ผู้เขียน หัวข้อ: ขอให้ถอนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ออกจากระเบ  (อ่าน 2098 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา
สำนัก งานเลขานุการประธานรัฐสภา
ถนน อู่ทองใน
เขต ดุสิต
กทม. 10300
Fax:  02 244 1152
30 มิถุนายน 2553
เรื่อง ขอให้ถอนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เรียน นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา
 จาก การที่ได้ทราบว่า มีคณะบุคคล สส.และครม. ได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อให้สภาผู้แทนฯพิจารณาเป็นเรื่องด่วนนั้น
 เมื่อ ได้อ่านร่างพ.ร.บ.นี้ทั้ง 6 ร่างแล้วมีสาระใกล้เคียงกัน แตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียดบางอย่าง
แต่ ผลลกระทบที่จะเกิดตามมาหลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.นี้ก็คือ
1.             พ.ร.บ.นี้อ้างว่าจะทำให้ เกิดความ สัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการสาธารณสุขกับผู้รับบริการ  แต่ ผลลัพธ์น่าจะเป็นตรงกันข้าม คาดว่าจะต้องเกิดการร้องเรียนมากขึ้น เพราะผลจากการรักษาผู้ป่วยที่มีความตาย พิการ สูญเสียนั้น ประชาชนย่อมอยากที่จะนำเรื่องไปร้องเรียนคณะกรรมการตามพ.ร.บ.นี้ เพื่อหวังจะได้เงินช่วยเหลือและเงินชดเชยความเสียหาย  เนื่องจากประชาชนคาดหวังการได้รับเงินทั้งเงินช่วยเหลือและชดเชย แต่บุคลากรต้องกริ่งเกรงว่าจะถูกสอบสวนและเสื่อมเสียชื่อเสียง ก่อนการตัดสินของคณะกรรมการ
2.           การที่ตั้งคณะกรรมการ พิจารณา ตัดสินการรักษาพยาบาลจากผู้ที่มิใช่ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ และสาธารณสุขเป็นเสียงข้างมาก(อัตราส่วนผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์เพียง 3 ใน 18 คน) มาตัดสินว่า ความเสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ความเสียหายใน 3 ข้อตามมาตรา 6) นั้น จะทำให้สภาวิชาชีพ ไม่สามารถจะเป็นผู้ชี้ขาดว่า การประกอบวิชาชีพทางการแพทย์นั้น ได้มาตรฐานหรือไม่ เพราะสิทธิเบ็ดเสร็จในการตัดสินเยียวยาความเสียหายของประชาชนนั้น เกิดจากคณะกรรมการที่ไม่มีความรู้ในมาตรฐานวิชาชีพ จะทำให้การพัฒนาทางการแพทย์เสียหาย เพราะสภาวิชาชีพไม่สามารถจะกำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐาน ที่ดีที่สุดได้
3.            ผลจากข้อ 2 จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาพยาบาล หรือเสียโอกาสที่จะรอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอยู่ในภาวะวิกฤติของความเป็นหรือ ความตายเท่าๆกัน บุคลากรทางการแพทย์ก็อาจจะตัดสินใจไม่รักษาผู้ป่วยนี้เอง แต่ส่งต่อไปรักษาที่อื่น เพราะเกรงว่าถ้าผู้ป่วยไม่รอดชีวิต ญาติก็คงจะฟ้องร้องเพื่อขอเงินช่วยเหลือทำศพ และขอเงินชดเชย โดยการตัดสินของคณะกรรมการ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ ที่แพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอไม่ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยอีกเลย เพราะเกรงว่าจะถูกตัดสินจำคุกถ้าผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจนถึงแก่ความตาย
4.            การยืดอายุความในการเรียก ร้องไป ถึง 3 ปีที่ประชาชน “อ้าง”ว่า เพิ่งรู้ว่า “เกิดความเสียหาย” นั้น นอกจากจะยากต่อการพิสูจน์ว่า ทราบเมื่อไรแล้ว ยังเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ด้วย เพราะตามปกติแล้วอายุความการทำละเมิดทางแพ่งของบุคคลอื่นๆมีอายุความเพียง 1ปี ส่วนอายุความ 3 ปีมีกำหนดเฉพาะใน พ.ร.บ.วัตถุอันตรายหรือสินค้าไม่ปลอดภัย เท่านั้น จึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีคุณค่าเพียงเป็น “วัตถุ หรือ บุคคลอันตรายหรือ สินค้าไม่ปลอดภัย”เท่านั้น จึงจะส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่อยากทำงานบริการรักษาประชาชนอีกต่อไป และเยาวชนทั้งหลายก็คงเลิกคิดอยากมาเรียนและประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ซึ่งในที่สุดการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยก็จะเสีย หาย ลงไปเรื่อยๆ
สรุป ความเห็น การ เขียนกฎหมายแบบนี้ จะกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นการผลักภาระให้แก่บุคคลากรและหน่วยงานทางการสาธารณสุขเกิน สัดส่วน ไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินที่มีคุณธรรม (Good Governance)

สภาวิชาชีพจะไม่สามารถควบคุม กำกับ การรักษามาตรฐาน และจริยธรรมธรรมวิชาชีพของบุคคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อีกต่อไป  เนื่อง จากระบบตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพถูกทำลาย   ทำให้วงการแพทย์และสาธารณ สุขไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าทันตามความ ก้าวหน้าในระดับนานาชาติที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจเลวร้ายจนกระทบต่อการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ย่ำแย่ในอนาคต อันใกล้นี้
 ซึ่ง เป็น เหตุผลที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่สมควรมีกฎหมายฉบับนี้เลย เนื่องจากกฎหมายนี้จะไม่ได้แก้ปัญหา    แต่กลับจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น โดยบุคลากรทางการแพทย์จะ ต้องถูกควบคุมสอบสวนโดยการถูกตั้งธงไว้ก่อนว่า ทำผิดจนกว่าจะได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการว่า “ไม่ ผิด” ซึ่งผิดหลักกฎหมายและนิติธรรม
 ผู้ เสนอ ร่างกฎหมาย ไม่ได้พิจารณาผลกระทบและความเสียหาย ที่จะติดตามมา ซึ่งยากต่อการเยียวยาหรือสร้างระบบให้กลับคืนมาใหม่ได้.
จึงขอเรียกร้องให้ ท่านประธานรัฐสภาถอนร่างพ.ร.บ.นี้ ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อนำมาทบทวน ทำประชาพิจารณ์และแก้ไข ก่อนที่พ.ร.บ.นี้ จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและประเทศชาติมากไปกว่านี้ 
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลขที่  5144