ผู้เขียน หัวข้อ: สภาไฟเขียว หญิงท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้ ไม่ผิดกฎหมาย  (อ่าน 397 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
มติสภา 276 ต่อ 8 เสียง เห็นชอบ ร่างกฎหมายทำแท้ง ท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย

21 มกราคม 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า สภาผู้แทนฯ ผ่านวาระ 3 ร่างกฎหมายทำแท้ง
 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติ 276 ต่อ 8 เสียง เห็นชอบวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อความคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์และสิทธิของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีสาระสำคัญคือ

-ยกเลิกความในมาตรา 301 ของกฎหมายฉบับเดิมปี พ.ศ.2560 และกำหนดข้อความใหม่ในมาตรา 301 เกี่ยวกับการกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดในการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งบุตรของตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งในขณะที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์
-แก้ไขมาตรา 305 เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในร่างกฎหมาย ที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย มีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์ หากทารกคลอดออกมา จะมีความผิดปกติทางร่างการหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง หรือกรณีได้รับการยืนยันจากหญิงที่ตั้งครรภ์ว่ามีการกระทำผิดเกี่ยวกับเพศ รวมถึงกรณีหญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ในลำดับต่อไป จะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้วุฒิสภาพิจารณา


21 Jan 2021
https://www.thansettakij.com/content/politics/465479

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ครม. เห็นชอบแก้ไขกฎหมายอาญา อนุญาตให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

17 พฤศจิกายน 2563 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยมีที่มา คือ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 กำหนดให้หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกมีความผิดอาญานั้น เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ มาตรา 305 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 วันนี้ ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ มาตรา 305 ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมีเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ มาตรา 305 คือ 1.กำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ มีความผิดและต้องรับโทษ เพื่อคุ้มครองสิทธิของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เกิดความสมดุลกัน 2.เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีต่างๆ ที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง และกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์  ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 301 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ “ไม่เกิน 12 สัปดาห์” สามารถทำแท้งได้ จากเดิมที่ห้ามหญิงตั้งครรภ์ทำแท้งโดยเด็ดขาด ซึ่งการกำหนดอายุครรภ์ดังกล่าวเป็นไปตามความเห็นของแพทยสภาและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ปลอดภัยที่สุดในการทำแท้ง ไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ทำแท้งเกิดอาการแทรกซ้อนและเป็นอันตรายแก่ชีวิต นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไขลดอัตราโทษ เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ผู้ทำแท้งต้องได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดโทษสูงอีก โดยมีรายละเอียดดังนี้ “มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากเดิมที่กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับมาตรา 305 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ “มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือ มาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย หรือจิตใจของหญิงนั้น
(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากทารกคลอดออกมาจะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง

17 Nov 2020
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/457173

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
เปิดร่างกฎหมายใหม่ อนุญาตให้ผู้หญิงตั้งครรภ์โดยที่ไม่พร้อม สามารถ “ทำแท้ง” ได้ ภายใต้ 4 เงื่อนไขจำเป็น จะไม่มีความผิด

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติความผิดฐานทำแท้ง โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ๒๕๖๓ ถึง 28 สิงหาคม 2563
 โดยเนื้อหาที่น่าสนใจของร่างกฎหมายดังกล่าว ระบุว่า  ให้ยกเลิกความในมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 301 หญิงใดทําให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก ขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ" และให้ยกเลิกความในมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน “มาตรา 305 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา301 หรือมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทําของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ในกรณีดังต่อไปนี้
(1.)    จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปซะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
(2.)    จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากหากทารกคลอดออกมาจะมีความเสี่ยงอย่างมาก ที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
(3.)    หญิงมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือ
(4.)    หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ผู้กระทําไม่มีความผิด
โดยร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

30 Aug 2020
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/447442