ผู้เขียน หัวข้อ: งานวิจัย/บทความที่อยู่ใต้พรม#3No Safe Level of Alcohol แอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็ง  (อ่าน 1097 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ดื่มแอลกอฮอล์แค่ไหนดี? No Safe Level of Alcohol

คนเราดื่มแอลกอฮอล์มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว เหตุผลในการดื่มสำคัญๆ คือ ช่วยให้ผ่อนคลายลดความเครียด และช่วยในการเข้าสังคม แต่แอลกอฮอล์ก็ถือว่าเป็นยาเสพติดมีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีผลเสียต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อสังคม
ดื่มแอลกอฮอล์แค่ไหนดี? ผลการวิจัยใหม่พบว่า “ไม่ดื่ม” ดีที่สุด “No Safe Level of Alcohol”



ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19นี้ มีข่าวเกี่ยวกับ”แอลกอฮอล์” 2 ข่าวใหญ่ คือ การขาดแคลนแอลกอฮอล์(ฆ่าเชื้อ)* หาซื้อยาก และราคาสูงขึ้น กับข่าวการประกาศงดจำหน่าย(เครื่องดื่ม)แอลกอฮอล์ ทั่วประเทศ แอลกอฮอล์ในทั้ง2ข่าว คือ เอทิลแอลกอฮอล์ Ethyl Alcohol (Ethanol) ตัวเดียวกัน หลายคนอาจสงสัยว่า ใช่ตัวเดียวกันหรอ? เพราะ(เอทิล)แอลกอฮอล์ที่ใช้ในฆ่าเชื้อราคาถูก กว่า (เอทิล)แอลกอฮอล์(เครื่องดื่ม)มากมายหลายเท่า เอทิลแอลกอฮอล์ได้จากการหมักแป้ง/น้ำตาลด้วยยีสต์ เมื่อจะนำเอาเอทิลแอลกอฮอล์ มาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค(ใช้ภายนอกร่างกาย) จะมีการบังคับให้ผู้ผลิตแปลงสภาพแอลกอฮอล์เสียก่อน (denatured alcohol) เพื่อไม่ให้นำไปดื่มกินได้ ด้วยการเติมสาร เติมสี ให้มีรสขมจัด** และมีกลิ่นไม่น่าชวนดื่ม
ส่วนการนำเอา(เอทิล)แอลกอฮอล์ไปทำเครื่องดื่ม ผู้ผลิตก็จะนำไปปรุงแต่ง นำไปบ่ม(บางชนิดหลายสิบปี)ให้มีรสชาติกลมกล่อม มีกลิ่นชวนดื่มชวนกิน แต่ก็เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ตัวเดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน (ติดไฟ ฆ่าเชื้อโรคได้ ทำให้เมาได้...)



WHO องค์การอนามัยโลก(ภาคพื้นยุโรป)***ได้อ้างอิงผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดัง The Lancet ในปี 2018 ว่า การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่ามากน้อยแค่ไหนก็ไม่ดีต่อสุขภาพ “There is no safe level of alcohol” ซึ่งเป็นการล้มล้างความเชื่อเดิมที่ว่า การดื่มแอลกอฮอล์พอประมาณ(Moderate drinking) ดีต่อสุขภาพ หรือดื่มไวน์แดงวันละแก้วอายุยืนกว่า ซึ่งสื่อดังๆในตะวันตกหลายสำนัก เล่นข่าวนี้กันอย่างคึกโครมในช่วงนั้น เพราะเหมือนเป็นการหักมุมเลยเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์



งานวิจัยที่ว่านี้ ชื่อยาวหน่อย “Alcohol use and burden for 195 countries and territories, 1990–2016: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016” โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสถาบัน”บิลและเมลินดา เกตส์” เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจาก 195 ประเทศ ในช่วงปี 1990 ถึง 2016 โดยวิเคราะห์ผลของการดื่มแอลกอฮอล์(ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใด) โดยประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในภาพรวมของ 23 โรค/ปัญหาสุขภาพ ทั้งโรคหลอดเลือดและหัวใจ(Cardiovascular diseases), โรคมะเร็ง(Cancers)และโรคไม่ติดต่ออื่นๆ(Noncommunicable diseases), โรคติดเชื้อ(Communicable diseases) , การบาดเจ็บจากความรุนแรง(Intentional /Unintentional injuries) รวมทั้งอุบัติเหตุด้วย (transportation-related injuries) พบว่า “ความเสี่ยงของการเสียชีวิต(จากทุกสาเหตุ) และการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณการดื่มที่จะลดการสูญเสีย คือ ศูนย์ (ไม่ดื่ม) “


เป็นที่ยอมรับและรับรู้กันดีว่า รังสีชนิดต่างๆ, การสูบบุหรี่, อะฟลาท็อกซินสารพิษจากเชื้อราในถั่ว/ธัญพืช, เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ...ทำให้เกิดมะเร็งได้ แอลกอฮอล์ ก็ถูกจัดให้เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง(Carcinogen) ตั้งแต่ปี 1988 โดยองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง(IARC-International Agency for Research on Cancer) แอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม1กลุ่ม(Group1 : Carcinogenic to Human) เป็นกลุ่มที่มีหลักฐานทางการแพทย์แน่ชัด
สถาบันวิจัยด้านมะเร็งของอเมริกา (American Institute for Cancer Research) ก็ให้คำแนะนำไว้ว่า “สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งแล้ว ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลยดีที่สุด”
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC-Centers of Disease Control and Prevention) ก็แนะนำประชาชนชาวอเมริกาว่า “ดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งก็ลดลง”

บทส่งท้าย
-เรื่องการดื่มแอลกอฮอล์คงยังเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันไปอีกนาน
-อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลประโยชน์มหาศาล
-หากไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์มาก่อน ก็ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์/ด้านสุขภาพ ที่จะเริ่มต้นดื่ม
-ถ้าเป็นนักดื่มอยู่แล้ว และสุขภาพยังดีอยู่ ดื่มน้อย ก็เสี่ยงน้อย
…...……............………………..
* แอลกอฮอล์อีกชนิดที่นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อด้วย คือ Isopropyl alcohol
** ส่วนใหญ่ใช้สารที่ขมที่สุดในโลก (กินเนสส์บุ๊ค ลงสถิติเอาไว้) คือ Denatonium Benzoate (Bitrex)
***ภาคพื้นยุโรปมีการดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด

https://www.facebook.com/praditc/posts/3128931417158145
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พฤษภาคม 2020, 03:08:54 โดย story »