ผู้เขียน หัวข้อ: มวลชนบุกกดดัน "หมอสุภัทร" ลาออกพ้นโรงพยาบาลจะนะ  (อ่าน 977 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ชาวบ้านจะนะ จ.สงขลา บุกโรงพยาบาลประท้วงให้ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลจะนะลาออก อ้างไม่ได้ทำหน้าที่พัฒนาโรงพยาบาล ดูแลบริการผู้ป่วย แต่กลับเดินหน้าขัดขวางโครงการพัฒนาความเจริญในพื้นที่ ขณะที่อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ระบุหมอเป็นนักพัฒนาตัวจริง

วันนี้ (8 ก.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มตัวแทนพลังมวลชนจาก 3 ตำบล ในพื้นที่อ.จะนะ จ.สงขลา กว่า 50 คน เดินถือป้ายประท้วง นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลจะนะ เพื่อยื่นหนัง สือเรียกร้องให้ลาออก โดยให้เหตุผลว่า นพ.สุภัทร ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง ทำให้โรงพยาบาลจะนะ ขาดโอกาสหลายเรื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาล ทั้งที่โรงพยาบาลจะนะ ถือว่าอยู่ในที่ที่มีต้นทุนเยอะทั้งโรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ ทุกปีจะมีงบประมาณ แต่กลับไม่มีการพัฒนา ไม่เจริญ

ชาวบ้าน ระบุว่า โครงการเมืองต้นแบบจะพัฒนาโรงพยาบาลจะนะห้เทียบเท่าโรงพยาบาลของจังหวัดได้ แต่ ผอ.คนนี้เดินหน้าขัดขวางโครงการ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่แทนที่จะต้องพัฒนาโรงพยาบาลและดูแลผู้ป่วย ดังนั้น จึงคิดว่าท่านไม่เหมาะสมที่จะมาเป็น ผอ.โรงพยาบาลแห่งนี้อีก ชาวบ้านจึงออกมาเรียกร้องให้ท่านลาออกจากเพื่อไม่ให้มาสร้างความแตกแยก

ขณะที่เฟซบุ๊ก Sakanan Plathong ของนายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โพสต์กำลังนั่งอยู่ที่เวทีเสวนากับหมอสุภัทร มีมวลชนจัดตั้งมาไล่คุณหมอที่หน้าโรงพยาบาลจะนะ ถือป้ายมาถามว่า หมอจบแพทย์ มายุ่งอะไรกับชาวประมง บอกว่าชาวบ้านอยากได้โรงพยาบาลใหญ่ๆ

“หมอกำลังทำหน้าที่ครับ หน้าที่หมอ คือป้องกันและรักษาคนไข้ หมอไม่กลัวที่จะต้องเหนื่อยกับการตามรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่เป็นห่วงชาวบ้านที่จะต้องเจ็บป่วยครับ”
ปล.หมอไม่ได้จบประมง แต่เพื่อนหมอจบวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาชีววิทยาทางทะเลและการประมงครับ


หมอไม่เครียด-พร้อมทำงานเพื่อสังคม
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายศักดิ์อนันต์ กล่าวว่า ในช่วงที่มีชาวบ้านมาประท้วงที่โรงพยาบาลจะนะ หมอสุภัทร ได้มาอยู่ร่วมในเวทีเสวนากับตัวเอง ซึ่งเบื้องต้นยังยืนยันว่าหมอสุภัทร เป็นหมอนักพัฒนา และทำงานอย่างทุ่มเทมา 20 ปีในการพัฒนาโรงพยาบาลขนาดเล็กเพื่อรักษาคนในท้องถิ่นและแนวคิดของหมอคือไม่ได้อยากให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่เกินไปเพราะต้องการให้คนมีสุขภาพดี ลดการเข้าโรงพยาบาล

บทบาทหมอสุภัทร เป็นแบบนี้ ในมิติของการรักษาต้องป้องกันสุขภาพ ถ้าคนมีสุขภาพดีก็ไม่ต้องมาโรงพยาบาล หมอทำงานมา 20 ปี ไปถามคนที่ในจะนะ เชื่อว่าครึ่งหนึ่งของอำเภอรู้จักบทบาทของหมดในมุมนักกิจกรรมทางสังคม และบทบาทในความเป็นหมอดี

“เท่าที่อยู่กับหมอสุภัทร ในช่วงการมาประท้วงของชาวบ้านกลุ่มนี้ หมอไม่ท้อ และไม่เครียด ที่ถูกกดดันให้ลาออก ส่วนกลุ่มคนที่มาประท้วงให้หมอสุภัทร ลาออก ผมว่าคนที่เข้าใจก็ดูออกว่ามาจากไหน และเป็นรูปแบบที่ไม่น่าเกิดขึ้นในยุคนี้  ”

8 กรกฎาคม 2563
ข่าวไทยพีบีเอส

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ตราบใดที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ยังไม่ออกมายอมรับความผิดพลาด ในการออกบัตรเชิญให้มีการรัฐประหาร 2557 ก็ป่วยการที่จะมาเรียกร้องอะไรกับคณะรัฐประหาร (กรณีออกความเห็นว่าที่ คสช.ปลด 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เป็นสิ่งที่น่าเกลียด)

ไร้สาระที่สุดของหมอจุ๊ก นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา และ แกนนำแพทย์ชนบทภาคใต้ ที่จะออกมาโวยวาย คณะรัฐประหาร

ดู
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ : คสช.คุม สสส.เบ็ดเสร็จตัดท่อน้ำเลี้ยงภาค ปชช.
http://www.isranews.org/isranews-a…/…/43892-open_43892.html…

พูดกันให้ชัด นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

คือ
นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) รุ่นปี 2534 ที่ออกมารณรค์ต้านรัฐประหาร รสช. ปี 2534 และการสืบทอดอำนาจของ รสช.

คือ
เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท) รุ่นปี 2535 ที่ออกมาทวงคืนความยุติธรรมให้กับญาติวีรชน พฤษภา 2535

แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน ไม่ทราบเพราะไปอยู่แก็งส์ประเวศ วะสี หรืออย่างไร จึงได้ร่วมกัน ออกบัตรเชิญให้มีการรัฐประหาร 2557 โดยเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันในนาม ชมรมแพทย์ชนบท

ระหว่างนั้นมีการไซฟ่อนเงิน ทั้งจาก สสส. หรือแม้แต่การใช้เครื่องไม้เครื่องมือของโรงพยายาลในชนบทมาหนุนเสริมให้เกิดเงื่อนไขรัฐประหาร

แต่เมื่อรัฐประหารเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วตัวเองไม่ได้ประโยชน์ แถมถูกตัดท่อน้ำเลี้ยง ซึ่งไม่ใช่ท่อน้ำเลี้ยงภาคประชาชนชนอะไรที่กล่าวอ้างหรอก แต่เป็นท่อน้ำเลี้ยงของกองเชียรรัฐประหารนั่นแหละ

ตราบใดที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ยังไม่รู้สึกกระดากอายที่ชวนคนมาต้านรัฐประหารเมื่อปี 2534 ยังไม่ออกมา
ยอมรับความผิดพลาด ในการออกบัตรเชิญให้มีการรัฐประหาร 2557

ก็ป่วยการที่จะมาเรียกร้องอะไรกับคณะรัฐประหาร

ก็พวกคุณเชิญเขามาเองมิใช่หรือ

Thanapol Eawsakul

ทวนบทสนทนา ความอึดอัดกับทหาร ความอึดอัดกับ คสช.

คำต่อคำรายการ"ณาตยา"ชนวนเหตุทหารบุก-คนไทยพีบีเอส แห่โพสต์รูปประท้วง!

ณาตยา แวววีรคุปต์ : พูดถึงประเด็นนี้ พูดถึงความอึดอัด อึดอัดกับทหาร อึดอัดกับ คสช. อึดอัดกับสภาพแบบนี้ ดิฉันขออนุญาตถามตรงๆ ถามตรงไปตรงมานะคะ ก็พวกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้หลายท่าน มิใช่หรือ ที่ออกไปชุมนุมเป่านกหวีด เรียกร้องให้ทหารมารัฐประหาร แล้วก็ทำการปฏิรูป ตอบคำถามนี้ หน่อยค่ะ

อานันท์ วาทยานนท์ : เรามีทางเลือกมั้ยในช่วงเวลาเหตุการณ์ขณะนั้น สิ่งที่เราได้มา ก็คือ ทหาร แต่ทหารออกมาด้วยข้อผูกพัน มีพันธะสัญญากับเรา ว่าจะมาอยู่เพื่อระยะ เพื่อกันไม่ให้คนต่อยกัน กันไม่ให้คนชกหน้ากัน หยุดแล้วมาคุยกัน แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ คุณมาทำแทนหรือเปล่า

ณาตยา แวววีรคุปต์ : มีอีกคนที่ดิฉันต้องถาม คือ คุณหมอสุภัทร ค่ะ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ : เราคนใต้โดนข้อหานี้อย่างชัดเจนนะครับ เพราะเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนให้ทหารออกมาใช่มั้ย อะไรอย่างนี้นะครับ ซึ่งผมคิดว่า เราไม่ได้คาดหวังและไม่ได้คิดเช่นนั้น เราต้องการการปฏิรูป นี่คือ หัวใจ นี่ก็ยืนยันว่า เป็นเจตจำนงของคนทั้งประเทศว่า ต้องการการปฏิรูป เพียงแต่ว่า สังคมเรายังไม่ก้าวหน้าพอ ที่กระบวนการเคลื่อนไหวในทางสังคมที่ผ่านมานั้น ทำให้ทหารกล้าที่จะเดินตามหลังประชาชน คือ สังคมเราไปยังไม่ถึงขนาดนั้น ก็เลยได้ทหารมาเดินนำหน้าประชาชนในวันนี้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องสู้กันต่อไป เราต้องสร้างสังคมเราต่อไปให้เหมือนนานาประเทศ ที่สุดท้ายทหารต้องเดินตามหลังประชาชนให้ได้ แต่วันนี้ยังไปไม่ถึงครับ

ณาตยา แวววีรคุปต์ : แล้วจะทำได้มั้ยค่ะ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ : ทำได้ครับ ดูความตื่นตัวของพี่น้องในวันนี้ ถ้าถามว่า คนใต้เราอึดอัดมั้ย คนไทยเราอึดอัดมั้ย มันเป็นความอึดอัดที่มีความหวังนะ ผู้คนถึงออกมา เป็นความอึดอัดที่มีความท้าทาย เป็นความอึดอัดที่มีพลังด้วย เรามีพลังอยู่ เราไม่ได้อึดอัดแล้ว นอนหง่อยอยู่ที่บ้าน หรือว่า อึดอัดแล้วทำท่าจะยอมแพ้ ซึ่งผมคิดว่า อันนี้เป็นความหวังในสังคม เพียงแต่เราต้องหากุญแจให้เจอ

วันพฤหัสบดี, มกราคม 07, 2559
Thai E-News

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ผอ.โรงพยาบาลจะนะ วอนรัฐบาลอย่านำการระบาดของโคโรนามาโยงการเมือง หลังกระทรวงอุดมศึกษาฯเตือนนักศึกษาอย่าชุมนุม

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ออกประกาศเรื่องมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ภายในองค์กรการศึกษาต่างๆ โดยหนึ่งข้อในประกาศ ได้เตือนให้นักศึกษาเลี่ยงทำกิจกรรมที่มีการชุมนุม

นพ.สุภัทร ระบุว่า ขอรัฐบาล อย่านำเรื่องไวรัส มาปนเปื้อนกับเรื่องการเมือง

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของชีวิต เป็นเรื่องที่ต้องเว้นไว้ไม่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือกับกลุ่มใด ควรเป็นเรื่องที่ปลอดจากการเมือง เพื่อให้เมื่อเตือนจริงๆแล้ว ผู้คนทั้งประเทศเชื่อถือและปฏิบัติตนตามคำแนะนำแห่งรัฐ

การที่กระทรวงการอุดมศึกษาออกมาเตือนไม่ควรชุมนุม ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า การระบาดยังอยู่ในระยะที่ 2 (ยังเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ) ยังไม่ได้เข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 (มีการระบาดภายในประเทศจากผู้ติดเชื้อในประเทศ) จึงเป็นการเตือนที่เกินกว่าเหตุ ไม่อิงหลักวิชาการ และมุ่งเป้าทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

ผอ.โรงพยาบาลจะนะ ระบุต่อว่า ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ในวันนี้หากทางกระทรวงอุดมศึกษามีความเป็นห่วงนักศึกษาจริง ก็ควรประกาศ "สนับสนุนหน้ากากอนามัยฟรี แก่ทุกคนที่มาร่วมการชุมนุม" จึงจะเหมาะสมกว่า

ขอรัฐบาลอย่านำเรื่องการระบาดของไวรัส มาเกี่ยวข้องกับการเมือง หากคนขาดความเชื่อถือต่อการเตือนเมื่อถึงเวลาจริง หายนะจะมาเยือนสังคมไทย

25 ก.พ. 2563
โพสต์ทูเดย์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
หมอสุภัทร จัดหนักวิจารณ์ ทำไมรัฐบาลจึงเพี้ยนเช่นนี้ ตัดงบสาธารณสุข-บัตรทอง 3.6 พันล้าน ช่วงวิกฤตโควิด 19 ซัด ตลอดสามเดือนที่โควิดระบาด รัฐไม่เคยให้งบสนับสนุนเลย แล้วยังมาตัดงบเราอีก..สอบตกโดยสิ้นเชิง

หลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบตัดงบประมาณของหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดทำร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย นำไปตั้งเป็นงบสำรองฉุกเฉิน แก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด Covid 19 ซึ่งรวมถึงตัดงบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรืองบบัตรทอง จำนวน 2,400 ล้านบาท จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์จำนวนมากนั้น

ล่าสุด (23 เมษายน 2563) มีรายงานว่า นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา และรองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการตัดงบประมาณดังกล่าวว่า รัฐบาลเพี้ยนอีกแล้ว แอบหั่นงบสาธารณสุขและบัตรทอง รวมเป็น 3,600 ล้านบาท โดนตัดงบกันถ้วนหน้า ทุกกระทรวงต้องหั่นงบมาลงขันตามเปอร์เซ็นต์ที่ไม่รู้ใครกำหนด ราวกับเรายังอยู่ในยุค คสช.

        คนไทยทั้งประเทศคงยังไม่ทราบว่า ตลอดสามเดือนที่มีการระบาดของโควิด 19 โรงพยาบาลต่าง ๆ แทบไม่เคยได้รับงบประมาณที่เป็นตัวเงินจากรัฐบาลเลย นี่คือความจริงที่เราไม่อยากออกมาบ่น มีเพียงการส่งของมาให้เป็นหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล ชุด PPE เป็นต้น แต่งบสักแดงเดียวมาเติมในกระเป๋าเงินบำรุงของโรงพยาบาลนั้นยังไม่มี


        แต่ละโรงพยาบาลนั้นใช้เงินบำรุงที่เก็บสะสมไว้เอง มาเป็นเงินใช้จ่ายมากมายในช่วงนี้ และเกือบทุกที่ต้องเปิดรับเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งสามารถช่วยโรงพยาบาลได้อย่างมาก

        ในช่วงโควิด 19 รายจ่ายสำคัญของทุกโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นคือ รายจ่ายในการปรับปรุงปรับเปลี่ยนสถานที่ให้รับกับสถานการณ์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ที่โรงพยาบาลจะนะ เพิ่มจุดคัดกรอง ปรับปรุงหอพักแพทย์ให้เป็นหอผู้ป่วยโควิด ขนาด 20 เตียง

        ต้องจัดอัตรากำลังมาสอบสวนโรคทุกวัน ซึ่งต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่ม เราจัดยาโรคเรื้อรังส่งตรงไปที่บ้านผู้ป่วยกว่า 5,000 คน ซื้อครุภัณฑ์การแพทย์เพิ่ม ลงทุนกั้นห้องแบ่งส่วนเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจาย ต้องปรับปรุงห้องฉุกเฉิน ต้องสนับสนุนงบแก่โรงพยาบาลส่วนตำบล เป็นต้น


        ทั้งหมดนี้ล้วนใช้เงินบำรุง เงินจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามปกติ หรือเงินบริจาคทั้งสิ้น ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบเพิ่มเติมจากรัฐบาลเลย

        เราเข้าใจว่ารัฐบาลมีรายจ่ายสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจและดูแลประชาชนที่ยากลำบาก โรงพยาบาลต่าง ๆ จึงแทบไม่มีใครออกมาเรียกร้องว่า "เข้าเนื้อ ของบเพิ่ม" แต่การมาตัดงบของสายสุขภาพลงไป 3,600 ล้านบาทนั้น เข้าใจไม่ได้เลย และไม่เข้าใจเลยว่า "ทำไมรัฐบาลจึงเพี้ยนเช่นนี้"

        อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข มีโรงพยาบาลเกือบ 1,000 แห่ง โรงพยาบาลส่วนตำบล อีก 10,000 แห่ง ทุกแห่งทำงานเต็มที่สู้ศึกโควิด 19 ทุกแห่งควรได้รับเงินสนับสนุนเพิ่ม แต่นี่ไม่เคยให้งบเราแล้วยังมาตัดงบเราอีก ถือว่า "สอบตกโดยสิ้นเชิง"

https://covid-19.kapook.com/view224809.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การชุมนุมของมวลมหาประชาชนไม่ว่านัดใหญ่หรือนัดเล็ก เครือข่ายอาสาสมัครทางการแพทย์และชมรมแพทย์ชนบทได้การนำทีมอาสาออกมาทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของมวลมหาประชาชนอย่างสม่ำเสมอมาตลอดสองเดือนที่ผ่านมา และมีจุดยืนที่ชัดเจน พร้อมที่จะเคียงข้างและเป็นกองหนุนมวลมหาประชาชนจนกว่าจะได้ชัยชนะ ชูคำขวัญ "ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง" และยืนหยัดในแนวทาง "การเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการลาออก เพื่อเปิดทางสู่การปฏิรูป" คำถามที่น่าสนใจก็คือ ทำไมวิชาชีพสุขภาพทุกสาขาอาชีพในเกือบทุกองค์กรทุกเครือข่ายมีความเห็นและจุดยืนที่ตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์

รัฐบาลรักษาการชุดปัจจุบันได้หมดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองนับตั้งแต่การลักหลับออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนเกิดการอารยะขัดขืนคัดค้านอย่างกว้างขวาง และภาคส่วนสาธารณสุขคือโรงพยาบาลต่างๆ ได้ออกมาอารยะขัดขืนแสดงจุดยืนอย่างพร้อมเพรียงกว่า 500 แห่ง ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ เพราะทุกคนเห็นถึงเจตนาที่เลวร้ายในการใช้กลไกเสียงข้างมากมาล้างผิดคนโกง ทำลายนิติรัฐและนิติธรรม รวมทั้งทำลายศรัทธาสุดท้ายของประชาชนต่อระบอบการเมืองแบบตัวแทนในกรอบกติการัฐธรรมนูญในปัจจุบัน จนเกิดวิกฤตศรัทธาต่อกติกาประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมาก แม้จะมีการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าหลังการเลือกตั้งจะมีการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและถึงราก และเสียงข้างมากในสภาจะไม่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนเช่นนี้อีกในอนาคต

บทเรียนที่สำคัญอีกประการคือ การที่วงการสาธารณสุขโดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนได้รับผลกระทบทางลบจากนโยบายและการทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประดิษฐ สินธวณรงค์ ก็ยิ่งสะท้อนถึงความเสื่อมของนักการเมืองในระบอบตัวแทน ประดิษฐใช้อำนาจทางการเมืองแต่งตั้งคนของตนเองขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญ โดยไม่สนใจเสียงผู้ปฏิบัติงาน และแต่ละคนที่เลือกมาก็ด่างพร้อย หวังกินยาวสร้างเครือข่ายอำนาจอธรรมที่หยั่งรากลึก เพียงเพื่อตนเองและลิ่วล้อ

ดังนั้น ทางออกของประเทศชาติในวันนี้จึงไม่ใช่การเลือกตั้งที่จะกลับไปสู่ระบบเดิมอีก แต่วันนี้ทางออกที่มีความหวังกว่าคือการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง จึงนำมาสู่การที่วิชาชีพในวงการสุขภาพร่วมใจกดดันขับไล่รัฐบาลรักษาการให้ลาออกไป เพื่อเปิดทางสู่การปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปประเทศไทย

วันนี้ข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขส่วนใหญ่ได้แสดงอารยะขัดขืนอย่างเข้มข้นแล้ว ด้วยการไม่ร่วมสังฆกรรมใดๆ กับรัฐบาล ไม่ไหว้ไม่มองหน้า ไม่ทำตาม นโยบายหรือคำสั่งใดๆ จากรัฐมนตรีและรัฐบาล เว้นแต่งานบริการพื้นฐานเพื่อการดูแลประชาชน การแสดงอารยะขัดขืนคืออำนาจของปัจเจกบุคคลของคนทุกคน หากองคาพยพของราชการทุกกระทรวงออกมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับมวลมหาประชาชนเช่นเดียวกับปรากฏการณ์อารยะขัดขืนต่อรัฐบาลของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในสังคม เดินหน้าสู่การปฏิรูปประเทศไทยโดยไม่ต้องมีการรัฐประหาร

การเลือกตั้งตามกติกาเดิมนั้นประดุจยาขนานเก่าที่หมดอายุแล้ว กินไปก็ไม่หาย มีแต่จะเกิดโทษมหันต์ต่อประเทศที่กำลังป่วยหนักจากการคอร์รัปชัน การร่วมใจผลักดันให้มีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้งต่างหากที่เป็นแนวทางการรักษาที่ถูกต้องกว่าและมีความหวังกว่า เป็นการใช้ยาที่ถูกขนานกว่า เพื่อให้ประเทศไทยมีอนาคตที่มีหวัง แต่แน่นอนว่ายาขนานนี้จะต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ จะดีจะร้ายก็ดีกว่ากินยาเก่าที่หมดอายุแล้วอย่างแน่แท้  แพทย์ชนบทและวิชาชีพสุขภาพต่างก็เชื่อมั่นเช่นนี้ จึงอาสาร่วมแรงกายแรงใจออกมาสนับสนุนมวลมหาประชาชนอย่างหนักแน่นและจริงจัง

ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน วันที่ 14 มกราคม 2557

Tue, 2014-01-14 10:39 -- hfocus

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
“หมอจุ๊ก” จุกนะเนี่ย! ฟ้าผ่ากลางใจคน “จะนะ”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2020, 00:55:58 »
ดอกไม้ให้กำลังใจ “หมอจุ๊ก” ผอ.โรงพยาบาลจะนะขวัญใจของชาวบ้านกับข่าวโดนทหารสั่งย้ายเป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจ!! ที่นี่มีคำตอบ

     ดอกไม้ให้กำลังใจ “หมอจุ๊ก” ผอ.โรงพยาบาลจะนะ ของชาวบ้าน หลังทราบข่าวโดนทหารสั่งย้าย ดูจะเป็นสัญลักษณ์อย่างดีว่า เขาคือคนอันเป็นที่รัก เพราะดอกไม้ไม่ได้มาพร้อมกระถาง แต่ไปๆ มาๆ คนออกใบสั่งครั้งนี้ อาจโดนกระถางแทนดอกไม้

    ข่าว “หมอจุ๊ก” นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ ถูก พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ลงนามในคำสั่งถึงกระทรวงสาธารณสุข ย้ายออกนอกพื้นที่ เกิดขึ้นเพียงไม่นาน
 
    ช่วงวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา ที่หน้าโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา ชาวบ้านในพื้นที่ และกลุ่มแพทย์ พยาบาล และคนอื่นๆ หลายสิบ ร่วมกันมอบดอกไม้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจกันล้นหลาม

   คนที่ติดตามงานของหมอคนนี้ หรือคนในแวดวงเอ็นจีโอ จะรู้จักเขาดีว่า หมอจุ๊กนั้น ไม่ใช่หมอสวมเสื้อกาวน์เดินตรวจไข้รายวัน

   แต่เขายังทำงานเพื่อมวลชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ และเรื่องราวของเขานั้น ถูกสื่อนำมาบอกเล่าบอกต่อไม่รู้กี่ครั้งกี่หน รวมทั้งหนนี้

   หมอจุ๊ก หรือ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ปัจจุบันอายุ 47 ปี เป็นคนหาดใหญ่ จ.สงขลา มีภรรยาคือ ภญ.อุบลรัตน์ ฮาสุวรรณกิจ มีบุตร 2 คน ชายหญิง คือ ชนน และ ณิชา ฮาสุวรรณกิจ

    เขาเคยเล่ากับประชาชาติธุรกิจ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ค่าที่เพิ่งได้เป็นบุคคลของมูลนิธิโกมลคีมทองในปี 2552 ว่า เป็นลูกพ่อค้าขายรองเท้าธรรมดา แต่โชคดีที่มีครอบครัวที่อบอุ่น จึงเป็นเด็กดีของพ่อแม่

    และที่เด็ดคือ หมอจุ๊กเรียนเก่งมาก เพราะพอเรียนจบ ม.ปลาย จากหาดใหญ่วิทยาลัย ก็เอนทรานซ์ติดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2531

   ชีวิต 6 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย หมอจุ๊กยังทำกิจกรรมมากมาย โดยเข้าชมรมค่ายอาสาสมัครมีโอกาสไปออกค่าย ไปพบชีวิตชนบท

    เคยเล่าในนิตยสาร WAY ว่า ด้วยความที่ทำกิจกรรมมาก สุดท้ายก็เข้าสู่งานการเมืองในมหาวิทยาลัย โดยรวมตัวกับเพื่อนต่างคณะ ตั้งพรรค “จุฬาฟ้าใหม่” ช่วงเป็นนิสิตปี 3 กำลังขึ้นปี 4 เป็นนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) รุ่นปี 2534

   ประเดิมงานแรกทันที เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุจินดา คราประยูร เข้ายึดอำนาจการปกครอง หมอจุ๊กก็ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเรียกร้องให้ รสช.ปล่อยตัวเพื่อนนักศึกษา ม.รามคำแหง 15 คน ที่ถูกจับกุม เพราะต่อต้านรัฐประหาร

    จากนั้นก็ทำกิจกรรมนอกรั้วแบบจัดเต็มทำค่ายอาสาขนาดใหญ่อยู่พักหนึ่ง ค่ายล่ม โดยหมอจุ๊กบอกว่า เพราะเด็กเบื่อ ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะสังคมนักศึกษายุคนั้น หันหลังให้สภาพบ้านเมืองไปแล้ว

   แต่กลุ่มหมอจุ๊กที่เหลือ ยังไม่ล้มเลิก ยังคงเดินหน้าขับไล่รัฐบาลทหาร ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ในยุค “พฤษภาทมิฬ” จนได้ขึ้นเป็นเลขาฯ สนนท.

    สุดท้ายก็กลับไปตั้งใจเรียนปีสุดท้ายอย่างเต็มที่ จนจบแพทย์ อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ครอบครัวจากแพทยสภา ทำงานใช้ทุนตอนอายุ 24 ปี โดยไปเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา พ่วงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล

    อยู่ที่นั่นประมาณ 2 ปี เส้นทางของการทำงานมวลชนก็หนีไม่พ้น เพราะมีรุ่นพี่เอ็นจีโอมาชวนให้ช่วยชาวบ้านปกป้องผืนป่า จากการที่ทางการจะตัดถนนผ่านป่า ซึ่งเป็นต้นน้ำเทพา เพื่อจะเชื่อมถนนกับประเทศมาเลเซีย ตามโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย
 
   หมอจุ๊กเล่าว่า ตอนนั้นใช้จุดแข็งของตัวเองค้นหาข้อมูล เขียนบทความ และขึ้นเวทีให้ความรู้แก่ชาวบ้านประท้วงปกป้องพื้นที่ของตนเอง จนสำเร็จโครงการตัดถนนพับไป

   ผ่านไป 4 ปี ขณะที่คนสะบ้าย้อยและคนในพื้นที่ภาคใต้ได้รู้จักเขาในมุมของนักทำงานเคลื่อนไหวเพื่อมวลชน เขาได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ

   แต่ยังไม่ทิ้งลาย เพราะยังเข้าต่อต้านโครงการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โดยทำงานถนัดเช่นเคย ที่สุดงานนี้ หมอจุ๊กโดนเรียกตัวไปชี้แจงที่กระทรวงสาธารณสุข ถูกรองปลัดกระทรวงสาธารณุสขขณะนั้น เอ่ยปากถามเลยว่า “จะเป็นหมอหรือเอ็นจีโอ เลือกเอา!”

    เวลาผ่านไป ถัดจากโครงการท่อก๊าซ มาสู่โรงไฟฟ้าที่จะนะ ก็ยังคงทำงานวิชาการเช่นเดิม ส่วนที่โด่งดัง จนถูกทหารเชิญไปคุย คือ ตอนเป็น 1 ใน 11 แกนนำกลุ่ม “ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน” ที่เดินเท้า 1,400 กิโลเมตร จากหาดใหญ่ถึงกรุงเทพฯ ช่วงปี 2557 ช่วงที่ คสช.มาแล้ว เรียกร้องให้หยุดสัมปทานปิโตรเลียมและโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้

   ที่จริงการทำงานมวลชนของหมอตัวเล็ก สูงเพียง 160 ซม. คนนี้มีมาก เกินจะเล่าหมด แต่เขาบอกเสมอว่า ความสุขของเขายังอยู่ที่การตรวจและรักษาคนไข้ โดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องร่วมบ้านเกิดถิ่นปักษ์ใต้

    อย่างไรก็ดี ช่วงปี 2559 ขณะที่แพทย์ชนบทคนนี้ ยังคงทำหน้าที่แกนนำเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-ปะนาเระ อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง ชื่อของหมอจุ๊กยังโผล่มาในมุมใหม่ๆ

   คือการออกมาวิจารณ์การที่ทหารสั่งปลดบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. 7 ราย ระบุว่า ทหารอยากเข้าควบคุมทั้งบอร์ดและผู้จัดการ สสส. แต่เขาก็โดนคอมเมนท์กลับมาว่า อ้าว..หมอก็เป็นคนเป่านกหวีดเรียกทหารมาหรือไม่

   วันนี้หมอจุ๊กไม่รู้ว่าจุกมากน้อยขนาดไหนกับข่าวการโดนสั่งย้ายที่กำลังเกิดขึ้น แต่กำลังใจจากคนที่รักและยอมรับในคุณงามความดีของเขาก็อาจทำให้เขาจุก เพราะตื้นตันใจมากกว่า

   ซึ่งพอส่องเฟซบุ๊กหมอจุ๊กดูก็พบว่ามีคนมาให้กำลังใจล้นหลาม ออกแถลงการณ์คัดค้านคำสั่งย้ายดังกล่าวกันเพียบ

   แต่เจ้าของเพจกลับเงียบไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม ที่เจ้าตัวกำลังลาพักร้อนเดินทางท่องเที่ยว โดยช่วง 29 มีนาคม เขาอยู่ที่ ฉางซา เมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ที่มีของดีอย่าง อุทยานแห่งชาติอู่หลิงหยวน จุดชมวิวจางเจียเจี้ย

  จากที่ก่อนนั้น 2 วัน เขาก็เพิ่งร่วมเวทีบรรยายความรู้พลังงานกับ คสช. อยู่เลย โดยบ่นในเฟซบุ๊กว่า “เวทีนี้ก็แค่พิธีกรรมที่ไม่น่าจะได้อะไร”

   จากนั้น ช่วงวันที่ 5 เมษายน ข่าวไทยพีบีเอสก็รายงานว่า เจ้าตัวยังปฏิเสธว่าไม่ได้ข่าวคำสั่งย้ายใดๆ ทั้งสิ้น

   จนกระทั่งล่าสุดนี้ ที่เห็นชัดเจนเลย คือ ความรักของมวลชนคนพื้นที่เบ่งบานเต็มโรงพยาบาลจะนะ จนนพ.สุภัทรต้องออกมากล่าวขอบคุณทุกคน

   “ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งใจทำหน้าที่ ทั้งในบทบาทวิชาชีพที่ต้องดูแลประชาชนให้ดีที่สุด และในฐานะพลเมืองเจ้าของแผ่นดินบ้านเกิดด้วย ขอบคุณมากๆ ครับ ตีมอกาเซะครับ"

   แถมยังเบ่งบานไปยังผู้คนในมุมต่างๆ ทั่วประเทศ ชี้ว่าพลังมวลชนหนนี้ก็ไม่ธรรมดา อาจถึงขั้น “ย้ายหนึ่ง ยืนหยัด อีกเป็นแสน”

   จนอดติดตามอย่างเกาะติดไม่ได้ว่า คำสั่งนี้จะถูกพับไปหรือไม่

10 เมษายน 2560
คมชัดลึก

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
'นพ.สุภัทร' ผอ.โรงพยาบาลจะนะ โพสต์เฟซบุ๊กระบุหากพรรคประชาธิปัตย์คิดระยะยาวต้องปฏิเสธไม่เข้าร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เหตุคนรุ่นใหม่ไม่เอาการสานต่ออำนาจเผด็จการ ย้ำหากยืนข้างพรรคฝั่งประชาธิปไตยยังมีโอกาสกลับมารับใช้พี่น้องคนใต้และคนไทยยาวๆ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีแนวทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังจากนายหัวจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ นั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ว่า พรรคประชาธิปัตย์ในยุคสมัยเริ่มต้นของนายหัวจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ จะไปทางไหน อันนี้น่าสนใจมาก เพราะเลือกทางผิดอนาคตอาจเป็นพรรคต่ำสิบได้ในอนาคตอันใกล้

"ดูอย่างสงขลาบ้านผม ที่เป็นพื้นที่สีฟ้าของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีใครมาแซะได้ แต่รอบนี้ก็เหลือเพียง 3 จาก 8 ที่นั่ง ส่วนในกรุงเทพนั้นสูญพันธ์ุ" นพ.สุภัทร ระบุ

การเลือกตั้งรอบนี้ชัดเจนว่า ในภาคใต้นั้น คนวัยกลางคน คนสูงอายุ ส่วนใหญ่หนุนพรรคพลังประชารัฐ ส่วนคนรุ่นใหม่นั้นหนุนพรรคอนาคตใหม่ แต่พรรคประชาธิปัตย์เจ้าของพื้นที่นั้น เนื่องจากจุดยืนไม่ชัดเจน และยังส่งเสาไฟฟ้า ส.ส.เก่าที่ไร้บทบาทมานานลงสนามอีก จึงสอบตกกันเป็นแถว

แม้ผมไม่เป็นสมาชิกพรรค แต่ผมก็อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ยืนหยัดบนวิถีการเมืองที่สง่างาม ยืนยันอุดมการณ์ตามชื่อคือประชาธิปไตย ไม่รับในอำนาจของเผด็จการ คสช.ที่กำลังแปลงร่างมาด้วยกติกาที่เขียนเองอย่างฉ้อฉล

นพ.สุภัทร ระบุด้วยว่า หากพรรคประชาธิปัตย์คิดสั้นๆ ก็ไม่ยาก เข้าร่วมสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐตั้งรัฐบาล ซึ่งก็น่าจะถูกใจคนรุ่นเก่า แต่ที่ว่าคิดสั้นเพราะคนรุ่นใหม่ในภาคใต้ก็จะได้เลิกหวังเลิกเชียร์พรรคสีฟ้านี้เสียที ไปหนุนพรรคอนาคตใหม่ให้เต็มๆ

คนวัยกลางคนและวัยสูงอายุจะค่อยๆลดลง คนรุ่นใหม่จะเติบโตก้าวขึ้นมาแทนที่ปีละ 6-7 แสนคน สิบปีก็ร่วม 6-7 ล้านคน เสียงของคนรุ่นใหม่จึงมีพลังขึ้นเรื่อยๆ พรรคสีฟ้าจะเมินเฉยหรือ

แต่หากพรรคประชาธิปัตย์คิดถึงการยืนระยะยาวๆ ก็ต้องปฏิเสธไม่เข้าร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เพราะคนรุ่นใหม่เขาไม่เอาการสานต่ออำนาจเผด็จการ ครม.หน้าเดิมๆ 5 ปีนั้นพอแล้ว หากประชาธิปัตย์ยืนข้างพรรคปีกประชาธิปไตย ผมว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังมีโอกาสที่จะกลับมารับใช้พี่น้องคนใต้และคนไทยกันยาวๆ

รอดูครับว่า พรรคประชาธิปัตย์จะคิดสั้นหรือคิดยาว

May 17, 2019
Voice online

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
"...สิ่งหนึ่งที่น่าเกลียดของ คสช.คือ การปลด 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.ในคำสั่งเดียวกับกลุ่มที่มีประเด็นส่อทุจริต ทั้งๆที่กรรมการทั้ง 7 ไม่มีการถูกตั้งกรรมการสอบทุจริตเลย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง และเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิดโดยตั้งใจ.."

หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เมื่อวันที่ 6 ม.ค.59 นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา  และ แกนนำแพทย์ชนบทภาคใต้ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Supat Hasuwannakit' แสดงความเห็นเกี่ยวกับ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 ซึ่งมีรายชื่อบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมอยู่ด้วย จำนวน 7 ราย

--------------

หลายคนถามความเห็นของผม ต่อการปลดบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. 7 ท่าน ด้วย ม. 44 ผมจึงขอให้ทัศนะของผมหลังการเชื่อมโยงไตร่ตรอง อ่านหลายความเห็นของผู้คน

ผมสรุปได้ว่า

"สสส.คือนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย เพราะเป็นช่องทางให้ภาคประชาชนมีโอกาสได้ใช้เงินภาษีประชาชนมาทำงานเพื่อชุมชนของเรา เพื่อสังคมของเรา เพราะทั้งชุมชนและสังคมเป็นของเรา ไม่ใช่เป็นหน้าที่เฉพาะของส่วนราชการหรือท้องถิ่นท้องที่เท่านั้น และ สสส.คือกลไกสำคัญที่สุดที่เสริมความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม สังคมไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้า ประชาชน ชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆต้องได้รับการหนุนเสริมให้เติบโต ประชาสังคม ต้องเติบใหญ่ให้ได้ดุลย์กับรัฐและทุน นั่นคืออุดมคติ

ที่ผ่านมา แม้ สสส.จะมีจุดโหว่เชิงการจัดการอยู่บ้าง แต่ก็เดินไปในทิศทางที่ใช่ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคม และด้วยการบริหารแบบ สสส.ที่มีความคล่องตัวต่างจากราชการที่มีระเบียบปิดกั้นมากมาย ทำให้ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รับทุน สสส.มีความแหลมคมและหลายกรณีก็มาทำหน้าที่ตรวจสอบหรือกดดันภาครัฐและภาคทุน

ส่วน คสช.นั้นชัดเจนแล้วว่า จุดยืนทางวิธีคิดของ คสช.คือ การจัดแถวประเทศไทย คิดแบบทหารต้องการให้ประชาชนซ้ายหันขวาหันตามที่สั่ง ใช้กระบวนการแช่แข็งการมีส่วนร่วม ครอบงำทิศทางให้อยู่ในกรอบ ตัดท่อน้ำเลี้ยงภาคประชาชน และ สสส.ก็คือท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ที่สุดในขณะนี้ คสช.มุ่งควบคุมภาคประชาชนให้อยู่ในกระด้งในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่การออกทำเรื่องสิทธิ การจัดการฐานทรัพยากร การตรวจสอบหรือเห็นต่างนโยบายรัฐ เป็นสิ่งที่น่ารำคาญและยอมรับไม่ได้

ในยุคนี้ยิ่งชัด เมื่อ คสช.พูดถึง"ประชารัฐ" ประชาในความหมายของทหารก็คือเจ้าสัว ส่วนรัฐก็ชัดเจนคือรัฐราชการ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีภาคประชาชนอยู่ในสมการ

การปลดบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน 7 คนอย่างเร่งด่วนด้วย ม.44 ครั้งนี้ เชื่อว่าตัวเร่งตัวหนึ่งก็คือ การสรรหาผู้จัดการ สสส.ที่กำลังจะจบ ทหารคงได้ข้อสรุปว่า อยากจะได้คนที่ตนควบคุมได้ มาเป็นทั้งบอร์ดและผู้จัดการ สสส. จึงต้องรีบเร่งตัดกระบวนการ และหลังจากนี้ คสช.คงตั้งนายพลหรือคนที่ตนคุมได้เข้ามานั่งในบอร์ดและเป็นผู้จัดการ สสส.

โดยเชื่อว่า ภาคประชาชนจะอ่อนเปลี้ยลงหากไม่มีน้ำเลี้ยงจาก สสส. และงบ สสส.ในอนาคตจากบอร์ดใหม่ เชื่อมั่นได้ว่า จะเปิดช่องให้ภาคราชการ กองทัพ เข้ามาของบก้อนใหญ่ๆทำโครงการได้สะดวกโยธินขึ้น

สิ่งหนึ่งที่น่าเกลียดของ คสช.คือ การปลด 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.ในคำสั่งเดียวกับกลุ่มที่มีประเด็นส่อทุจริต ทั้งๆที่กรรมการทั้ง 7 ไม่มีการถูกตั้งกรรมการสอบทุจริตเลย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง และเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิดโดยตั้งใจ

ปัญหาจึงชัดเจนว่า อยู่ที่วิธีคิดของ คสช.วิธีคิดแบบจัดแถวของทหารที่ต้องการควบคุมทุกอณูของสังคม ส่วนความคิดของผมและภาคประชาสังคมกลับตรงข้าม คือปลุกทุกพลังในสังคมในลุกขึ้นดูแลและจัดการชุมชนสังคมด้วยตนเอง ประชาชนคือศูนย์กลางจริงๆและเติบใหญ่ขึ้น ราชการรวมศูนย์ที่แข็งทื่อต้องเล็กลง

นี่จึงเป็นการต่อสู้ของสองชุดความคิด ไม่แปลกที่มีรุกมีรับ ถูกทหารรุกกินเมืองบ้างในวันนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่แปลก เข้าใจได้ แต่ไม่ใช่เรายอมจำนน แต่กลับต้องเปลี่ยนรับเป็นรุก เอาเมืองคืนมา ด้วยกระบวนกองทัพมดที่ไร้ระเบียบ จนฝ่ายจัดแถวนิยมจับทางไม่ถูก

เพราะโดยทิศทางประวัติศาสตร์ การเล็กลงของภาครัฐและการลดบทบาทของกองทัพเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นอยู่แล้วในอนาคต

(อ่านประกอบ : ‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ปลด ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่นกราวรูด 59 คน-พ่วง 7 บอร์ด สสส.)

6 มกราคม 2559 เวลา 14:40 น.
เขียนโดยisranews

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ฟัน ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่นลอต 3 กราวรูด 59 คน อดีต ผอ.ปปง.-อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ อ.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดนด้วย มหาสารคามยก จว. 32 คน ย้าย ‘จเร’ เข้ากรุสำนักปลัดนายกฯ เด้ง 7 บอร์ด สสส. พ้นเก้าอี้


ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2559 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 3

ประกาศดังกล่าว ระบุว่า ตามที่มีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกําหนดกรอบอัตรากําลังชั่วคราว ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558 และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2558 เรื่อง แต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2558 นั้น

โดยที่หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบได้เสนอรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบ จึงจําเป็นต้องประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติมจากรายชื่อตามบัญชีแนบท้าย คําสั่งดังกล่าวตามความในข้อ 5 ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 ประกอบกับจําเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางตําแหน่งพ้นจากตําแหน่งเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปราชการแผ่นดิน

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ผู้ที่มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว

ข้อ 2 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 2 ข้าราชการพลเรือน ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว และไปปฏิบัติราชการประจําหน่วยงานนั้นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ข้อ 3 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดํารงตําแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน

ข้อ 4 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ ไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่ราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนด แต่ต้องมิใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิม โดยไม่ต้องมีคําร้องขอ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้บังคับบัญชามีอํานาจมอบหมายให้ผู้นั้นปฏิบัติงานตามความเหมาะสม

ในกรณีนี้ มิให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินประจําตําแหน่งและสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2555 อันเนื่องจากการไปช่วยราชการตามคําสั่งนี้

ข้อ 5 เมื่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสํานักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ถึงกลุ่มที่ 4 ต่อหน่วยงานต้นสังกัดแล้วให้หน่วยงานนั้นเร่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือสอบสวนเพื่อดําเนินการทางวินัย ในกรณีไม่พบว่ามีความผิดก็ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงคําสั่งต่อไป

ข้อ 6 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 5 กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้พ้นจากการเป็นกรรมการและการดํารงตําแหน่งในกองทุนดังกล่าว และให้ผู้มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 7 ให้กําหนดตําแหน่งนายจเร พันธุ์เปรื่อง ที่ปรึกษาประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไว้ในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อ 8 การรับเงินเดือน สิทธิประโยชน์ หรือประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ของผู้มีรายชื่อในกลุ่มต่าง ๆ ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้และตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ

ข้อ 9 ในกรณีมีปัญหาให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องเสนอปัญหาและแนวทางดําเนินการให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัย คําวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ข้อ 10 นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี อาจมีคําสั่งหรือมติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ตามที่เห็นสมควร

คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 5 มกราคม พุทธศักราช 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

บัญชีแนบท้ายคําสั่งหัวหนาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559

---------------------------------

กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา (จํานวน 2 ราย)

1. นายสุเมธ แย้มนุ่น รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2. นายอร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มที่ 2 ข้าราชการพลเรือน (จํานวน 2 ราย)

1. นายอภิชาต ถนอมทรัพย์ ผู้อํานวยการกองคดีสํานักงาน ปปง.
2. นายสมคิด มะธิปะโน ครูชํานาญการพิเศษ โรงเรียนแก่งนาจารย์พิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จํานวน 44 ราย)

1. นายทองใบ บาระพรม นายกองค์การบริหารส่วนตําบลลาดพัฒนา อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
2. นายสมบูรณ์ คำสอนทา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลห้วยแอ่ง อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
3. นายธารณ ภักดีสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลโคกก่อ อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
4. นายสัมพันธ์ เนื่องโคตะ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลปะหลาน อําเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
5. นายสุคล สีสมยั นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเหล่า อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
6. นายบุญทัน สุนธิเสน นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเขื่อน อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
7. นายเกริกฤทธิ์ อามาตร นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเลิงใต้ อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
8. นายสวัสดิ์คํามาตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลประชาพัฒนา อําเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
9. นางสาวสมกมล ภูวนกมลกรรม นายกองค์การบริหารส่วนตําบลโนนแดง อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
10. นายบัวลา ทัศไพร นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดอนงัว อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
11. นายวีระศักดิ์โพธิ์เฮือง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลบรบือ อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
12.นายสมคิด บุญประสงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองโก อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
13. นายรัชพล ณไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองกุง อําเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
14. นายสนั่น บุญคะสีทา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลโคกพระ อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
15.นายทองคํา ชะศรี นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมะค่า อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
16.นายอภิชาติ วงศ์อาษา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลขามเฒ่าพัฒนา อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
17. นายธนะสิทธิ์ ฉัตรธนะพานิช นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเชียงยืน อําเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
18. นายสุรัชฐ์ จันทะรัง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลยางสีสุราช อําเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
19. นายหมั่น แสงสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองแวง อําเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
20. นายไกรษร มัธศิริกุล นายกองค์การบริหารส่วนตําบลราษฎร์พัฒนา อําเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
21.นายรังสรรค์ จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองเตา อําเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
22.นายสุภาพ ผาบพุทธา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเขวาไร่อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
23.นายยุทธภูมิ กุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแพง อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
24.นายประสิทธิ์ สีแก้วสิ่ว นายกองค์การบริหารส่วนตําบลวังยาว อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
25.นายสุชาติ ถามูลตรี นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองบอน อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
26.ดาบตํารวจพิเชษฐ ทศช่วย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองคูขาด อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
27.นายภูวดล มุลนี นายกองค์การบริหารส่วนตําบลวังใหม่อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
28.นายสมบูรณ์นาเพีย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเขวาไร่อําเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
29. นายกิตติชัย พันธไชย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลคันธารราษฎร์อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
30. นายสวาท ปาธิสัตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดงดวน อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
31.นายวรวิทย์ ปักกาโล นายกองค์การบริหารส่วนตําบลกู่สันตรัตน์อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
32.พันจ่าเอกคมสันต์ บุญศร นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองเรือ อําเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
33. นายลําพูน เพียสา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแมดนาท่ม อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
34. นายคมเดช พลอยแดง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลบางรักใหญ่ อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
35. นายเนตร สังข์เมือง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดินทอง อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
36. นายไสว เนื้อสีจัน นายกองค์การบริหารส่วนตําบลวังวน อําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
37. นายสมบัติ วงศ์กวน นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหนองสามวัง อําเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
38. นายสุภคิน วงค์สา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองต้นเปา อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่
39. นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
40. นายบุญเลิศ ฟักสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองลัดหลวง จังหวัดสมุทรปราการ
41. นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
42. นายสกุลศักดิ์ มะดาโอ๊ะ นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลปาเสมัส อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
43. นายเกรียงไกร ชูศิลป์กุล นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลกําแพงแสน อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม
44. นางสํารวย ชุนเกาะ นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลบ้านใหม่อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

กลุ่มที่4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จํานวน 4 ราย)

1. นายยุทธเดช พลอยสังวาลย์ ท้องถิ่นจังหวัดนครพนม
2. สิบตํารวจตรีบุญส่ง ทศพร ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลนพรัตน์จังหวัดปทุมธานี
3. นายณรงค์ฤทธิ์ คล้ายทอง ปลัดเทศบาลตําบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
4. นางสาวจันทร์ประภา อิสสอาด ผู้อํานวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

กลุ่มที่ 5 กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จํานวน 7 ราย

1. นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการ สสส. รองประธานคนที่สอง
2. นายสงกรานต์ ภาคโชคดี กรรมการ สสส.
3. นายเอ็นนู ชื่อสุวรรณ กรรมการ สสส.
4. นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการ สสส.
5. นายสมพร ใช้บางยาง กรรมการ สสส.
6. รองศาสตราจารย์ประภัทร นิยม กรรมการ สสส.
7. นายวิเชียร พงศธร กรรมการ สสส.

5 มกราคม 2559
เขียนโดยisranews