ผู้เขียน หัวข้อ: ขอให้สส.ตัดงบประมาณสปสช.  (อ่าน 2121 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ขอให้สส.ตัดงบประมาณสปสช.
« เมื่อ: 27 มิถุนายน 2010, 10:41:33 »
วันที่ 25 มิถุนายน 2553               ด่วนมาก         dr_orapun@yahoo.com

เรื่อง   1 ขอให้ท่านช่วยแผ่นดินด้วยการอภิปรายมีมติ ตัดงบประมาณ สปสช.ที่ทำให้งบ
             แผ่นดินเสียหายรั่วไหล และประชาชนเสียประโยชน์
            2.ขอให้ทวงถามงบประมาณ สปสช.กว่าแสนล้านบาท ขอเพิ่มจากปีก่อนนับหมื่นล้านบาท
             ทั้งที่ สปสช.แจงว่ามีเงินเหลือในหน่วยบริการฯ เพิ่มขึ้นเมื่อมี สปสช.ถึง 20 000 ล้านบาท

เรียน      ประธานรัฐสภา  ประธานสภาผู้แทนราษฎร
            ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณฯ 2554
            กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พรบ.งบประมาณ 2554
            และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน

อ้างถึง    ร่าง พรบ.งบประมาณ ปี 2554 ที่ผ่านวาระที่ 1  -คำแถลง สปสช.วันที่12มีค2553
              คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ.2554

1งบประมาณรายจ่ายของประเทศปี 2554 บางส่วนเป็นเงินกู้ ใช้เพื่อการสาธารณสุขร้อยละ 10.1

     ด้วยร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ. 2554  ตั้งไว้ที่  2,070,000 ล้านบาท   เป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณ แบบขาดดุล   โดยจ่ายจากรายได้สุทธิ 1,650,000 ล้านบาท  และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณอีก 420,000 ล้านบาท      นับเป็นภาระของคนไทยทั้งประเทศในยุคนี้และยุคต่อไปด้วยซึ่งต้องมีภาระต่อหนี้เงินกู้นี้     จึงจำเป็นต้องวางประมาณการจ่ายที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีช่องทางเสียหาย และลดการรั่วไหล  งบประมาณรายจ่ายใน ปี2554  ตั้งไว้งบรายจ่าย แก่หน่วยราชการ องค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการในด้านการสาธารณสุขสูง ถึงร้อยละ 10.1   ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด คือ 209,848    ล้านบาท 

2งบสาธารณสุขส่วนใหญ่คือร้อยละ60รัฐบาลไม่สามารถสั่งการ มีผู้บริหารที่ไม่เชื่อมโยงประชาชน
งบด้านสาธารณสุข เป็นงบจัดสรรเพื่อกระทรวงสาธารณสุข  88,334.2 ล้านบาท   หรือ
ร้อยละ .40   ซึ่งเป็นส่วนที่รัฐมนตรี ซึ่งมีที่มาเชื่อมโยงกับประชาชนเป็นผู้ควบคุมสั่งการได้ โดยเป็นงบที่จัดให้อย่างขาดแคลนในการจัดหาเครื่องมือ อาคารสถานที่ โรงพยาบาล  ตลอดจนบุคลากร ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2553 สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ขาดงบค่ายา ค่าเครื่องมือ ค่าปฏิบัติงานของบุคลากร ตามที่เป็นข่าวเสมอๆ  เมื่อเกิดกรณีจำเป็นใดๆ ไม่มีงบ  ต้องของบกลางเป็นประจำ  งบดังกล่าวจำแนกเป็น สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข 71,071.5 ล้านบาท  กรมการเเพทย์ 5,659.3 ล้านบาท   กรมควบคุมโรค3,379.2 ล้านบาท  กรมพัฒนาการเเพทย์เเผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก 273.4 ล้านบาท  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 971.0 ล้านบาท กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 854.3 ล้านบาท  กรมสุขภาพจิต  2,343.8 ล้านบาท  กรมอนามัย 1,793.1 ล้านบาท   สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 708.6ล้าน 
       


      อีกส่วนของงบประมาณเป็นส่วนที่มีจำนวนและสัดส่วนสูงกว่างบกระทรวงสาธารณสุข       เป็นงบประมาณที่รัฐมนตรีไม่สามารถควบคุม สั่งการ  บริหารโดยบอร์ดซึ่งมีที่มาเฉพาะที่ไม่ได้ยึดโยงกับสภาผู้แทนราษฎร  เป็นงบที่มีสัดส่วนที่สูงมากเกือบร้อยละ 60 เป็นงบประมาณจัดให้กว่า  100, 000 ล้านบาท  ซึ่งหลายบอร์ดในคณะเหล่านี้มีเอ็นจีโอ ซึ่งไม่ได้มีที่มาจาก สส./สว. คือไม่มีความเชื่อมโยงมาจากประชาชนแต่อย่างใดและเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันในองค์กรกลุ่มนี้  ให้ดังนี้
1.   กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่  101,057.9 ล้านบาท
2.   สำนักงาน  หลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ 964.2 ล้านบาท (ชื่อย่อ คือ สปสช ดูแลข้อ1ด้วย)
3.   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 100.6 ล้านบาท       (ชื่อ ย่อ คือ สวรส.)
4.    สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 164.8 ล้านบาท  (ชื่อ ย่อ คือ สพฉ.)
5.   สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 50.4 ล้านบาท(ชื่อย่อ คือ สรพ.)

3การจัดงบประมาณการสาธารณสุขปี 2554 ทำให้สิ้นเปลือง ไร้ประสิทธิภาพ เพิ่มความเหลื่อมล้ำ
   เมื่องบที่จัดให้กระทรวงสาธารณสุขขาดแคลนอย่างรุนแรง แต่จัดให้องค์กรสาธารณสุขที่มีคณะผู้บริหาร เป็นผู้ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเป็นผู้บริหาร  และดำเนินงานใช้งบแผ่นดินอย่างขาดประสิทธิภาพ รั่วไหล ไม่ตรงกับความจำเป็นและสถานะการเงินการคลังของประเทศ  จึงทำให้เพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่3(3)แต่อย่างใด ประชาชนมีสุขภาพที่ตกต่ำลง
หลายปีของงบประมาณที่จัดสรรให้องค์กรเหล่านี้อย่างมากมาย  ผลที่ได้รับกลับมาคือมีอัตราเพิ่มของโรคที่ป้องกันได้  อัตราตายของทารกเพิ่มขึ้น   ระบบขาดคนทำงาน  ประชาชนได้รับการดูแลจากบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ต้องทำงานหนัก ขาดกำลังใจและเสี่ยงภัย  มีการใช้เงินไม่เป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ   ใช้เงินจัดซื้อจัดจ้างโดยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  มีผู้ทักท้วง รวมถึงสำนักงบประมาณทักท้วงการใช้เงิน  ก็ยังคงฝืนทำผิดกฎหมายต่อเนื่อง   มีตัวอย่างการเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมากมาย ซึ่งกำลังเป็นคดีที่ ปปช.    ขอยกตัวอย่างการใช้เงินงบประมาณอย่างเสียหาย เช่นการใช้งบเกือบ 1 000 ล้านบาท (964.2 ล้านบาท)  ของ สปสช. เพื่อบริหารสำนักงาน ที่มีหน้าที่หลักเพียงจัดการโอนเงินงบประมาณ รายหัว ที่ได้รับแล้วให้กับหน่วยบริการสุขภาพ   ใช้งบมากกว่าสำนักงบประมาณ ซึ่งดูแลด้านงบทั้งประเทศ ในทุกงบ รวมถึงการตรวจสอบติดตาม           ในปีงบประมาณ 2554 ตั้งงบไว้เพียง  633.1 ล้านบาท      แต่ สปสช.ตั้งเงินเดือนของบุคลากรจากงบประมาณสูงเป็นเรือนแสน ถึง 2 แสน อย่างขาดเหตุผล  อ้างเพียงบอร์ดอนุมัติโดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย   ตัวอย่างการใช้งบที่ให้อำนาจเลขาธิการ สปสช. มีอำนาจอนุมัติงบในการจัดซื้อ ได้ ถึง ครั้งละ 1 000 ล้านบาท ทั้งนี้ ตามประกาศของสปสช.ด้านการพัสดุตามที่มีผู้แจ้งไปยังกมธ.สธ.

4.ปี 2554 ของบเพิ่มนับหมื่นล้านบาท อ้างไม่พอ ขณะที่ยืนยันกับแพทย์ว่าหน่วยบริการมีงบเกิน
          ในปี 2554 สปสช. ของบเพิ่มจากเดิมราว 1 ถึง 2 หมื่นล้านบาท  โดยอ้างงบไม่พอ   ในขณะที่ ผู้แทน สปสช.รายงานให้ที่ประชุมแพทย์กว่า 200 คน เมื่อ 12 มีค 2553 ณ.ห้องประชุมไพจิตรฯกระทรวงสาธารณสุขว่าหน่วยบริการสุขภาพทั้งประเทศของสาธารณสุข มีเงินเหลือเมื่อมีสปสชเพิ่มขึ้น ถึง 20 000 ล้านบาท ซึ่งอ้างตรงข้ามกัน  จึงประสงค์ให้ สส.ทุกท่านโปรดทราบ และช่วยกันรักษางบขอแผ่นดินไว้  กับขอให้ตัดงบที่ สปสช.ขอโดยอ้างเหตุอันเป็นเท็จกับราชการไว้ออกไป 
          ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศมีงบใช้จ่ายด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อื่นๆ อันจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งปวงและประเทศด้วย และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย   พร้อมนี้ขออนุญาตท่านประธานสภา อนุญาตให้สำเนาหนังสือนี้เรียน สส.ทุกท่านด้วย จะเป็นพระคุณ
                ขอแสดงความนับถือ อย่างสูง
                                  พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล