ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม Data Backup จึงสำคัญ ในยุคที่ Ransomware โจมตีธุรกิจได้ทุกเมื่อ  (อ่าน 338 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ในยุคที่ความสำคัญของข้อมูล (Data) ที่เก็บไว้ในระบบดิจิทัล กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ประกอบกับการขยายตัวของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ทำให้ ดาต้า กว่า 90% ที่องค์ธุรกิจทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่จัดเก็บไว้ ถูกสร้างขึ้นมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น

จึงเป็นความท้าทายของ 'Hitachi Vantara' ในการเข้าไปช่วยองค์กรธุรกิจ รักษา 'ข้อมูล' ที่มีความสำคัญ ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีความหลากหลาย จากเดิมที่เป็นการแฝงมัลแวร์เข้ามาเก็บข้อมูล นำไปสู่การหลอกลวงในหลายกรูปแบบ มาเป็นการโจมตีในลักษณะของแรนซัมแวร์ (Ransomware) ด้วยงการเจาะเข้าไปในระบบไอทีเพื่อเข้ารหัสไฟล์ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงและใช้งาน ‘ข้อมูล’ ที่เก็บไว้ได้พร้อมยื่นข้อเสนอให้มีการจ่ายค่าไถ่เพื่อแลกกับการถอดรหัสข้อมูลที่ถูกโจมตี

ทำให้ทาง Hitachi Vantara พัฒนาเทคโนโลยี Software-Defined Storage ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi Content Platform รวมถึงต่อยอดการใช้งาน Object Storage ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่สามารถนำเอาจุดเด่นของ Object Storage ออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการป้องกันและจัดการข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจระดับองค์กร

ข้อมูลจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบุว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา การโจมตีจาก Ransomware นั้นเพิ่มมากกว่ากว่า 2 เท่า และแฮกเกอร์ ได้มุ่งโจมตีองค์กรธุรกิจที่พร้อมจ่ายเงินจำนวนสูงมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันยังพบว่า มีเพียง 1 ใน 3 ขององค์กรธุรกิจทั่วโลกเท่านั้น ที่สามารถป้องกัน และแก้ไขการโจมตีในลักษณะนี้ได้

ในประเทศไทยการโจมตีของ Ransomware นั้นมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข โรงงานอุตสาหกรรม ธนาคาร มหาวิทยาลัย อื่นๆ ที่ข้อมูลมีความสำคัญ กับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถ้าขาดข้อมูลไปจะทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก หรือให้บริการได้ช้าลง

สำหรับรูปแบบการโจมตีของ Ransomware นั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นผ่านการส่งอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing) ที่แนบลิงก์ หรือไฟล์ ให้ดาวน์โหลดข้อมูล ซึ่งด้วยการที่บุคลากร หรือพนักงานขาดความรู้ หรือไม่เท่าทันรูปแบบการหลอกลวง จะกลายเป็นช่องโหว่ให้เกิดความผิดพลาดได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า Ransomware นั้นจะไม่สามารถป้องกัน เพียงแต่ว่าในการป้องกันนั้น องค์กรธุรกิจจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลมากยิ่งขึ้น โดยจากผลสำรวจของทาง ESG Research ระบุว่า 45% ขององค์กรธุรกิจที่ทำการสำรวจ มีแผนที่จะเพิ่มเงินลงทุนเพื่อปกป้องข้อมูล ทำให้เห็นว่า ยิ่งความสำคัญของข้อมูลมีผลต่อการทำธุรกิจมากเท่าไหร่ การลงทุนเพื่อปกป้องข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นไปในตัว

ข้อมูลจากทาง ‘ฮิตาชิ แวนทารา’ ผู้ให้บริการโซลูชันจัดเก็บ และสำรองข้อมูลที่มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในการทำธุรกิจมากกว่า 100 ปี และพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลมากกว่า 50 ปี ออกมาให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ถึงวิธีการในการเตรียมรับมือการโจมตีในลักษณะของ Ransomware

โดยระบุว่า ด้วยการมาของดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน ทำให้องค์กรธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้งาน ส่งผลให้ความสำคัญที่มากที่สุดคือการปกป้อง และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุด และให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดด้วย

ส่วนโซลูชันที่ Hitachi Vantara แนะนำให้เลือกนำไปปรับใช้กับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์นั้น คือ Hitachi Content Platform (HCP) ที่นำโซลูชันการจัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูล มาทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยปกป้องข้อมูลจากการโจมตีด้วย Ransomware ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กรธุรกิจ

Hitachi Vantara ได้เล็งเห็นความสำคัญของข้อมูลในองค์กร และทำการพัฒนาเทคโนโลยี Software Defined Storage ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi Content Platform รวมถึงต่อยอดการใช้งาน Object Storage ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่สามารถนำเอาจุดเด่นของ Object Storage ออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการป้องกันและจัดการข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจระดับองค์กร

การทำงานของ HCP นั้นจะมีส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วยเก็บสำรองข้อมูลในลักษณะของการทำ Hashing หรือการทำสำเนาข้อมูลเพื่อเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์แยกออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาต่างๆโดยในการทำสำเนา จะแตกต่างจาก Backup Software ที่จะทำการ Backup ตามรอบหรือระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ แต่ HCP จะทำการ Backup ทุกครั้งที่ File มีการเปลี่ยนแปลง จึงมีการแยกเวอร์ชันใหม่ (New version) ทุกครั้งที่มีการเซฟไฟล์ (Save files) ซึ่งในกรณีที่ไฟล์เสียหายหรือโดยโจมตีจาก Ransomwareฝ่ายไอทีก็สามารถที่จะกู้คืนไฟล์หรือข้อมูลเวอร์ชันก่อนหน้าได้ทันทีทำให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์

ขณะเดียวกัน HCP ยังมีการเก็บประวัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (log) รวมถึงการเข้ารหัสไฟล์จนถึงการแยกพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานทำให้ข้อมูลที่เก็บมีความปลอดภัยพร้อมรองรับการทำงานร่วมกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

และ HCP ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบ หรือ Application ต่างๆมากมาย โดยมี Certified จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ เช่น ระบบ Voice – Call Center, ระบบ Video, ระบบ PACS (X-RAY), ระบบ Backup, ระบบ Enterprise Content Management, ระบบ Big Data ทำให้เพิ่มความสามารถในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ

นอกเหนือจากเรื่องของความปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์แล้วอีกหนึ่งความสามารถของ HCP Anywhere คือเข้ามาช่วยให้การทำงานร่วมกันภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและรองรับการทำงานสมัยใหม่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และรองรับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก (Windows & Mac) หรือแม้แต่อุปกรณ์พกพาอย่างเช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต (iOS และ Android)

โดยผู้ใช้สามารถที่จะเก็บไฟล์ต่างหรือส่งไฟล์ผ่านแอปพลิเคชัน ให้กับบุลคลอื่น และยังสามารถกู้คืนไฟล์หรือข้อมูลเวอร์ชันก่อนหน้าได้ทันทีด้วยตนเอง ทั้งสะดวกและปลอดภัย รวมถึงการทำงานรวมกับ Microsoft Office 365 โดยผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข บันทึก ไฟล์ Microsoft Word, Excel และ PowerPoint ได้จาก HCP AnywherePortal ซึ่งเหมาะกับยุคของการทำงานวิถีใหม่ในปัจจุบันนี้

สามารถเยี่ยมชม และ ดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวกับโซลูชันปกป้องข้อมูลได้ที่ “https://www.hitachivantara.com/en-us/pdf/solution-profile/overcome-risks-ransomware-with-hcp-portfolio-solution-profile.pdf”

หากมีข้อสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงาน Hitachi Vantara – Thailand เพียงกรอกข้อมูลและคำถามส่งมาทาง https://forms.gle/iS6nZe1P2RApT85h6 และลุ้นรับของรางวัล จากทางฮิตาชิ แวนทารา

7 ม.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์