ผู้เขียน หัวข้อ: พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายมีทั้งหมด 6 ฉบับ(สาระไม่จืดกันทั้งนั้น)-จากแหล่งข้อมูล  (อ่าน 1972 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....

มีร่างพ.ร.บ.นี้อยู่ 6 ร่างเรียงตามลำดับที่เสนอคือ

1.นายเจริญ จรรย์โกมล และสส.พรรคพลังประชาชน  24 เม.ย. 2551

2.นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และสส.พรรคพลังประชาชน 2 ต.ค. 2551

3.นายสุทัศน์ เงินหมื่น และสส.พรรคประชาธิปัตย์  2 พ.ย. 2552

4.นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ และสส.พรรคภูมิใจไทย 19 พย. 2552

5.นส.สารี อ๋องสมหวัง และประชาชนอีก 10,007 คน 5 มิย. 2552

6.ครม.โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 27 เมย. 2553

พ.ร.บ.ทั้งหลายเหล่านี้ รอเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนฯในวาระสมัยเปิดประชุมที่จะถึงนี้

สรุปสาระของฉบับที่ 1 ของนายเจริญและคณะ ดังนี้
คำจำกัดความ ความเสียหายต่อจิตใจ ได้แก่ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

เงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินจากกองทุน เพื่อใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

หมวด 1

ม.5 ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการหรือไม่

ม. 6  บทบัญญัติในม. 5 ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีต่อไปนี้

(1) ความเสียหาย ที่เกิดจาการดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค ตามปกติธรรมดาของโรคนั้น

(2) ความสึยหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาแล้ว ไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ

ม.7 เงินชดเชยตามม. 5 หมายถึง

(1) คาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ

(2)ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้

(3)ค่าชดเชยในกรณีพิการหรือทุพพลภาพ

(4)ค่าชดเชยความเสียหาย.ทางจิตใจ

(5) ค่าชดเชยในกรณีถึงแก่ความตาย

(6)ค่าชดเชยการขาดไร้การอุปการะ กรณีถึงแก่ความตายและมีทายาทที่จะต้องเลี้ยงดู

(7) ค่าชดเชยเพื่อความเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงิน

หมวด 2 ว่าด้วยคณะกรรมการ

ม.8 คณะกรรมการ รมว.สธ.เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยปลัดสธ. ปลัด พม. ผอ.สนงปม. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมและนายกสภาทนายความ ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO ด้านคุ้มครองผู้บริโภค 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ที่รมว.แต่งตั้งจาก ผชช.นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน การแพทย์และสาธารณสุขและด้านสิทธิมนุษยชน

หมายเหตุ กรรมการ 18 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิจากแพทย์ 1 คน และจากสถานพยาบาล(อาจไม่ใช่แพทย์)อีก 3 คนเท่านั้น

ม. 12 การประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

ม.13 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการ

(1) อนุฯพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชยจำนวน 5-7 คน จากผู้ทรงฯสาขา นิติ,การแพทยืและสาธารณสุข,สังคมศาสตร์ จำนวน 3 คนผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนผู้รับฝ่ายละเท่าๆกัน

(2) อนุฯประเมินค่าชดเชยความเสียหาย 5-7 คน ผ็ทรงฯสาขาการเงินการคลัง สังคมศาสตร์ การแพทย์และสา,สุข ฌฯ ด้านสิทธิผู้บริโภค

ม.14 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ รมว.แต่งตั้งไม่เกิน 9 คน ประธาน 1 คนและกรรมการอื่น มาจากผู้ทรงฯนิติ,การแพทย์และสาสุข เศรษฐศาตร์ สังคมศาสตร์   และคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการ

ม. 18 กรรมการทุกชุดเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 3 ว่าด้วยสำนักงาน

ม.28 กรรมการเลือกกรรมการสรรหาผู้ที่จะมาเป็นเลขาธิการ

หมวด 4 ว่าด้วยกองทุน

ม.33 จัดตั้งกองทุน

ม. 34 กองทุนมีแหล่งที่มาของเงินดังนี้

(1) งปม.รายจ่ายประจำปีของภาครัฐ

(2)เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


หมวด 5

การยื่นคำร้อง การพิจารณาคำร้องและการอุทธรณ์

ม. 38 อายุความนับจากเมื่อรู้ว่าเกิดความเสียหาย ไปถึง 3 ปี

ม. 39 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำร้อง ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือใน 30 วัน ต่อเวลาได้อีก 30 วัน และถ้าไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากบริการสาธารณสุข ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

ม.40 เมื่อจ่ายค่าช่วยเหลือแล้วให้คณะอนุฯพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชยส่งเรื่องให้คณะกรรมการประเมินค่าชดเชยภายใน 7 วัน หลังจากที่วินิจฉัยว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น คณะกรรมการประเมินต้องพิจารณาให้เสร็จใน 60 วัน ถ้าไม่เสณ็จให้ขยายไปอีก 30 วันไม่เกิน 2 ครั้ง

ม. 41 ผู้ร้องขอมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน

และส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ใน 7 วัน

คณะก.อุทธรณ์ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 30 วันทขยายได้ไม่เกิน 30 วัน

ม.42  ถ้าฟ้องศาลด้วย ให้รอจนคดีที่ศาลจะสิ้นสุด

ม.43 ถ้าผู้ร้องได้รับเงินชดเชยแล้ว ไปฟ้องศาลและตัดสินให้ได้สินไหมทดแทน ให้ถือว่าเงินชดเชยเป็นส่วนหนึ่งของสินไหมทดแทน

หมวด 6 การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

หมายเหตุ 1.โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ต้องจ่ายเงินสมทบ

               2. ประชาชนได้ค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ค่าชดเชยความเสียหาย อุทธรณ์คำตัดสินของคณะกรรมการได้ ฟ้องศาลได้

                3.ผู้ประกอบวิชาชีพและสถานพยาบาลต้องจ่ายเงินก่อนเกิดเหตุการณ์ และมีสิทธิถูกร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง และคอยแก้ข้อกล่าวหาเท่านั้น

                4.ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพและหรือสถานพยาบาล ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน

 

ฉบับที่ 2 เสนอโดย นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะและสส.พรรคพลังประชาชน 2 ตค. 51
ม. 6 เพิ่ม(2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

หมวด 2 คณะกรรมการ

ม. 8 คณะกรรมการมาจากรมว.สธ.ปลัดสธ. ผอ.สน.งปม. อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ อัยการสูงสุด นายกแพทยสภา นายกสภาทนายความ ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO ด้านสธ. 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คนจากนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  สังคมศาสตร์  สื่อสารมวลชน  การแพทย์และสธ. สิทธิมนุษยชน

 หมายเหตุ กรรมการ 19 คน มีแพทย์ 1 คน จากแพทยสภา และ(อาจมีอีก) 3 คนจากสถานพยาบาล

ม.12 เหมือนกัน-41

ม.42 ถ้าไปฟ้องศาลให้ยุติการพิจารณาขอค่าเสียหายและไม่ให้กลับมาขออีก

ม.43 เมื่อผู้เสียหายยอมับเงินแล้ว ให้ทำหนังสือประนอมยอมความภายใน 15 วันหลังจากคณะกรรมการมีมติให้การเยียวยา ถ้าไม่ทำก็หมดสิทธิการรับเงิน

ม.44 ความผิดฐานประมาทตามม. 291 และ300 เป็นความผิดอันยอมความได้

ไม่ให้ผู้เสียหายนำคดีไปสู่ศาลเอง แต่แจ้งเจ้าพนักงานดำเนินการได้

ฉบับที่ 3 นายสุทัศน์ เงินหมื่นและสส.ประชาธิปัตย์

ม. 6 เหมือน ฉ.2

ม.8 กรรมการมีรมว.สธ. ปลัดสธ.ปลัดพม. ผอสนงปม. เลขาธิการศาลยุติธรรม เลขาธิการแพทยสภา ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO  3 คนและผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน มาจากแพทย์ 1คนอื่นๆเหมือนกัน

หมายเหตุ กรรมการ 18 คน มีแพทย์ 2 คน และอาจเป็นแพทย์อีก 3 คน

ม.42 เมือนฉ. 2

ม.44 คุ้มครองไม่ให้ฟ้องคดีอาญา เว้นแต่ทำผิดโดยเจตนา

ฉบับที่4 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย

ม. 6 เหมือนฉบับที่1

ม. 7 คณะกรรมการ รมว.สธ.ปลัดสธ.ปลัดคลัง ปลัดพม. อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิแลละเสรีภาพ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผอ.สนง. ผู้แทนแพทยสภา สภาพยาบาล เภสัชกรรม สมาคมแพทย์คลินิกไทย สมาคมรพ.เอกชน สนง.อัยการสูงสุด    สภาทนายความ

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการ

NGO ด้านสาสุข 6 คน ผู้ทรงฯอีก 5 คน

ม. 11 การประชุม

ม.12 ตั้งอนุ 2 คณะ

(1) อนุพ.ให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น 5 คน การแพทย์และสธ.1 คน ผู้แทนสถานพยาบาล และผู้รับบริการอย่างละ 1 คน

(2) อนุประเมินเงินชดเชย 5 คน มีด้านการแพทย์และสาสุข 1 คน

ม. 13 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งรมว.แต่งตั้ง

ถ้าไม่ยอมรับเงินและประชาชนไปฟ้องศาล ให้ยุติการดำเนินการ

ม. 41 ถ้าไกล่เกลี่ย ห้ามเอาข้อมูลไปดำเนินการในศาล

ม.45 อาจนำไปฟ้องอาญาได้

ฉบับที่ 5 นส.สารี อ๋องสมหวัง
สาระสำคัญคล้ายกับฉบับอื่นๆ ตั้งสำนักงานขึ้นใหม่ ไม่ตัดสิทธิการฟ้องศาล

ฉบับที่ 6 ของค.ร.ม. เสนอโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ฉบับที่ผ่านครม.แล้วเป็นร่างของรัฐบาล
สาระสำคัญคล้ายกัน

ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นผู้ดูแลกองทุน

ถ้าประชาชนไม่ยินยอมรับเงินชดเชยและไปยื่นฟ้องศาล และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลยกฟ้องโดยบุคลากรหรือสถานพยาบาลไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาให้เงินช่วยเหลือประชาชนอีกก็ได้

มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ย

และไม่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีอาญา

ถ้าใครไมปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการมีทั้งโทษปรับและจำคุก