงรัฐมนตรีสาธารณสุขไทย

ทั้งนี้ในวันอาทิตย์(18)ผู้อำนวยกรมควบคุมโรค นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ออกมายืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง พร้อมกับอ้างไปถึงตัวเลข 3 ล้านโดสนั้นเป็นแค่ตัวเลขประเมินคร่าวๆเท่านั้น และทางฝ่ายไทยได้ร้องขอต่อบริษัทแอสตราเซเนก้าอย่างเป็นทางการเมื่อเมษายน ปีนี้ให้ทำการส่งมอบวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสต่อเดือน

แต่ทว่าผ.อกรมควบคุมโรคไม่ได้แจ้งว่า บริษัทแอสตราเซเนก้ายอมตกลงด้วยหรือไม่ และกล่าวอีกว่า เป็นที่เข้าใจว่าวัคซีนจะมีเพียงพอตามผลการผลิตและจำนวนโวลุมตามที่ตกลงตามต่อเดือนเป็นหลัก

รอยเตอร์รายงานว่าในวันจันทร์(19)บริษัทยาอังกฤษ-สวีดิชไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นถึงจดหมายที่รั่วออกมาสู่สาธารณะ

อย่างไรก็ตามอ้างตามจดหมายพบว่า แอสตราเซเนก้าได้ทำตามคำมั่นสัญญาจัดส่งไปแล้วเกือบ 114 ล้านโดสในส่วนอื่นของภูมิภาคเอเชีย ซัพพลายเชนที่ไม่มีความแน่นอนเนื่องมาจากความเสี่ยงที่จะถูกรัฐบาลไทยใช้อำนาจจำกัดการส่งวัคซีนออกนอกประเทศ

บริษัทแอสตราเซเนก้ามีแผนที่จะส่งมอบวัคซีนจำนวน 50 ล้านโดสให้แก่อินโดนีเซีย 30 ล้านโดสให้แก่เวียดนาม 16.5 ล้านโดสให้แก่ฟิลิปปินส์ และอีก 10 ล้านโดสให้แก่ไต้หวัน สุดท้ายจำนวน 6.4 ล้านโดสให้แก่มาเลเซีย

รอยเตอร์รายงานว่า แหล่งข่าวที่รู้ดีในเรื่องข้อตกลงวัคซีนแอสตราเซเนก้ากล่าวว่า 61 ล้านโดส หรือราว 1 ใน 3 ของจำนวนที่บริษัทพาร์ทเนอร์ในไทยสามารถผลิตได้ตามข้อตกลงนั้นจะถูกส่งมอบให้กับไทยทั้งหมด แต่ไม่มีพันธะผูกพันการส่งมอบรายเดือนที่ได้เคยมีการตกลงไว้

ด้าน ส.สพรรคก้าวไกล วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (Wiroj Lakkhanaadisorn) ได้แสดงความเห็นกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(19)เกี่ยวกับการจัดการของรัฐบาลไทยว่า ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะไม่เคยมีการเตรียมความพร้อมถึงปัญหาการขาดแคลนวัคซีนระดับโลก หรือการมีความเป็นไปได้ที่จะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงจากไวรัสโควิด-19กลายพันธุ์

“รัฐบาลมีความมั่นใจเกินไปเกี่ยวกับสถานการณ์ในขณะที่กำลังวางแผน” และเสริมต่อว่า “พวกเขามีความล่าช้าและไม่ระมัดระวัง”

20 ก.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์