ผู้เขียน หัวข้อ: ถอดบทเรียนหายนะ “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” อากาศ-น้ำ สารเคมีฟุ้ง เสี่ยงมะเร็ง!!  (อ่าน 360 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ระทึกติดเทรนด์ทวิตเตอร์ #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานพลาสติกขนาดใหญ่ นำมาสู่ดรามาสังคมออนไลน์ ตั้งคำถามด้านความปลอดภัยอยู่ที่ไหน ระเบิดสนั่นสารเคมีคลุ้ง อากาศ-น้ำ มีมลพิษก่อมะเร็ง อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ชี้ ระวังฝน แนะมาตรการจัดการรอให้สลายตามธรรมชาติ ทว่า นักวิชาการเสียงแตก หากปล่อยให้มลพิษสลายตามธรรมชาติ อันตราย อาจใช้เวลานาน 1 ปี!!

ระเบิดรุนแรง! ระวังสารพิษก่อ “มะเร็ง”

นับเป็นความเสียหายมหาศาล หลังเหตุเพลิงไหม้โรงงานเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในซอยกิ่งแก้ว 21 จ.สมุทรปราการ จากแรงระเบิดส่งให้คลื่นแรงดันอากาศไปทำลายบ้านเรือนประชาชนในชุมชนใกล้เคียงเป็นวงกว้าง เรียกว่าต้องอพยพหนีกันทั้งเมือง

อย่างไรก็ดี แม้จะควบคุมเพลิงได้ทั้งหมดแล้ว แต่โรงงานที่อัดแน่นไปด้วยสารเคมีอยู่กลางชุมชนเช่นนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวัง เพราะยังมีความร้อนสูง และอาจเกิดการติดไฟขึ้นได้อีก นำมาซึ่งความหวาดกลัวว่าสารเคมีที่ฟุ้งกระจายอยู่นั้น จะอันตราย และส่งผลกระทบต่อประชาชนแค่ไหน

ด้าน รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาเตือนว่า สารเคมีไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว “สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene Monomer)” เป็นสารอันตราย ถือเป็นมลพิษทางอากาศ อาจก่อให้เกิดมะเร็ง หากปล่อยให้สลายตามธรรมชาติ อาจใช้เวลานาน 1 ปี

แต่ดูเหมือนเรื่องจะไม่จบ โดยเฉพาะผลกระทบเรื่องสารเคมีที่คั่งคาง ทั้งในอากาศและน้ำในระยะยาว เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทางทีมข่าว MGR Live จึงได้ติดต่อไปยัง ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงการจัดการปัญหาของอากาศและน้ำ ที่มีสารพิษปนเปื้อนในตอนนี้ โดยให้ตอบไว้ว่า ตรวจพบสารพิษปนเปื้อน ที่มีอันตราย และสามารถก่อให้เกิดมะเร็งในระยะยาวในเหตุเพลิงไหม้นี้

“คือ ตัวโรงงานของหมิงตี้ เคมีคอล เป็นโรงงานผลิตโฟม ตัวโพลีสไตรลีน มันเป็นไฮโดรคาร์บอนประเภทหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดการเผาไหม้ แล้วมันเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

นอกจากนี้ เรากลัวว่ามันจะมีองค์ประกอบของสารอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน 1, 3-บิวทาไดอีน โครเมียน พวกนี้มันเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งทั้งสิ้น แต่มันไม่ได้หมายความว่าจะเกิดทันที จะเกิดจากการสูดดม หรือมีการใช้ไปในนานๆ”

ทว่า หากมีการสูดดมเข้าไป อาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหากได้รับควันพิษเข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าปกติและเมื่อถามว่า สารพิษจะหมดไปในเร็ววันหรือไม่ เขาคาดการณ์ไว้ว่า ภายใน 1-2 วัน ควันจะกระจายตัวออกไป ความเข้มข้นของสารพิษจะถูกลดลงเช่นกัน

“จริงๆ แล้วโดยธรรมชาติเอง พอมีควันเกิดขึ้นมา และมีลมพัดกระจายบนอากาศ ซึ่งถ้าท้องฟ้าค่อนข้างเปิด เพดานอากาศจะยกตัวสูง ส่งให้ควันและความเข้มข้นของสารพิษ กระจายตัวและหายไปหมดตามธรรมชาติภายใน 1-2 วัน”

เพลิงสงบ ปัญหา-ผลกระทบเพียบ!!?

แน่นอนว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นำมาสู่คำถาม และข้อข้องใจของสังคมอย่างต่อเนื่อง ถึงประเด็นการจัดการปัญหาเรื่องสารพิษปนเปื้อน แม้กระทั้งปัญหาโรงงานที่เต็มไปด้วยสารเคมี แต่อยู่กลางชุมชนที่เรื้อรังมากว่า 10 ปีได้อย่างไร ซึ่งยังคงรอคำตอบที่ชัดเจน ที่ถือเป็นการจัดการเรื่องความปลอดภัยที่บกพร่องหรือไม่นั้น

เพื่อยืนยันคำตอบของเรื่องนี้ทางด้านอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาได้กล่าวว่าบริเวณ กทม.และ ปริมณฑล อาจมีฝนเพิ่มขึ้น หากฝนลงไปชะล้างกลุ่มควันเหล่านี้ซึ่งเป็นสารพิษและตกลงในแม่น้ำ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ อาจส่งผลต่อประชาชน

“สิ่งที่เป็นห่วงจริงๆ แล้ว น่าจะเกิดขึ้นตรงที่ว่า น้ำที่ใช้ในการดับเพลิง ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจว่าทางกรมควบคุมมลพิษ และกรมอุตสาหกรรมคงจะเข้าไปดูแล้ว ในเรื่องของน้ำที่ใช้ในการดับเพลิง เนื่องจากว่าตัวสาร สไตรีนโมโนเมอร์
หลังจากที่เราดับไฟ มันจะถูกไหลไปลงในรางระบายน้ำ

ซึ่งต้องดูต่อว่ารางระบายน้ำเหล่านั้นมันไหลไปออกที่ไหน เพราะฉะนั้นจะต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำ ที่เกิดจากการดับไฟว่ามีการปนเปื้อนของสารพิษหรือไม่ ถ้าไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษอยู่ ก็ไม่ต้องเป็นห่วงอะไร แต่ถ้ามีการปนเปื้อนของสารพิษอยู่ ก็คงต้องมีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน จะเป็นภารกิจของกรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะแจ้งเตือนต่อพี่น้องประชาชนในอนาคตอันใกล้นี้

แต่ถ้ามลพิษลงไปยังแม่น้ำ บ่อน้ำ ลำคลอง ตรงนี้เราอยากจะแจ้งเตือนว่าอย่าเพิ่งใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ถ้าเกิดจะใช้ก็ควรต้องมีการฆ่าเชื้อก่อน”

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย แนะประชาชนควรเลี่ยงนำน้ำฝนมาบริโภค เพื่อเสี่ยงสารเคมีที่ปนเปื้อนจากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว อย่างน้อย 1-2 วัน

“ตอนนี้เรายังติดตามสถานการณ์อยู่ จริงๆ ฝนตกช่วงนี้จะช่วยลดปริมาณควันได้ แต่อย่าเพิ่งไปเอาน้ำที่เกิดจากฝนไปใช้แค่นั้นเอง

ในเรื่องของสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่กับควัน เราก็แจ้งเตือนไปว่า เวลาที่เกิดฝน แล้วตัวหมอกควันตกลงมา ถ้ามันตกลงบนพื้นถนนก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดไปตกลงแม่น้ำลำคลอง เกิดตกลงไปในบ่อน้ำ เราก็เตือนพี่น้องประชาชนว่า อย่าเพิ่งใช้น้ำฝนที่ตกลงมา เพราะว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของพี่น้องประชาชนได้ในตอนนี้ เพื่อการอุปโภค บริโภค 1-2 วันนี้อย่าเพิ่งใช้ ในกรณีที่มีฝน เพราะจะมีหมอกควันเหล่านั้นลงมา

ตอนนี้ประชาชนที่อยู่ใกล้โรงงาน ควันยังมีสารพิษอยู่ เพราะฉะนั้นการออกไปในพื้นที่กลางแจ้ง หรือออกไปสูดดมควันมันอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตรงนี้ก็ไม่ควรออกไปไหน สำหรับประชาชนที่อยู่ใกล้โรงงานนะครับ”

อย่างไรก็ดี ด้านเพจ “สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์” ก็ไม่นิ่งนอนใจ ล่าสุด ออกมาชี้แจงถึงเรื่องความปลอดภัยของน้ำประปา ใกล้ชิด พร้อมย้ำให้ประชาชนคลายความกังวลว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำประปา

โดยพื้นที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากแหล่งน้ำดิบ โรงงานผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน.) และคลองประปา มากกว่า 30 กิโลเมตร ซึ่งอยู่นอกพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมเตือนประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณรัศมีโดยรอบที่เกิดเหตุ 5-10 กม. หากมีการรองน้ำประปาใส่ภาชนะไว้ ให้มีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

“ขอยืนยันว่า น้ำประปาที่ผลิตจากโรงงานผลิตน้ำจะถูกลำเลียงด้วยระบบปิด ผ่านทางท่อประปา ซึ่งเป็นไปตามแผนน้ำประปาปลอดภัย หรือ water safety plan (WSP) สารเคมีไม่สามารถปนเปื้อนในน้ำประปาได้ ประกอบกับขณะนี้ กปน.ได้ทำการตรวจสอบแนวท่อประปาบริเวณใกล้เคียงที่เกิดเหตุ พบว่าไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าน้ำประปาของ กปน.สะอาด ปลอดภัย”

7 ก.ค. 2564 ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จากกรณี “โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้” ผู้เชี่ยวชาญแนะควรประเมินความเสี่ยงรับสาร “PAHs” ที่ลอยอยู่ในอากาศแม้จะมองไม่เห็น เพื่อดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม
ถึงแม้โศกนาฏกรรม โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อย่างรุนแรง จะไม่ได้คร่าชีวิตผู้คนให้ล้มตายเป็นจำนวนมากในทันที แต่ก็มีความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ และความเดือดร้อนของประชาชนจำนวนมหาศาล ทว่าการที่โรงงานแห่งนี้มีการใช้สารสไตรีน (Styrene monomer) และเพนเทน (Pentane) ในกระบวนการผลิตเม็ดโฟมและเม็ดพลาสติก การที่สารเคมีเหล่านี้ถูกเผาไหม้แล้วกลายเป็นกลุ่มควันลอยสู่อากาศ อาจเป็นหายนะของสิ่งมีชีวิตที่สูดดมรับสารเข้าร่างกายแบบตายผ่อนส่ง

สำหรับสไตรีนซึ่งเป็นสารประกอบอะโรมาติกถ้าเกิดการเผาไหม้จะเกิดเป็นสารกลุ่ม โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือ PAHs, อนุภาคฝุ่น PM2.5, Carbon monoxide (CO), Nitrogen oxides (NOx) ซึ่งถ้าสูดดมเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “PAHs” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญ

“สาร PAHs” เป็นสารมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงและถ่านหิน ไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องยนต์ เขม่าควันไฟ ควันธูป ควันบุหรี่ อาหารปิ้งย่าง อาหารรมควัน ยาหรือเครื่องสำอางบางชนิด ซึ่ง “PAHs” จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในดิน น้ำ และอากาศ เข้าสู่ร่างกายเราโดยการสัมผัส สูดดม หรือบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน “PAHs” ในปริมาณมากๆ

ผู้จัดการอาวุโส ห้องปฏิบัติการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์จำกัด (NHealth) อย่าง ดร.ภูวดล ธรรมราษฎร์ ให้ข้อมูลว่า “PAHs” มีคุณสมบัติเป็นอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อของมนุษย์ การได้รับในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ปอดถูกทำลาย มีอาการคล้ายหอบหืด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า “PAHs” เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และก่อมะเร็งได้

การตรวจประเมินการรับสัมผัสสาร “PAHs” คือการตรวจวัดระดับสาร 1-Hydroxypyrene (1-OHP) ในปัสสาวะซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) สำหรับตรวจติดตามระดับการได้รับ “สาร PAHs” ในร่างกายได้ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Liquid Chromatography Tandem Mass Spectrometry (LC-MS/MS) ซึ่งมีความจำเพาะต่อโมเลกุลของสารที่ตรวจและให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ

ประโยชน์ของการตรวจหาสาร PAHs เพื่อที่จะทราบว่าร่างกายได้รับสารดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน และอยู่ในระดับที่เสี่ยงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ซึ่งทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนการดูแลสุขภาพหรือหาทางป้องกันได้อย่างเหมาะสม “รวมถึงสามารถใช้ประเมินความเสี่ยงหรือเฝ้าระวังสำหรับประชาชนที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรืออยู่ในเขตที่เกิดอุบัติเหตุสารเคมีระเบิดหรือลุกไหม้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงควรได้รับการตรวจวัดระดับสาร 1-OHP ในปัสสาวะหลังปฏิบัติงานทันที

recommended by
IKEA
IKEA SALE วันนี้ - 11 ก.ค. 64
เรียนรู้เพิ่มเติม
'เขตวังทองหลาง' สั่งปิดฝ่ายรักษาความสะอาด-สวนสาธารณะ หลังพบจนท.ติดเชื้อ 'โควิด'
เปิด 4 ชนิดวัคซีนโควิด ฉีดแล้วเที่ยวเยอรมนี ได้
'วิจัยเอกชน' ดันไอเอ็มดีไทยขยับขึ้น
สำหรับวิธีป้องกันตัวเองจากสารมลพิษทางอากาศที่ดีและง่ายที่สุด มีดังนี้

สวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อกันควันหรือฝุ่นหากเป็นไปได้ควรเป็นชนิด N95
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีควันหรือฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน
หลีกเลี่ยงการจราจรช่วงติดขัด
เปิดเครื่องฟอกอากาศ
หมั่นทำความสะอาดที่อยู่อาศัย
เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดการสัมผัสฝุ่นและมลพิษได้แล้ว

6 กรกฎาคม 2564 | โดย ปริญญา ชาวสมุน
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/947380