ผู้เขียน หัวข้อ: นิ่งเฉยอยู่ใยพี่น้อง  (อ่าน 1917 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
นิ่งเฉยอยู่ใยพี่น้อง
« เมื่อ: 25 มิถุนายน 2020, 00:17:16 »


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
ปฐมบท
มันเริ่มที่ตรงนี้


รายละเอียดของหนังสือและหลักฐาน อ่านต่อได้ที่ลิงค์
http://www.thaihospital.org/board2/index.php?topic=30812.0

จากเริ่มต้นถึง26มิถุนายน2563




บทที่1
บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น...(26 พฤษภาคม 2563)


บทที่2
บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นพร้อมใจกันให้กำลังใจหมอชาญชัย(ครั้งที่1)...(27 พฤษภาคม 2563)


บทที่3
คำสั้่งย้ายหมอชาญชัยไปปฏิบัติราชการที่กระทรวงสาธารณสุข...(1 มิถุนายน 2563)



สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขใช้หลักธรรมาภิบาล และเรียกร้องให้องค์กรแพทย์ทั่วประเทศสนับสนุน และให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น...(1 มิถุนายน 2563)


บทที่4
บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นพร้อมใจกันให้กำลังใจหมอชาญชัย (ครั้งที่2)...(2 มิถุนายน 2563)


บทที่5
หมอชาญชัยแถลงข่าวกับสื่อมวลชน...(4 มิถุนายน 2563)


บทที่6
อำลาด้วยน้ำตา...(4 มิถุนายน 2563)


บทที่7
หมอชาญชัยย้ายไปปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุข ขณะที่หมอเกรียงศักดิ์มารับตำแหน่งรักษาการผอ.รพ.ขอนแก่น


บทที่8
หมอชาญชัยเข้าพบท่านอนุทินเพื่อขอความเป็นธรรม...(8 มิถุนายน 2563)


บทที่9
"Everyday is BLACK" บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นพร้อมใจแต่งชุดดำมาทำงาน...(10 มิถุนายน 2563)


บทที่10
เอกสารการเงินเก่าถูกรื้อค้น/บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นรวมตัวกันร้องเพลง...(11 มิถุนายน 2563)


บทที่11
บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อท่านนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล...(12 มิถุนายน 2563)



บทที่12
หมอเกรียงศักดิ์แถลงการณ์ขอถอนตัวจากรักษาการ ผอ.รพ.ขอนแก่น...(15 มิถุนายน 2563)


บทที่13
"Everyday is BLACK" บุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นรวมพลังร้องเพลง และแถลงจุดยืน...(16 มิถุนายน 2563)


บทที่14
ประชาชนจังหวัดขอนแก่นยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น...(17 มิถุนายน 2563)


บทที่15
ปลัดเซ็นคำสั่งถอนรักษาการ...(19 มิถุนายน 2563)


บทที่16
ปลัดออกคำสั่งตั้งศูนย์บริหารทรัพยากร COVID-19...(22 มิถุนายน 2563)

ปลัดออกคำสั่งตั้งหมอชาญชัยเป็น ผอ.ศูนย์บริหารทรัพยากร COVID-19...(22 มิถุนายน 2563 วันเดียวกัน)


บทที่17
เครือข่ายประชาชนอีสานขอเข้าพบปลัด(ได้พบรองปลัด) และเข้าพบประธานรัฐสภา ท่านชวนหลีกภัย...(25 มิถุนายน 2563)



เปิดตัวเพลง"คึดฮอดหมอชาญ"...(25 มิถุนายน 2563)


บทที่18
ทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลขอนแก่นพร้อมองค์กรแพทย์ ศศค., ตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ รพศ/รพทฯ จากหลายสถาบัน และศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ มข. ยื่นหนังสือต่อท่านนายกรัฐมนตรีหน้าทำเนียบ (ครั้งที่2)...(26 มิถุนายน 2563)













ไปตีกอล์ฟ


ไม่เคยใช้เล่ห์ใด ทำด้วยใจเพื่อความดี
สีขาวกลับเปื้อนสี เพราะคอยมีมารผจญ

ตากแดดยื่นลุงตู่ ถ้าเฉยอยู่คงไร้ผล
ธรรมาภิบาลต้องอดทน ไม่จำนนต่อคนพาล






ข้อมูลจากเฟสบุ๊ค Kanokwan Sriruksa (27มิถุนายน2563)/สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.ฯ
.................................................

ความชอบธรรมอยู่ไหนใครรู้บ้าง
ผู้ใหญ่กร่างใช้อำนาจน่าอดสู
ใช้ตำแหน่งให้ใครใครมาเชิดชู
โดยไม่รู้ระลึกถึงความดี

ท่าน ผอ.ชาญชัย ขี่ม้าขาว
มาช่วยกู้วิกฤตการณ์โรงบาลศูนย์
จากติดลบท่านกลบหนี้ทวีคูณ
ท่านเป็นศูนย์รวมใจในองค์กร

เราผ่านร้อนฝ่าฝนทนลมหนาว
ด้วยย่างก้าวตามผู้นำไม่หวั่นไหว
ผู้นำดีเรายกย่องดุจดวงใจ
ไม่ว่าใครอย่าหมายมาแย่งชิง

ขอเป็นกบเลือกนายอย่างสะอาด
ใครมุ่งมาดมาหยันเราหมายสู้
คุณธรรมาภิบาลต้องเฟื่องฟู
ให้โลกรู้คนดีไม่มีวันตาย


องค์กรแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น
26 พฤษภาคม 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2020, 15:40:35 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
การเหยียดผิว ในสังคมอเมริกัน

25 พ.ค.2563 เกิดเหตุการณ์  ที่นาย George Floyd ชายผิวสีอายุ 46 ปี ถูกฆ่าตายระหว่างถูกจับกุมโดยตำรวจ มีการใช้เข่ากดไปที่ต้นคอของนาย  ซึ่งถูกจับกดนอนคว่ำกับพื้นมีตำรวจอีก2คน กดแขนขาและลำตัวไว้  ตำรวจอีกคนหนึ่งยืนดู นานถึง8นาทีกว่า จนนาย George Floyd  เสียชีวิตในเวลาต่อมา  เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมือง Minneapolis  รัฐ Minnesota จนเกิดกระแสประท้วง เกิดการจลาจลลุกลามไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา(มากกว่า 2000 เมือง)และ มีการประท้วงเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศ เกิดปรากฎการณ์ Black lives matter

มูลเหตุ คือ อคติเรื่องสีผิว ทำให้มีการเลือกปฏิบัติ ใช้อำนาจ/ความรุนแรงเกินขอบเขต ตำรวจทั้ง4นายถูกไล่ออก ผู้เอาเข่ากดคอถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม อีก3คนถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิด/ส่งเสริม/ช่วยเหลือให้เกิดการฆาตกรรม  (aiding and abetting second-degree murder)

มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันมาหลายครั้งแล้ว  และก็ยังเกิดขึ้นอีกจนได้
....................................................................

การเหยียดพวก ในกระทรวงสาธารณสุข

1 มิถุนายน 2563 เกิดเหตุการณ์ ที่นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการ รพ.ขอนแก่น ถูกย้ายเข้ากรุที่กระทรวงสาธารณสุข  ด้วยข้อกล่าวหาว่า ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ข่มขู่พยาน และถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ รพ.ขอนแก่นออกมาปกป้อง ร้องขอความเป็นธรรม เพราะมีความไม่ปกติ และมีเบื้องหลัง เป็นการเลือกปฏิบัติให้โทษกับนายแพทย์ชาญชัย แต่กลับจงใจให้คุณกับคนบางคน จนเกิดกระแส Black Friday และ SAVE ธรรมาภิบาล ไปทั่วประเทศ

มูลเหตุ คือ อคติเรื่องพวกพ้อง ทำให้มีการเลือกปฏิบัติ ใช้อำนาจข่มขู่ กลั่นแกล้งบุคคลที่คิดว่าไม่ใช่พวกของตน แต่เลือกที่จะดึงดันส่งเสริมพวกพ้อง และเอื้อประโยชน์ให้พวกของตัวเองอย่างไร้ธรรมาภิบาล

มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขมาหลายครั้งแล้ว  และก็ยังเกิดขึ้นอีกจนได้
....................................................................

Silence  is  Violence
การนิ่งเฉย  ไม่พูด  ไม่แสดงออก เมื่อรู้เห็นความไม่ถูกต้อง/ ความไม่เป็นธรรม มีแต่จะส่งเสริมให้ความไม่ถูกต้อง ความเป็นธรรมเกิดขึ้นซ้ำๆ และรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

Silence  is Complicity
การนิ่งเฉย ไม่พูด ไม่แสดงออก เมื่อรู้เห็นความไม่ถูกต้อง /ความไม่เป็นธรรม ในขณะที่อาจจะทักท้วง ห้ามปราม ยับยั้งได้ ก็เปรียบได้กับเป็นผู้ ส่งเสริม  ผู้ช่วยเหลือ  ผู้สมรู้ร่วมคิดในการกระทำนั้นๆ


สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.ฯ
16 กรกฎาคม 2563
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2020, 07:22:23 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
"...ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อสั่งการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดโดยดีมาตลอด อีกทั้ง การที่กล่าวอ้างว่าได้บังคับบริษัทและเจ้าหน้าที่ให้กระทำการที่มิชอบด้วยกฎหมายนั้นก็ไม่เป็นความจริง ผู้ร้องเรียนได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อผู้รับเรื่องร้องเรียน เนื่องจากสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ( Thai Pharmaceutical Manufacture Association : TPMA ) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ ( พรีม่า ) ก็ได้ยืนยันและแสดงเจตนารมณ์ ที่จะร่วมกันป้องกันมิให้มีการกระทำการที่ไม่ถูกต้อง..."


"ไม่ใช้คำว่าเรียกรับ เพราะว่า เวลาเขาจะบริจาคหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อการขาย ว่าคุณไม่จ่าย เราไม่ซื้อ ไม่ใช่แบบนั้น แล้วมีหลายบริษัทที่ถึงแม้เขาไม่ได้บริจาคให้เรา เราก็ซื้อ เพราะเขาราคาถูก เราซื้ออย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น โรงพยาบาลขอนแก่นไม่เรียกรับเงิน เป็นเพียงการที่เขาบริจาคทั่วประเทศ ซึ่งโรงพยาบาลขอนแก่น นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น โดยทุกบาททุกสตางค์ ใช้ไปกับการพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น ใน 3-4 ด้าน คือด้านอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น หลังคารั่ว เงินบำรุงอาจไม่พอ ไม่อยู่ในแผน ก็ต้องใช้เงินบริจาคส่วนนี้ ทำลานจอดรถ ทำทางเชื่อมอาคาร วางระบบไอที ระบบคอมพิวเตอร์ ในตึกหัวใจ แล้วนอกจากนั้นก็ซื้อครุภัณฑ์บางอย่างที่จำเป็น มีทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง การพัฒนาบุคลากร"

คือ หนึ่งในคำชี้แจงของ นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น  ต่อเงื่อนปม 7 ประเด็นในรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีถูกร้องเรียนกล่าวหาและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เรื่องการเรียกรับเงินจากบริษัทยา ร้อยละ 5 ซึ่งเข้าข่ายเรียกรับผลประโยชน์ต่างตอบแทน ระหว่างเดือน มี.ค. - ต.ค. 2561 ตามที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)  นำมาเสนอไปแล้ว

เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปเงื่อนปม 7  ประเด็นในรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำโต้แย้งของ นพ.ชาญชัย มานำเสนอ ณ ที่นี้อีกครั้ง 

@ ข้อร้องเรียน 7 ประเด็น

สืบเนื่องจาก ปลัด สธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1161/2562 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 เนื่องจากมีการร้องเรียนกล่าวหา นายชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น และนางอังคณา ภูนาแก้ว หัวหน้างานบัญชี มีประเด็นข้อร้องเรียน 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 นายชาญชัย ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น สั่งให้มีการเรียกเก็บเงินจากบริษัทยา และร้านค้าต่างๆ ในอัตราประมาณร้อยละ 5 ทั้งที่ ป.ป.ช. และ ก.สาธารณสุข ได้สั่งให้ยกเลิกไปแล้ว แต่นายชาญชัย ยังเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากทุกบริษัท โดยไม่ส่งคืนเงินบำรุง โดยสั่งให้นำเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น” เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2560

หัวหน้างานบัญชี ได้นำเงินดังกล่าวไปฝากที่ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2560-25 กันยายน 2561 เพียงไม่ถึง 10 เดือน กลับมีเงินไหลเข้าออก ในสมุดบัญชีเป็นจำนวนถึง 8 เล่ม มีการถอนเงินจากบัญชีไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

ประเด็นที่ 2 นายชาญชัย ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น ได้อ้างคืนกำไรให้กับสมาชิกสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งที่สวัสดิการร้านค้าเปิดดำเนินการเพียง 5 เดือน ( ทั้งที่ปกติควรปันผลหรือคืนกำไรเป็นรายไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี ) โดยอ้างกำไร 6.69 ล้านบาท และสั่งจ่ายเจ้าหน้าที่คนละ 2,000 บาท สั่งจ่ายจำนวน 3,433 คน รวม 6,866,000 บาท โดยเร่งรีบประชุมกรรมการนโยบายหลังคำสั่งย้ายออกเพียง 1 วัน และอีก 2 วัน เงินถูกโอนเข้าบัญชีอย่างเร่งรีบ

ประเด็นที่ 3 เป็นที่น่าสังเกตว่า นายชาญชัย ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น อ้างว่าร้านค้าสวัสดิการ มีกำไร โดยคิดจากยอดขายและยอดสั่งซื้อสินค้าในช่วง 5 เดือน ดังนั้น ในบัญชีของสวัสดิการร้านค้านั้น จะไม่มีเงินสดเหลือในมือ เนื่องจากกำไรก็คือมูลค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่นายชาญชัยกลับสั่งให้โอนเงิน จากกองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งที่ ก่อนหน้านี้ นายชาญชัย ไม่เคยโอนเงินดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่มาก่อน

ประเด็นที่ 4 นายชาญชัย ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น และหัวหน้างานบัญชี ได้ส่งมอบงานต่อรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โดยได้ส่งมอบเงินงบประมาณรวม 15 บัญชี และส่งมอบบัญชีกองทุน 13 บัญชี แต่ไม่ได้ส่งมอบบัญชีกองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่นให้ รวมถึงไม่ได้ส่งมอบบัญชีดังกล่าวให้นายเกรียงศักดิ์ ที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น นายเกรียงศักดิ์จึงต้องไปลงบันทึกประจำวันเพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการขอ Statement จากธนาคารด้วยตนเอง

ประเด็นที่ 5 เมื่อมีการตรวจสอบ Statement จึงพบการเบิกเงินจากบัญชี ในช่วงท้ายปีงบประมาณอีกเป็นจำนวนมาก เช่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 เบิกไป 4,300,000 บาท ทำให้ยอดคงเหลือจากเดิม ประมาณ 22 ล้านบาทเศษ เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ หลังคำสั่งย้ายนายชาญชัยออก เมื่อวันที่ 2 ต.ค.2561 จนถึงวันที่ 5 ต.ค.2561 ภายในระยะเวลาเพียง 3 วัน มีการเบิกจ่ายเงินผิดปกติเกือบ 16 ล้านบาท

ประเด็นที่ 6 ในช่วงระหว่างที่นายชาญชัย ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า หัวหน้างานบัญชี ห้ามให้ข้อมูลกับนายเกรียงศักดิ์ ที่ย้ายมารับตำแหน่ง ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น หากใครให้ข้อมูล เมื่อนายชาญชัยกลับมา จะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด นายเกรียงศักดิ์จึงแทบไม่ได้ข้อมูลใดๆ เลย นอกจากนี้ เมื่อนายชาญชัยกลับมา ได้สั่งปิดบัญชี แต่ยังคงเรียกเก็บเงินจากร้านค้าและบริษัท

ประเด็นที่7 มีการร้องเรียนด้วยว่า หากนายชาญชัยไปต่างประเทศ แต่หากภรรยาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ภรรยาของนายชาญชัยจะมานั่งเก้าอี้และโต๊ะทำงานของผู้อำนวยการและสั่งงานเจ้าหน้าที่ ทั้งที่ภรรยานายชาญชัยไม่ได้เป็นข้าราชการแต่อย่างใด และในปี 2561 ได้สั่งโอนเงินให้เจ้าหน้าที่ทุกคนกว่า 3,000 คน ครั้งละ 1,000 บาท 2 ครั้ง คือในวันที่ 20 กันยายน 2561 และวันที่ 26 กันยายน 2561 นอกจากนี้ยังให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างไปเกษียณที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามถึง 2 คันรถบัส รวมถึงกรรมการบริหาร ( รวมนายชาญชัย ) และผู้เกษียณไปสหพันธรัฐรัสเซีย 

@ การตรวจสอบข้อเท็จจริง

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญผู้เกี่ยวข้องที่ร้องเรียนมาให้ถ้อยคำ และรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ รวมทั้งเชิญนายชาญชัย มาให้ถ้อยคำแก่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย พยานที่มาให้ถ้อยคำ มีทั้งสิ้น 9 ราย ( นายชาญชัยเป็นรายที่ 9 )
การตรวจสอบ อาทิ พบว่าบัญชีกองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น และร้านค้าสวัสดิการขอนแก่น การเบิกไปใช้ในกรณีต่างๆ และให้ เจ้าหน้าที่เกษียณอายุราชการ ไปเที่ยวเวียดนาม และให้คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลขอนแก่นไปรัสเซีย

โดยในการสอบถามพยาน ได้รับการเปิดเผยว่ารายละเอียดสมุดบัญชี กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น มีการโอนเงินเข้าบัญชีต่างๆ ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีเงินบริจาคของโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 30,000,000 บาทโอนเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาศูนย์หัวใจโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 10,544,572.49 บาท โอนเข้าบัญชีกองทุนสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 10,000,000 บาท

ทั้งนี้ การตรวจสอบข้อเท็จจริงยังลงลึกถึงกระบวนการ ขั้นตอนในการรับเงินจากบริษัท ห้างร้าน บริษัทยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา การโอนเงินเข้าบัญชี การออกใบตอบรับเงินจากบริษัท ห้างร้านต่างๆ โดยจะออกเลขที่ของใบตอบรับไว้ด้วย 

@ หมอชาญชัย ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

นอกจากประเด็นข้อร้องเรียน และการให้ถ้อยคำของพยานรายอื่นๆ แล้ว รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ฉบับนี้ ยังบันทึกคำขอชี้แจงข้อกล่าวหาของนายชาญชัยไว้ด้วยซึ่งนายชาญชัยได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

โดยในประเด็นที่ถูกร้องเรียนว่าเรียกรับเงินบริษัทยา 5% ใจความตอนหนึ่งในคำชี้แจงของนายชาญชัย ระบุว่า

“…ข้าฯ ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นที่ต้องควบคุม กำกับ สั่งการ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว โดยมิได้มีการเรียกรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่างตอบแทนในลักษณะอื่นๆ จากบริษัทยาและร้านค้า เพื่อนำเข้ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น กองทุนสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่นและกองทุนอื่นๆ แต่อย่างใด…”

นายชาญชัยระบุคำชี้แจงในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อสั่งการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดโดยดีมาตลอด อีกทั้ง การที่กล่าวอ้างว่าได้บังคับบริษัทและเจ้าหน้าที่ให้กระทำการที่มิชอบด้วยกฎหมายนั้นก็ไม่เป็นความจริง ผู้ร้องเรียนได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อผู้รับเรื่องร้องเรียน เนื่องจากสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ( Thai Pharmaceutical Manufacture Association : TPMA ) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ ( พรีม่า ) ก็ได้ยืนยันและแสดงเจตนารมณ์ ที่จะร่วมกันป้องกันมิให้มีการกระทำการที่ไม่ถูกต้อง

“...จึงเป็นไปไม่ได้ที่ ข้าฯ จะไปเรียกรับเงินหรือทรัพย์สินจากบริษัทต่างๆ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อภายในโรงพยาบาลขอนแก่นก็ได้ยืนยันข้อเท็จจริงแล้วว่าข้าฯ มิได้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่เรียกรับเงินหรือทรัพย์สินจากบริษัทคู่ค้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากข้าฯ พบการเรียกรับเงินจากบริษัทยาและร้านค้าหรือการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือระเบียบอื่นๆ ข้าฯ จะดำเนินการทางวินัย แพ่ง และอาญาอย่างเด็ดขาด”

ส่วนประเด็นข้อร้องเรียนที่อ้างว่ามีการคืนกำไรให้กับสมาชิกสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งที่ร้านค้าสวัสดิการเปิดดำเนินการเพียง 5 เดือน และสั่งจ่ายเจ้าหน้าที่คนละ 2,000 บาท โดยสั่งจ่าย 3,433 คน รวม 6,866,000 บาท โดยเร่งรีบประชุมกรรมการนโยบายหลังคำสั่งย้ายออกเพียง 1 วัน และอีก 2 วัน เงินถูกโอนเข้าบัญชีอย่างเร่งรีบ

นายชาญชัย ชี้แจงข้อกล่าวหาในประเด็นนี้ มีใจความตอนหนึ่งระบุว่า “สำหรับการสั่งจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขอนแก่นคนละ 2,000 บาทนั้น สืบเนื่องมาจากได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการร้านค้าสวัสดิการอย่างต่อเนื่อง ว่าหากมีผลประกอบการที่ก่อให้เกิดกำไรแล้ว จะมีการเฉลี่ยคืนผลกำไรให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขอนแก่นทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยถือเสมือนว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนมีส่วนร่วมในร้านค้าสวัสดิการเท่าๆ กัน เมื่อมีกำไรเกิดขึ้นย่อมเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก ตามมติของคณะทำงานด้านบริหารจัดการร้านค้าสวัสดิการ ( ร้านสะดวกซื้อ ) โรงพยาบาลขอนแก่น และตามมติคณะอนุกรรมการสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่นครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 ในระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับแนวทางการจ่ายคืนกำไรดังกล่าว”

…

ทั้งหมดนี่ คือ ข้อร้องเรียน 7 ประเด็น  ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง และคำโต้แย้งของ นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงอยู่ในขณะนี้  ซึ่งผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิต่อสู้ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ ทั้งในกระบวนการขั้นตอนการสอบสวนของราชการ และกระบวนการในชั้นศาลต่อไป

14 กรกฎาคม 2563
เขียนโดยisranews

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ยืนยันผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีร้องเรียนกล่าวหาผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ข้อหาทั้ง 7 ประเด็นถูกตีตก ไม่เคยเรียกรับเงิน บ.ยา แค่เงินบริจาคใช้พัฒนา รพ. ชี้บัตรสนเท่ห์ไม่ต่างจากการหว่านแหหาปลา ลั่นทำทุกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ข้อกล่าวหาภรรยา นั่งสั่งการแทนที่รพ.ไร้สาระมาก เจ้าตัวเป็นแม่บ้าน รับส่งลูกไปโรงเรียนเท่านั้น

จากกรณี นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง กรณีมีผู้ร้องเรียน อ้างว่า นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น เรียกรับเงินจากบริษัทยา ร้อยละ 5 ซึ่งเข้าข่ายเรียกรับผลประโยชน์ต่างตอบแทน ระหว่างเดือน มี.ค. - ต.ค. 2561

นอกจากนี้ ปลัด สธ. ยังได้ลงนามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งโยกย้าย นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ให้ไปอยู่กองบริหารการสาธารณสุข และให้นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระปกเกล้า ไปรักษาการแทน กระทั่งในเวลาต่อมาเกิดกระแสเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ นพ.ชาญชัย โดยบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นได้มีการออกมาให้กำลังใจนพ.ชาญชัย จำนวนมาก

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขว่า ในรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีร้องเรียนกล่าวหาผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น พบข้อมูลการร้องเรียนในหลายประเด็นที่ อาทิ นายชาญชัย ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น สั่งให้มีการเรียกเก็บเงินจากบริษัทยา และร้านค้าต่างๆ ในอัตราประมาณร้อยละ 5 ทั้งที่ ป.ป.ช. และ ก.สาธารณสุข ได้สั่งให้ยกเลิกไปแล้ว แต่นายชาญชัย ยังเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากทุกบริษัท โดยไม่ส่งคืนเงินบำรุง โดยสั่งให้นำเข้าบัญชี “กองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น” รวมถึงกรณีการอ้างคืนกำไรให้กับสมาชิกสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งที่ สวัสดิการร้านค้าเปิดดำเนินการเพียง 5 เดือน (ทั้งที่ปกติควรปันผลหรือคืนกำไรเป็นรายไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี ) โดยอ้างกำไร 6.69 ล้านบาท และสั่งจ่ายเจ้าหน้าที่คนละ 2,000 บาท สั่งจ่ายจำนวน 3,433 คน รวม 6,866,000 บาท โดยเร่งรีบประชุมกรรมการนโยบายหลังคำสั่งย้ายออกเพียง 1 วัน และอีก 2 วัน เงินถูกโอนเข้าบัญชีอย่างเร่งรีบ

นอกจากนี้ ยังมีการร้องเรียนด้วยว่า หากนายชาญชัยไปต่างประเทศ แต่หากภรรยาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ภรรยาของนายชาญชัยจะมานั่งเก้าอี้และโต๊ะทำงานของผู้อำนวยการและสั่งงานเจ้าหน้าที่ ทั้งที่ภรรยานายชาญชัยไม่ได้เป็นข้าราชการแต่อย่างใด

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ( www.isranews.org) ได้ติดต่อสัมภาษณ์ นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล เพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว

โดยนายแพทย์ชาญชัย ยืนยันว่าข้อกล่าวหา ทั้ง 7 ประเด็นตกไปหมดแล้ว

เมื่อสอบถามถึงเรื่องการเรียกรับเงิน 5 % นพ.ชาญชัย กล่าวว่า "เราไม่ใช้คำว่าเรียกรับ เพราะไม่มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน เป็นเพียงการบริจาค เป็นธรรมเนียมที่เขาทำมาตั้งแต่ปี 2508 เราไม่ได้เรียกรับ เขาบริจาคให้ รพ. จะบริจาคไปกี่บาท ก็แล้วแต่ แต่ละที่ไม่เหมือนกัน"

นพ.ชาญชัย ยังระบุด้วยว่า กล่าวว่า "ไม่ใช้คำว่าเรียกรับ เพราะว่า เวลาเขาจะบริจาคหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อการขาย ว่าคุณไม่จ่าย เราไม่ซื้อ ไม่ใช่แบบนั้น แล้วมีหลายบริษัทที่ถึงแม้เขาไม่ได้บริจาคให้เรา เราก็ซื้อ เพราะเขาราคาถูก เราซื้ออย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น โรงพยาบาลขอนแก่นไม่เรียกรับเงิน เป็นเพียงการที่เขาบริจาคทั่วประเทศ ซึ่งโรงพยาบาลขอนแก่น นำเงินดังกล่าวเข้ากองทุนพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น โดยทุกบาททุกสตางค์ ใช้ไปกับการพัฒนาโรงพยาบาลขอนแก่น ใน 3-4 ด้าน คือด้านอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น หลังคารั่ว เงินบำรุงอาจไม่พอ ไม่อยู่ในแผน ก็ต้องใช้เงินบริจาคส่วนนี้ ทำลานจอดรถ ทำทางเชื่อมอาคาร วางระบบไอที ระบบคอมพิวเตอร์ ในตึกหัวใจ แล้วนอกจากนั้นก็ซื้อครุภัณฑ์บางอย่างที่จำเป็น มีทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง การพัฒนาบุคลากร"

นพ.ชาญชัย กล่าวย้ำว่า ประเด็นต่างๆ ในข้อร้องเรียนถูกตีตกไปเนื่องจากไม่มีมูล ไม่ต่างจากเขาหว่านแหหาปลาสักตัว เมื่อปลาตัวเล็กติดก็มาขยายให้ใหญ่ขึ้นเป็นการสอบวินัยร้ายแรง

ผู้สื่อข่าวสอบถามในประเด็นที่มีการร้องเรียนว่าภรรยา นพ.ชาญชัย มานั่งสั่งการในโรงพยาบาลเมื่อ นพ.ชาญชัยไม่อยู่

นพ.ชาญชัยตอบว่า “อันนี้ไร้สาระมาก ตรงนี้ แสดงให้เห็นว่า ไร้สาระมาก แฟนผมไม่ได้ทำงานโรงพยาบาล เขาเป็นแม่บ้าน รับส่งลูกไปโรงเรียน”

นพ.ชาญชัย ยังระบุด้วยว่า "ส่วนที่กรณีมีการโจมตีว่าพาบุคลากรไปต่างประเทศ ในครั้งหนึ่งก็เนื่องจากทางญี่ปุ่นเชิญมา เราก็ไปประชุมวิชาการ แล้วนอกจากนั้นก็ไปรับรางวัลที่ไต้หวัน เป็นรางวัลระดับโลก เกี่ยวกับการผ่านเกณฑ์จริยธรรมระดับโลก นอกจากนี้ เงินในกองทุนพัฒนาฯ ยังถูกนำไปใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ เนื่องจากโรงพยาบาลขอนแก่น เป็นโรงเรียนแพทย์ ผลิตผู้เชี่ยวชาญใน 9 สาขา บางทีก็ต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมาจากสถาบันต่างๆ ก็ต้องมีการเลี้ยงรับรอง ผู้ตรวจราชการมาก็ต้องเลี้ยงรับรอง เหล่านี้ก็คือเกี่ยวกับการเสริมสร้างภาพลักษณ์

“ทุกอย่างเราโปร่งใสหมด เราตีเช็คหมด คนที่รับเช็คไปไม่ใช่ผมแม้แต่ครั้งเดียว ทุกอย่างตรวจสอบได้” นพ.ชาญชัยระบุ

14 กรกฎาคม 2563
เขียนโดยisranews