ผู้เขียน หัวข้อ: ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับการศึกษา พ.ศ......(ฮา)  (อ่าน 2164 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับการศึกษา พ.ศ......

มาตรา 1
ผู้เสียหายจากการรับการศึกษามีสิทธิ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชย
ในกรณีที่ผู้รับการศึกษาได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับการศึกษา โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

มาตรา 2
บทบัญญัติในมาตรา 1 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติสำหรับระดับไอคิวนั้นๆ ของผู้รับการศึกษา
2. ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้การศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้การศึกษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

มาตรา 3
ประเภทของความเสียหาย และอัตราการจ่ายเงิน

ประเภท                                                       อัตราการจ่ายเงิน
เสียหายร้ายแรง (สอบตก ไม่มีสิทธิสอบ)                     500,000 บาท           
เสียหายมาก (เอ็นไม่ติด)                                      200,000 บาท
เสียหายเรื้อรัง (เอ็นติดคณะฯที่พ่อแม่ไม่พอใจ)               100,000 บาท

มาตรา 4
การชดเชยความเสียหายให้พิจารณาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ถ้าผ่านการเรียนพิเศษจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง ให้ชดเชยเป็นสองเท่า
2. ถ้าผ่านการเข้าร่วมรายการ  tutor channel ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชดเชยเป็นสามเท่า

มาตรา 5
ให้มีคณะกรรมการคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย สนับสนุนการไกล่เกลี่ย และสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา

มาตรา 6
ให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลื่อเบื้องต้น และเงืนชดเชย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านคุ้มครองผู้รับการศึกษา และผู้แทนสถานศึกษา และผู้แทนผู้รับการศึกษา ด้านละหนึ่งคน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
(เหตุผล วิชาการ ความจริงไม่ต้องเอามาพิจารณาก็ได้)
การวินิจฉัยของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา 7
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น กองทุนหนึ่ง เพื่อจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย หรือ ทายาท
กองทุนประกอบด้วย
1. เงินที่สถานศึกษา(ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งโรงเรียนกวดวิชา)จ่ายสมทบ
2. เงินที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูจ่ายสมทบ
3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

มาตรา 8
หากผู้เสียหาย หรือทายาทไม่ตกลงรับเงินชดเชย สามารถฟ้องต่อศาลได้

มาตรา 9
หากผู้ให้ศึกษาถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี ฐานกระทำการโดยประมาทเกี่ยวเนื่องกับการให้การศึกษา หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณาประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

มาตรา 10
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

..............นักร่างกฎหมายสมัครเล่น


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ขอช่วยร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการเป็นข้าราชการสาธารณสุขพ.ศ......
กับ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้นโยบายของรัฐบาลพ.ศ......