ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยกลัว GMO แต่ไม่กลัวเทคโนโลยี mRNA?!? ซีอีโอ Sinovac ชี้ความปลอดภัย  (อ่าน 274 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
หนึ่งในกระแสการขับเคลื่อนของ NGO เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มาแรงในปัจจุบันนี้ คือกระแสคนไทยไม่เอา จีเอ็มโอ GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organism หมายถึงจุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม

โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมคือ มีการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนส์ เพราะกลัวว่าหากกินอาหารที่มีการตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จะส่งผลต่อยีนส์ของมนุษย์ในอนาคต ทำให้มี NGO ออกมาขับเคลื่อน ต่อต้านการบริโภคอาหารที่เป็นการตัดต่อพันธุกรรมหรือ GMO แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจ เมื่อการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 มายังประเทศไทย โดยใช้ วิธี mRNA หรือเรียกได้ว่า ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส และดัดแปลงให้เซลล์มนุษย์ผลิตโปรตีนออกมารักษาโรค กลับเป็นที่เรียกร้องของคนไทย โดยไม่มีเสียงเล็ดลอดออกมาจาก NGO ทั้งที่เป็นการฉีดตรงไปยังร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นผลในเวลาหลายปี หรืออาจจะไม่มีผลกระทบใด ๆ เลย ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษา แต่ที่แน่ ๆ คือวัคซีนแทบทุกตัวในตลาด ใช้วิธีการลัดขั้นตอนในการทดสอบ ดังนั้น การฉีดจริง จึงถือเป็นการทดสอบไปในตัว

ดังนั้น การที่คนไทย ไม่มีวัคซีนที่ใช้วิธี mRNA ในช่วงปีแรก ๆ ของการฉีดทั่วโลก จริง ๆ ถือเป็นความโชคดี หากมองในด้านความปลอดภัย เพราะยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ปลอดภัยกว่า และเป็นการซื้อเวลา จนกว่าเราจะเข้าใจจริง ๆ ว่า วัคซีนประเภทใดจะเหมาะกับมนุษย์มากที่สุด อย่างเช่นหนังฮอลลีวูดหลายเรื่องก็มีให้ดูว่า ผ่านไป 5 ปี 10 ปี จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่

ในวิถีปฏิบัติของมวลมนุษยชาติ ในอดีตที่ผ่านมา ปกติแล้วการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากไวรัสนั้นจะต้องนำเอาตัวไวรัสมาดัดแปลงให้อ่อนแอไม่เป็นพิษเป็นภัย แบบวัคซีนซิโนแวค หรือนำเอาชิ้นส่วนของไวรัสมาฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราได้รู้จักไวรัสดังกล่าวแล้วสร้างภูมิคุ้มกัน แบบ Astra Zeneca แต่ในปัจจุบัน มนุษย์กำลังก้าวหน้าท้าทายพระเจ้า ในการเข้าใจพันธุกรรมของไวรัสมากขึ้น และเชื่อมั่นว่า สามารถสั่งเซลล์แบบสั่งตัด ไปสร้างโปรตีนสู้ไวรัส ในกรณีของ mRNA นี้ ถือเป็นวิธีใหม่มาก ๆ และการฉีดให้กับคนทั่วโลก ก็เหมือนเป็นการทดลอง mRNA ครั้งใหญ่สุดของมวลมนุษยชาติ เมื่อโจทย์ที่สำคัญคือ นักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้แบบถ่องแท้แค่ไหน ซึ่ง mRNA เป็นเหมือนตำราให้เซลล์ของมนุษย์ผลิตโปรตีนออกมาตามสั่งซึ่งต้องมีความเข้าใจพันธุกรรมของไวรัสเป็นอย่างดี และถ้าเซลล์เกิดไม่เชื่อฟัง ดันไปสร้างอะไรที่เราไม่ต้องการ อันนี้ต้องรอดูในระยะยาว ซึ่งวิธี mRNA จะสามารถดัดแปลงให้เซลล์ของมนุษย์เป็นเสมือนกับโรงผลิตยา (โปรตีน) ของตัวเอง โดยมีความเชื่อว่า จะสามารถผลิตโปรตีนออกมารักษาโรคได้เกือบทุกโรค เป็นนวัตกรรมการรักษาที่หากไม่มีผลระยะยาว ก็อาจเป็นวิธีใหม่ ที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งต้องติดตามอีกกว่า 10 ปี

นอกจากนี้วัคซีนโควิด-19 กลายเป็นวาทะทางการเมือง ชิงความได้เปรียบ การแข่งขันด้านการตลาดของประเทศมหาอำนาจในการดิสเครดิตวัคซีนคู่แข่ง โดยล่าสุด ซีอีโอ "ซิโนแวค" ให้แง่คิดกับบลูมเบิร์ก เมื่อถูกถามว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนต่ำกว่าวัคซีนตัวอื่น ทางซีอีโอ อิน เว่ยตง คิดว่าอย่างไร ทางซีอีโอ ซิโนแวค ตอบได้อย่างน่าสนใจว่า ในเวลาที่ทั่วโลกขาดแคลนวัคซีน และวัคซีนทุกชนิดกับกลุ่มตัวอย่างเพียงเล็กน้อย แล้วนำมาฉีดในภาวะฉุกเฉินนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เรื่องของความปลอดภัย เรากำลังนำวัคซีนที่ลัดขั้นตอนการทดลอง มาฉีดให้กับคนจำนวนหลายล้านคน ดังนั้น ความสำคัญของเวลาในปัจจุบันคือ การรักษาชีวิตคนให้มากที่สุด ซึ่งวัคซีนซิโนแวค ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ นพ.อิน เว่ยตง ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ซิโนแวค กล่าวต่อไปอีกว่า การทดลองของวัคซีนต่าง ๆ ทดลองในช่วงเวลาที่ต่างกัน การอ้างถึงผลการทดลองทางคลินิกที่ซิโนแวคต่ำกว่าวัคซีนชาติตะวันตก ระบุตอนนี้มีหลักฐานมากขึ้นทุกทีว่าเมื่อนำไปใช้งานจริงวัคซีนโคโรนาแวคได้ผลดีกว่าเดิมมาก และไวรัสก็กลายพันธ์ไปเรื่อย ๆ ดูจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนหลายประเทศ ก็ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น ความปลอดภัย และการรักษาชีวิต จึงมีความสำคัญกว่า

X

จากข้อมูล โคโรนาแวคของซิโนแวค พบว่า มีข้อดีที่การเก็บรักษาง่าย เนื่องจากใช้อุณหภูมิแค่ 2 - 8 องศาเซลเซียส สามารถแช่ในตู้เย็นทั่วไปได้ ไม่เหมือนวัคซีนของไฟเซอร์ ซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหูมิต่ำมากถึง -70 องศาเซลเซียส หรือโมเดอร์นา ที่ต้องรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ดังนั้น ประเทศที่จะนำเข้า ต้องวางแผนโลจิสติกส์ หากวางวัคซีนในอุณหภมิปกติสัก 15 นาที ประสิทธิภาพของวัคซีนจะต่ำลงอย่างมาก ต้องตั้งคำถามว่า สามารถจัดการกับระบบขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ดังนั้น การที่ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนที่ไม่ต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำมาก ถือได้ว่า เป็นทางเลือกที่ดี ตามความพร้อมของประเทศที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน และ ไม่มีระบบขนส่งที่มีอุณหภูมิต่ำขนาดนั้น แม้กระทั่งรถขนอาหารแช่แข็งในประเทศไทย ยังมีอุณหภูมิแค่ -15 องศา คงต้องมีการจัดซื้อรถแช่แข่ง -70 องศา กันอีกเป็นหมื่นล้าน หากรัฐบาลต้องการสั่งวัคซีนดังกล่าว ขณะเดียวกัน โคโรนาแวคยังเป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยวิธีเก่าจากเชื้อตายแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่มีประวัติเคยใช้งานกับมนุษย์มาแล้ว จึงปลอดภัยกว่าวัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ที่มาจากนวัตกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) จากการใช้หน่วยพันธุกรรมของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่ยังไม่เคยรับรองให้ใช้กับมนุษย์อย่างแพร่หลายมาก่อน

นพ.อิน เว่ยตง (Yin Weidong) ประธานบริษัทและ CEO บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด (Sinovac Biotech) ของจีนเปิดเผยว่าบริษัทซิโนแวคได้ส่งมอบวัคซีนรวม 260 ล้านโดสให้กับลูกค้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร้อยละ 60 ของวัคซีนทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 40 ถูกจัดสรรให้กับศูนย์วัคซีนในประเทศ เพื่อใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับกลุ่มเสี่ยง

ที่ผ่านมา บริษัทซิโนแวคได้รับคำสั่งซื้อวัคซีนจากลูกค้าในต่างแดน รวมกว่า 450 ล้านโดส โดยเฉพาะบราซิล อินโดนีเซีย ตุรกีและชิลีเป็นหนึ่งในผู้ซื้อวัคซีนรายใหญ่ ขณะเดียวกัน บริษัซิโนแวคได้ทำสัญญาจ้างพันธมิตรในบางประเทศเช่น บราซิลและอินโดนีเซีย ให้ทำการผลิตวัคซีนให้กับซิโนแวค เช่นกัน นอกจากนี้ แพทย์ได้ใช้วัคซีนจากซิโนแวคแล้วราว 160 ล้านโดสเพื่อฉีดป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเช่น บุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุทั่วโลก ดังนั้น การที่ประเทศไทยสั่งวัคซีนซิโนแวค จำนวน 3 ล้าน และ จีนบริจาคให้ประเทศไทยอีก 5 แสนโด้สนั้น เทียบได้กับ 0.0067% ของยอดการสั่งซื้อทั่วโลก ดังนั้น การถูกเชื่อมโยงไปกับประเด็นการเมืองนั้น จึงไม่สมเหตุสมผล และเป็นการสั่งแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลเท่านั้น และประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่ดีมาโดยตลอด สิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ ความต้องการวัคซีนทั่วโลก และ การเร่งการผลิต เพื่อลดการเสียชีวิต ไม่ใช่การเปรียบเทียบว่าใครดีที่สุด เพราะ ไวรัสยังคงกลายพันธ์ ดังนั้น การตลาดของบริษัทผลิตวัคซีน คงไม่สำคัญเท่ากับการสร้างความเชื่อมั่นให้คนฉีดวัคซีนให้มากที่สุด ควบคู่กับการยังคงดูแลตัวเองให้ดีที่สุด

15 พ.ค. 2564 : ผู้จัดการออนไลน์