ผู้เขียน หัวข้อ: แถลงการณ์สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯ กรณี รพ.ขอนแก่น  (อ่าน 8274 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” เรียกปลัด สธ.ชี้แจง ปมสอบสวนโยกย้าย ผอ.รพ.ขอนแก่น ย้ำต้องโปร่งใส เป็นธรรม พร้อมพบ “หมอชาญชัย” ส่วนผลสอบให้เป็นไปตามเอกสารหลักฐานที่ชี้แจง หวั่นบานปลายศึกหมอกระทบเชื่อมั่นควบคุมโควิด

วันนี้ (6 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. มีกระแสข่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เรียก นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัด สธ. เข้าพบ เพื่อให้รายงานกรณีออกคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น และสั่งให้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่กองบริหารการสาธารณสุข โดย นายอนุทิน ได้ย้ำว่า ขอให้ดำเนินการตามหลักกฎหมาย ด้วยความเป็นธรรม ทั้งหลักธรรมาภิบาล และเมตตาธรรม กระบวนการสอบสวนจะต้องมีความโปร่งใส ชี้แจงต่อประชาชนและสังคมที่กำลังติดตามเรื่องนี้ได้ทุกประเด็น เนื่องจากกระทบต่อความเชื่อมั่น ความศรัทธา และความไว้วางใจที่ประชาชนมีให้กับแพทย์และบุคลากรอย่างมาก ขณะที่ สธ. และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องเป็นหลักในการต่อสู้กับโรคโควิดอยู่ โดยย้ำว่า การสอบสวนใดๆ จะต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาดและการบริการประชาชน

นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องให้ยึดหลักตามข้อเท็จจริง ต้องทำให้ถูกต้องมากกว่าถูกใจ และยินดีที่จะให้ นพ.ชาญชัย เข้าพบ เพราะส่วนตัวอยากพบอยู่แล้ว ส่วนเรื่องผลการสอบจะเป็นอย่างไร ก็ต้องชี้แจงตามเอกสารหลักฐานที่เกิดขึ้น และให้ปลัด สธ.ส่งหลักฐานมาเป็นลายลักษณ์อักษรมาให้ตนทราบด้วย ทั้งนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ความศรัทธา และความไว้วางใจที่ประชาชนมีให้กับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก ประกอบกับในสถานการณ์ที่กระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องเป็นหลักในการต่อสู้กับโรคระบาด ทุกคนต้องมีความสามัคคีกัน

6 มิ.ย. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ลั่นสอบวินัย ผอ.รพ.ขอนแก่น ต้องเป็นธรรม เตรียมตรวจสอบคู่ขนาน หลังมีผู้ร้องเรียน คกก.สอบวินัยไม่เหมาะสม ย้ำต้องเป็นคนไม่มีส่วนได้เสียกัน หวังเห็นกระทรวงหมอคงความเป็นธรรม

จากกรณี นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งย้าย นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพ.ขอนแก่น มากองบริหารการสาธารณสุข และโยก นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรี มารักษาการแทน โดยระบุว่า มีพฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวง ขัดขวางการสอบสวน ข่มขู่พยานนั้น จึงเห็นควรให้ย้ายออกนั้น

วันนี้ (2 มิ.ย.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ชพพ.อยู่ระหว่างตรวจสอบการออกคำสั่งทางปกครองว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะคำสั่งทางปกครองที่ออกมานั้น ถือว่าเป็นคำสั่งที่ค่อนข้างร้ายแรง มีการลดอำนาจบริหาร ลดสิทธิประโยชน์ และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งนี้ ชพพ.อยากเห็นการสอบสวนที่ถูกต้องและเป็นธรรม ถ้าทุจริตจริง อย่าเอาไว้ให้ดำเนินการตามกฎหมายเต็มที่ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ส่วนที่มีคนกังวลว่า กระบวนการพิจารณาหรือการตั้งกรรมการสอบวินัยที่มีการร้องเรียนว่าไม่เหมาะสม เรื่องนี้มีหลายคนติดตามอยู่ รวมถึงนักกฎหมายของชมรมฯ ซึ่งกรรมการสอบวินัยต้องไม่เป็นพรรคพวก หรือเคยโกรธเคืองกัน หรือเป็นเพื่อนกันมาก่อน หรือก็คือต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีระเบียบการตั้งกรรมการอยู่แล้ว ต้องติดตามกันต่อ

“เราอยากเห็นจริงๆ ว่า กระทรวงสาธารณสุข ทรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม อย่าให้มีการแบ่งแยกเป็นพวก กลั่นแกล้ง ตามที่หลายคนกังวลกันอยู่ ดังนั้น ชพพ.จึงจะติดตามใกล้ชิด ตอนนี้มี ผอ.หลายคนมาให้ข้อมูลกับทางชมรมฯ ซึ่งมีการจัดหาพิจารณาคู่ขนานกันแน่นอน เพราะต้องการให้สังคมมีความเป็นธรรมจริงๆ ผลจะออกมาอย่างไรไม่รู้ แต่ต้องมีความเป็นธรรม” นพ.สัมพันธ์ กล่าว

2 มิ.ย. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย"ล้วงลูก"ของรัฐมนตรี-เปลว สีเงิน
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2020, 04:13:49 »
พูดเรื่องย้าย ผอ.รพ.ขอนแก่น "นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล" มา ๒ ครั้ง
    วันนี้ คงต้องอีกสักครั้่ง
    เป็น "บทพิสูจน์" ในทางบริหาร-จัดการของรัฐบาล ที่ประกาศ "ล้างทุจริต-ล้างคอร์รัปชัน" มาตลอด
    เรื่องนี้ แยกเป็น ๒ ส่วน
    ส่วนแรก การใช้บัตรสนเท่ห์ใบเดียวย้ายหมอชาญชัยด้วยข้อหา "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" และตั้งคนในเครือข่ายเป็นคณะสอบสวน นั้น
    บ่งบอกว่า เรื่องนี้ "ทำกันเป็นทีม"!
    และ ผอ.คนใหม่ที่ย้ายมาแทน เป็น "หมอเกรียงศักดิ์" ตรงนี้ ตอกย้ำถึงความไม่ชอบมาพากล
    เพราะปลัดฯ สุขุมเคยมีความพยายามย้ายหมอเกรียงศักดิ์มาอยู่ตรงนี้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ถูกแรงปฏิเสธจากบุคลากรทางการแพทย์ขอนแก่น   
    จนรัฐมนตรีสาธารณสุขสมัยนั้น "ศ.ดร.ปิยะสกล สกลสัตยาทร" ต้องเข้ามาแก้ปัญหา
    ให้ย้ายหมอเกรียงศักดิ์กลับไป เอาหมอชาญชัยกลับเข้ามาตามเดิม
    ตรงนี้ บ่งว่าใน รพ.ขอนแก่น มีความเป็นไปได้สูง ในทาง มี "ความลับดำมืด" บางสิ่ง-บางอย่าง ถูก "ปกปิด-ซ่อนเร้น" ไว้
    และต้องการ "กลบร่องรอย"!?
    "ความลับดำมืด" นั้น คืออะไร?
    เห็นตะคุ่มๆ ได้ ตามหลักฐานทางบัญชี และตามที่หมอชาญชัยแถลง ว่าก่อนเข้ามาบริหาร รพ. บัญชีติดลบสะสมต่อเนื่องเป็นสิบปี กว่า ๒๐๐ ล้าน
    ตรงนี้ เป็นปมสำคัญ ที่รัฐบาล รัฐมนตรีสาธารณสุข องค์การตรวจสอบคอร์รัปชัน รวมถึง ป.ป.ช.
    ถ้าจริงใจ ต้องการ "กำจัดปลวก" ให้ประเทศ จะต้องสนใจตรงนี้เป็นพิเศษ
    คือ โรงพยาบาลขอนแก่น ก่อนปี พ.ศ.๒๕๕๘
    บริหารขาดทุน มีหนี้สิน ต่อเนื่องนับเป็นร้อยๆ ล้าน
    หมอชาญชัยเข้ามา....
    จะถือว่า ต้องทุกข์ร้อนอะไร ในเมื่อ "โรงพยาบาลหลวง-หนี้หลวง" ก็อยู่ไป เดี๋ยวก็ย้าย คนใหม่มา หนี้ก็เป็นมรดกตกทอดกันไปเรื่อยๆ ฉะนั้่น ไม่ต้องอินัง-ขังขอบให้ปวดหัว
    คิดอย่างนั้น ก็ไม่ผิด........
    แต่หมอชาญชัย ไม่คิด "เกาะหนี้" แล้วบริหารพอกหนี้ในลักษณะนั้่น แล้วอยู่ไปวันๆ
    ไปขอแรงนักการเงิน/การบัญชี มาช่วยตรวจ-วิเคราะห์ระบบของโรงพยาบาล หารูรั่ว-รูโหว่ เพื่ออุด
    เช่น สต๊อกยาในห้องยา, ในวอร์ด, เส้นทางรั่วไหล, การคีย์ข้อมูลเบิกเงินจาก สปสช. และ ฯลฯ
    เหล่านี้ ทำให้การจัดซื้อของแต่ละชิ้นที่เคยแพงลดลง จากเดิมเช่น เคยซื้อหน่วยละ ๙ บาท ก็ทำให้ลดลงเหลือหน่วยละ ๓ บาท
    หมอชาญชัยแถลงต่างกรรม-ต่างวาระว่า.......
    เมื่อปรับปรุงกลไกแล้ว ประหยัดเงินโรงพยาบาลไปได้ปีละเกือบ ๔๐ ล้านบาท
    บวกกับโรงพยาบาลซื้อยากับบริษัทยา มี ๕% ในระบบการค้า
    หมอชาญชัยไม่แตะ
     ให้ส่งเข้า "กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น" เป็นเงินบริจาคทั้งหมด รวมทั้งเงินผู้ศรัทธาโรงพยาบาลบริจาคให้แต่ละปี
    เนี่ย...
    เมื่อแก้ระบบ ทั้งตัว ผอ.โรงพยาบาล คือหมอชาญชัย ไม่แตะ-ไม่รับเงินทอน ๕% จากบริษัทยา ทั้งมีความโปร่งใสในเงินบริจาคทุกบาท-ทุกก้อน
     เพียง ๒-๓ ปี........
     โรงพยาบาลขอนแก่น ที่มีหนี้สะสมต่อเนื่องเป็นสิบปี กว่า ๒๐๐ ล้าน ล้างได้หมดเกลี้่ยง
    ไม่เพียงล้างหนี้หมด
    หมอชาญชัยยังบริหารให้โรงพยาบาลมีเงินบำรุงเหลือเป็นสภาพคล่องได้อีก กว่า ๒๐๐ ล้าน
    พูดตามภาษาชาวบ้าน คือ พลิกจากขาดทุน มามีกำไรกว่า ๒๐๐ ล้าน!
    นี่ยังไม่นับรวมที่ "พี่ตูน บอดี้สแลม" วิ่งนำเงินบริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์อีกนะ เป็นร้อยหรือกี่สิบล้าน ผมก็จำไม่ได้แล้ว
    แต่ผลของการบริหารซื่อสัตย์-สุจริต-มีธรรมาภิบาลของหมอชาญชัย รางวัลที่ได้รับตอบแทนจากกระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดฯ สุขุม กาญจนพิมาย คือ
    ข้อหา ฉ้อราษฎร์บังหลวง ........
    ข่มขู่-คุกคามพยาน ถูกสอบวินัยร้ายแรง และถูกย้ายเข้าประจำกระทรวง
    ด้วยหลักฐาน "บัตรสนเท่ห์" ใบเดียว ซึ่งทั้งเลื่อนลอย ทั้่งคนกล่าวหา ไม่มี-ไม่ยอมปรากฏตัวตน!?
    แต่ปลัดฯ สุขุม รวมทั้งรัฐมนตรีสาธารณสุข "นายอนุทิน ชาญวีรกูล"
    "เชื่อบัตรสนเท่ห์".......
    แทนเชื่อหมอชาญชัยที่ไม่รับ ๕% บริหารล้างหนี้โรงพยาบาลจนมีกำไรเป็นร้อยๆ ล้านได้เป็นที่ประจักษ์
    ครับ....
    นี้เป็นส่วนแรกของเรื่อง จะถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องในระบบบริหาร ตั้งแต่นายกฯ จนถึงรัฐมนตรีสาธารณสุขและปลัดฯ รับผิดชอบในส่วนนี้
    ยังมีอีกส่วน เป็นส่วนที่ ๒ ที่ต้องพูดถึง
    คือ ปริศนา "ลับ-ดำมืด" ว่าหนี้่สินกว่า ๒๐๐ ล้าน สะสมต่อเนื่องเป็นสิบปี
    ตรงนี้ สมควรต้อง "ตรวจสอบ" ให้กระจ่างในข้อเท็จจริง คือ กับบัตรสนเท่ห์ใบเดียว รัฐมนตรี-ปลัดฯ กลับเชื่อสนิทใจ
    เอาหมอชาญชัยถึงตาย!
    แต่กับที่หมอชาญชัย ไม่รับเงินทอนบริษัทยา ปรับปรุงระบบการเงิน/การบัญชี/การจัดซื้อ/การรับบริจาค พลิกจากขาดทุน เป็นกำไร เป็นที่ประจักษ์
    รัฐมนตรีอนุทิน ปลัดฯ สุขุม กลับไม่เชื่อ นอกจากไม่เชื่อ ยังตั้งข้อหา "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" เป็นชนักปักติดหลัง!
    ตรงนี้ เป็นเรื่องประเทศชาติ ..........
    ว่าด้วยความโปร่งใส ความบริสุทธิ์-ยุติธรรม มาตรฐานประเทศในด้าน "ทุจริต-คอร์รัปชัน"
    รัฐบาล โดยเจ้ากระทรวงสาธารณสุข จะทำลอยตัว ด้วยอ้าง "ไม่ต้องการล้วงลูก" อย่างนั้น ไม่ได้
    ระวัง จะเข้าข่าย "ละเว้นปฏิบัติหน้าที่" ตามมาตรา ๑๕๗!
    รัฐมนตรี มีฐานะอะไรบ้าง ควรทราบไว้
    ๑.ในฐานะสมาชิกคณะรัฐมนตรี มีนายกฯ เป็นหัวหน้า
    ๒.เป็นเจ้ากระทรวง "ผู้มีอำนาจเต็ม" ของส่วนราชการระดับกระทรวงตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    นั่นคือ นายอนุทิน เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวง
    การปฏิบัติราชการ จะปฏิบัติเองหรือมอบ "รัฐมนตรีช่วย" ปฏิบัติแทนก็ได้
    จากคร่าวๆ นี้ ชัดว่า รัฐมนตรีจะทำลอยตัวเหนือปัญหาไม่ได้
    คนเป็นรัฐมนตรี ไม่สงสัย ไม่อยากรู้ ไม่ต้องการรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติหรอกหรือ
    ว่า เพราะอะไร ......
    โรงพยาบาลเดียวกัน ทุกอย่างเหมือนกัน
    คนหนึ่ง บริหารขาดทุนต่อเนื่องเป็นสิบปี แต่อีกคน ใช้เวลา ๒-๓ ปี  ล้างหนี้ได้หมด แถมกลับมีกำไร?
    ผมเปิดทำเนียบโรงพยาบาลขอนแก่นในรอบ ๑๐ ปีดู ว่าใครเป็น "ผู้อำนวยการ" บ้าง ก็เป็นดังนี้
    -นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ปี พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๗
    -นพ.ธรรมนูญ วิสิฐธนวรรธ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘
    -นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล จาก ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ถึงปัจจุบัน คือ ๕ มิ.ย.๖๓ ที่ถูกย้ายเข้ากระทรวง
    ใน ๓ ท่านนี้ จะเห็นว่า ๑๐ ปีของการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง อยู่ในยุคนายแพทย์วีระพันธ์เป็นส่วนใหญ่
    มีหมอธรรมนูญคั่น ก่อนหมอชาญชัยมาเป็น ผอ.เพียงปีเดียว!
    ท่านรัฐมนตรีอนุทินและ ป.ป.ช.ไม่อยากรู้หรือว่า ช่วง ๑๐ ปีนั้น ทำไมการจัดซื้อของแต่ละชิ้น จึงแพงกว่ายุคหมอชาญชัยถึง ๓ เท่าตัว?
    และเงินทอนบริษัทยา ๕% รวมถึงเงินบริจาคทั่วไป ยุคนั้น บริหาร-จัดการกันอย่างไร อยู่ในบัญชีไหน ถึงได้ขาดทุนสะสม?
    ก็ลองคิดดู........
    ปี ๖๑ กระทรวงห้ามรับเงินบริจาคบริษัทยาแล้ว ยุคหมอชาญชัย เงินบริจาคยังมีเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาโรงพยาบาล เดือนละ ๑-๒ ล้านบาท
    แล้วสิบปีก่อนหน้านี้ มีทั้งเงินบริจาค ทั้งเงินทอน ๕% ทำไมโรงพยาบาลเงินจึงติดลบต่อเนื่องกว่า ๒๐๐ ล้าน?
    และน่าสะสางภาพรวมในทุกโรงพยาบาลด้วยว่า
    เงินทอน ๕% จากบริษัทยา จริงหรือ เมื่อห้ามโรงพยาบาลรับแล้ว จะไม่มีใครรับไปในส่วนนี้ไป?
    เรียกบริษัทยามาถาม ตรวจบัญชีซักนิดก็รู้!
    เนี่ย.........
    ตรงนี้ รัฐมนตรีอนุทิน ทำไมไม่ทำอย่างที่รัฐมนตรีช่วยคมนาคม "นายถาวร เสนเนียม" ทำ กรณีการบินไทย
    รมช.ถาวร ในฐานะผู้รับหน้าที่ดูแลแทนรัฐมนตรี เพื่อเคลียร์ความโปร่งใสในการบินไทย
    ตั้ง "พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช" เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการบริหารกิจการของบริษัทและปัญหาการทุจริตในการบินไทย
    เข้าใจคำว่า "ตรวจสอบ" ใช่มั้ย?
    ตรวจสอบข้อเท็จจริง ยังไม่ถึงชั้นสอบสวนแบบมีข้อหา     นายอนุทินก็ "ควรทำ" เช่นนั้น
    คือ มันมีเหตุน่าสงสัย ก็ตั้งคณะตรวจสอบเข้าไปรื้อดูซิว่า งานชิ้นเดียวกัน ทำไมคนหนึ่งทำขาดทุนต่อเนื่อง แต่อีกคนเข้าไปทำ กลับมีกำไร?
    นี่คือ "อำนาจหน้าที่" คนเป็นรัฐมนตรีต้องทำ นอกเหนือการแต่งตั้ง-โยกย้าย จะอ้างไม่เกี่ยว ไม่ล้วงลูก มันไม่ถูกต้อง
    ล้วงแบบไหนถึงจะถูก วานท่านรัฐมนตรีบอกด้วย!

ไทยโพสต์ 8 มิย 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2020, 04:19:03 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
หลุมดำที่ เลี่ยงเล่น ไม่ได้-เปลว สีเงิน
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2020, 04:15:27 »
คุยกันไป ๓ วัน.......
    เรื่อง "ไม่โกง-ไม่กิน" ของ "หมอชาญชัย จันทร์วรชัยกุล" ผอ.รพ.ขอนแก่น แล้วได้รับรางวัลเป็นข้อหา "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" ตอบแทน
    ก็คิดว่า หน้าที่อันพึงทำ ได้ทำ "ครบกระแสความ" แล้ว
    ตั้งใจจะจบแต่เมื่อวาน........
    คือ ถ้ามากกว่านั้น ก็ต้องขุดลึกเข้าไปถึง "หลุมดำ" ว่าด้วยการบริหาร รพ.ในรอบ ๑๐ ปี ก่อนหมอชาญชัยเข้าไปเป็น ผอ.
    ว่าอะไรคือสาเหตุ ทำให้ขาดทุนกว่า ๒๐๐ ล้าน สะสมต่อเนื่องมาร่วมสิบปี?
    ซึ่งมันไม่น่าจะเป็น และถ้าเป็น กระทรวงสาธารณสุขแต่ละยุค ปล่อยอย่างนั้นเรื่อยมาโดยไม่แก้ไข ไม่ตรวจสอบอะไร มันพิลึกทางบริหารมากอยู่
    และเรื่องเช่นนี้ จะใช้แค่ความรู้สึก "คิดเอา-นึกเอา-เขาว่ากันว่า" มาพูด-มาเขียน โดยไม่เห็น-ไม่มีหลักฐาน อย่างนั้น ก็ไม่ได้
    เพราะมันเสียหายทั้งตัวบุคคลและองค์กร ซึ่งผมไม่ต้องการเช่นนั้น
    ประเด็น "หลุมดำ" ใน รพ.ขอนแก่น........
    เรื่องราวบานออกมาขนาดนี้ มันเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีสาธารณสุข ต้องนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ, สอบสวน ให้สิ้นสงสัย
    เพราะมันเกี่ยวพันด้าน "ทุจริต-คอร์รัปชัน" ในระบบราชการ เจ้ากระทรวง รวมถึง ป.ป.ช.จะนั่งกระดิกตีนซดกาแฟ อ้างร้อยขั้นตอนตามระบบ ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ
    ระวังนะ........
    ยุคก่อนๆ ประชาชนมีหน้าที่เสียภาษี ให้ข้าราชการชี้นิ้วบัญชา ยุคนี้ ถึงยุคเจ้าของเงิน คือประชาชนชี้นิ้ว ตรวจสอบข้าราชการ/นักการเมืองบ้างแล้ว
    เพราะประชาชน ต้องทน และยากแค้น กับการโกงกินในระบบราชการรวมถึงการเมืองมานานจน "สุดทน" แล้ว
    ถ้าระบบและกลไกรัฐยัง "เลือกกระดิก"
    ประชาชนอดรนทนไม่ไหว ออกมา "กระดิก" ชนิดไม่เลือกวันไหน จะมาบอกว่า "เสียใจ" ภายหลัง มันก็สายไปแล้ว!
    หลังจากเรื่องแพร่กระจาย น่าจะตั้งคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบภายในโรงพยาบาล ในยุคที่ขาดทุนสะสมเป็นสิบปี
    ก็ปรากฏว่า มีเอกสารเกี่ยวกับการเงินในยุค "นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์" เป็นผู้อำนวยการ ช่วงปี ๕๐-๕๗ แพร่ทางโซเชียลมีเดียตอนนี้มากมาย
    กระทั้งผมเอง ก็มีผู้ส่งสำเนาเอกสารการเบิกจ่ายเงิน/ โอนเงิน หลายกรรม-หลายวาระ มาให้ดู
    ขนาดพ้นตำแหน่ง ผอ.แล้ว ยังเซ็นเอกสารย้อนหลังก็ยังมี!
    ที่น่าสนใจ........
    มีการอนุมัติให้เบิกเงินสวัสดิการ รพ.ไปสนับสนุนกิจกรรม "ชมรมแพทย์ชนบท" ตามเอกสารก็หลายครั้ง
    ครั้งละหลายๆ แสนก็มี!
    ประธานชมรมแพทย์ชนบทก็คือ "หมอเกรียงศักดิ์" และเมื่อย้อนไปดูปูมกลุ่มแพทย์ชนบท ก็ทำให้เข้าใจได้ถึงความเชื่อมโยง
    หมอวีระพันธ์ ผอ.รพ.ขอนแก่น เคยเป็นประธานชมรมมาก่อน!
    ตรงนี้ เป็นจุดให้สังคมเพ่งเล็งว่า......
    เพราะอย่างนี้หรือเปล่า จึงมีความพยายามให้ "หมอเกรียงศักดิ์" เข้าไปเป็น ผอ.รพ.ขอนแก่น ถึง ๒  ครั้ง ๒ ครา?
    เข้าไปทำไม?
    นั่นน่ะซี รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี ที่หมอเกรียงศักดิ์เป็น ผอ.ก็ใหญ่โตอยู่แล้ว ทำไมจะต้องไปเป็น ผอ.รพ.ขอนแก่นให้จงได้
    ตรงนี้ ทำให้มองเห็นความเป็น "หลุมดำ" ใน รพ.ขอนแก่น ไม่เฉพาะเงินทอน ๕% บริษัทยาเท่านั้น ที่ต้องการกลบ
    การขาดทุนต่อเนื่องเป็นสิบปี ยุคหมอวีระพันธ์บริหาร ทั้งที่มี ๕% และมีเงินบริจาค
    เมื่อเทียบกับยุคหมอชาญชัยบริหาร......
    ทั้งที่ไม่มี ๕% ยังล้างขาดทุนให้โรงพยาบาล แถมมีกำไรเป็นร้อยๆ ล้านได้?!
    ถ้ากลไกบริหารรัฐ "ไม่สงสัย" ใคร่ตรวจสอบอะไรเลย แสดงว่าล้มเหลว ควรคว่ำทิ้งไปทั้งระบบ
    ผมดูเอกสารเหล่านั้น ไม่สรุปด้าน "เชื่อ-ไม่เชื่อ" เพียงแต่ปรารภในใจ ว่าต้องพูดคุยกัน "อีกซักวัน" คือ วันนี้!
    พูดคุย ด้วยเข้าใจว่า ป.ป.ช.น่าจะมีเรื่องนี้อยู่ในสารบบสอบสวนทวนความแล้ว เพราะดูจากเอกสาร การบริหารเงินเคยเป็นประเด็นถึง ป.ป.ช.แล้ว
    เพียงแต่ไม่เข้าใจ.........
    เพราะอะไร ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็ไม่มีคำตอบใดๆ จาก ป.ป.ช.เลย?
    ผมจะไม่บอกว่า เขานินทา ป.ป.ช.กันว่าอย่างไร ในเหตุที่เป็นสิบปี อย่าว่าแต่คืบเลย เกียกเดียวก็ยังไม่ถึง!
    ถ้าจะตรวจสอบ......
    ควรตรวจสอบไปสมัยหมอวีระพันธ์เป็น ผอ.โรงพยาบาลมหาสารคาม และโรงพยาบาลร้อยเอ็ด  ก่อนมาเป็น ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ด้วย
    เพื่อนำผลบริหารของหมอวีระพันธ์ จาก ๒ โรงพยาบาลนั้น มาเทียบกับผลการบริหารโรงพยาบาลขอนแก่น
    จะได้ชัดเจน ในการบริหารของหมอวีระพันธ์ ด้านกำไร/ขาดทุน ว่าเป็นอาจิณ หรือเป็นเฉพาะราย-เฉพาะกรณี?
    เอกสารบางชิ้นที่แพร่ในโซเชียล..........
    มีการนำตราองค์กร สสส.ไปติดไว้ด้วย ตรงนี้ ผมอยากทำความเข้าใจเล็กน้อย เพื่อความถูกต้อง และเป็นธรรม
    "ต่างกรรม-ต่างวาระ" ครับ
    เรื่องหลุมดำ เป็นสมัยสิบกว่าปีก่อน ที่หมอวีระพันธ์ยังเป็น ผอ.โรงพยาบาลอยู่
    หลังเกษียณแล้ว จึงได้รับเลือกมาเป็น "รองประธานบอร์ดคนที่ ๒" ของ สสส.
    การที่มีผู้นำเอกสารสมัยท่านเป็น ผอ.รพ.มาเผยแพร่ โดยนำตรา สสส.ติดไว้ด้วย อาจทำให้ไขว้เขวไปถึงองค์กร สสส.ซึ่งไม่เกี่ยวกัน
    เพื่อความเป็นธรรมและความเข้าใจที่ถูกต้อง ในฐานะที่ผมพูดเรื่องนี้หลายวัน จึงขอทำความเข้าใจว่าเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับ สสส.
    เพียงหมอวีระพันธ์มาเป็นบอร์ด สสส.หลังเกษียณ และความจริง หมอวีระพันธ์เคยมีตำแหน่งใหญ่กว่าบอร์ด สสส.ด้วยซ้ำ
    คือเคยเป็น "ผู้ช่วยรัฐมนตรีสาธารณสุข" ในรัฐบาล คสช.ที่มี "นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน" เป็นรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข!
    อีกเหตุหนึ่ง ที่ต้องพูด-ต้องเขียนวันนี้
    คือ เมื่อวาน (๘ มิ.ย.๖๓) เห็นข่าวรัฐมนตรีสาธารณสุข "นายอนุทิน ชาญวีรกูล" เรียกหมอชาญชัยไปพบ
    สรุปที่ว่าไม่ล้วงลูก ตอนนี้ ก็ยังยืนยันว่าไม่ล้วง แต่ท่านรับหนังสือขอความเป็นธรรมของหมอชาญชัยไว้ดำเนินการ และบอก เรื่องที่ถูกกล่าวหานั้น ไม่ต้องกลัวเรื่องความไม่เป็นธรรม
    ทุกอย่างเข้าสู่กระบวนการตามระเบียบ/ขั้นตอน ท่านว่างั้น ส่วนการจะให้หมอเกรียงศักดิ์ ถอยจากโรงพยาบาลขอนแก่นไปก่อนนั้น
    เป็นเรื่องนอกวงแขนอำนาจ ท่านทำไม่ได้ เป็นอำนาจปลัดฯ สุขุมเขา ประมาณนั้น
    ก็สรุปให้ฟัง ซึ่งผมไม่ได้สนใจตรงนี้ คือในส่วนว่าด้วยการตั้งข้อหาหมอชาญชัย แล้วย้ายออก เอาหมอเกรียงศักดิ์เข้าไปแทนเสร็จสมอารมณ์หมาย
    แต่ผมสนใจในส่วน "หลุมดำ" ว่าด้วย บริหารกันอย่างไร จึงขาดทุนสะสมต่อเนื่องร่วมสิบปี กว่า  ๒๐๐ ล้านบาท?
    ในส่วนอำนาจบริหาร จะย้ายใคร จะเป็นธรรม-ไม่เป็นธรรม เป็นเรื่องในอำนาจท่านรัฐมนตรี ซึ่งท่านรัฐมนตรีก็เทก แอกชั่น ให้เห็นแล้ว
    แต่ในส่วนทุจริต-คอร์รัปชัน ตรงนี้ตะหาก ที่ประชาชนอยากเห็นคนเป็นรัฐมนตรีแอกชั่นด้วย เพราะประชาชนทุกคนมีส่วนได้-ส่วนเสีย
    มันเข้าข่าย "อาญาแผ่นดิน" ที่อำนาจรัฐ โดยรัฐมนตรีจะแตะแค่เหตุใช้อ้างย้าย-ไม่ย้าย อันเป็นแค่ส่วนปกครอง โดยไม่แตะเรื่องเข้าข่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงแท้จริง มันไม่ถูกต้องนัก
    และบั้นปลาย เกรงว่า รัฐมนตรีอาจต้องเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา ๑๕๗ โดยไม่จำเป็น
    นี่..........
    เรื่องมันไปถึง "หลุมดำ" ว่าด้วยเงินทอน ๕% บริษัทยา ในวงการแพทย์สาธารณสุข ที่ฝังรากมานับทศวรรษเช่นนี้แล้ว
    รัฐมนตรีจะเลือกเล่นเฉพาะบท "เป็นธรรม-ไม่เป็นธรรม" ระหว่าง ๒ หมอไม่ได้
    จะต้องเล่นให้ครบถึงบทตรวจสอบ "คอร์รัปชัน-ไม่คอร์รัปชัน" ในระบบสาธารณสุข ส่วนของประเทศชาติด้วย.

เปลวสีเงิน
ไทยโพสต์  9มิย2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2020, 04:18:47 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
หลุมดำ ๕% รพ.ขอนแก่น-เปลว สีเงิน
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2020, 04:21:14 »
อืมมมม.....
    บัตรสนเท่ห์ใบเดียว!
    กล่าวหา "นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล" ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น รับเงินทอนบริษัทยา ๕%
    ปลัดฯ สาธารณสุข "นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย"
    กลับไม่สุขุม สั่งย้ายเข้ากรุ
    ตั้งข้อหา "มีพฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวง" ฉับพลัน!
    และแทนที่จะให้รอง ผอ.หรือคนจากโรงพยาบาลเขตนั้นรักษาการระหว่างสอบให้สิ้นกระแสความ
    กลับให้ "นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ" เหาะข้ามภาค จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ไปเป็น ผอ.แทน
    ชนิดหาเหตุผลไม่ได้ว่า เพราะอะไรจึงต้องเป็นหมอเกรียงศักดิ์เท่านั้น?
    เพราะปี ๖๑ ก็ส่อแววมาครั้ง นพ.สุขุมขึ้นเป็นปลัดปั๊บ ก็ย้าย นพ.ชาญชัยจากขอนแก่นไปอยู่จันทบุรี ให้ นพ.เกรียงศักดิ์จากจันทบุรีมาอยู่ขอนแก่น
    แต่อยู่ได้ซัก ๕-๖ วันมั้ง....
    แพทย์-พยาบาล-บุคลากรทางการแพทย์ที่ขอนแก่น ไม่ยินดีกับ ผอ.คนใหม่นี่ ก่อเกิดปฏิกิริยาขึ้น
     รัฐมนตรีสาธารณสุข ขณะนั้น "ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร" ต้องเข้ามาแก้ปัญหา ให้ย้ายสลับกลับเหมือนเดิม
    แล้วนี่ คล้ายปลัดฯ สุขุม"
    มุ่งมั่นต้องย้ายเอาหมอเกรียงศักดิ์มาขอนแก่น เอาหมอชาญชัยไปให้พ้นจากโรงพยาบาลขอนแก่นให้จงได้
    และก็ทำสำเร็จ โดยอาศัยเหตุจาก "บัตรสนเท่ห์" ไร้หัวนอน-ปลายตีนใบเดียว ป้ายโทษหมอชาญชัย!
    มันทำให้ต้องฉงน.........
    เพราะมีพิรุธที่ชวนค้นหา ว่าในโรงพยาบาลขอนแก่น มันต้องมีอะไรหรือใครทำอะไรปกปิด-ซุกซ่อนไว้สักอย่าง?   
    หมอชาญชัยอาจรู้ หรือกำลังสะสาง
    จึงนำไปสู่การผลักดันให้ต้องย้ายหมอชาญชัยออกไปให้พ้นจากโรงพยาบาลขอนแก่น
    บัตรสนเท่ห์ ๕% จึงเกิดขึ้น และปลัดฯ ก็รับลูกทันควัน
    ถ้าต้องการเคลียร์เรื่องนี้ ตามครรลองแล้ว จะย้ายเข้ากรุระหว่างสอบข้อเท็จจริง ก็ต้องย้ายแต่ต้น
    และคนรักษาการแทน ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ก็ให้รอง ผอ.หรือ ผอ.โรงพยาบาลในเขต
    แต่นี่กลับเจาะจง "หมอเกรียงศักดิ์" เจ้าเดิมแต่ผู้เดียว
    แบบนี้ มันมีเงื่อนงำชวนฉงน
    ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น ทำไมต้องเป็น "นายแพทย์เกรียงศักดิ์" แต่ผู้เดียวเท่านั้น!?
    เมื่อวาน (๕ มิ.ย.๖๓) เห็นข่าวว่า หมอเกรียงศักดิ์เดินทางไปรับตำแหน่งที่ขอนแก่นเรียบร้อยแล้ว
    ขณะเดียวกันก่อนหน้า (๔ มิ.ย.) "หมอชาญชัย" แถลงอำลาที่ขอนแก่น ท่านบอก กำลังปรึกษาทนาย ฟ้องปลัดฯ สุขุม ตามมาตรา ๑๕๗ เป็นการพิสูจน์สัตย์และป้องเกียรติประวัติตัวเอง
    ก็ต้องเช่นนั้น.........
    การฟ้องเพื่อพิทักษ์ธรรม ไม่ใช่การจองเวร
    ถ้าถือว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่กว่าความจริง "ไม่เคยรับเงินทอน ๕%" ปรากฏ ข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง มันเอาตายไปก่อนแล้ว
    ตายไปแล้ว ก็ยังคาประวัติว่า "มีมลทินฉ้อราษฎร์บังหลวง" สืบทอดเป็นมรดกตระกูล!
    ผมอ่านที่หมอชาญชัยให้สัมภาษณ์นักข่าวต่างกรรม-ต่างวาระ และฟังจากบุคลากรทางแพทย์ขอนแก่น ที่ออกมา "เซฟหมอชาญชัย"
    ปะติด-ปะต่อ ตามเงื่อนไขเวลาและเหตุการณ์แล้ว ทำให้มองเห็นอะไรบางอย่างน่าสนใจ
    ชนิดที่ต้องบอกว่า.......
     เรื่องนี้ ป.ป.ช.เฉยไม่ได้ ควรต้องเข้าไปสอบให้กระจ่าง เพราะเงื่อนงำเรื่องนี้ จะเป็นกุญแจไขไปสู่ความลับดำมืด
    ระหว่าง "โรงพยาบาลกับบริษัทยา"
    ว่าเงินทอน ๕% มูลค่ารวม "นับแสนล้าน" ในระบบทั้งหมดหลายสิบปี ก่อนมีคำสั่งห้ามรับเมื่อปี ๒๕๖๑ หายไปไหน หรือใครเอาไป?   
    นั่นภาพรวม บนการสมประโยชน์โรงพยาบาลที่ต้องซื้อยากับบริษัทยาที่ต้องแย่งกันขายยา สู่ความมะลำ-มะเลือง ที่ชาวบ้านร้องตลอดว่า ยาแพง...ยาแพง
    แต่วันนี้ ผมพูดเฉพาะที่โรงพยาบาลขอนแก่น บนฐานข้อมูลที่ประมวลได้จากข่าว
    หมอชาญชัยเข้ามารับตำแหน่ง ผอ.รพ.ขอนแก่น ครั้งแรก พฤศจิกา.๕๘
    คุณหมอบอก เมื่อเข้ามา พบว่า รพ.ขอนแก่นมีปัญหาการเงินติดลบ พูดง่ายๆ คือ "ขาดทุน" กว่า ๒๐๐ ล้านบาท
    ไม่ใช่เพิ่งขาดทุน......
    หากแต่ขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาเป็น ๑๐ ปี!
    ท่านเข้ามาปรับปรุงกลไกบริหาร จากขาดทุนสะสม โรงพยาบาลกลับมีเงินบำรุงคงเหลือกว่า ๒๐๐ ล้าน ในปี ๒๕๖๐
    หมอชาญชัยปรับปรุงอะไร?   
    ผมจะไม่เอาจากปากหมอชาญชัย เพราะพอดี "ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์" นำปากคำ "คนกลาง" ที่อยู่ในเหตุการณ์มาเขียนไว้ซึ่งตรงกัน ถือเป็นพยานยืนยันได้ ดังนี้
    “เขาเชิญเพื่อนผมเป็นนักวิชาการด้านการเงินการบัญชีที่เก่งเรื่องการเงิน/การบัญชี ไปช่วยแก้ไขปัญหา
    สต๊อกยาในห้องยา, ในวอร์ด, ปัญหาการรั่วไหล, ปัญหาการคีย์ข้อมูลเบิกเงิน จาก สปสช.
    เขาทำให้ของที่ซื้อในราคาเดิมหน่วยละ ๙ บาท เหลือหน่วยละ ๓ บาทได้
    ทำให้ประหยัดเงินโรงพยาบาลไปได้ปีละเกือบ ๔๐ ล้านบาท"
    อยากให้สังเกตตรงนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวผมจะมาชี้ประเด็น
    มาถึงเรื่องบัตรสนเท่ห์ เป็นเหตุให้หมอชาญชัยถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ในข้อหา
    เรียกรับเงินจากบริษัทยา ร้อยละ ๕ เข้าข่ายเรียกรับผลประโยชน์ต่างตอบแทน ระหว่างเดือน มี.ค.-ต.ค.๖๑
    ไทยพีบีเอสรายงานข่าวจากคำสัมภาษณ์หมอชาญชัยไว้ว่า.....
    "กรณีการรับเงินบริจาคจากบริษัทยา เรื่องนี้มีมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ แต่ภายหลังได้รับคำสั่งจากทางกระทรวงเมื่อเดือน มี.ค. ปี ๒๕๖๑
    ก็ได้ประชุมกรรมการบริหารและทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง งดรับเงินบริจาคจากบริษัทยา
    แต่ยอมรับว่า.......
    ในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.๖๑ มียอดเงินบริจาคผ่านกองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น เดือนละ ๑ ล้าน ๓ แสนบาท
    จากปกติ จะมียอดบริจาคเฉลี่ยเดือนละ ๒ ล้านบาท
    ซึ่งก็เข้าใจว่า เงินบริจาคไม่ได้มาจากบริษัทยา
    เนื่องจากได้ทำหนังสือแจ้งไปยังทุกหน่วยงาน รวมถึงบริษัทยาด้วย
    ภายหลังกระทรวงฯ มีคำสั่งให้งดรับเงินบริจาคจากบริษัทยา ในเดือน พ.ย. ปี ๖๑ ทางโรงพยาบาลได้ปิด "กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น"
    โดยให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา บริจาคผ่านบัญชี "เงินโรงพยาบาลขอนแก่น" แทน
    นอกจากนี้ หมอชาญชัยได้ชี้แจงกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ รพ.ขอนแก่น ๒๗ พ.ค.และตอบคำซักถามนักข่าวที่กระทรวง ๔ มิ.ย.เป็นไปทางเดียวกันว่า
    ก่อนมีการประกาศห้าม โรงพยาบาลขอนแก่นได้นำเงินที่เข้ามาในลักษณะดังกล่าว เข้าไว้ใน "กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น"
    "ทุกคนบริจาคเงินเข้ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาลได้ นำไปลดหย่อนขอคืนภาษีได้มากถึง ๒ เท่า เป็นแรงจูงใจให้คนนำเงินบริจาคกันทุกปี
    และไม่มีการโอนหรือเบิกถอนเงินจากบัญชีนี้ เข้าบัญชีส่วนตัวของผู้อำนวยการ
    มีระบบการลงบัญชีชัดเจน มีคณะกรรมการรับผิดชอบตรวจสอบได้ จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะมีการยักยอก
    ขอยืนยันว่า เรื่องที่ถูกกล่าวหา ไม่เป็นความจริง
    หมอชาญชัยยังบอกด้วยว่า.....
    หลัง ครม.มีมติห้ามรับเงินผลประโยชน์ต่างตอบแทนจากบริษัทยา สังเกตว่า เงินบริจาคของโรงพยาบาลลดลงเห็นได้ชัด "หลายสิบล้านบาท" ในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.๖๑
    สรุป จากปากหมอชาญชัย ประเด็นควรมอง คือ
    ๑.บริษัทยาจ่าย ๕% ให้โรงพยาบาล มีมาแต่ปี ๒๕๐๘
    ๒.ครม.มีมติห้ามรับ เมื่อ มี.ค.๖๑
    ๓.รพ.ขอนแก่นขาดทุนสะสมกว่า ๒๐๐ ล้าน หมอชาญชัยเข้ามาปี ๕๘ แก้ไขทางบริหารแล้ว ล้างหนี้หมด กลับมีกำไรกว่า ๒๐๐ ล้าน
    ผลประโยชน์ที่เกิดกับโรงพยาบาลทั้งหมด หมอชาญชัยนำเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น
    ๔.ร้องเรียนเฉพาะช่วง เม.ย.-ต.ค.๖๑ คือหลัง ครม.สั่งห้าม เป็นปีที่มีการย้ายสลับไป-มาระหว่างหมอชาญชัยกับหมอเกรียงศักดิ์
    ๕.เกิดคำถามขึ้นว่า แล้วก่อนหมอชาญชัยเข้ามาเป็น ผอ.เงินบริษัทยา ๕% และเงินบริจาค เข้าบัญชีไหนหรือใคร?
    และทำไมการจัดซื้อของโรงพยาบาลจึงแพง ๓ เท่าตัว เช่น ของราคา ๓ บาท กลับซื้อราคา ๙ บาท?
    ๖.เมื่อหมอชาญชัยเข้ามา นอกจากล้างขาดทุน กลับมีกำไรแล้ว ยังประหยัดเงินในการจัดซื้อไปได้ปีละเกือบ ๔๐ ล้าน แล้วทำไมจึงเกิดข้อหา "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" ได้?
    ตรงนี้ ฝากประเด็นคำถามไปถึงกระทรวงสาธารณสุข และ ป.ป.ช.ว่า
    ก่อนปี ๒๕๕๘ ใครเป็น ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น?
    ทั้ง ๕% ทั้งเงินบริจาคทั้งหลาย หายไปไหน จึงขาดทุนสะสมต่อเนื่องตั้ง ๒๐๐ กว่าล้าน
    และทำไม การจัดซื้อจึงแพง ๓ เท่าตัว โดยไม่มีใครร้องเรียนและไม่มีการตรวจสอบเลย?
    เหล่านี้.........
    เป็นเหตุย้าย "หวังกลบ" อะไรหรือไม่ ป.ป.ช.ควรสนใจนะ.

เปลว สีเงิน
ไทยโพสต์ 6มิย2563

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
หมอดี หมอเลว ในเมืองไทย
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2020, 04:26:24 »
คนมีอาชีพหมอก็คือคน เพราะฉะนั้นอย่าเชื่อว่าเมื่อเป็นหมอแล้วจะต้องดีวิเศษวิโสไปเสียทั้งหมด ขอย้ำว่าหมอนั้นมีทั้งดีและเลว ซึ่งก็นับเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคน เพราะคนเรานั้นมีทั้งดีและเลว

ปรากฏการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์จังหวัดขอนแก่นคือเครื่องยืนยันว่าหมอนั้นมีทั้งดีและเลว ส่วนจะดีหรือเลวมากแค่ไหน ก็ต้องติดตามดูเบื้องหน้าเบื้องหลังของกรณีนี้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้

ก่อนอื่นผมขอนำเอาข้อความของหมอเชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) มาให้คุณได้อ่านก่อน (เชื่อว่าหลายคนคงได้อ่านข้อความนี้จากเฟซบุ๊คของหมอเชิดชูมาก่อนแล้ว)
คำถามถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านวิญญูชนทั่วไปว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งหรือไม่ ในการที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สั่งให้ผู้อำนวยการ รพ.ชุมชนทุกแห่งต้องไปต้อนรับผู้อำนวยการ รพ. จังหวัดที่ถูกย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ทุกคน เหมือนราย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ รายนี้แต่น่าสงสัยว่าคำสั่งที่ปลัดกระทรวงสั่งย้ายผู้อำนวยการของ รพ.ขอนแก่น ให้เข้าไปทำงานประจำกระทรวง จากเหตุผลจากการมีแค่บัตรสนเท่ห์ใบเดียวก็สั่งโยกย้ายออกจากตำแหน่ง โดยไม่บอกว่ากรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานว่าอย่างไร มีมูลน่าสงสัยหรือน่าเชื่อถือตามที่ถูกกล่าวหาในบัตรสนเท่ห์ หรือไม่ ก่อนจะตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ต้องรอผลกรรมการสอบสวนวินัยว่าการถูกกล่าวหานั้นเป็นความจริงหรือไม่
อนึ่ง เป็นที่น่าสงสัยเหลือเกิน ขอถามปลัดกระทรวงอย่างตรงไปตรงมา ขอให้กล้าออกมาตอบแบบลูกผู้ชายอกสามศอก อย่าไปยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลใดๆ ว่า เหตุการณ์ในการสั่งย้ายผู้อำนวยการรพ.ขอนแก่นเคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว แต่ปลัดไม่กล้าฝืนมติบุคลากรรพ.ขอนแก่นที่ออกมาประท้วง และยอมถอยตามมติของบุคลากรรพ.ขอนแก่น ยอมคืนตำแหน่งให้ ผอ.ชาญชัย แต่คราวนี้อยากทราบจริงๆ ว่า ทำไมต้องทำคำสั่งย้ายผู้อำนวยการ รพ.ขอนแก่นคนเดิม แล้วย้ายผู้อำนวยการจาก รพ.พระปกเกล้าคนเดิม กลับมาขอนแก่นแบบเดิม หรืออาจเพราะจะเกษียณอายุราชการแล้วจึงต้องทิ้งทวนทำตามความต้องการของใครบางคนหรือเปล่า มิฉะนั้นจะถูกเปิดเผยอะไรบางอย่างใช่หรือไม่ รอฟังคำตอบอยู่
ขอแนะนำ ผอ.ชาญชัยว่าอย่ายอมก้มหัวหรือยอมจำนนต่อ “อธรรม” แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่รักความเป็นธรรมจะอยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้ท่านต่อสู้ตามครรลองของกฎหมายเพื่อผดุงความเป็นธรรมให้คงอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขให้ได้ ขอถามข้าราชการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขว่า พวกเราจะนิ่งเฉย ไม่ยินดียินร้ายต่อการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ สุขุม กาญจนพิมาย หรือเราจะร่วมใจกันต่อสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรม และเรียกร้องให้เกิดระบบธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงสาธารณสุข คำถามสุดท้าย ขอถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูลว่า ถ้าท่านอยากจะมีความชอบธรรมในการบริหารงานสูงสุดของกระทรวง และอยากจะเติบโตในการทำงานการเมืองระดับชาติ การที่ท่านให้สัมภาษณ์ว่าไม่ล้วงลูกเรื่องนี้ ท่านรู้หรือไม่ว่าท่านเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

แพทย์หญิง เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
อันที่จริงต้องบอกว่าศึกภายในกระทรวงสาธารณสุขระหว่างหมอๆ ด้วยกันนั้นมีมาทุกยุค บางยุคเล่นกันแรงจนไม่คิดว่าคนมีการศึกษาชั้นสูงจะทำสิ่งต่ำๆ ได้ถึงเพียงนั้น แต่มันก็เกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่คนวงในประจักษ์เป็นอย่างดี ซึ่งก็เป็นการยืนยันได้ชัดเจนว่าคนที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคนดีเสมอไป เพียงแค่เรียนเก่ง ความจำดีก็เรียนจบได้
จริงๆ แล้วเรื่องราวในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นนั้นยิ่งสาวยิ่งลึก เพราะก่อนที่หมอชาญชัย จันทร์วรกุลชัย จะไปรับตำแหน่ง ผอ.โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ต่อจากหมอคนหนึ่งที่เคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีสาธารณสุข ยุคคสช. ได้พบว่ามีข้อไม่น่าจะปกติคือมีเรื่องเงินยืม และเงินสวัสดิการของโรงพยาบาล จำนวน 10 ล้าน ซึ่งในเรื่องนี้เมื่อสืบๆ ลงไปก็พบว่ามีเมียของหมอคนหนึ่งรับจ้างปลูกต้นไม้ในโรงพยาบาล แล้วดันเอาเงินของโรงพยาบาลไปใช้ก่อน เมื่อมีการทวงเงินคืนให้โรงพยาบาล จึงทำให้หมอชาญชัยถูกหมายหัว แล้วถูกเด้งไปเมืองจันทบุรีมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่สุดท้ายคนที่ไปแทนหมอชาญชัยก็อยู่ได้เพียงไม่กี่วันก็ต้องระเห็จกลับไป เพราะประชาคมสาธารณสุขโรงพยาบาลขอนแก่นต่อต้านหนัก เนื่องจากไม่สามารถรับพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจได้ ดังนั้น รัฐมนตรีสาธารณสุขในยุคก่อนคือ หมอปิยะสกล สกลสัตยาทร จึงสั่งให้ทบทวนเรื่องนี้ แล้วหมอชาญชัยก็กลับไปอยู่ที่โรงพยาบาลขอนแก่นดังเดิม ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลขอนแก่นมีความสุข ทำงานได้ดีต่อไป แต่แล้วจู่ๆ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ ก็มีคำสั่งเรื่องโยกย้ายโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาอีก ประชาคมการแพทย์ในโรงพยาบาลขอนแก่นจึงรับไม่ได้ แล้วออกมา SAVE หมอชาญชัย จนกลายเป็นข่าวไปทั่วประเทศ
มีเรื่องเล่ามากมายว่า หมอคนหนึ่งที่อยู่ที่เมืองจันท์ทำเรื่องขอไปช่วยราชการที่โรงพยาบาลชุมแพ ทุกวันศุกร์ แล้วจะกลับเมืองจันท์ในวันจันทร์ จึงอาศัยคำสั่งจากบางคนเพื่อให้เรื่องผ่าน แล้วมีคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมหมอรายดังกล่าวใช้รถยนต์ราชการ เบิกจ่ายเงินในการเดินทางไปกลับได้ มีคำถามว่าทำได้อย่างไร รวมทั้งยังมีเรื่องโจษขานในประเด็นรถพยาบาล และเรื่องหนี้สินของโรงพยาบาลชุมชนด้วย เรื่องนี้บรรดาหมอๆ จำนวนไม่น้อยต่างรู้ดี

ประชาคมสาธารณสุขบางกลุ่มบอกว่า ไม่เคยมียุคไหนเลยที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะสร้างความเจ็บช้ำให้ข้าราชการและผู้ใต้บังคับบัญชาได้เท่ายุคของปลัดคนนี้ หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมทำได้ถึงเพียงนี้ หลายคนวิพากษ์ว่าปลัดดีแต่แต่งตั้งโยกย้ายคนของตนเองโดยไม่ได้ดูความถูกต้องชอบธรรม กรณีหนึ่งที่คนในสาธารณสุขพูดถึงมากที่สุดคือ เรื่องหมอวิพรรณ สังคหะพงศ์ จากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล ไปเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง แล้วเพียงปีเดียวก็ดันขึ้นเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยให้หมอวิพรรณเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 7 กำกับดูแลโรงพยาบาลขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีเรื่องแต่งตั้งหมอยงยศ ธรรมวุฒิ จากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคนในสาธารณสุขวิจารณ์กันขรมว่าข้ามหัวผู้อาวุโสหลายคน แต่ที่สำคัญคือไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นตำแหน่งวิชาการกระโดดข้ามไปเป็นรองปลัดกระทรวง โดยไม่ผ่านการเป็นผู้ตรวจราชการ หรือตำแหน่งบริหารระดับสูงมาก่อน ส่วนหมอยงยศเป็นใคร คนในกระทรวงสาธารณสุขรู้ดี และรู้ดีว่ามีโยงใยอย่างไรกับกลุ่มแพทย์ชนบทบางจำพวก คนที่ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดรู้ดีด้วยว่าหลังจากตั้งหมอยงยศเป็นรองปลัดฯ แล้ว ปลัดสุขุมกาญจนพิมาย ก็ตั้งให้หมอยงยศเป็นประธานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตในกระทรวง โดยมีคดีใหญ่ให้พิจารณาคือบัตรสนเท่ห์ของรพ.ขอนแก่น เพียงแค่นี้ก็ทำให้คนที่รู้เกมเข้าใจลึกซึ้งแล้วว่าใครวางแผนชั่วอะไรไว้
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าลือกันดังลั่นสนั่นเมืองในสถาบันโรคทรวงอกด้วย หมอสุขุมเกี่ยวพันกับสถาบันนี้แค่ไหน คนสาธารณสุขรู้ดีมาก อย่าลืมว่ามีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นจนกลายเป็นคำถามใหญ่ในสถาบันนี้คือหน้ากากอนามัยชนิด N95 หายไปจากที่นี้มากมาย (คนในบอกว่าหายไปเป็นพันชิ้น) หายไปไหน หายไปอย่างไร มีคนบางคนเล่าให้ฟังว่าได้รับแจกหน้ากากชนิดนี้ เพราะเป็นเพื่อนร่วมรุ่นหลักสูตรอภิสิทธิ์ชนหลักสูตรหนึ่งกับบิ๊กสาธารณสุขคนหนึ่ง ประหลาดใจไหมที่หน้ากากซึ่งหมอต้องการมากในยุคโควิด-19 ระบาดหนัก แต่มันกลับหายไปจากสถาบันโรคทรวงอกแบบมีเงื่อนงำ
คนสาธารณสุขรู้ดีอีกว่าบิ๊กสาธารณสุขรายนั้นมีเรื่องแค้นฝังใจกับหมอสุวรรณี ตั้งวีระพรพงศ์ ผอ.ใหม่ที่รับตำแหน่ง ผอ.สถาบันโรคทรวงอกต่อจากหมอสุขุม เรื่องนี้คนสาธารณสุขบอกว่าไม่คิดว่าจะเล่นกันแรงถึงเพียงนี้ เพราะสุดท้ายแล้วหมอสุวรรณีถูกเล่นงานหนักมาก เรียกได้ว่าแทบจะหมดความเป็นคนไปเลย
วันนี้คนอ่านคอลัมน์นี้อาจจะรู้สึกคันใจมาก และอาจตั้งคำถามว่าทำไมไม่เขียนอะไรให้ตรงๆ จะจะแจ้งๆ เหมือนวันก่อนๆ ก็ต้องขอเรียนว่า เรื่องเละๆ เทะๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุขที่นำมาเล่าให้ฟัง เพื่อชวนคุณๆ คิดไปด้วยกันในวันนี้มีความสลับซับซ้อนและยุ่งเหยิงมาก คนวงในเท่านั้นที่รู้ดี และรู้ลึก ส่วนคนวงนอกอย่างเราๆ ท่านๆ ที่เป็นผู้อยู่ห่างจากแวดวงหมอก็อาจจะเกาหัว เพราะคาดไม่ถึงว่าหมอบางคนมีพฤติกรรมสามานย์มากถึงเพียงนั้น
 แต่ขอย้ำนะครับ หมอก็คือคน เพราะฉะนั้นไม่มีใครรับรองได้ว่าหมอต้องเป็นคนดีทุกคน คุณเคยดูละครซีรี่ส์อเมริกันเรื่อง Gray’s Anatomy ไหมครับ ถ้าคุณเป็นแฟนseries นี้ รับรองคุณจะเข้าใจได้ว่าหมอก็คือคนคนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งดีและเลว เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่หลงบูชาว่าหมอคือคนดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ขอให้กลับไปทบทวนความคิดโดยด่วนครับ ขอย้ำว่าหมอดีๆ ก็ยังมีอีกมาก ส่วนหมอเลวๆ ก็มีมิใช่น้อย

เขียนให้คิด
เฉลิมชัย ยอดมาลัย
แนวหน้า 7มิย2563

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
7 มิถุนายน 2563
เรียน ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ที่เคารพ
กระผมนายแพทย์ชาติชาย สามัคคีนิชย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ขออนุญาตเรียนเสนอความคิดเห็นส่วนตัวต่อท่านปลัด ตามรายละเอียดดังนี้
1. ขอยกย่องและชื่นชมท่านปลัดในฐานะผู้นำองค์กรในการแก้ปัญหาโรคติดต่อโควิด 19 จนสามารถทำให้ประชาชนในประเทศมีความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
2. ในกรณีการโยกย้ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล กระผมมีความคิดเห็นส่วนตัวอยากเรียนเสนอท่านปลัดดังนี้
2.1 เห็นด้วยกับการให้นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุลเข้าสู่กระบวนการสอบสวนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ควรตั้งกรรมการสอบสวนที่มีความเป็นกลางตามข้อเสนอของผู้ถูกกล่าวหา
2.2 ท่านปลัดไม่ควรกังวลว่าจะถูกหาว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่ต้องตรวจสอบข้อร้องเรียน เพราะที่ผ่านมาสังคมเห็นแล้วว่าท่านปลัดได้ดำเนินการตามระเบียบ แต่กระผมปรารถนาให้ท่านปลัดระมัดระวังประเด็นที่ว่ามีเจตนากระทำเกินกว่าเหตุ หรือ ไม่ปฏิบัติตามจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งส่วนตัวกระผมก็เห็นว่าการกระทำที่ท่านปลัดปฏิบัติอาจจะเกินกว่าเหตุจริง
2.3 ถ้าท่านปลัดรักและปรารถนาดีต่อนายแพทย์ชาญชัยและนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ จริง ท่านปลัดควรจะย้ายนายแพทย์เกรียงศักดิ์ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นในขณะนี้ก่อน เพราะการโยกย้ายที่ผ่านมาทำให้เกิดความไม่เข้าใจและไม่สบายใจแก่บุคคลทั้งสอง รวมทั้งองค์กรภาพรวม ที่สำคัญอาจจะนำไปสู่ความผิดใจหรือความไม่ลงรอยของบุคคลทั้งสองที่ท่านรักในอนาคต
สุดท้าย เพียงบัตรสนเท่ห์ที่ไม่ลงนามเพียงใบเดียวท่านปลัดยังให้ความสำคัญอย่างมาก หวังว่าข้อคิดเห็นของกระผมและข้อคิดเห็นต่างๆ อีกนับพันของบุคคลที่มีตัวตน หลักแหล่งชัดเจนในสื่อต่างๆ น่าจะได้รับความสำคัญในการพิจารณาเช่นเดียวกัน
การตัดสินใจเพื่อความถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องของการแพ้หรือชนะ ก่อนหน้านั้นท่านปลัดอาจตัดสินใจด้วยข้อมูลประมาณหนึ่ง ณ วันนี้ข้อมูลที่ท่านปลัดได้รับมีมากขึ้น การตัดสินใจใหม่เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรจึงพึ่งกระทำ
หวังว่าเนื้อความในจดหมายที่กระผมนำเรียนจะเป็นประโยชน์

ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายแพทย์ชาติชาย สามัคคีนิชย์

จากเฟสบุ๊ค  Chatchai Samukkeenit
7 มิถุนายน 2563

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น มีอะไรดี ทำให้นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ถึงได้ต้องพยายามมาและพยายามหลายครั้ง ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ และถูกตั้งข้อสงสัยมากมายเหลือเกิน

อันที่จริงประธานชมรมแพทย์ชนบท ไม่ได้อยู่ชนบทมานานแล้ว เพราะอำเภอชุมแพ โรงพยาบาลชุมแพ ที่เป็น ผอ. มี ถนนหน้าโรงพยาบาล 8 เลน และมีธนาคารพาณิชย์ไม่ต่ำกว่า 10 ธนาคาร เต็มไปทั้งอำเภอมา 20 กว่าปีได้แล้ว เจริญมาก แต่ก็ยังไม่อยากยกระดับโรงพยาบาลเสียที เพราะรายได้ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะแพทย์ในชนบทจะหายไปใช่หรือไม่?

แล้วทำไมไปอยู่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี อันเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตแพทย์จุฬาฯ ไปเรียนด้วยตลอด มีวิทยาลัยพยาบาลรำไพพรรณี แทบจะถือได้ว่าเป็นโรงเรียนแพทย์และแทบจะใหญ่กว่าโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น กลับอยากย้ายกลับมาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โดยมีความพยายามอย่างหนักอย่างน้อยสองครั้งสองครา ถึงกับต้องสร้างเรื่องใส่ร้ายป้ายสีหรือสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วยช่วยกัน สมคบคิดกันด้วยหรือไม่

ว่าแต่ว่า ไม่ได้เป็นแพทย์ชนบทแล้ว ทำไมจึงยังเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทไปตลอดกาลเช่นนี้ได้ ไม่มีวาระหรืออย่างไร?

คำถามเหล่านี้สาธารณชนมีสิทธิถามได้ เพราะนี่คือหน่วยงานของรัฐ และการวิจารณ์หน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสิทธิของประชาชนและวิญญูชนพึงกระทำได้

นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เขียนบนเฟซบุ๊ก Pisit Euavongkul ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับชมรมแพทย์ชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. เอาไว้ว่า

ผมอยากทราบว่า คำว่า”ชมรมแพทย์ชนบท”หมายถึงใคร? มีสมาชิกกี่คน? วัตถุประสงค์ของการมีชมรมนี้ มีเพื่ออะไร?

ผมเป็นแพทย์ที่อยู่ในชนบทมาตลอดตั้งแต่เรียนจบจนเกษียณ ตั้งแต่เป็นแพทย์ประจำ รพ., เป็นผู้อำนวยการ รพ., ผมแทบจะไม่เคยไปร่วมสังฆกรรมกับชมรมนี้เลย เพราะผมแทบไม่เห็นเลยว่าพี่น้องประชาชนจะได้ประโยชน์อันใดกับชมรมนี้

เห็นมีแต่การรวมกลุ่มของหมอไม่กี่คน ตั้งประธานกันยังไงผมยังไม่รู้เลย เกาะกันเป็นกลุ่ม สร้างภาพ,

สร้าง power เหมือนมีหมอชนบททั้งประเทศหนุนหลัง (ทั้งที่ไม่จริง) จนนักการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวงเกรงอกเกรงใจกัน เท่าที่เห็นก็คือเอาไว้ต่อรองผู้มีอำนาจในกระทรวง

ผมอยากเตือนท่าน รมว|รมช|ปลัด ว่าอย่าหลงคารม อย่าหูเบา อย่าถูกหลอกใช้ ผมเชื่อว่า ถึงไม่มีชมรมนี้เลย งานของกระทรวงก็สามารถดำเนินการได้เหมือนเดิม เผลอ ๆ จะดีกว่าเดิม มีธรรมาภิบาลมากขึ้น

อยากให้ไปลองอ่านบทความ
• ความสำเร็จ และ การสืบทอดของแพทย์ชนบท
• ชมรมแพทย์ (อ้าง) ชนบท ?
และ อวสานแพทย์ชนบท
เพื่อให้เข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังกันเสียหน่อย

ที่ลุงเปลว สีเงิน เขียนคอลัมน์คนปลายซอย บทความชื่อ หลุมดำ ๕% “รพ.ขอนแก่น” แม้จะอ้างชื่อผม แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ได้คุยกับลุงเปลว สีเงิน เลยในช่วงที่ผ่านมาในเรื่องนี้ แม้ว่าปกติจะคุยกันเป็นระยะ ๆ มาตลอด ก็ตาม ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า ทำไมพวกอ้างชนบท ถึงได้อยากมา โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลภูธรหัวเมืองใหญ่กันมากเหลือเกิน

และใครเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ก่อนหน้านี้มาเป็นสิบปี ที่ทำให้โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ขาดทุนย่อยยับ เกือบ 400 ล้านบาท ในวันที่นพ.ธรรมนูญ วิสิฐธนวรรธ มารับตำแหน่งผอ. โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นอยู่หนึ่งปี ในปี พ.ศ.2557-2558 ก่อนที่จะย้ายไปโรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อไปแก้ปัญหาที่โรงพยาบาลอุดรธานีก่อนจะเกษียณอายุราชการไป การบริหารเพียงหนึ่งปีก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาอะไรมากนัก หมอธรรมนูญแค่ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการขาดทุนหนักมากยังไม่ทันจะรู้เรื่องดีนักก็ย้ายไปแก้ปัญหาอีกที่ ปัญหาที่ นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นในระหว่างปี พ.ศ.2550-2557 หรือประมาณเจ็ดปี ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นขาดทุนหนักมาก

หลังจากนายแพทย์ธรรมนูญย้ายไป หมอชาญชัย จันทร์วรชัยกุล จึงมารับตำแหน่งแทน ท่ามกลางปัญหาที่หนักหน่วงและหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อไว้ โดยเป็นผอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึงปัจจุบัน คือ 5 มิ.ย. 2563 ที่ถูกย้ายเข้ากระทรวง

นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ชื่อเล่น เตี้ย หรือ พี่เตี้ย ของน้อง ๆ ชมรมแพทย์ชนบท เป็นแพทย์ชนบทรุ่นกลาง ต่อจากรุ่นใหญ่ รุ่นแรก อันได้แก่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. อันแนบแน่น โปรดอ่านได้จาก ตระกูล ส คือใคร? และ องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส: การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์”

ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) คนที่ 2 มีความเชื่อมโยงกับตระกูล ส. ชมรมแพทย์ชนบท และมูลนิธิแพทย์ชนบทอย่างชัดเจน โปรดอ่านได้จาก ชมรมแพทย์ชนบทและตระกูล ส.

นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เคยเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และเคยมีส่วนร่วมในการขอเงินจากสปสช ในขณะที่นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช ในสมัยนั้นเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย ดังปรากฎในรายงานด้านล่างนี้

ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น หลังจากเกษียณอายุราชการได้ไปเป็นรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 2 สืบต่อจากนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ที่ถูกปลดออกจากบอร์ด สสส. ด้วยมาตรา 44 ตามคำสั่งของ คสช. และนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒนนี้ก็เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน

ในแผนผังข้างล่างในความเชื่อมโยงของมูลนิธิแพทย์ชนบทและชมรมแพทย์ชนบทนั้น ผมพบว่ามีความเกี่ยวโยงกับกรณีนายแพทย์ชาญชัย ถูกสอบวินัยร้ายแรงทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาก

ข้อแรก นายแพทย์ สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ในฐานะผู้ดูแลโรงพยาบาลทั้งหมดในจังหวัดขอนแก่น เคยเป็นอดีตเลขานุการ ชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสอง นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นายแพทย์ชาญชัย ผอ. รพศ. ขอนแก่น เคยเป็นอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสาม นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน มีนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อใน สสส

ทั้งหมดทั้งปวง น่าจะโยงใยไปที่นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ตลอดกาลที่ย้ายข้ามประเทศมาเป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นหรือไม่

วันก่อนผมสนทนากับสื่อมวลชนประจำกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งได้เล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ขา รพศ.ขอนแก่นนั้นเป็นฐานของพวกแพทย์ชนบทมานาน ขาดเหลืออะไร หมอวีระพันธ์ก็ให้เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่นไปที่ชมรมแพทย์ชนบท ครั้งละ ห้าแสนบาท ผมก็ถามว่ามีหลักฐานไหม ได้คำตอบว่าไม่มี แต่วันนี้มีคนส่งมาให้ครับ ตามรูปข้างล่างนี้

แต่เรื่องนี้ผมไม่ตกใจเท่า เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น มีการโอนเข้าบัญชีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเองด้วย สองครั้ง ครั้งละล้านสี่และสองล้านห้าแสนบาท อันนี้ผมว่าน่าตกใจ และดูน่าสงสัยหากเอกสารนี้เป็นจริง น่าจะเป็นการทุจริตหรือไม่ ผมคิดว่า ป.ป.ช. ควรต้องลงไปตรวจสอบให้กระจ่างชัด

ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการฆ่าปิดปากนายแพทย์ชาญชัยเพื่อเข้าไปทำลายหลักฐานทางราชการได้

ผมยิ่งมาถึงบางอ้อ เมื่อมีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่ง เขียนบทความมาให้ผมอ่านดังนี้

#ชำแหละหลุมดำ๕เปอร์เซนต์ #บัญชีลับ #บัญชีเงินนอกระบบเพื่อใช้ในระบบเรื่องดำมืดในโรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีมานาน
กองโรงพยาบาลภูมิภาคกับกองสาธารณสุขภูมิภาค ในสมัยก่อนใหญ่มาก ผู้อำนวยการสองกองนี้ก็ใหญ่มากเรียกกันว่าปลัดน้อยเพราะเงินงบประมาณสำหรับโรงพยาบาลจังหวัดผ่านกองโรงพยาบาลภูมิภาค งบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลอำเภอผ่านกองสาธารณสุขภูมิภาค

เงินงบประมาณส่วนใหญ่จองกระทรวงสาธารณสุจผ่านมาลักษณะนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ให้โรงพยาบาลอำเภอ บางส่วนโรงพยาบาลอำเภอจัดซื้อเอง ส่วนโรงพยาบาลจังหวัดก็จัดซื้อเอง

การซื้อยาและเวชภัณฑ์มีส่วนลด

หมอที่ทำคลินิกส่วนตัวก็มีส่วนลดส่วนแถมทำให้หมอที่เปิดคลินิกรู้ว่าการซื้อยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์มีส่วนลด แล้วส่วนลดนั้นไปไหน?

ผู้แทนบริษัทยา/เครื่องมือ/เวชภัณฑ์เล่าว่า ผอ.รพ.อำเภอบางแห่งขอเปอร์เซนต์ 5-10-15-20-25-30-40-50%ก็มี สสจ. สมัยก่อนบางคนมีฉายามิสเตอร์เทน คือแกเอา10%ทุกรายการ โรงพยาบาลจังหวัดก็มี เงินส่วนนี้มีบัญชีสวัสดิการที่มีคนรับรู้เพียงหลักๆก็ ๒ คน คือการเงินผู้ถือสมุดบัญชีธนาคาร กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คนอื่นๆถ้าผู้อำนวยการหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมอบหมายจึงจะรู้ ว่ามีเท่าไร

อย่างโรงพยาบาลใหญ่ๆที่มีงบประมาณปีละร่วม3พันล้านจะมีบัญชีนี้ประมาณเท่าไร? อย่างน้อยก็ปีละ150ล้าน เงินนี้มีเพื่ออะไร?

ทางไปมีทั้งทางกุศลและอกุศล

ทางกุศล เช่น

ใช้ในกิจการรพ.ที่ไม่สามารถใช้เงินบำรุงตามระเบียบกระทรวงการคลัง เช่นส่งแพทย์พยาบาลไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของโรงพยาบาล เช่น ส่งไปเรียนเป็น auditor หรือ surveyor ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

ไปประชุมวิชาการทางการแพทย์การพยาบาล

การให้สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่งานศพ งานแต่งงาน ของเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย
การซื้อเครื่องเครื่องมือแพทย์
การก่อสร้างซ่อมแซมต่างๆ
การซื้อคอมพิวเตอร์การซื้อโปรแกรมต่าง ๆ มาลง
การจ้างวิทยากรมาฝึกอบรมบางทีการเบิกตามระเบียบราชการก็จะหาวิทยากรไม่ได้ เพราะเรทต่างกัน การปรับปรุงห้องพิเศษ การปรับปรุงห้องประชุม

การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ ที่งบประมาณไม่มี มีจำกัด ระเบียบไม่ให้แต่จำเป็นต้องมี ทั้งในช่วงงบประมาณปี ๒๕๖๓ ออกล่าช้า เพราะ พรบ.ยังไม่ผ่านสภา งบต่อต้านโควิด 19 ยังไม่มี ก็ได้ใช้ส่วนนี้สำรองทดรองจ่ายไปก่อน

ส่วนอีกทางคือทางอกุศล เช่น
ใช้จัดเลี้ยงรับรองผู้บริหารระดับสูงใช้รับรองผู้มาตรวจ
ใช้ในกิจกรรมโรงพยาบาลเช่น งานปีใหม่

งานเลี้ยงรับรองผู้ตรวจราขการที่ไม่มีงบประมาณให้เบิก เพราะผิดระเบียบกระทรวงการคลังและเลี้ยงไวน์ตีตีกอล์ฟ รวมทั้งออกค่าใช้จ่ายค่าที่พักค่ารับรอง งบเอนเตอร์เทนแขก ผู้บริหารระดับสูงแม้ทางผู้มาตรวจเยี่ยมก็สามารถเบิกได้แต่ทางโรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัดจัดให้ไม่ต้องจ่ายแต่ไปเบิกได้ รวมทั้งของฝากมากน้อยถูกแพงก็ตามอัธยาศัยของผู้มาตรวจเยี่ยม

ถ้าผู้มาตรวจเยี่ยมมีอำนาจมากมีอิทธิพล การรับรองต้องพิเศษยิ่งๆขึ้น อาจต้องเลี้ยงร้านหรู อาจต้องมีการแสดง มีคาราโอเกะ มีตีกอล์ฟ มีไวน์ บรั่นดี วิสกี้ และชอบตีกะหรี่ ก็ต้องหากะหรี่มาให้ และของฝากของที่ระลึกสุดแต่ผู้ให้และผู้รับจะคาดหวังอะไร ห้องพักพิเศษๆ มีการดูแลตั้งแต่มาเหยียบเมืองจนจากไป ผู้ตรวจราชการบางคนอาจชอบไวน์ขวดละสองหมื่นห้า ก็จัดให้ เป็นต้น อันนี้รวมๆความมาแต่โบราณ เป็นที่มาของการมีเงินในบัญชีที่เรียกว่า สวัสดิการ

การรับแขกบ้านแขกเมืองไม่เท่านั้น ยังมีเมืองต่าง ๆ มีอะไรเป็นไฮไลท์ก็ยังจัดให้ท่านและคณะไปลิ้มชิมและทัศนศึกษา งบจากกระทรวงการคลังคงจะจัดให้ไม่ได้ แต่บัญชีนี้บางทีอาจมีใส่ซอง ก็ยังทำได้

ยุคหนึ่งปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีข่าวว่ารมต. จะปลด แต่แกก็รอดได้ทุกครั้ง ก็มีเรื่องเล่าว่าแกโทรหาผอ.โรงพยาบาลหลายแห่งที่ส่งคนสนิทกันไปอยู่ น้องเอ๊ย พี่จะถูกเขาปลด ถ้าไม่มีเงินให้เขา น้องช่วยพี่สักสิบล้านได้ไหมพรุ่งนี้ใส่ถุงมาให้อย่าโอน อย่าใช้เช็ค นักการเมืองก็ต้องใช้เวลาในการนับเงิน แต่ละเดือนๆ เดือนแล้วเดือนเล่า ไม่มีเวลาลงนามย้ายปลัดจนปรับครม

ก็มีทางไปแบบอกุศลอีกแบบหนึ่ง

มีเรื่องเล่าว่าจังหวัดหนึ่งผู้อำนวยการเกษียณไปตัวเปล่าๆ บัญชีสวัสดิการมอบให้ผู้มารับช่วง ๒๐๐ ล้านบาท ตลอดเวลาก่อนไปได้ใช้เงินสวัสดิการสร้างคุณูปการแก่โรงพยาบาลสนับสนุนการพัฒนา การซื้อเครื่องมือแพทย์ ส่งหมอพยาบาลไปเรียนเพิ่มเติม แต่คนต่อมาได้จากไปพร้อมกับทิ้งบัญชีมีเงินเหลือ ๑๐ กว่าล้านบาทเท่านั้น

จังหวัดหนึ่งการเงินโรงพยาบาลต้องลาออกจากราชการเพราะยักยอกเงินในบัญชีสวัสดิการหลายล้านบาทผู้อำนวยการเอาผิดไม่ได้จึงใช้วิธีบีบจนทนไม่ไหว

ล่าสุดห้าหกปีก่อนโรงพยาบาลใหญ่จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานผู้อำนวยการอยู่นับสิบปี เพราะเป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มที่มีอิทธิพลกลุ่มหนึ่งซึ่งนักการเมืองคร้ามเกรง แต่ละปีนำเงินจากบัญชีสวัสดิการเข้ากระเป๋ารวมๆสะสมก็หลักร้อยล้าน เกษียณไปมีร่องรอยให้ผู้อำนวยการคนต่อมาลำบากใจต้องขอย้ายไปจังหวัดอื่น คนที่มาอยู่ก็พบปัญหาทุจริตและบัญชีสวัสดิการจึงคิดนำบัญชีสวัสดิการมาทำให้ถูกต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่การดำเนินการทำให้ปมเดิมของกลุ่มอิทธิพลประทุ จึงมีความพยายามจะย้ายผู้อำนวยการรายนี้ออกไปและนำคนในกลุ่มอิทธิพลมาช่วยกันกลบเกลื่อนทำลายหลักฐาน

เรื่องเล่ามานี้เป็นจริงทั้งสิ้น และเป็นสิ่งที่สังคมควรรับรู้ และนายกรัฐมนตรีควรบัญชาการชำแหละชำระและพัฒนาให้บัญชีนี้มาอยู่ในที่สว่างสามารถตรวจสอบได้

จริงจังและรวดเร็วก่อนที่หลักฐานจะหายไปหมด

ผมขอทิ้งท้ายด้วยข้อเขียนของนายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข ว่า

ได้ข่าวบุคคลที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ มาถึง รื้อทีมงานการเงิน ใหม่หมด เอาคนนอกมาทำ ท่ามกลางเสียงลือว่าอาคารก่อสร้างผลงานในอดีตตรวจรับไม่ได้เพราะผิดสเป็คไม่นับคุณไสย ตุ๊กตาเทพ ขุดต้นไม้ของคนเก่าแบบถอนรากถอนโคน ลงอาคมปลุกกำลังใจให้ตนเอง

จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ??? ที่แน่ ๆ สงสัยจะมีคนใหญ่กว่ารัฐมนตรีแล้วล่ะ ประเทศเรา

พี่น้องผู้เดือดร้อน ควรส่งเสียงหน่อย ระวัง! เงินที่คนเก่าหามากองสะสมไว้เยอะแยะ จะหายไปหมดหนาาา

ไอ้เรื่องเงินหายก็เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องฆ่าปิดปากทำลายหลักฐานน่าจะเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก ถ้าอยากให้บ้านเมืองมีคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุขมีธรรมาภิบาล ไม่ได้ปกครองกันด้วยมาเฟีย กลั่นแกล้งรังแกคนทำงานที่ทำความดีด้วยความสุจริตใจแล้ว นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุลต้องไม่ลอยตัว และต้องกล้ารื้อ ต้องกล้าตรวจสอบย้อนหลังการใช้เงินเหล่านี้ของทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ให้ถูกต้องและโปร่งใส

ชมรมแพทย์อ้างชนบทต้องการฆ่าปิดปากคดีหลุมดำ 5% โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นหรือไม่? คงเป็นคำถามที่ประชาชนและสังคมต้องการคำตอบที่โปร่งใส ชัดเจน เป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

8 มิ.ย. 2563 11:57   โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
https://mgronline.com/daily/detail/9630000059121

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึง นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๗ มิถุนายน ๒๕๖๓
เรื่อง ขอให้ทำหน้าที่ดูแลความสงบสุขของบุคลากรโรงพยาบาลศูนย์ ขอนแก่น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข
เรียน นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ตามที่ปรากฎข่าวว่า นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งย้าย นพ.ชาญชัย จันท์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ไปประจำกระทรวงแบบเร่งด่วน (ประดุจฟ้าผ่า) และสั่งให้นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ย้ายไปรักษาการผู้อำนวยการ รพ.ขอนแก่น และเป็นข่าวใหญ่ที่ฝืนความรู้สึกของบุคลากรส่วนมากของโรงพยาบาลขอนแก่น จนมีการออกมาชุมนุมกันเป็นจำนวนนับพันคน ในการพร้อมใจกันเรียกร้อง ให้ ช่วย "save หมอชาญชัย" แต่ก็มีข่าวอย่าง "เย็นชา" ออกมาจากเจ้ากระทรวงว่า จะ "ไม่ล้วงลูก" ในเรื่องนี้ แม้ภายหลัง ท่านรัฐมนตรีออกมากลับลำว่า สั่งให้ปลัดกระทรวงทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร และจะ "เรียก"ผอ.ชาญชัยเข้าพบ เพื่อรับฟังข้อเท็จจริง ก็พอยอมรับได้ ว่า ท่านตื่นรู้แล้วว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวง รวมทั้งปลัดกระทรวงก็คือผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ที่ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุม และบังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่ในการบริหารงานของกระทรวง ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วินัย โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือ หลักธรรมาภิบาล ทั้งงานบริหารบุคคล และบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ตามที่แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎร
และตัวท่านรัฐมนตรีเอง ก็ยังดำรงตำแหน่ง สส. คือเป็น ผู้แทนของราษฎร ฉะนั้นตามระบบรัฐสภา ผูู้แทนราษฎรควรไปรับฟังความทุกข์ ความอึดอัดคับข้องใจ ในทุกๆปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรที่กำลังมีความทุกข์และความอึดอัดคับข้องใจนี้ มีเป็นจำนวนมาก และเป็นบุคลากรที่ทำงานรับใช้ประชาชนชาวขอนแก่น ในการดูแลรักษา สุขภาพประชาชนชาวขอนแก่น ให้มีสุขภาพสดี แข็งแรง หายป่วย หายทุกข์กาย ทุกข์ใจ ผ่านพ้นโรคภัยต่างๆมาด้วยดี
แต่บัดนี้ บุคลากรรพ.ขอนแก่น กำลังมีความทุกข์ร่วมกันเป็นจำนวนพันกว่าคน โดยเฉพาะมีความทุกข์ใจที่ผอ.ชาญชัย จันทร์วรกุล กำลังถูกปลัดกระทรวงกระทำต่อผู้อำนวยการ รพ.ขอนแก่น ที่เขาเชื่อว่าเป็นคนดี คนที่เขารักและศรัทธา อย่างไม่เป็นธรรม แต่ท่านรัฐมนตรี กลับไม่สนใจที่จะไปเยี่ยมเยียน ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบของข้าราชการใต้บังคับบัญชาของท่านนับพันคน กับเหตุการณ์เช่นนี้ เพื่อไต่ถาม ข้อมูลกับคนในพื้นที่ เหมือนกับการไปสอบสวนโรค หาสาเหตุของโรค และขจัดโรค คือ ขจัดความไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ อึดอัด คับข้องใจ และแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ช่วยให้เกิดขวัญกำลังใจ แก่บุคลากรสาธารณสุขนับพันคน เพื่อให้เขาเหล่านั้นจะได้มีกำลังใจ ในการทำงานดูแลรักษาประชาชน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนให้ดีที่สุด เพราะคนที่มีความทุกข์ คงหมดกำลังใจที่จะทำงานให้เต็มที่ เพราะไม่แน่ใจว่า ทำดีแล้วก็ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมแบบที่ผอ.ชาญชัยถูกกระทำ เช่นนี้ หรือไม่ หรือถ้าท่านไปถามผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงแล้ว คิดว่าปลัดกระทรวงทำถูกแล้ว ท่านก็ต้องไปแถลงข่าวที่รพ. ขอนแก่นเลย ดูซิว่า บุคลากร รพ.ขอนแก่น จะเชื่อข้อไหน คือ ยังศรัทธาในผอ.ชาญชัย หรือหันกลับมาเห็นด้วยกับปลัดกระทรวง
หวังว่า ท่านรัฐมนตรี จะพิจารณา จดหมายฉบับนี้ เพราะเขียนขึ้นด้วยความปรารถนาดี ต่อกระทรวงสาธารณสุข

ขอแสดงความนับถือ
พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
เมื่อเวลา 9.30 น.วันที่ 11 มิ.ย.2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มข้าราชเกษียณ อดีตประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ตรวจสอบและดำเนินการให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุข สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการโยกย้ายนพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพ.ขอนแก่น ให้มาปฏิบัติราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงกรณีถูกบัตรสนเท่ห์ร้องเรียนรับเงินบริจาคบริษัทยา
นพ.ประเสริฐ ขันเงิน อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ประธานชมรมฯ พศ.2554-2556 กล่าวว่า สมาชิกชมรมไม่สบายใจอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่รพ.ขอนแก่น เมื่อประมวลเรื่องราวตั้งแต่ปี 2561 มีข้อสงสัยหลายประเด็นในการใช้อำนาจของปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าได้ใช้ดุลยพินิจโดยชอบหรือโดยอคติ หวังผลเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องหรือไม่ ถ้าข้อสงสัยนี้เป็นจริงจะมีเรื่องแบบนี้เกิดกับที่อื่นอีกหรือไม่
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และท้าทายธรรมาภิบาลของกระทรวงสาธารณสุข แต่เชื่ออย่างยิ่งว่าท่านรองนายกฯเป็นผู้มีความยุติธรรม จะลงมาตรวจสอบและแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเป็นหลังพิงที่แข็งแรงให้กับน้องๆ ที่ตั้งใจทำงานโดยสุจริตเพื่อประชาชนและประเทศชาติ” นพ.ประเสริฐกล่าว
ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุว่า ในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 บุคลากรทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ จนเป็นที่ยอมรับและชื่นชมจากประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก กำลังใจจากประชาชนทั่วประเทศเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้บุคลากรทุกระดับมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับรพ.ขอนแก่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฏทั้งจากสื่อและสังคมออนไลน์ สร้างความเคลือบแคลงและสงสัยต่อสังคมในเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสาธารณสุขอย่างรุนแรง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับรพ.ขอนแก่นเป็นเพียงหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงต่อธรรมาภิบาลในการบริหารภายในสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ที่มีการแต่งตั้งโยกย้ายที่แปลกประหลาดในหลายจังหวัดเช่นที่ รพ.ขอนแก่น รพ.เลย รพ.กาฬสินธุ์ เกิดการรวมตัวคัดค้านจากทางบุคลากรสาธารณสุข ประชาชนและภาคเอกชนในหลายพื้นที่ จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นต้องออกมาตรวจสอบและพบว่ามีการโยกย้ายที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และนโยบายของรัฐมนตรีในเรื่องการโยกย้ายในรพ.ขนาดใหญ่ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงคำสั่งในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย น่าเสียดายที่ทำให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ต้องลาออกจากราชการในเหตุการณ์ครั้งนั้น
ความเคลือบแคลงของสังคมต่อธรรมาภิบาลในการบริหารภายในสำนักปลัดกระทรวงสาธารณะสุขเกิดจากข้อสงสัยในการใช้อำนาจของผู้บริหารในการแต่งตั้ง โยกย้ายและการดำเนินการทางวินัย ที่อาจเกิดจากอคติ และมุ่งหมายเอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง ทั้งนี้สังเกตจากกรณีที่เกิดขึ้นกับรพ.ขอนแก่นดังนี้
1.คำสั่งที่ 1217 / 2561 โยกย้ายผอ.รพ.ขอนแก่น (1000 เตียง) ไปรพ.พระปกเกล้าฯ จันทบุรี (755 เตียง) และย้ายผอ.รพ.ชุมแพ (224 เตียง) ไปรพ.ขอนแก่นทั้งๆ ที่ผอ.รพ.ขอนแก่นเพิ่งปฏิบัติงานเพียงสามปีไม่ได้ขอย้าย และการพัฒนารพ.ขอนแก่นกำลังไปได้ด้วยดีเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง โยกย้ายของอกพ.สป. หรือไม่ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งในเวลาต่อมา การอ้างว่าเพื่อให้ไปพัฒนารพ.พระปกเกล้าฯ จันทบุรี แต่การโยกย้ายก่อนเวลาอันสมควรนี้ก็อาจจะส่งผลเสียหายต่อการพัฒนารพ.ขอนแก่นอย่างยั่งยืนเช่นเดียวกัน ส่วนการอ้างว่าการย้ายผอ.รพ.ชุมแพไปรพ.ขอนแก่นเป็นไปตามนโยบายเขตสุขภาพที่ให้โยกย้ายภายในเขต ก็ไม่เคยมีปรากฏในหลักเกณฑ์ของอกพ.สป. และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเหตุใดต้องย้ายผอ.ขอนแก่นไปนอกเขต กรณีเช่นนี้อาจเกิดจากอคติและมุ่งหมายเพื่อประโยชน์กับพวกพ้องหรือไม่
2.คำสั่งที่ 624/2563 ให้ผอ.รพ.ขอนแก่นไปปฏิบัติราชการที่กอบอๆศและคำสั่งที่ 625 / 2563 ให้ผอ.รพ.พระปกเกล้าจันทบุรีรไปรักษาการในตำแหน่งผอ.รพ.ขอนแก่นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ หลักนิยม ธรรมเนียมปฏิบัติของกระทรวงสาธารณะสุขหรือไม่ กรณีเช่นนี้อาจเกิดจากอคติและมุ่งหมายเอื้อประโยชน์กับพวกพ้องหรือไม่ ที่สำคัญจะมีผลต่อการสอบสวนทางวินัยผอ.รพ.ขอนแก่นที่กำลังจะดำเนินการหรือไม่
3.การดำเนินการทางวินัยต่อผอ.รพ.ขอนแก่นจากบัตรสนเท่ห์ มีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติและข้อเท็จจริงหรือไม่ ตั้งแต่การพิจารณารับเรื่องร้องเรียน การหาข้อมูลเบื้องต้นนำไปสู่การตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง การตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ตลอดจนการอ้างมีพฤติกรรมข่มขู่พยาน จูงใจให้เกิดพยานหลักฐานที่เป็นเท็จ ออกคำสั่งให้ผอ.รพ.ขอนแก่นไปปฏิบัติราชการ ที่กระทรวง กรณีเช่นนี้อาจเกิดจากอคติและมุ่งหมายเพื่อประโยชน์กับพวกพ้องหรือไม่
จากข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้น หากการใช้อำนาจของผู้บริหารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขเกิดจากอคติและมุ่งหมายเพื่อประโยชน์กับพวกพ้องจริง จะมีข้าราชการใต้บังคับบัญชาถูกกระทำในลักษณะเช่นเดียวกันนี้อีกหรือไม่ พวกกระผมขอความกรุณาให้ท่านลงมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ และเพื่อธำรงไว้ซึ่งธรรมาภิบาลในการบริหารกระทรวงสาธารณะสุขสืบไป
ทั้งนี้ ท้ายจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวมีรายชื่ออดีตประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งเป็นข้าราชการเกษียณประกอบด้วย นพ.วีระ อิงคภาสกร อดีตประธานชมรมฯช่วงปี 2537-2540 นพ.อุระพงษ์ เวศกิจกุล อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2540-2544 นพ.เทียม อังสาชน อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2549-2551 นพ.วีระพงษ์ เพ่งวาณิชย์ อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2551-2554 นพ.ประเสริฐ ขันเงิน อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2554-2556 นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2556-2558 นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2558-2560 และนพ.โมลี วนิชสุวรรณ อดีตประธานชมรมฯ พ.ศ.2560-2562

https://www.hfocus.org/content/2020/06/19555

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งย้าย นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพ.ขอนแก่น มายังกระทรวงสาธารณสุข และให้นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.พระปกเกล้า ไปรักษาการแทน นพ.ชาญชัย สืบเนื่องจากมีผู้ร้องเรียนนพ.ชาญชัย ว่ารับเงินบริจาคจากบริษัทยา แต่ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากองค์กรแพทย์รพ.ขอนแก่น
วันที่ 10 มิ.ย. 2563  พญ.กนกวรรณ ศรีรักษา ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น เปิดเผยว่า ได้เชิญชวนเครือข่ายทางการแพทย์ทั่วประเทศแต่งดำในวันศุกร์เพื่อสื่อว่าวันศุกร์ไม่สุขอีกต่อไป เนื่องจากนพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีคำสั่งย้าย นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นไปปฏิบัติราขการประจำกระทรวงสาธารณสุข และตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงกรณีเงินบริจาคบริษัทยาเข้ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาล ซึ่งหลังจากได้ฟังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ประเด็นดังกล่าวแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีความหวังต่อการทวงถามถึงธรรมาภิบาลในกระทรวงสาธารณสุข
“คิดจะพึ่งพาผู้ใหญ่แต่รัฐมนตรีกลับออกมาบอกแค่ว่าจะให้ความเป็นธรรม เราเลยนัดกันแต่งชุดดำเพื่อขอแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ โดยมีการชวนเพื่อนเครือข่ายแพทย์ทั่วประเทศให้แต่งดำในวันศุกร์ แต่สำหรับโรงพยาบาลขอนแก่นคงจะแต่งดำทุกวัน กลุ่มแพทย์ที่ออกมาเรียกร้องธรรมาภิบาลนี้ เนื่องจากคำสั่งย้าย นพ.ชาญชัย โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่ากรรมการสืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริงที่แต่งตั้งขึ้นมานั้น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชมรมแพทย์ชนบททุกคน” พญ.กนกวรรณกล่าว
ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่นกล่าวอีกว่า ประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงคนเก่าได้ลาออกไปแล้วและกำลังจะแต่งตั้งคนใหม่ จะดูว่าคนใหม่ที่จะเข้ามานั้นเกี่ยวกับชมรมแพทย์ชนบทหรือไม่ ประเด็นที่ต้องตั้งคำถามเรื่องนี้คือธรรมาภิบาลในการสอบสวน เหตุใดจึงไม่ตั้งประธานคณะกรรมการสอบสวนตามระบบ ซึ่งควรจะต้องเป็นสาธารณสุขนิเทศก์เขต 5 แต่กลับเอาเขตอื่นมาสอบ การย้ายนพ.ชาญชัย ด้วยการกล่าวหาว่าเป็นผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับพยานทั้งๆ ที่ นพ.ชาญชัยยังไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ เลย
“เราพูดมาหลายครั้งแล้วว่าธรรมาภิบาลที่กลุ่มแพทย์เรียกร้องคือเหตุผลที่สั่งย้ายนพ.ชาญชัยนั้นไม่เป็นธรรม ซึ่งต้องรอดูว่าจะมีการย้ายคนจากชมรมแพทย์ชนบทมาเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงคนใหม่หรือไม่ ทั้งนี้มีหลักฐานหลายอย่างเกี่ยวกับชมรมแพทย์ชนบทที่คนในโรงพยาบาลรู้มาแล้วก็ตกใจ” พญ.กนกวรรณ กล่าว
ขณะเดียวกันนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ชมรม ถึงนายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด และบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข โดยขอความร่วมมือใช้หลักสันติวิธีและปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประชาชนและประเทศชาติ โดยแถลงการณ์ระบุว่า เรื่องร้องเรียนในกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบโดยละเอียดตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการแล้ว โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันในเรื่องความโปร่งใสและการให้ความเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่ายแล้ว จึงขอให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เรียกร้องให้บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ใช้หลักสันติวิธี และปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติตามภาระหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ

https://www.hfocus.org/content/2020/06/19535

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน ชาญวีรกูล” กำชับปลัด สธ. ให้ความเป็นธรรมทุกฝ่ายที่มีการตั้งกก.สอบข้อเท็จจริง ลั่นระหว่างนั้นไม่ย้ายขาด “หมอชาญชัย” ยังเป็นผอ.รพ.ขอนแก่น ส่วน “หมอเกรียงศักดิ์” ยังเป็นผอ.รพ.พระปกเกล้า
เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีแหล่งข่าวระบุว่าตนสั่งการในไลน์กรุ๊ปผู้บริหารห้ามย้ายขาดนพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพ.ขอนแก่น ออกจากตำแหน่ง และ ห้ามย้ายนพ.เกรียงศักดิ์ ออกจากตำแหน่งผอ.รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรี จนกว่าการสอบสวนวินัยร้ายแรงจะแล้วเสร็จ และจะมีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีเรียกรับเงิน และกรณีการออกคำสั่งย้ายผอ. 2 รพ.ด้วย ว่า ตนไม่ทราบว่าไลน์หลุดไปได้อย่างไร แต่ตนไม่ได้สั่งการ เพียงแต่ส่งเป็นข้อความไปในไลน์ผู้บริหารกระทรวง และได้บอกปลัด สธ.ว่าช่วงนี้ทุกฝ่ายต้องการความเป็นธรรม ที่มีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง สอบวินัยต่างๆ ก็ทำให้เสร็จสิ้นก่อน อย่าเพิ่งไปทำอะไร
“ส่วนเรื่องการสั่งนพ.เกรียงศักดิ์ไปรักษาการก็ไม่ว่าอะไร เป็นดุลพินิจ เป็นอำนาจปลัด สธ. อยู่แล้ว ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าการทำงานด้วยกันต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ใครมีอำนาจอะไร เท่าไหร่ ตรงไหน ใครที่รับผิดชอบในตรงนั้นตัดสินใจแล้วกล้ารับผิดชอบ คนที่เหนือกว่านั้นก็ทำอะไรไม่ได้ ขอให้เข้าใจตรงนี้ด้วย ตนสั่งไม่ได้ และไม่ได้สั่ง เพราะถ้าสั่งก็จะเท่ากับเป็นการก้าวก่าย เพราะฉะนั้น สรุปนพ.ชาญชัย ยังเป็นผอ.รพ.ขอนแก่น แต่ย้ายมาปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุข ส่วนนพ.เกรียงศักดิ์ก็ยังเป็นผอ.รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรี แต่ก็เป็นรักษาการรพ.ขอนแก่นด้วย แต่ที่ตนเขียนข้อความในไลน์กลุ่มผู้บริหารเพื่อป้องกันว่าหากมีใครจะย้ายขาดก็ขอให้อย่าทำ ให้นิ่งที่สุด” นายอนุทิน กล่าว
 

เมื่อถามว่าที่มีการทักท้วงคือการย้ายนพ.ชาญชัย ออกมาทั้งที่ยังไม่ผิด นายอนุทิน กล่าวว่า ตรงนี้ต้องไปถามนพ.สุขุม การให้ออกมาเพราะมีการข่มขู่พยาน ซึ่งตนไม่ทราบ แต่ท่านปลัดบอกว่ามีแบบนี้และใช้ดุลพินิจของท่านออกมาให้เกิดความเป็นธรรมให้กับคนที่ถูกกล่าวหาและคนที่เข้าไปสอบสวน ส่วนที่ท่านออกมาระบุว่าการย้ายไม่ได้มาจากการข่มขู่พยานนั้น ตนไม่ได้คุยกับท่านปลัดเรื่องนี้ แต่ก็ยึดตามหนังสือเป็นหลัก การถามท่านหรือสอบถามด้วยวาจาอาจจะไตร่ตรองไม่ทัน แต่สิ่งสุดท้ายต้องไปยืนยันเอกสารที่เป็นหลักฐาน ส่วนที่นพ.ชาญชัยร้องเรียนตนว่าคับข้องใจ และเป็นทุกข์กับคำสั่งของปลัดสธ.ที่ออกมา ตนได้ทำหนังสือรับทราบและจะให้ความเป็นธรรม แต่ก็ขอให้นพ.ชาญชัยไปร้องที่ก.พ.ด้วย เพราะตนรับเรื่องมาดำเนินการไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
เมื่อถามว่ามีรายงานว่าจะมีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการกล่าวหาเรียกรับผลประโยชน์ ทั้งการออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายผอ.ทั้ง 2 รพ.ด้วย อนุทิน กล่าวว่า เดิมมีกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่มี นพ.อภิชาติ รอดสม สาธารณสุข นิเทศกระทรวงสาธารณสุขเขต 6 เป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ขอนแก่น พบว่ามีมูล จนมีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงที่มี นพ.พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการเขต 11 เป็นประธาน ตรงนี้ขอให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปตามขั้นตอน ส่วนตนจะตั้งกรรมการ 1 ชุด เป็นชุดใหญ่ที่ตนมีอำนาจเพื่อสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีนักวิชาการออกมาระบุว่ามีรพ.สังกัด สธ. 186 แห่ง เรียกรับเงินจากบริษัทยา โดยจะลงนามแต่งตั้งภายในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ ก็น่าจะคลอบคลุมไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่รพ.ขอนแก่นด้วย แต่ไม่ได้ตั้งกรรมการสอบการออกคำสั่งย้าย ผอ.แต่อย่างใด

Thu, 2020-06-11 14:16 -- hfocus team

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
อนุทิน ชาญวีรกูล ตั้ง “มล.สมชาย” นั่งปธ.กก.สอบข้อเท็จจริง หลังนักวิชาการอิสระเผยข้อมูล รพ.เรียกรับเงิน 186 แห่ง หาข้อเท็จจริง หากไม่ใช่คนกล่าวหาต้องรับผิดชอบ หากจริง รพ.ต้องรับผิดชอบ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีความคืบหน้าภายหลังนักวิชาการอิสระ และอดีตผู้บริหารบริษัทยาได้ทำการสอบถามผู้แทนยาถึงการเรียกรับเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสธ.พบว่าเดือน พ.ย. 2562 มีโรงพยาบาลเรียกเก็บกรณีนี้ถึง 186 แห่ง ว่า สำหรับกรรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี 186 รพ. ประกอบด้วย มล.สมชาย จักรพันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษารมว.สธ.เป็นประธานกรรมการฯ นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดสธ. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัด สธ. หัวหน้าสำนักงานกฎหมายของตน คือ พ.ต.อ.ประเวศ วงษ์ประมุข นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ตัวแทนจากรพ. ตัวแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ซึ่งกรรมการจะเป็นผู้คัดเลือก โดยมีกรอบการทำงานคือให้ทำโดยเร็ว และรายงานตรงถึงตน

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรรมการชุดนี้จะสอบไปถึงกรณีมีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากบริษัทยา ของรพ.ชุมแพด้วยหรือไม่ นานอนุทิน กล่าวว่า คณะกรรมการจะตรวจสอบเป็นมาตรฐานเดียว รวมถึงกรณีเอกสารการรับเงินบริษัทยาของรพ.ชุมแพด้วย ตนไม่ได้เพิกเฉย แต่ก็มีวิธีการแก้ปัญหาของตนที่คงไม่เหมือนคนอื่น ยืนยันว่าทุกอย่างต้องเป็นธรรม ตนไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่ผู้เสียหายหรือได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ ตนยึดถือระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ยึดถือรัฐธรรมนูญ
นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้ตนต้องเข้ามาแล้วเพราะมีการกล่าวหารพ.186 แห่ง คิดเป็นร้อยละกว่า 20% ของรพ.ในสังกัดสธ. เรื่องนี้ต้องรับผิดชอบทั้ง 2 ฝ่าย หากไม่จริงคนกล่าวหาก็ต้องรับผิดชอบ ถ้าจริง รพ.เหล่านั้นก็ต้องรับผิดชอบ ซึ่งตรวจสอบไม่ยาก สามารถดูบัญชีธนาคาร ดูการออกใบเสร็จรับเงิน เพราะถ้ามีการบริจาคเข้ามาแบบนี้ต้องมีการเอาไปหักภาษี ถ้าไม่มีตรงนี้ แต่กลับมีเงินเข้ามาจำนวนมากอาจจะมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยที่เรื่องลุกลามใหญ่โตหรือไม่นั้น ตนไม่อยากให้มองว่าลุกลามใหญ่โต เพราะเรื่องเกิดขึ้นแค่ตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องความรู้สึกที่พิสูจน์ไม่ได้

Thu, 2020-06-11 16:13 -- hfocus team
........................................................................
เปิดข้อมูล รพ.สังกัด สธ. เรียกรับเงินบริษัทยา พ.ย.62 ถึง 186 แห่ง มีทั้ง รพศ. รพท. และรพช.

สธ.เชิญนักวิชาการอิสระ สอบถามผู้แทนยาเผยข้อมูล พ.ย.62 หลายรพ.ในสังกัดสธ.เรียกรับเงิน พบรพศ./รพท.รับเงิน 22 แห่ง ขณะที่รพช. เรียกรับ 164 แห่ง ด้านปลัดสธ. พร้อมรับลูกตรวจสอบ หากมีบัตรสนเท่ห์ส่งเรื่องมาร้องเรียนเพิ่มเติมได้
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เชิญ นายมนู สว่างแจ้ง นักวิชาการอิสระ ผู้เคยทำงานคลุกคลีกับบริษัทยาและโรงพยาบาล มาบรรยายผลการสำรวจโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับเงินบริจาคจากบริษัทยา 5% ว่า ที่ผ่านมาได้มีการเก็บข้อมูลจากการสอบถามตัวแทนจำหน่ายยาเกี่ยวกับการประสานงานขายยากับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยไม่ระบุชื่อโรงพยาบาลแต่อย่างใด

นายมนู  สว่างแจ้ง
นายมนู กล่าวอีกว่า จากการสำรวจพบว่า หลังจากมีระเบียบเรื่องการห้ามรับเงินบริจาค 5% ที่เชื่อมโยงว่ามีการเรียกเก็บเงินนั้น ในเดือนมีนาคม 2562 มีการเรียกรับเงินลดลง ซึ่งจากการสำรวจโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) และโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) รวม 786 แห่ง พบมีการรับเงินรวม 12 แห่ง ไม่รับเงิน 774 แห่ง แบ่งเป็น รพศ./ รพท. สำรวจทั้งหมด 116 แห่ง พบรับเงิน 2 แห่ง ไม่รับเงิน 114 แห่ง ส่วน รพช. สำรวจ 670 แห่ง พบรับเงิน 10 แห่ง ไม่รับเงิน 660 แห่ง แต่ปรากฏว่า หลังจากนั้นเดือนพฤศจิกายน 2562 พบมีการเรียกเก็บรับเงินเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมทั้งรพศ.รพท.และรพช. พบเรียกเก็บเงินรวม 186 แห่ง และไม่รับเงิน 600 แห่ง แบ่งเป็น รพศ./รพท. พบรับเงินเพิ่ม 22 แห่ง ไม่รับเงิน 94 แห่ง ขณะที่รพช. พบรับเงิน 164 แห่ง ไม่รับเงิน 506 แห่ง
“เห็นได้ว่าช่วงเดือนพ.ย.2562 มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มกลับมาราว 23.70% ซึ่งน่าจะมาจากการเปลี่ยนผู้อำนวยการโรงพยาบาลใหม่ หรือละเลยเรื่องกฎระเบียบหรือไม่ ซึ่งวิธีการเรียกรับนั้น แม้ระบบจัดซื้อจัดจ้างเข้มงวดขึ้น แต่จะมีการคุยกับบริษัทยาว่า จะจ่าย 5% ได้หรือไม่ และจะระบุว่า หากไม่จ่าย เราก็ไม่จ่ายเงินค่ายา สิ่งเหล่านี้บริษัทยาก็ไม่อยากจะทำ เพราะกฎหมายป.ป.ช.ระบุว่า หากพนักงานขาย หรือผู้แทนยาไปติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐจะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท” นายมนู กล่าวและว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตนเสนอว่า กระทรวงสาธารณสุขและกรมบัญชีกลางหารือร่วมกันในการให้ กรมบัญชีกลางเป็นผู้จ่ายเงินค่ายาและเวชภัณฑ์ตรงไปยังบริษัทยาโดยตรง เพื่อลดการมาประสานระหว่างผู้แทนจำหน่ายยากับทางโรงพยาบาล

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัด สธ. กล่าวว่า ข้อมูลจากคุณมนู ที่ได้มีการสำรวจผู้แทนบริษัทยานั้น ทางกระทรวงฯ ได้รับเรื่องและพร้อมจะตรวจสอบทั้งหมดว่า มีที่ไหนอย่างไร ซึ่งเดิมตั้งแต่ตนมารับตำแหน่งก็ยึดนโยบายเรื่องความโปร่งใส ต้องปลอดทุจริต การรับเงินบริจาคลักษณะนี้ถือว่าผิดขัดระเบียบ ก็ต้องมีการตรวจสอบ ที่ผ่านมาก็เคยให้ข่าวไปแล้วว่า ได้มีการสอบสวนวินัยกับผู้บริหารระดับสูงที่มีความผิดประเด็นทุจริตทำผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งพัวพันชัดเจนและดำเนินการไปแล้ว แต่คงไม่เอ่ยชื่อหรือเหตุการณ์
ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีก่อนหน้านี้ได้ตรวจสอบโรงพยาบาล และพบการทำผิดระเบียบชัดเจนจนถึงลงโทษผู้อำนวยการไป 6 คน เกี่ยวกับเงินบริจาคหรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า ไม่ขอพูดถึง ส่วนที่เหลือก็อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ แต่ขอไม่พูดรายละเอียด
เมื่อถามกรณีข้อมูลพบการรับเงินในส่วนของ รพศ./รพท. และรพช.จะเปิดทางให้บุคลากรที่มีข้อมูลยื่นบัตรสนเท่ห์ร้องเรียนรพ.ด้วยหรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า จริงๆไม่จำเป็นต้องมีคนร้องเรียน เราก็ทำงานเชิงรุกลงไปตรวจสอบอยู่แล้ว และจากเดิมเคยดูงบบำรุง งบประมาณ แต่จะดูงบสวัสดิการ งบมูลนิธิ จะไปดูให้มากขึ้นว่า นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความตั้งใจของผู้บริจาคด้วยหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ฝ่ายตรวจสอบภายในก็รับนโยบายไป
นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดสธ. กล่าวว่า จริงๆยื่นมาได้ และเราจะส่งข้อมูลให้ตรวจสอบภายในดำเนินการ ไม่ต้องกังวล และได้ส่งข้อมูลให้ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(นพ.สสจ.) และผู้ตรวจราชการกระทรวงแล้ว ให้ไปกำกับดูแล ซึ่งไม่ใช่แค่ข้อมูลจากคุณมนู ยังมีคู่มือในการดำเนินที่ถูกต้องตามระเบียบด้วย
นพ.สุขุม กล่าวอีกว่า หากโรงพยาบาลมีการรับเงินถือว่าเป็นความผิดทั้งทางอาญาและ ป.ป.ช. ไม่ว่าจะเอาเงินไปใช้ทำอะไร ถือว่าเป็นความผิด โดยกระทรวงต้องดำเนินการ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของบริษัทผู้ค้ายาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการทุจริตไม่ชอบ ทั้งนี้ ได้มีการประกาศว่าหากใครแจ้งเบาะแสการทุจริตก็จะพิจารณาเป็นความดีความชอบขึ้นเงินเดือน 2 ขั้น หรือ 6% เป็นสิ่งที่ สธ.ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของนพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น ที่มีการระบุว่า มีบัตรสนเท่ห์ใบเดียวแล้วย้าย จริงๆมีการดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ และตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งมีการตรวจสอบเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งมี นพ.อภิชาติ รอดสม สาธารณสุขนิเทศก์กระทรวงสาธารณสุข เขต 6 เป็นกรรมการตรวจสอบร่วมกับนิติกร ตรวจสอบบัตรสนเท่ห์ว่าเชื่อได้หรือไม่ยังแต่ไม่ได้ระบุว่ามีการกระทำผิด โดยใช้เวลาตรวจสอบ 8 เดือน อาจเป็นการเข้าใจผิดไม่ใช่ได้บัตรสนเท่ห์แล้วย้ายทันที

Tue, 2020-06-09 14:24 -- hfocus team
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2020, 23:46:48 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
ขอทำหน้าที่พลเมืองดี-นพ.วชิระ เพ็งจันทร์
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2020, 00:00:33 »
เขียนที่บ้านฯ
10มิย63
เรื่อง ขอทำหน้าที่พลเมืองดี
เรียน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผม นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ พลเมืองไทย ผู้เสียภาษีเงินได้เป็นประจำทุกปี
ผมมีความรักในความเป็นธรรม เกลียดการเลือกปฏิบัติ
หวังอยากเห็นระบบธรรมาภิบาลเกิดขึ้นจริงในกระทรวงสาธารณสุข
ผมได้อ่านบทความที่"วงในสาธา"เขียนเรื่องขอส่งบัตรสนเท่ห์ทางFB
เมื่อวันที่10มิย63 ผมมีความอึดอัดใจอย่างมากคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง
จึงรวบรวมความกล้า. แล้ว ตัดสินใจด้วยความยากลำบาก
เขียนหนังสือถึงท่าน โดยการเขียนใช้เวลานานมากด้วยความอดทน
ในภาพประกอบ บทความมี ใบเสร็จรับเงินของ
รพ ชุมแพ(ซึ่งเป็น รพ ในความรับผิดชอบของท่าน)ลงวันที่13 มีค61
รับเงินจาก บริษัท ขายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งหนึ่ง
บอกในรายการว่า"รับเงินบริจาคเพื่อสวัสดิการเจ้าหน้าที่"
มี จพ การเงิน เซ็นต์ชื่อรับ ถูกต้อง เป็นปกติ
ผมเชื่อโดยสุจริตใจ ว่า ใบเสร็จนั้น เป็นสำเนาของใบเสร็จจริง
และเหตุการณ์ช่วงนั้น การดำเนินการ เป็นความรับผิดชอบของ
อดีต ผอ รพ ชุมแพ ยุคนั้น ปัจจุบันคือ รก รพ ขอนแก่นที่ท่านเพิ่ง
ลงนามในคำสั่งย้าย เขา มารักษาการฯที่กำลังเป็นปัญหา ที่
สังคมกำลังตั้งคำถามเป็นวงกว้าง ในขณะนี้
ขอให้ท่านดำเนินการสอบสวน ฯเพื่อทำความกระจ่างต่อสังคมโดยเร็ว
ผมขอแนะนำท่าน ให้สั่ง นพสสจ ขอนแก่นและ/หรือ ผู้ตรวจราชการ
กระทรวงสาธารณสุข เขต7ซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทของท่านเพราะท่าน
ตั้งเขามากับมือและสั่งเขามาอยู่เขต7รับผิดชอบจังหวัดขอนแก่นด้วย
ลงไปสอบ ที่ รพ ชุมแพภายใน1-2วันนี้
ไปถาม จพ การเงินตามลายเซ็นต์ ขอดูใบเสร็จจริง ซึ่งน่าจะสัมพันธ์
กับ ใบสั่งซื้อฯกับ บริษัทฯตามใบเสร็จ น่าจะสั่งซื้อประมาณ
6เดือนก่อนหน้านั้น ไปดูว่าใครตำแหน่งใดลงนามในคำสั่งซื้อ
ยอดใบสั่งซื้อน่าจะประมาณ112,700บาทหรือมากกว่าตามความโลภของ ผอ
(5%หรือมากกว่าตามความโลภ)
และอย่าลืมกำชับ ให้ไปดูด้วยนะครับ จพ การเงิน รับแล้ว นำไปไหน?ไปให้ใคร?
เข้าบัญชีใด(อาจเข้ากระเป๋าแทนก็ได้) การใช้จ่ายต่อจากนั้นเป็นอย่างไร?
เมื่อตรวจบัญชีแล้ว อย่าลืมดู ยอดเงินฯจากบริษัทอื่นๆด้วยนะครับ
ผมว่ายังมีอีกจำนวนมาก ตามการนั่งในตำแหน่งที่ยาวนานของ ผอ
ขอให้ท่านรีบดำเนินการ ตามหน้าที่และอำนาจของท่าน
และรายงานต่อสาธารณะ ภายใน7วัน ไม่เช่นนั้นผมจะถือว่าท่านสมรู้ร่วมคิด
ผมจะคอยติดตามโดยใกล้ชิดนะครับ
ขอบคุณมากนะครับ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์
สำเนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
จากกรณีนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ผ่านเฟซบุ็คส่วนตัวขอให้นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบอดีตผอ.โรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น เกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินบริจาคเพื่อสวัสดิการเจ้าหน้าที่ จำนวน 5,635 บาท ลงวันที่ 13 มีนาคม 2561 โดยขอให้ตรวจสอบพร้อมเปิดเผยผลการตรวจสอบต่อสาธารณะใน 7 วัน ต่อมานพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี ในฐานะรักษาการโรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น อดีตผอ.โรงพยาบาลชุมแพ ยอมรับว่าการรับบริจาคดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกระทรวงสาธารณสุขออกคำสั่งห้ามจัดซื้อหารายได้ในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนทุกประเภทจากบริษัทยาเข้ากองทุนสวัสดิการสถานพยาบาล โดยหนังสือสั่งการดังกล่า่วมาถึงโรงพยาบาลชุมแพหลังออกคำสั่งประมาณ 2-3 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 พญ.วิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 7 เปิดเผยว่า จะเชิญนพ.เกรียงศักดิ์มาสอบถามภายใน 1-2 วันนี้ คาดว่าจะได้เจอกันที่เขตสุขภาพที่ 7 คงต้องพูดคุยกันถึงใบเสร็จที่ออกมาว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
“ขั้นตอนในการพิสูจน์ว่ามีความผิดหรือไม่คือ ตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง ถ้ากรรมการชี้ว่ามีมูลความผิด ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป แต่หากในกรณีที่ไม่พบว่ามีความผิด ก็จะมีการเยียวยาเช่น ให้กลับมาที่ตำแหน่งเหมาะสมของผู้ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งวิธีเยียวยานั้นต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง” พญ.วิพรรณ กล่าว
ด้าน นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น กล่าวว่ายังไม่เห็นกรณีใบเสร็จรับเงินที่ถูกโพสต์บนเฟซบุ๊ก และยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะต้องเห็นรายละเอียดให้ชัดเจน แล้วดูการเน้นย้ำที่กระทรวงกำหนดว่าการรับมีเงื่อนไขอะไร ซึ่งมีกฎหมายที่เขียนไว้เพียงแต่การปฏิบัติอาจมีการเข้าใจที่แตกต่างกัน
“เรารับราชการ และราชการมีกฎระเบียบให้เราทำได้เท่าที่เขียนไว้ ต้องดูก่อนว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ตอนนี้ผมยังไม่เห็นรายละเอียดเลย” นพ.สมชายโชติ กล่าว

Wed, 2020-06-10 20:13 -- hfocus team editor