ผู้เขียน หัวข้อ: สถานการณ์การแพร่ระบาดโรค “โควิด-19”  (อ่าน 4448 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
พยาบาลสาวท่านหนึ่งจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ฝากข้อความถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลสาวท่านหนึ่งจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ฝากข้อความถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับประเด็นดราม่า ที่ไปให้สัมภาษณ์นักข่าว ขณะไปเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “CLEAN Together : คนไทยรวมพลังป้องกันโรค” จน #อนุทิน , #อนุทินออกไปเหอะ ปะทุขึ้นมาในโลกทวิตเตอร์ ที่แม้เจ้าตัวจะอัดคลิปขอโทษ แต่ก็ดูเหมือนว่า สิ่งที่ รมต.กระทรวงสาธารณสุข พูดไปนั้น ถูก ปชช. รวมถึงหมอจากหลายที่พิพากษาไปแล้ว

คุณหมอจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
อยากให้ท่านเอาชุดป้องกันเชื้อที่เหมือนชุดมนุษย์อวกาศที่ท่านชอบใส่กัน เอามาให้พวกหนูใส่ปฏิบัติงานหน่อยคะ
พวกหนูเสี่ยงกว่าพวกท่านไม่รู้กี่เท่าแต่ไม่จัดหาอุปกรณ์เซฟตี้ให้...ส่วนพวกท่านนี่งานความเสี่ยงต่ำแต่ใส่ชุดออกงานยังกะจะไปรบกับสปาร์ตัน
ภาพซ้ายมือ ท่านบอกว่าหวัดธรรมดา ดูชุดท่านสิคะ ตอนที่ท่านไปเยี่ยมคนไทยที่กลับจากจีนท่านใส่ชุดนี้

ภาพขวามือ เสื้อฝนคะท่าน (อุปกรณ์สำหรับพยาบาลชุมชน) พวกหนูต้องไปติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหาย แต่ต้องกักตัว ต้องรายงานผลทุกวันคะ ท่าน
พวกเราบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีใครอยากติดโรคหรอกค่ะ เราทุกคนดูแลคนไข้ด้วยความระมัดระวังอยู่แล้ว ถ้าคุณในฐานะผู้นำ ในฐานะผู้รับผิดชอบ ถ้าไม่ให้กำลังใจ แล้วยังมาว่าเราไม่ดูแลตัวเองแบบนี้ เราก็หมดกำลังใจในการทำงานเป็นเหมือนกันนะ
#อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พอยังกล้าพูดว่าไม่ระวังตัวเอง

27 มีนาคม 2563
https://www.komchadluek.net/news/regional/424721?utm_source=tiein&utm_medium=internal_referral

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สลด! บุสคลากรทางการแพทย์ สร้างอุปกรณ์ใช้เอง
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 27 มีนาคม 2020, 16:05:17 »
บุคลากรทางการแพทย์ เผยภาพสร้างอุปกรณ์
กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ได้ออกมาตำหนิแพทย์ที่ติดเชื้อโควิดเพราะไม่ดูแลตัวเอง ไม่ได้ติดจากการดูแลคนไข้ ก่อนที่จะออกมาขอโทษว่า เป็นการสื่อสารผิดพลาดเนื่องมาจากความกดดันและไม่ได้ตั้งใจจะตำหนิหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนนั้น
 คลิกลูกศรเพื่อชมภาพชุดโดยพบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นได้ทวีตข้อความและภาพที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกำลังช่วยกันประกอบชิ้นส่วนเพื่อครอบคนไข้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้จำกัดบริเวณไม่ให้เชื้อกระจายไปทั่วบริเวณ

พร้อมกันนั้นได้เขียนข้อความว่า "คนที่ต้องทำงานด่านหน้าต้องเจอคนไข้ ต้องมาเสี่ยงเจอเชื้อโรคแบบพวกเรา ฟังแล้วมันบั้นทอนจริงๆนะ สิ่งที่พวกเราควรจะได้รับจากรบ.กลับไม่มี แล้วต้องมาทำกันเองใช้เงินตัวเอง นี่หรอที่บอกว่าเราไม่ป้องกันตัวเอง? #อนุทิน เราขอเป็นตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์ ขอบคุณพวกคุณทุกคนมากๆเลยนะคะ ตอนนี้อะไรที่เราสามารถช่วยกันได้ มันจะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ"
นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่สะท้อนปัญหา ว่า ได้จัดเวรสำหรับคัดกรองโรค 24 ชม. แต่ชุดไม่พอใส่ ต้องเย็บชุดกันเอง แมสก์ก็ไม่พอ คิดวิธีให้รัดกุมที่สุด แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนอะไรเลย พอติดเชื้อ กลับมาด่าบุคลากร เป็นไรมากป่ะ ท่ามกลางความคิดเห็นที่ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จำนวนมาก

27มีค2563
https://www.msn.com/th-th/news/national/บุคลากรทางการแพทย์-เผยภาพควักเงินสร้างอุปกรณ์%e2%80%8bดูแลตัวเองดีที่สุดแล้ว/ar-BB11LKmk?li=BBr8Hnw?ocid=threcir

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เว็บไซต์เดลีเมล์ รายงานเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ว่า พยายามอิตาลีฆ่าตัวตาย หลังจากพบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 และกลัวว่าจะนำเชื้อไปติดให้กับคนอื่น
ข่าวระบุว่า พยาบาลคนดังกล่าว ชื่อ แดนีลา เทรซซี วัย 34 ปี ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในแคว้นลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากโควิด-19 โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งเต็มไปด้วยคนไข้ที่ป่วยจากโควิด-19 ขณะที่เทรซซีทำงานอยู่ในแผนกห้องไอซียู ที่โรงพยาบาลซาน เกราร์โด เมืองมอนซา นอกเมืองมิลาน และพบว่าตัวเองป่วยเป็นโควิด-19 เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา จึงได้กักตัวเองเอาไว้ และมีอาการดีขึ้นขณะพักอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง โดยไม่ได้ถูกจับตาดูจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ก่อนจะพบว่าเธอได้ฆ่าตัวตายขณะอยู่ที่บ้านพัก
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป แต่ก่อนที่จะพบศพเทรซซีเคยบอกว่า เธอรู้สึกกดดันอย่างหนัก และกลัวว่าเธอจะนำเชื้อไปติดให้กับคนอื่น

26มีค2563
https://www.msn.com/th-th/news/world/สลด-พยาบาลอิตาลีฆ่าตัวตายหลังป่วย-โควิด-19-กลัวจะไปติดคนอื่น/ar-BB11ID19?li=BBr91nk?ocid=threcir

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19 รวม 11 คน สธ.รับมีทั้งคนติดจากผู้ป่วยที่ไม่บอกประวัติ และคนที่ไปสังสรรค์จนติด ทำให้บุคลากรที่ใกล้ชิดต้องกักตัวไปด้วย ขณะที่ ผอ.รพ.ในสมุทรปราการติดโควิด-19 ยังไม่รู้ติดจากแหล่วใด แต่มีบุคลากรใกล้ชิดต้องกักตัว 21-22 คน ตรวจเบื้องต้นยังไม่พบเชื้อ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตยังไม่มีข้อมูลเชิงลึก

วันนี้ (27 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 จาดเว็บไซต์กรมควบคุมโรค พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 11 คน ได้แก่ผู้ป่วยรายที่ 34 , 765-768 , 866-867 , 953 และ 979-981 โดยมีทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับารติดเชื้อมีหลายสาเหตุ ทั้งการติดจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้บอกประวัติความเสี่ยง การติดจากผู้สัมผัสใกล้ชิด

นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า บุคลากรสาธารณสุขก็เหมือนคนทั่วไป ที่มีการใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกด้วย โดยการติดเชื้อของกลุ่มบุคลากรมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ติดเชื้อระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากคนไข้ไม่ได้บอกประวัติความเสี่ยง  และ 2.กลุ่มที่ไปติดจากที่อื่น ทั้งนี้ เราห้ามไม่ได้ การที่บุคลากรสาธารณสุขจะไปมีสังคม ไปสังสรรค์ที่อื่น หรือมีภารกิจจำเป็นในพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่ได้กักตัวเอง 14 วัน ตรงนี้ทำให้มีผลกระทบกับผู้ร่วมงาน เพราะหลังจากที่ตัวเองมีผลเป็นบวกแล้ว ผู้ร่วมงานกลายเป็นว่า ต้องถูกกักตัว จึงเสียทรัพยากรคนกลุ่มนี้ไป 14 วัน

เมื่อถามถึงกรณี ผอ.รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการที่ติดโรคนี้ด้วย  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนนี้อยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลสอบสวนโรคว่า ติดจากไหนอย่างไร อยู่ระหว่างรวบรวมการเชื่อมโยงผู้สัมผัสใกล้ชิดเป็นใครบ้าง คาดว่าเร็วๆ นี้จะแถลงรายละเอียดได้

เมื่อถามถึงกรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนักเพิ่มขึ้น 7 ราย เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ยังไม่รับรายงานข้อมูลตรงนี้

ถามต่อว่าคนที่เสียชีวิต ที่จ.นราธิวาส เป็นผู้ที่ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่มาเลเซียหรือไม่  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้เป็นชายไทยอายุ 50 ปี ไปงานร่วมพิธีหรือไม่ตนไม่มีข้อมูล แต่ผู้ป่วยรายนี้มารับการรักษาที่ รพ.สุไหงโก-ลก ส่วนการจัดการศพในส่วนของผู้ป่วยที่เป็นชาวมุสลิมก็มีแนวทางของจุฬาราชมนตรีอยู่แล้ว

ถามอีกว่าผู้เสียชีวิต จ.นราธิวาส ไม่ได้อยู่ในผู้ป่วยอาการหนักก่อนหน้านี้ ถือว่ามาแล้วรุนแรงจนเสียชีวิตเลยหรือไม่ หรือมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ตนยังไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้

เมื่อถามถึงกรณีกลุ่มสนามมวยครบ 14 วันของโรคแล้วแต่ยังมีการเจอผู้ป่วยในกลุ่มสนามมวยอีก  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ถ้านับ 14 วันก็ถือว่าครบไปแล้วเมื่อวันที่ 20-21 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่สนามมวยยังมีการเปิดต่อไปจนถึงวันที่ 9 มี.ค. แล้วค่อยปิด ก็อาจจะยังมีคนใกล้ชิดอยู่อีก ทั้งนี้ หากติดตามกลุ่มสนามมวย พบว่าเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. และเริ่มพบเวทีราชดำเนินวันที่ 5 มี.ค. และลุมพินีวันที่ 6 มี.ค. เพราะมีเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน คือ คนดูมวย จากข้อมูลพบว่ามีประมาณ 5 พันกว่าคนดูในสนาม ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ต่อมาก็ทยอยกันป่วย แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไปสนามมวย แต่ไม่แสดงตัว ทั้งที่ สธ.ได้อนุโลมว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มีรายงานผู้ป่วยทุกวัน จึงเชิญชวนให้ออกมาตรวจร่างกายว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่มีเชื้อไปแพร่เชื้อในชุมชน อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้เมื่อกลับบ้าน ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด ก็ไปคลุกคลีคนใกล้ชิดในครอบครัวหรือจากภารกิจหน้าที่การงาน โดยที่ไม่ได้ระมัดระวังการจะแพร่เชื้อในชุมชน เมื่อเขาเป็นผู้ป่วย คนรอบๆ ก็คือผู้สัมผัสใกล้ชิด และเมื่อคนใกล้ชิดป่วย ก็จะมีผู้ใกล้ชิดต่ออีก หากตีความคือกลุ่มสนามมวยถือเป็นวงที่ 1 คนสัมผัสใกล้ชิดเป็นวงที่ 2 หากตะครุบวงที่ 1 ได้ครบ การติดตามวงที่ 2 ก็ง่าย แต่หากมีหลุดรอกก็อาจมีขยายไปวงที่ 3 และ 4 ซึ่งคาดว่าผู้ป่วยในช่วงนี้น่าจะเป็นวงที่ 3

นพ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จากการศึกษาของออสเตรเลียพบว่า ถ้าประชาชนยอมรับมาตรการของรัฐและร่วมมือปฏิบัติตามในระดับที่ต่างกันก็จะให้ผลต่างกัน สำหรับประเทศไทยตอนนี้คือการขอความร่วมมืออยู่บ้านและมีระยะห่างทางสังคม หากร่วมมือ 90% จะสามารถหน่วงสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ให้เกิดน้อยไปเฟสสามได้สบาย มีสถานที่เตียงรองรับเพียงพอ แต่หากลดมา 80% หรือ 70% จะมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งกรมควบคุมโรคก็อยู่ระหว่างการสำรวจถึงความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนอยู่

นพ.พรณรงค์ ศรีม่วง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึงกรณี ผอ.รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการมีการติดโรคโควิด-19 ว่า จากการที่ ผอ.รพ.ดังกล่าวติดโรคนั้น ทำให้มีเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสใกล้ชิดกับ ผอ.คนดังกล่าวประมาณ 21 - 22 ราย ขณะนี้ทุกรายได้รับการตรวจเชื้อเบื้องต้น และยังไม่พบว่ามีรายใดติดเชื้อ แต่ทุกรายก็ต้องทำการกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนการสอบสวนหาสาเหตุของการติดโรคนั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าติดมาจากแหล่งใด โดยผู้ที่ลงมาสอบสวนโรคนั้นคือกรมควบคุมโรค ทั้งนี้ภายหลังจากทราบเรื่องว่ามี ผอ.รพ.ติดโรคทางโรงพยาบาลก็ได้มีการทำความสะอาดโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว

 27 มี.ค. 2563 14:22   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองเจ้าหน้าที่ทำงานสู้โรคโควิด-19 จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท ชี้มีความหมายมากสำหรับผู้ปฏิบัติงานเสริมความมั่นใจการทำงาน

วันนี้ (6 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คณะผู้บริหาร คปภ. นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย และผู้บริหารบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 20 บริษัท เพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท

นายอนุทินกล่าวว่า ขอขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เห็นว่าเมืองไทยเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ คนไทยไม่ทอดทิ้งกันไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน นี่คือสิ่งสำคัญที่เป็นขวัญและกำลังใจ การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขด้วยความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเป็นแบบบูรณาการ ทำงานร่วมกันทั้งแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองในอำเภอ ทุกคนอาจต้องสัมผัสกับผู้ป่วย เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคลากรอย่างสูงสุด เพราะทุกคนที่ไปทำงานจะต้องได้รับการอบรมในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ และหวังว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ติดเชื้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพลังของท่านที่คอยให้ความช่วยเหลือรัฐบาลในช่วงนี้

“กรมธรรม์ที่มอบให้ในวันนี้มีความหมายมากสำหรับผู้ปฏิบัติงานดูแลพี่น้องประชาชนที่เข้าข่ายเฝ้าระวัง จะช่วยเสริมกำลังใจ เสริมความเชื่อมั่นแก่ผู้ทำงาน ไม่ใช่เรื่องของจำนวนเงิน แต่เป็นเรื่องของความเชื่อมั่น และหวังว่าบุคลากรทุกคนปลอดภัย จะทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลตนเองให้มากที่สุด” นายอนุทินกล่าว

6 มี.ค. 2563 14:02   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” ยัน สธ.- รัฐบาล ไม่เคยคิดกดดันหมอโอ๊ต มุ่งแก้วิกฤตโควิด-19

วันนี้ (7 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีโลกโซเชียลมีเดีย ติดแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพราะหลังจากออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 รวมถึงการบริหารงานของรัฐบาล แต่กลับถูกกดดันให้ลบโพสต์ และมีผลกระทบหน้าที่การงานและอาจจะถึงขั้นถูกยึดใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ว่า ยืนยันว่า ไม่มีการกดดันอะไรจากกระทรวง หรือรัฐบาล เราคงไม่มีเวลาไปนั่งทำเรื่องพวกนี้ แม้แต่ในความคิดยังไม่เคย ตอนนี้มุ่งเรื่องการควบคุมโรคโควิด-19 เรื่องอื่นไม่ได้คิดที่จะทำนอกเหนือจากนี้

ด้าน นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า ตนได้รับรายงานว่า แพทย์ท่านนี้ทำงานอยู่ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกระทรวงสาธารณสุขเลย และกระทรวงเองไม่มีอำนาจไปสั่งแพทยสภาให้ไปพิจารณาตัดสินอะไรใคร

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ในฐานะที่เป็นแพทย์ด้วยกัน มองว่า การออกมาแสดงความเห็นถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแพทย์หรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า การแสดงความเห็นทำได้ และที่หมอสื่อสารออกมาก็ไม่มีอะไรต่างกันกับที่กระทรวงสาธารณสุข อยากสื่อสารถึงประชาชน แต่เราสื่อสารให้มีรสชาติแบบนั้นไม่ได้ เพราะเป็นกระทรวง การมีเจตนาดีก็สื่อสารไปได้ แต่ต้องทำให้เหมาะสม การเลือกใช้ภาษาถ้อยคำเหมาะสม เพราะเป็นการสื่อสารกับคนหมู่มาก ยืนยันว่า กระทรวงไม่ได้มีการกดดันหมอท่านนี้

7 มี.ค. 2563 16:27   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
กาะติดสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด สำหรับโรคปอดอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสโควิด -19 ที่กำลังระบาดในจีน โดยเริ่มมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน จนตอนนี้โรคไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังกระจายไปทุกมณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ ของจีน และหลายประเทศทั่วโลกจนมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 95,000 ทั้งยังทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,200 คนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด คนแห่ติดแท็ก #saveหมอโอ๊ต หลังเจ้าตัวออกโพสต์คลิปพูดเรื่องหน้ากากอนามัย ผีน้อย และรัฐบาล แล้วลบไปตั้งแต่วันแรกๆ เชื่อโดนกดดันให้ลบคลิป จนขึ้นเป็นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ไทยเทรนด์ในช่วงสายของวันนี้ สำหรับแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพื่อปกป้อง หมอโอ๊ต หรือ นพ.ศรุต ประวิตรกุลวัฒน์ นายแพทย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของช่องยูทูบ OuixZ ที่นำเสนอเรื่องราวสาระความรู้ในเรื่องสุขภาพ ที่มีผู้ติดตามกว่า 549,000 คน

แฮชแท็กดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากหมอโอ๊ตออกมาขอร้องให้ทุกคนลบคลิปที่ออกมาพูดเกี่ยวกับโควิด-19 และประเด็นผีน้อย ซึ่งในคลิปหมอโอ๊ต ออกมาพูดเรื่องหน้ากากอนามัย เรื่องผีน้อย โดยระบุว่า หากปล่อยผีน้อยเข้าไทยโดยไม่กักตัว แล้วเชื้อโควิด-19 แพร่กระจายออกไป ก็มีความเสี่ยงที่คนจะติดกันเยอะมาก

แม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตแค่ 2% แต่หากคนติดเชื้อโคโรนาไวรัส 1 ล้านคน คนตายก็ 20,000 คนแล้ว ทั้งนี้ บางช่วงบางตอนหมอโอ๊ตได้มีการพูดถึงการเมืองสั้นๆ ด้วยตัวย่อที่ว่า ผนงรจตกม. ซึ่งเป็นตัวย่อที่ฮิตใช้กันในโซเชียลกันอย่างมากก่อนหน้านี้
 
แม้คุณหมอจะลบคลิปดังกล่าวไปตั้งแต่วันแรกที่ลงแล้ว แต่ก็ยังมีคนดูดคลิปไปแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย ซึ่งคาดว่าเรื่องดังกล่าวจะสร้างความเดือดร้อนให้กับหมอโอ๊ต เจ้าตัวจึงออกมาขอร้องให้ทุกคนลบคลิป พร้อมขออภัยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และและไม่ได้ไตร่ตรองให้ดี พร้อมชี้แจงว่าตนไม่มีเจตนาที่ไม่ดี เพียงแค่อยากสื่อสารเรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 เท่านั้น
 
ทั้งนี้ ชาวทวิตเตอร์พากันติดแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพื่อให้กำลังใจ เพราะเชื่อว่าหมอโอ๊ตออกมาพูดความจริง แต่อาจจะถูกเล่นงานจนต้องออกมาขอโทษและลบคลิป

2020-03-06
https://www.tnews.co.th/social/522245/โซเชียลร่วมแชร์saveหมอโอ๊ต-ตีแผ่ปมผีน้อยทะลักไทย-เสี่ยงแพร่ไวรัสโควิด-19-แต่โดนถล่ม

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ (27 มี.ค.) อยู่ที่ 531,860 คน และเสียชีวิต 24,057 คน สหรัฐฯ แซงจีนขึ้นที่ 1 มีผู้ติดเชื้อมากสุด วิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจเผยเป็นไปได้ที่ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลก สูงสุดถึง 1.8 ล้านคนในปีนี้ ถึงแม้ทั่วโลกจะออกมาตรการที่รวดเร็วและแข็งกร้าว ส่วนเรือรบสหรัฐฯ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ พบลูกเรือติดเชื้อ 25 นาย

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (27 มี.ค.) ว่า วิกฤตโควิด-19 ทั่วโลกที่ในเวลานี้สหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อแซงหน้าจีนที่ 85,653 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 1,290 คน อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ของเช้าวันนี้ (27)

โดยในเวลานี้พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกอยู่ที่อิตาลี 8,215 ราย และสหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดที่ 85,653 คน เทียบกับจีนที่มีตัวเลขการติดเชื้อในวันศุกร์ (27) ที่ 81,782 คน เสียชีวิต 3,291 คน และหายป่วย 74,181 คน

ขณะที่ผู้หายป่วยทั่วโลกทั้งหมด 122,203 คนพบว่า จีน อิหร่าน และอิตาลี เป็น 3 ชาติแรกที่มีจำนวนผู้หายป่วยมากที่สุด โดยจีนมีจำนวน 74,181 อิหร่าน 10,457 คน และอิตาลี 10,361 คนตามลำดับเทียบกับสหรัฐฯที่มีจำนวนผู้หายป่วยแค่ 713 คนของวันศุกร์ (27) และสหรัฐฯ ยังมีจำนวนการรักษาหายต่ำเมื่อเทียบกับชาติตะวันตกอื่นๆเป็นต้นว่า อิตาลีที่มีจำนวนผู้หายป่วยที่ 10,361 ราย สเปน 7,015 เยอรมัน 5,673 ราย

มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ของสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกวันนี้ (27) อยู่ที่ 532,253 คน และเสียชีวิต 24,072 คน

ล่าสุดวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจชื่อดังของอังกฤษได้ออกตีพิมพ์ผลการวิจัยที่ออกมาชี้ว่า อาจจะได้เห็นจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโควิด-19 ในปีนี้สูงสุดที่ 1.8 ล้านคนถึงแม้ว่ารัฐบาลทั่วโลกจะออกมาตรการที่รัดกุมและรวดเร็ว

โดยเดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษรายงานว่า โมเดลการศึกษาของวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับความรุนแรงของการระบาด ที่มีปัจจัย 1. การติดต่อ 2. อัตราการเสียชีวิต 3. ภูมิประชากรศาสตร์ และ 4. ปัจจัยทางสังคมอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ

และเป็นที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นเพราะผลการวิจัยชี้ว่า ***หากว่าปล่อยให้เกิดการระบาดโดยที่ไม่มีการตรวจ*** นักวิจัยวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจชี้ว่า เชื่อว่าไวรัสโคโรนาจะทำให้เกือบทุกคนบนโลกใบนี้ติดเชื้อปีนี้ และมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 40 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคน

การวิจัยชี้ว่า ถึงแม้ว่าจะใช้มาตรการควบคุมโรคเร็วจะมีผลอัตตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.2 ต่อประชากร 100,000 คนในแต่ละสัปดาห์ และคาดจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมปีนี้ที่ 1.86 ล้านคน และเกือบ 470 ล้านคนติดเชื้อ

แต่หากว่ามาตรการควบคุมโรคถูกนำออกมาใช้ล่าช้า จะทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยที่ 1.6 ต่อประชากร 100,000 คนของในแต่ละสัปดาห์

โดยในรายงานกล่าวว่า ทางคณะผู้วิจัยใช้ฐานข้อมูลจากจีนและประเทศที่ร่ำรวย

ล่าสุด CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า เรือบรรทุกเครื่องบินรบสหรัฐฯ USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (USS Theodore Roosevelt) มีลูกเรือติดเชื้อโควิด-19 ถึง 25 นาย ห่างออกไปแค่ 2 วันหลังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศว่า มีลูกเรือ 3 นายที่อยู่บนเรือมีผลการติดเชื้อเป็นบวก

กองทัพเรือสหรัฐฯชี้ว่า อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มโดยแหล่งข่าวคนแรกเปิดเผยว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่มีเคสใหม่จำนวนหลายสิบคน ส่วนแหล่งข่าวคนที่ 2 ให้ข้อมูลว่า มีตัวเลขเคสเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้น

โดยทางสื่อสหรัฐฯ ชี้ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อบนเรือรบบรรทุกเครื่องบิน USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ราว 25 นาย

โดยผู้บัญชาการปฏิบัติการทางเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ CNO (Chief of Naval Operation) พล.ร.อ.ไมค์ กิลเดย์ (Mike Gilday) กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า “ทางเรามั่นใจว่าการตอบโต้อย่างรุนแรงของเราจะช่วยให้เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ สามารถตอบสนองต่อวิกฤตใดๆในภูมิภาค”

อย่างไรก็ตาม CNN ชี้ว่า ไม่เชื่อว่าทางเพนตากอนจะออกมาเปิดเผยถึงจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในกองทัพเรือสหรัฐฯ ท่าท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อบนเรือเนื่องมาจากวิตกต่อชาติที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรของอเมริกา เช่น จีน และเกาหลีเหนือ ที่อาจมองว่าเรือรบลำนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการโจมตีขึ้นได้

ซึ่งช่วงต้นของวันทางรักษาการรัฐมนตรีทบวงทหารเรือสหรัฐฯ (Navy Secretary) โทมัส มอดลีย์ (Thomas Modly) ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีลูกเรือจำนวนหนึ่งไม่กี่คนบนเรือรบธีโอดอร์ โรสเวลต์ ติดเชื้อ แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขที่แน่นอน

“ทางเราในเวลานี้กำลังทำการทดสอบ 100% ของจำนวนลูกเรือทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถควบคุมไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดการระบาดขึ้น” มอดลีย์กล่าวในการแถลงสรุปเช้าวันพฤหัสบดี (26) บนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์มีจำนวนลูกเรือทั้งหมด 5,000 นาย

อ้างอิงจากมอดลีย์พบว่า ในเวลานี้เรือรบกำลังอยู่ระหว่างการถูกนำกลับเข้าเกาะกวม และจะไม่มีลูกเรือที่ได้รับอนุญาตให้ออกไปยังกวมนอกเหนือไปจากบริเวณที่จอด

ทั้งนี้ พบว่าเรือรบลำนี้จอดครั้งสุดท้ายที่เวียดนามเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าลูกเรือได้รับเชื้อครั้งแรกจากที่ใด โดยในเวลานี้ทางกองทัพเรือสหรัฐฯ จะอพยพลูกเรือทั้งหมดกลับทางอากาศ

27 มี.ค. 2563 14:07   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ข่าวปนคน คนปนข่าว
** โควิดอีเดียต ชั่วโมงนี้น่ารังเกียจกว่าไวรัส ยอดคนติดเชื้อทะลุพัน งานเข้า ตจว. สถานการณ์อ่อนไหว “ลุงตู่-หมอหนู” สติต้องไม่หลุด

เมื่อ พ.ร.ก.ฉุนเฉินบังคับใช้ การจัดระเบียบสังคมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดูจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

กระแสตื่นตัว “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หรือทำงานจากบ้าน work from home ก็ดี ของคน กทม.แม้ว่าหากจะดูตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อจะยังสูง ล่าสุดรวมๆ แล้วทะลุ 1,000 รายแล้ว แต่ในความเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาด ทั้งสนามมวย และสถานบันเทิง ก็ดูจะลดลง

ในผู้ป่วยเพิ่ม 111 ราย แจกแจงออกมา พบเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ ทั้งกลุ่มสนามมวย กลุ่มสถานบันเทิง กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว และกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

สรุป มาถึงวันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 88 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 953 ราย เสียชีวิต 4 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,045 ราย

มาตรการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่น การตั้งด่านสกัด การคัดกรองเข้มข้น ถือว่ามาถูกทาง น่าปวดตับ ปวดเศียรเวียนเกล้ากันหน่อยก็ตรง พวกดื้อตาใส ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่รับผิดชอบสังคม หรือพวก "โควิดอีเอียด"

คนพวกนี้ มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจยิ่งกว่าเชื้อไวรัสเสียอีก... ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นทุกวัน ห้ามแล้วก็ยังทำ มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ยังฉุดไม่อยู่ ยังฝืนสังสรรค์ ยังไม่แยกตัว เอาเชื้อไปติดญาติพี่น้องตามต่างจังหวัด สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ตืดเชื้อแล้วรักษา ก็ยัง "หลบหนีออกมาจากโรงพยาบาล" จะเดินทางกลับบ้าน

สถานการณ์ตึงเครียดอ่อนไหวแบบนี้ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ก็ต้องคุมเกมให้อยู่ ใน กทม.อาจจะคุมง่ายขึ้นแล้ว ต่างจังหวัดน่าเป็นห่วงมากกว่าแล้วในตอนนี้ จะต้อง “ลงดาบ” กำราบพวก “โควิดอีเอีดียต” ให้ไม่ไปก่อความเดือดร้อน แพร่เชื้อให้ผู่อื่นก็ต้องจัดการเด็ดขาด

การบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานราชการ ฝ่ายความมั่นคง ประชาชนต้องร่วมด้วยช่วยกันจึงจะรบชนะ หาก “ลุงตู่” คุมเกม คุมสติให้ได้สถานการณ์ความสงบก็จะจบที่ลุงตูอีกครั้ง

ขอย้ำว่า จะหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสได้ต้องหยุดพวกโควิดอีเดียตให้อยู่!

แว่วว่า “โควิดอีเดียต” ไม่ได้มีแต่พวกเจ้าใหญ่นายโต เซเลบ ที่ถืออภิสิทธิ์ วัยรุ่นไม่มีจิตสำนึก แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ มีตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับ ผอ.โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงของกระทรวงสาธารณสุข ก็ยังไม่รู้รับผิดชอบตัวเอง ไปงานเลี้ยงสังสรรค์จนติดเชื้อมาแพร่ให้เจ้าหน้าที่ร่วมโรงพยาบาล จนกลายเป็นเรื่องที่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้กับบุคคลระดับนี้...

นี่อาจเป็นเหตุผลลึกๆ ที่ “หมอหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “การติดเชื้อของแพทย์จากการปฏิบัติหน้าที่ให้การรักษาโควิด ยังไม่มี” แต่มีบางคนที่ติดเชื้อด้วยความประมาท จนต้องกักตัวผู้ร่วมงาน เจ้าหน้าที่ไปหลายคน ขาดกำลังที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย

พอได้รับรายงานแล้วถูกซักถึงมาตรการจะป้องกัน ลดความเสี่ยงให้บุคลากรทางการแพทย์อย่างไรที่ถึงวันนี้ พบว่าติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มกว่า 9 รายแล้ว “หมอหนู” จึงสื่อสารแบบรู้อยู่คนเดียว ออกอาการสติหลุด จนตีความได้ไปอีกแบบ เป็นประเด็นทางสังคมโซเชียลฯ รุมถล่มจนต้องมาขอภัย ขอโอกาสปรับปรุงตัวในการสื่อสารที่มีปัญหา

ความกดดันจากการทำงาน ผสมความเครียดของผู้ที่ต้องรับผิดชอบ วิกฤตแบบนี้เป็นที่เข้าใจได้ นึกๆ ก็น่าเห็นใจจะพูดเปิดเผยหมดเปลือกตามรายงานที่ได้รับก็ยาก เลยออกมาเป็นคำพูดสื่อสารแบบกำกวม “มัวแต่ไประวังของนอกบ้าน ของในบ้านบางทีก็ยังหละหลวมอยู่”

เมื่อ “หมอหนู” ออกมารับผิด สื่อสารไม่ดีแบบแมนๆ ก็ต้องให้กำลังใจกัน

ยามนี้ นักรบเสื้อกาวน์ หมอพยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ คือ คนทำงานหนักมาก และเสี่ยงชีวิต ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักร่วมด้วยช่วยกัน

วันนี้ให้กำลังใจให้กันและกัน เป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้รอดพ้นวิกฤตนี้ออกไปได่ด้วยกัน
** ตั้งกรรมการสอบ “สนามมวยลุมพินี” ฝ่าฝืนคำสั่งนายกฯ ปล่อยให้จัดรายการมวยศึกใหญ่ จนกลายเป็นต้นเหตุการแพร่เชื้อโควิด-19 ทำชาติวิกฤต ...เรื่องนี้ “บิ๊กแดง” ต้องไปให้สุด เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าอำนาจ ผบ.ทบ. ยัง “เอาอยู่หรือไม่” กับอำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ ในกองทัพบก

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อพุ่งพรวดพราดอย่างน่าตกใจ จนถึงวันนี้ได้ทะลุหลักพันคนไปแล้วนั้น สังคมต่างมองไปที่ “สนามมวยลุมพินี” ที่ต้องตกเป็นจำเลย เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงในแต่ละวันที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสนามมวยแห่งนี้ ... เริ่มตั้งแต่ "พล.ต.ราชิต อรุณรังษี" เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก ที่เป็นนายสนามมวยลุมพินี พิธีกร นักมวย เทรนเนอร์ ผู้ติดตามคณะนักมวย รวมไปถึงเซียนมวยที่มาจากทุกสารทิศ ที่รับบทเป็น "Super Spreader" นำพาเชื้อไปแพร่อย่างรวดเร็วทั้งในกรุงและต่างจังหวัด จนทำให้ประเทศต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างทุกวันนี้ ...

ย้อนไทม์ไลน์ไปเมื่อวันที่ 3 มี.ค.63 ได้มีข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตามมติ ครม.ในวันนั้น ขอความร่วมมือ งดจัดการแข่งขันกีฬาที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ...แน่นอนว่า "สนามมวย"ย่อมอยู่ในเกณฑ์สุ่มเสี่ยง เพราะเป็นสถานที่ปิด มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก และมีการส่งเสียงเชียร์อยู่ตลอดเวลา

แต่วันที่ 6 มี.ค. 63 สนามมวยลุมพินี ก็ยังคงจัดรายการมวยศึกใหญ่ "ลุมพินีแชมป์เปี้ยนเกียรติเพชร" มีบรรดาผู้เกี่ยวข้อง และเซียนมวยแห่เข้าชมแน่นขนัด ว่ากันว่าประมาณหมื่นคน ...หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ก็มีข่าวว่า "พล.ต.ราชิต อรุณรังษี" ในฐานะนายสนามมวย ที่ร่วมเป็นประธานสักขีพยาน ก็มีอาการติดเชื้อโควิด-19 แล้วกองบัญชาการกองทัพบก ก็ออกมาแถลงข่าวยอมรับว่า "พล.ต.ราชิต" ติดเชื้อจริง ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า พร้อมกักตัวทหารใกล้ชิด ทั้งในที่ทำงาน และบ้านพักอีก กว่า 30 คน ซึ่งเป็นทหารทั้งหมด... และในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศออกมา ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายการมวยศึกใหญ่ในวันนั้น

ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในเชิงตั้งคำถามว่า ในเมื่อนายกฯ ออกมาประกาศขอความร่วมมือให้ งดจัดกิจกรรมที่รวมคนหมู่มาก การจัดการแข่งขันกีฬาต่างๆ แล้วทำไม “สนามมวยลุมพินี” ซึ่งเป็นของกองทัพบก จึงไม่รับไปปฏิบัติ หรือเป้นเพราะยังห่วงเรื่องผลประโยชน์ รายได้ ... ยังตั้งคำถามไปถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าทำไมไม่ดำเนินการสั่งการให้งดจัดการแข่งขัน ...

เรื่องนี้ก็ได้รับคำชี้แจงจาก "นายวิบูณ จำปาเงิน" ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าเมื่อนายกฯ มีคำสั่งการมาในวันที่ 3 มี.ค. 63 ทางสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยฯ ก็ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายสนามมวยลุมพินี ในวันที่ 4 มี.ค. 63 ขอความร่วมมือผู้ประกอบการสนามมวย นายสนามมวย พิจารณาให้ความร่วมมือตามคำสั่งของนายกฯ ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ...

ทว่า นายสนามมวยลุมพินีกลับยังปล่อยให้โปรโมเตอร์มวยจัดชกมวยกันตามโปรแกรมเดิม มิได้สั่งระงับตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีตามมติ ครม.แต่อย่างใด

"นายวิบูณ จำปาเงิน" อธิบายว่า ที่ทำหนังสือขอความร่วมมือ โดยไม่ได้มีหนังสือสั่งปิด เพราะทาง กกท. มีอำนาจในการดำเนินการเฉพาะสนามมวยที่มีการจัดการแข่งขันทั่วไป แต่ "สนามมวยมาตรฐาน" กกท. ไม่มีอำนาจในการที่จะไปสั่งปิดได้... และเรื่องนี้ก็ไม่อยากให้โทษว่าใครเป็นคนผิด แต่อยากให้ช่วยเหลือกัน เพราะสนามมวยเองก็มีปัญหา นักมวยเองก็สูญเสียรายได้ ...

ฟังคำชี้แจงจากทาง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย กกท. แล้วก็เข้าใจได้ว่า ข้าราชการตัวเล็กๆ คงไม่มีอำนาจ บารมี พอที่จะไป คัด ง้าง กับผู้มีอำนาจ บารมี และผลประโยชน์มหาศาลในวงการมวย... ขณะที่ทางกองทัพบก ซึ่งเป็น "เจ้าของ" เวทีมวยลุมพินี ก็ดูเหมือนจะปล่อยเลยตามเลย หวังจะให้เรื่องเงียบหายไปเอง

แต่ "นักร้อง" อย่าง "ศรีสุวรรณ จรรยา" และ "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" ไม่ยอมปล่อยผ่าน... จึงนำเรื่องไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ให้ตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิด "นายสนามมวยลุมพินี" เพื่อพิสูจน์ให้สังคมประจักษ์ว่า มติ และข้อสั่งการของนายกฯ และ ครม. ยังมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ หรือเอาผิดได้แต่เฉพาะประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น ส่วนนายทหาร ไม่กล้าแตะหรือไม่...

เมื่อเจอทั้งกระแสสังคมรุกหนัก และยังมีผู้ทำเรื่องร้องเรียนถึงนายกฯ เช่นนี้ ... "บิ๊กแดง" พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ก็เริ่มก้นร้อน จึงสั่งการไปเมื่อวานนี้ (26มี.ค.) ให้ "พล.อ.อยุทธ์ ศรีวิเศษ" เจ้ากรมกำลังพลทหารบก ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เรื่องนี้เพื่อพิจารณาความผิดในการลงโทษ...

หากจะว่าไปแล้ว สนามมวยลุมพินี ได้ตกเป็น "จำเลยของสังคม" ว่าเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อ จนทำให้ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ อย่างมิอาจปฏิเสธได้ และต้นเหตุก็มาจากการไม่ให้ความร่วมมือในการที่จะป้องกัน สกัดกั้นการแพร่ระบาด ... แต่ทำไม "บิ๊กแดง" ไม่เข้ามาเทกแอ็กชั่น ตั้งกรรมการสอบสวนแต่เนิ่นๆ ... ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ในช่วงที่เกิดเหตุโศนาฏกรรมที่"ห้างเทอมินอล 21" โคราช "บิ๊กแดง" ยังประกาศว่าจะดำเนินการปฏิรูปกองทัพ จัดระเบียบกันใหม่ ขจัดเหลือบที่เกาะกินผลประโยชน์ จากสนามม้า สนามมวย ...

หรือว่าคำประกาศ คำสั่ง "บิ๊กแดง" ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีอำนาจพอที่จะไปจัดการกับกลุ่มผลประโยชน์ในกองทัพ ผลประโยชน์ในวงการมวย ...จึงมีกรณี "สนามมวยลุมพินี" ขึ้นมาฟ้องต่อสายตาของสังคม

เรื่องตั้งกรรมการสอบ ครั้งนี้ แม้ "บิ๊กแดง" จะมาช้า แต่ก็ยังดี ที่ยังมา...และหวังว่า การสอบสวนต้องเป็นจริงเป็นจัง ต้องไปให้สุด ...ให้ได้คนผิดมาลงโทษ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ทำเอาวิกฤตกันไปทั้งประเทศ ...และสังคมกำลังมองดูอยู่ว่า...อำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ ในกองทัพบกนั้น "บิ๊กแดง" จะเอาอยู่หรือไม่ ผลสอบครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์ !!

27 มี.ค. 2563 08:52   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ข่าวปนคน คนปนข่าว
**ทางแพร่งที่ “ลุงตู่” ต้องกล้าตัดสินใจ โควิด ตจว.จะพัง-ไม่พัง อยู่ที่ “ลุงป๊อก” มหาดไทย มัวเกรงใจกันระวังพิบัติทั่วแผ่นดิน

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามต่างจังหวัดตอนนี้กำลังระส่ำระสาย เมื่อประชาชนจำนวนมากไหลออกจาก กทม.ที่เป็นศูนย์กลางที่พบไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

ความน่าสะพรึงที่พบ คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจังหวัดต่างๆ เริ่มมากขึ้น แม้สังคมโซเชียลฯ จะพยายามรณรงค์ให้อยู่กับที่ ไม่เดินทางเพราะ “กลับบ้าน=แพร่เชื้อ” แต่จะด้วยว่าคนจิตสำนึกสาธารณะ หรือมาตรการรัฐไม่ชัดเจนพอ หรือไม่มีทางเลือก

จากเซียนมวยที่ทยอยกลับบ้านมาถึงคนหมู่มาก แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองเดินทางกลับบ้าน หลายๆ อย่างรวมกัน จนตอนนี้เรียกว่า สถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน ส่อเค้าว่าจะ “เอาไม่อยู่”

ยิ่งเจอประชาชนในพื้นที่เพิกเฉย ทำตัวไม่รู้ร้อนรู้หนาว “ใช้ชีวิตติดประมาท” เข้าไปด้วย ยิ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะเป็นตัวเร่งให้เหตุการณ์เลวร้ายลง จนพ่อเมืองหลายจังหวัดต้องกุมขมับ เท้าก่ายหน้าผาก

แนวโน้มการระบาดถ้าคุมไม่ได้ ว่ากันว่า แค่จังหวัดเล็กๆ อย่างสุรินทร์ น่าจะอยู่ที่ 100,000 คน หรือ 10% ของจำนวนประชากร และถ้าเอาจำลองรูปแบบการระบาดของอู่ฮั่น ประเทศจีน มาจับ ใน 100,000 คน ที่ติดเชื้อ 80,000 คน หรือ 80% ของคนติดเชื้อ จำนวนคนป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ และเครื่องมือมันไม่ได้สัดส่วนกัน ความโกลาหลวุ่นวายจะมีมากขนาดไหน

นี่แค่สุรินทร์ จังหวัดเดียว ถ้ารวมทุกๆ จังหวัด ตัวเลขจะเพิ่มสูงแค่ไหน ลองคิดตามดู

ต้องยอมรับว่า หลัง “พล.ต.อ.อัศวิน ชวัญเมือง” ผู้ว่าราชการ กทม. ประกาศมาตรการปิดสถานที่ ปิดการให้บริการของห้าง แหล่งชุมนุมของคนหมู่มาก ขอให้เอกชน อยู่บ้าน Work from home จากศูนย์กลางที่พบผู้ป่วยติดเชื้อทั้งที่สนามมวย และผับ ค่อยๆ ลดลง

นั่นอาจจะพิสูจน์ได้ว่า มาตรการโดยการปิดเมืองมาถูกทาง ด้านการสาธารณสุขก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะยับยั้งการแพร่ระบาด

หรือมาตรการด้านการคลัง มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบค่อยๆ ทยอยออกมาจะบรรเทาได้แค่ไหนอย่างไร เดี๋ยวค่อยตามว่ากัน

ตอนนี้ปัญหาใหญ่ที่สุดจึงอยู่ที่การดูแลควบคุมการแพร่ระบาดในต่างจังหวัด ว่าจะ “เอาอยู่มั้ย” จะเป็นเรื่องทดสอบผู้ว่าราชการหลายๆ จังหวัด ว่าจะไหวหรือเปล่า

บางจังหวัดที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ บางคนลงพื้นที่ทำงานจริงจัง เด็ดขาดก็ดีไป แต่จังหวัดไหนตัดสินใจไม่ดี ปล่อยปละละเลย คุมไม่ได้ ผลร้ายก็ตามมาอย่างที่เห็นๆ กันที่หาดบางแสน ชลบุรี หรือจะเป็นที่ จ.พิษณุโลก

จังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ จะพัง-ไม่พัง มหาภัยพิบัติจะกระจายไปทั่วแผ่นดินภายใน 30 วัน หรือราวปลายๆ เดือนเมษาฯ จะมีติดเชื้อหลักหลายแสนคน

เหตุการณ์จะเป็นอย่างที่คุณหมอพากันหวาดหวั่น มีคนล้มป่วยเป็นใบไม้ร่วงแบบ “อิตาลี” หรือจะหยุดยั้งได้ คีย์สำคัญอยู่ที้ฝ่ายปกครองอยู่ที่ “มหาดไทย” เต็มๆ เลยงานนี้

ฝ่ายปกครองอยู่ภายใต้มหาดไทย และกระทรวงนี้ย่อมหมายถึง “ลุงป๊อก” พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ ที่ในทางส่วนตัวกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความเกรงใจยิ่งในฐานะ “พี่น้อง 3 ป.”

ว่ากันว่า “ลุงตู่” ให้ความเป็นอิสระแก่มหาดไทยของ “ลุงป๊อก” เพราะความยำเกรงในตัวลุงป๊อกมาตลอด เผลอๆ มากกว่า “ลุงป้อม” พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ “พี่ใหญ่ของ 3 ป.” เสียอีก มหาดไทยอยากจะทำอะไรก็เอาที่พี่ป๊อก สบายใจ ใช่ หรือไม่ ?

ในห้วงวิกฤตโควิด-19 หลุดจาก กทม.ออกไป “พลเอก อนุพงษ์” ควรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงแบ่งเบาภาระของลุงตู่ และรัฐบาล แต่ตามสไตล์ “เสือเงียบ” ของลุงป๊อก ก็เลือกที่จะอยู่เงียบๆ ไม่ออกแอ็กชัน ไม่กระตือรือร้นสั่งการ หรือลุยแสดงบทบาทผู้นำแบบที่ควรจะเป็น

มาตรการของจังหวัด การปกครองลงไปอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ไหนจะชายแดนต่างๆ เครือข่ายและขอบเขตอำนาจมากมายจริงๆ หากทำกันแบบไม่เข้มข้น เต็มที่เกรงว่า ถ้าเป็นแบบนี้ จากตัวช่วยจะกลายเป็นตัวถ่วง น่าเป็นห่วงแทนผู้ว่าฯต่างจังหวัดต้องสู้แบบอาศัยความสามารถเฉพาะตัวกันเอง

ภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน “ลุงตู่” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้บอกว่า “ผมกล้าตัดสินใจอยู่แล้ว ในมาตรการเข้มข้นสูงสุด ผมพร้อมสั่ง”

เมื่อ “ลุงตู่” ประกาศแล้วก็ต้องกล้าล้วงอำนาจมหาดไทย กล้าที่จะใช้อำนาจสั่งการ “ลุงป๊อก” ด้วย

ได้แต่หวังว่า จะได้เห็นความเด็ดขาดนั้นของ “ลุงตู่” ก่อนที่สังคมจะหวังพึ่งอะไรไม่ได้เลย... นอกจากปาฏิหาริย์

ย้ำอีกครั้ง วันนี้มหาดไทยเป็นหลัก หัวใจสำคัญในการยับยั้งไวรัสโควิดจะ “เอาอยู่” หรือ “คุมไม่ได้” อยู่ที่ พลเอก อนุพงษ์

สถานการณ์วันนี้มาถึงทางแพร่งของลุงตู่ ต้องตัดสินใจ เลิกเกรงใจ พี่ป๊อก ได้แล้ว!!

** แก้หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือไม่ได้สักที ระหว่าง “รัฐล้มเหลว” กับจัดการกับ “ประชาธิปัตย์” ลุงตู่ จะเอาแบบไหน?

วิกฤตโควิด-19 หนักขึ้นทุกวัน แต่ทำไมสินค้าที่เป็นเครื่องป้องกันตัวของประชาชนพื้นฐาน อย่าง “หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ” ในท้องตลาดจึงยังหาซื้อไม่ได้ ทั้งๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ก็ประกาศว่าได้ขอให้โรงงานผลิตเพิ่มขึ้นจากวันละ 1.2 ล้านชิ้น เป็น 2.2 ล้านชิ้น

นอกจากคนทั่วไปหาซื้อไม่ได้ แม้แต่โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ก็ยังต้องประกาศขอรับบริจาคหน้ากากอนามัยออกมาเป็นระยะๆ มันสวนทางกันกับนโยบายแก้ปัญหาอย่างไรไม่รู้

แถมตลกร้ายที่สุดก็ตรงที่ว่า ในท้องตลาดไม่มี กลับไปมีขายในตลาดมืด ตลาดออนไลน์กันโจ่งครึ่ม ราคาไม่ต้องพูดถึงขายกันสูงกว่า 2.50 บาท สำหรับหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ถ้าเป็น N95 มาตรฐานสูง ก็ต้องจ่ายชิ้นละเป็นร้อย ขณะที่แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือ เจลล้างมือ ก็ราคาโคตรแพง

ว่ากันว่า นาทีนี้คนไทยไม่รอของ “กระทรวงพาณิชย์” ถ้าใครอยากได้หน้ากากอนามัย-แอลกอฮอล์ ก็แค่สั่งออนไลน์ยอมจ่ายแพงๆ ยอมเจ็บใจถูกโก่งราคาขูดรีดก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรป้องกันตัวเอง

งานนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รมว.กระทรวงพาณิชย์ ได้โอกาสทำงานแต่ผลงานมานานตั้งแต่เริ่มจนปัจจุบันก็อย่างที่เห็น ปัญหาการกักตุน ขายเกินราคา ถามว่า วันนีมีอะไรดีขึ้นบ้าง

คำถามง่ายๆ หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์ ที่วางขายในตลาดมืดและออนไลน์มาจากไหน

พ่อค้าแม่ขายออนไลน์เอาสินค้าพวกนั้นมาจากไหน?

เป็นไปได้หรือไม่ว่า “สินค้าที่กักตุน” หรือเล็ดลอดไปขายตามออนไลน์ ที่จริงแล้วก็มาจากโรงงานที่กระทรวงพาณิชย์เองก็รู้ดี เป็นส่วนเกินที่ผลิตไม่ได้แจ้ง หรือ ของผีที่แอบปล่อยมาขายทำกำไร คล้ายๆ เทปผี ซีดีเถื่อน ในอดีต

เรียกว่า ปัญหานี้แก้ไม่ตกสักที กลไกตลาดพังพินาศ ทั้งๆ ที่ “รมว.พาณิชย์” นั่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมดูแลเอง

ไม่นับรวมปมคาใจของคนในสังคมกรณีขบวนการกักตุนหน้ากากของคนใกล้ชิด ก็ยังไม่คลี่คลาย เจอหน้ากากอนามัยขายออนไลน์เขายกันเอิกเกริกให้ประชาชนตาดำๆ สงสัยอีก งานนี้ “รมว.จุรินทร์” ค่อยๆ ทำให้รัฐบาลจะกลายเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” ไปทีละน้อยๆ

ล้มเหลวต่อการแก้ปัญหาพื้นฐานให้ประชาชนอย่างสิ้นเชิง

ทั้งๆ ที่หนทางแก้ไขไม่ใช่เรื่องที่อับจนสิ้นปัญญา ยกตัวอย่างวันก่อนที่เสนอไปเรื่องของการ “นำเข้า” อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นเร่งด่วน ต้องผ่อนปรนให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศที่สถานการณ์ของเขาคลี่คลาย อย่างจีนเป็นต้น

หรือปลดล็อกโรงงานที่ได้บีโอไอ ส่งออกร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ขอกันปันกันมาช่วยกันหน่อยในยามที่วิกฤตเช่นนี้ อย่างน้อยๆ ให้โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้ไม่ขาดแคลนก่อน

ดีๆ ชั่วๆ ออกมาตรการแรงกับโรงงานที่แอบเอาไปปล่อยในตลาดมืด-ออนไลน์ หรือห้ามขายออนไลน์ชั่วคราว เพื่อนำหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ มาอยู่ในตลาด กำหนดราคาควบคุมใหม่ให้โรงงานอยู่ได้ ประชาชนหาซื้อในตลาดทั่วไปๆ ได้ปกติเสียที ประโยชน์จะตกอยู่กับใครถ้าไม่ใช่ประเทศชาติ

การปล่อยให้เป็นอย่างนี้ นอกจากน่าสงสัยว่า “ใครได้ประโยชน์” จึงไม่เปลี่ยนไม่แก้ตามเสียงร่ำลือ รัฐบาลก็มีแต่เสียกับเสีย เป็นรัฐล้มเหลวคนเสื่อมศรัทธาไปในที่สุด

ถึงเวลาหรือยังที่ “ลุงตู่” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะลงมือผ่าตัดชิ้นเนื้อร้ายวิกฤตศรัทธาหน้ากากอนามัยเสียที

ถึงเวลาหรือยังที่ “ลุงตู่” จะลุกขึ้นมาจัดการกับ"ประชาธิปัตย์" ที่รับผิดชอบเรื่องนี้

ระหว่างรัฐที่ล้มเหลว กับพรรคร่วมที่เป็นปัญหา...ลุงตู่ จะเอาแบบไหน?

24 มี.ค. 2563 09:57   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เอเอฟพี - จีนจะปรับลดเส้นทางเที่ยวบินระหว่างประเทศลงอย่างมากและห้ามชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในแดนมังกรเดินทางกลับเข้ามา ในความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเคสนำเข้าเชื้อโรคจากต่างแดน จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในวันพฤหัสบดี (26 มี.ค.)

พญามังกรไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ในประเทศมา 2 วันติดแล้ว แต่พวกเจ้าหน้าที่มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับตัวเลขเคสนำเข้าเชื้อโรคจากต่างแดนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้พุ่งเหนือ 500 คนแล้ว

ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในจีนด้วยวีซ่าที่ถูกต้องและผู้ถือใบอนุญาตการมีถิ่นพำนัก (Residence Permits) จะถูกสกัดไม่ให้กลับเข้ามาในประเทศหลังจากเที่ยงคืนวันเสาร์ (28 มี.ค.) เป็นต้นไป กระทรวงการต่างประเทศแถลง “การระงับนี้เป็นมาตรการชั่วคราวที่ทางจีนบังคับใช้สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด”

อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงระบุว่า คณะผู้แทนทูตและลูกเรือของสายการบินระหว่างประเทศ รวมถึงลูกเรือของเรือต่างๆ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ

มาตรการนี้มีออกมาแม้จากข้อมูลพบว่าในบรรดาเคสนำเข้าเชื้อจากต่างแดนเกือบ 500 คน เกือบทั้งหมดเป็นพลเมืองจีนที่เดินทางกลับสู่มาตุภูมิ

ขณะเดียวกัน สำนักงานการบินพลเรือนของจีนได้ใช้มาตรการเข้มข้นจำกัดการเดินทางขาเข้าจากประเทศอื่นๆ โดยนับตั้งแต่วันอาทิตย์ (29 มี.ค.) เป็นต้นไป สายการบินจีนแต่ละแห่งจะได้รับอนุญาตให้บินไปยังประเทศต่างๆ เพียงสัปดาห์ละเที่ยว และบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 75% ของความจุ

ส่วนสายการบินต่างชาติแต่ละแห่งจะถูกจำกัดให้บินเข้ามาในจีนได้เพียงสัปดาห์ละเที่ยว และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 75% เช่นกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน บังคับใช้มาตรการให้เที่ยวบินระหว่างประเทศทุกเที่ยวบินที่มีกำหนดลงจอด ณ สนามบินนานาชาติในกรุงปักกิ่งไปลงจอดที่สนามบินอื่นๆ ที่กำหนดไว้เป็นจุดแรกเพื่อคัดกรองผู้โดยสาร จากนั้นกลุ่มผู้โดยสารที่ผ่านด่านตรวจสุขภาพและไม่มีปัญหาใดจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องเดินทางต่อไปที่ปักกิ่ง

อนึ่ง หลายเมืองของจีน ในนั้นรวมถึงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ได้กำหนดมาตรการกักกันโรคเป็นเวลา 14 วันสำหรับทุกคนที่เดินทางมาจากต่างแดน

27 มี.ค. 2563 09:08   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
COVID-19 บทเรียนจากอิตาลี (27มีค2563)
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: 28 มีนาคม 2020, 02:07:40 »
โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ

จากผู้ติดเชื้อ 3 คนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์กลายเป็น 64,000 คนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เพียง 5 สัปดาห์ให้หลังได้อย่างไร คนตายรวม 6,000 คน ตายวันเดียว 600 คน เหล่านี้คือโศกนาฏกรรมของมนุษยชาติ

ขอสรุปบทเรียนจากที่ได้ติดตามสถานการณ์ ได้อ่านรายงาน ได้ฟังการสัมภาษณ์ผู้นำ แพทย์ ประชาชนชาวอิตาเลียน และจากการเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเยอรมนี ที่ได้ติดตาม ได้รู้จักสองประเทศนี้จากการได้ไปศึกษาที่นั่นหลายปี บางอย่างอาจมี “อคติ” บ้าง แต่คงเป็นประโยชน์ให้บ้านเราบ้าง

1. ความไม่พร้อมรับมือ
ความไม่พร้อมที่เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจลักษณะและผลร้ายของไวรัสตัวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ นึกว่าเหมือน “เรื่องเก่ามาใหม่” อย่างไข้หวัดใหญ่ บางส่วนประมาท และเมื่อระบาดออกไปอย่างรวดเร็วก็ทำอะไรไม่ถูก ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมรองรับไม่ว่าในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ

ยกตัวอย่าง 2 กรณี กรณีแรกเป็นชายอายุ 38 ปี ไปโรงพยาบาลวันที่ 18 ก.พ. ที่เมือง Codogno เมื่องเล็กๆ ประชากร 16,000 คนในแคว้นลอมบาร์เดีย 60 กม. จากเมืองมิลาน มีอาการหวัดอย่างแรง ไม่ยอมอยู่โรงพยาบาล กลับบ้านไม่กี่ชั่วโมงต้องกลับไปโรงพยาบาล เข้าห้องไอซียู วันที่ 20 ก.พ. จึงทราบว่าติดเชื้อโควิด-19

กว่าจะรู้ก็สายไปมากแล้ว ไวรัสได้แพร่ไปสู่คนอีกหลายร้อยที่เขาได้ไปเกี่ยวข้องด้วยในสองสามสัปดาห์ก่อนหน้านั้น รวมทั้งแพทย์พยาบาลก็ติดไปด้วย เขาเป็นนักกีฬา ไปวิ่ง ไปเล่นฟุตบอล ไปร่วมรับประทานอาหารค่ำกับคนอื่นๆหลายครั้ง เป็นนักธุรกิจในบริษัทใหญ่

เขาได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ป่วยรายแรก” (patient one) ที่มีการขนานนามว่าเป็น “super spreader” (ซูเปอร์ผู้แพร่) 13 มีนาคม มีคนตายที่ Codogno 34 คน ติดเชื้อหลายร้อย แม้จะปิดเมืองตั้งแต่ต้นๆ ก็ไม่อาจหยุดได้

กรณีที่สอง เป็นคำบอกเล่าของผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองแบร์กาโม 52 กม.จากเมืองมิลาน เธอบอกว่ารายแรกที่ติดเชื้อเป็นพยาบาลในสถานพยาบาลผู้สูงอายุเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ตรวจพบหลังจาก 5 วัน ซึ่งสายไปมากแล้ว เพราะผู้สูงอายุ 6-7 คนในสถานพยาบาลนั้นเป็นโรคปอดบวมและพบว่ามาจากเชื้อนี้ จากนั้นก็กระจายไปอย่างรวดเร็ว

ผู้อำนวยการหญิงท่านนี้ก็ติดเชื้อนี้ด้วย เธอบอกว่า ก็ป้องกันทุกอย่าง แต่เข้าใจว่า ไม่ได้ติดจากคนไข้ แต่ติดตอนที่อยู่ร่วมกับแพทย์พยาบาลคนอื่นที่ยังไม่มีอาการ แต่แพร่เชื้อ ทำให้บุคลากรสาธารณสุขติดเป็นจำนวนมาก ตอนแรกๆ หมอพยาบาลที่เป็นไข้ก็กินยาแล้วไปทำงานเหมือนปกติ ไม่ได้กักตัวเองที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล เธอบอกว่าเป็นความผิดพลาดสำคัญ เพราะเมื่อหมอพยาบาลติดก็ไม่มีคนดูแลรักษาคนไข้อื่นๆ

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก วันนี้แพทย์พยาบาลติดเชื้อกว่า 2,000 คน หมอคนหนึ่งต้องดูแลผู้ป่วย 1,200 คน หมอพยาบาลจึงหมดแรง ต้องไปเกณฑ์คนเกษียณและนักเรียนแพทย์มาช่วยกัน

นักระบาดวิทยาสรุปว่า ไวรัสแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีก 2.5 คนใน 5 วัน ก็ลองคูณต่อไปเรื่อยๆ 30 วันก็ถึง 400 คน (ถ้าลดได้ครึ่งหนึ่ง 30 วันก็จะติดเพียง 15 คน) แต่เมื่อ “ปล่อย” เราจึงเห็นผู้ติดเชื้อในอิตาลีจากไม่กี่คนไปเป็น 60,000 คนในเวลาเพียงเดือนเศษ

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อทำให้ระบบสาธารณสุขล่ม ไม่อาจรองรับได้ ไม่ว่าเตียงผู้ป่วยหนักไอซียู อุปกรณ์หายใจ แม้แต่หน้ากากสำหรับแพทย์พยาบาล

ระบบการติดตามผู้ติดเชื้อ ผู้เกี่ยวข้อง การกักตัวผู้ต้องสงสัย ผู้ป่วย ไม่ได้ทำอย่างจริงจังตั้งแต่ต้น เป็นเรื่องของท้องถิ่นที่ต้องดำเนินการเองในแคว้น ในเมือง ในเทศบาล เมื่อเอาแต่รอรัฐบาลจากกรุงโรมก็สายเกินไป เมื่อไม่ตาม ไม่กักตัว ทุกอย่างก็เลยตามเลย มาปิดเมือง ปิดแคว้น ปิดประเทศ 10 วันให้หลังก็ช้าเกินไปแล้ว นักระบาดวิทยาให้ความเห็น

2. ภาวะผู้นำกับการเมือง
มาตรการที่รัฐบาลอิตาลีประกาศออกมาใช่ว่าจะไม่ดี อิตาลีเป็นประเทศแรกที่ห้ามการบินจากจีนเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม แต่พรรคการเมืองและผู้นำหลายคน “ประมาท” ยังกินดื่มและสังสรรค์เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำให้การสื่อสารกับประชาชนเป็นไปอย่างสับสน

เดือนมกราคม พรรคการเมืองฝ่ายขวา (La Liga) เสนอให้รัฐบาลกักบริเวณนักเรียนที่กลับมาจากไปเที่ยวเมืองจีน ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคนจีนอพยพในอิตาลี นายกรัฐมนตรีคอนเตปฏิเสธ คนในรัฐบาลหัวเราะเยาะว่าเป็นมาตรการคลั่งชาติและขี้ขลาด

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ติดเชื้อ 130 คน รัฐบาลสั่งปิด 11 เมืองที่ภาคเหนือ มีตำรวจทหารไปคุมด่านต่างๆ ปิดโรงเรียน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงหนังโรงละคร แต่นายกฯ ยังปากแข็งบอกว่า อิตาลียังปลอดภัยกว่าหลายประเทศ

รัฐมนตรีต่างประเทศ Luigi Di Maio สบประมาทสื่อว่า “ที่อิตาลีเราผ่านความเสี่ยงจากโรคระบาดไปเป็นสื่อระบาด” มิลานยังเปิดประตูมหาวิหารให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นปกติ หัวหน้าพรรคเดโมเครต Nicola Zingaretti ยังโพสต์ภาพถือแก้วเหล้าโชว์เลย แต่ไม่กี่วันเขาก็ติดเชื้อไปด้วย

อิตาลีแตกแยก มีคนเห็นด้วยกับมาตรการของรัฐบาลและคนไม่เห็นด้วย เพราะสับสนกับการสื่อสาร และมาตรการที่ ไม่มี “หัวใจความเป็นมนุษย์” (humanized way) ไม่เข้าใจจิตวิทยามวลชน คนส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจนักการเมืองอยู่แล้ว เรื่องโรคระบาดพวกเขาอยากฟังแพทย์ นักวิทยาศาสตร์มากกว่า ซึ่งรัฐบาลอิตาลีไม่เข้าใจเรื่องนี้นัก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเพราะไปฟื้นความรู้สึกต่อต้านฟัสซิสม์ในยุคมุสโสลินี ที่ใช้อำนาจสั่งการเด็ดขาด ทำร้ายผู้คนไปทั่ว ที่ถูกบังคับจนหมดเสรีภาพ

ในสังคมประชาธิปไตยไม่ใช่ว่าผู้นำอยากพูดอะไรก็พูด คนไม่ใช่สัตว์สิ่งของที่จะบังคับหรือจับวางไว้ตรงไหนก็ได้ มีประเด็นจริยธรรม สิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม

การวิจารณ์ว่า คนอิตาเลียนรักอิสระ ทำอะไรตามใจ ไม่มีวินัย น่าจะจริงบ้างและมีส่วนทำให้มาตรการทางการเมืองสังคมไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เรื่องนี้คงไม่มีแต่ที่อิตาลี ประเทศไหนผู้คนก็รักอิสระ ไม่ใช่จะฟังรัฐบาลง่ายๆ ไปทุกเรื่อง เมื่อเป็นเรื่องความเป็นความตาย ถ้ามีวิธีการสื่อสารที่ชัดเจน และเข้าใจจิตวิทยาประชาชน เอาใจชาวบ้านมาใส่ใจตน ความร่วมมือน่าจะเกิดมากกว่านี้ ไม่ใช่เพราะมีตำรวจทหารถือปืนคอยคุม แต่เพราะ “จิตสำนึก” ที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียงในการแก้ปัญหาร่วมกัน

อิตาลีกับเยอรมนี
เยอรมนีวันที่ 23 มีนาคม มีผู้ติดเชื้อ 30,000 คน ติดใหม่ 4,200 คน ตายรวม 123 คน
กลางเดือนกุมภาพันธ์ อิตาลีมีผู้ติดเชื้อ 3 คน เยอรมนี 16 คน แต่หลังจากนั้นอิตาลีแซงหน้าไปอย่างรวดเร็ว วิเคราะห์กันว่า ความต่างมาจากการรับมือการระบาดที่เยอรมันลงมือทำทันที กักบริเวณคนที่มาจากอู่ฮั่นและเมืองจีนทันที ติดตามผู้ที่เกี่ยวข้องสงสัย มีการเทสต์จำนวนมาก กักบริเวณ รับผู้ป่วยไว้ที่โรงพยาบาล และติดตามคนที่ติดต่อสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อผู้ป่วยทุกคน

มาจนถึงมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ จากการปิดสถานที่คนไปชุมนุมกันทั้งหมด ไม่ว่าโรงเรียน สนามกีฬา ร้านอาหาร ฯลฯ ไปจนถึงการ “ปิดเมืองปิดรัฐ” แต่ก็เพียงบางเมือง (ไฟรบูร์ก) และบางรัฐ (บาวาเรีย) จนถึงมาตรการร่วมของสหพันธรัฐ คือ ห้ามชุมนุมเกิน 2 คนนอกบ้าน แต่ไม่ได้ห้ามออก เพียงแต่ไปในธุระจำเป็นเท่านั้น ไปซื้อยาหาหมอ ซื้ออาหาร เดินเล่น ออกกำลังกายเดี่ยว เป็นต้น

เยอรมนีมีการสรุปสถานการณ์ทุกวันโดยสถาบัน Robert Koch ซึ่งทำงานด้านระบาดวิทยา และตอบคำถามสื่อ นอกนั้น รัฐมนตรีสาธารณสุข รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (เศรษฐกิจ, การเงิน, แรงงาน, ครอบครัว เป็นต้น) ก็ออกมาสื่อสารกับผู้คนในประเด็นที่ตนเองเกี่ยวข้อง ที่เป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาล เช่น การชดเชยต่างๆ จึงไม่ได้มีแต่เรื่องโรคระบาด แต่เรื่องงาน เรื่องการเยียวยา ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ประชาชนมีความหวังกำลังใจ ร่วมมือกับรัฐในมาตรการสุขภาพและอื่นๆ

ระบบสาธารณสุขของอิตาลีไม่ได้ด้อยไปกว่าของเยอรมนี แต่เหตุการณ์อย่างที่บอกตอนต้นทำให้ระบบล่ม ทั้งปัญหาบุคลากร อุปกรณ์ และอื่นๆ ขณะที่เยอรมันพยายามประคับประคองสถานการณ์ให้ช้าลงมากที่สุด จะได้รับมือได้

ด้วยการจัดระบบ การแยกแยะผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย การกักบริเวณที่บ้าน ที่โรงพยาบาล ทำให้มีคนตายที่เยอรมันด้วยโรคนี้ต่ำมากเมื่อเทียบกับที่อิตาลี แม้จะมีเหตุผลหลายอย่างที่นำมาอธิบายว่า ทำไมที่อิตาลีตัวเลขจึงสูง ก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น เพราะโดยรวมมีปัญหาไปหมด

สถาบันโรเบิร์ต คอค บอกว่า อาทิตย์นี้กราฟน่าจะไม่พุ่งขึ้น จะค่อยๆ ราบลง ทำอย่างไรให้ราบลง (flatting the curve) และลดลงไปเรื่อยๆ เพิ่มก็ไม่มากในแต่ละวัน เริ่มลดลงคล้ายกับที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่ถูกยกเป็นตัวอย่างว่าทำได้ดี เยอรมนีมีความเชื่อมั่นว่า “เอาอยู่”

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นความเชื่อมั่นในผู้นำอย่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลและรัฐบาล ที่สื่อสารกับประชาชนได้ดี ไม่ทำให้เกิดความสับสน เธอขอร้องด้วยน้ำเสียงและคำพูดที่ใครฟังก็ไม่ขัดหูขัดใจ แม้อาจไม่เห็นด้วยทั้งหมด ก็ไม่มีใครขัดขืน ที่สุดจึงไม่ได้มีมาตรการ “ปิดเมืองปิดประเทศ” เพราะแค่นี้ก็น่าจะ “เอาอยู่”

นางอังเกลา แมร์เคิล ดั้งเดิมเป็นคนเยอรมันตะวันออก เธออ่อนไหวมากกับกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกินไป เพราะยังจดจำระบอบคอมมิวนิสต์ก่อนการรวมประเทศ อ่อนไหวกับมาตรการรุนแรง ใครที่ได้ฟังการพูดของเธอที่หน้าค่ายนรกเอาสวิตช์ ในโปแลนด์ ที่เยอรมนีสังหารชาวยิวไปหลายล้านคน คงไม่แปลกใจว่า ทำไมท่าทีของเธอในยามวิกฤตถึงมีความสงบและระมัดระวัง ทำอะไรด้วยความละเอียดอ่อน

เธอบอกกับชาวเยอรมันทั้งประเทศว่า นี่คือยามลำบากที่สุดที่ชาติต้องเผชิญตั้งแต่หลังสงครามโลกมา เธอลำบากใจเป็นอย่างยิ่งที่จะขอร้องให้ร่วมมือกันอยู่แต่ในบ้าน ไม่ไปไหน ไม่ไปเยี่ยมปู่ย่าตายาย เป็นความเสียสละที่เธอเห็นใจทุกคน ฟังแค่นี้ก็ใจอ่อนแล้ว

ตอนแรกๆ ที่ดูเหมือนว่า ผู้คนยังไม่ฟังการข้อร้องของเธอที่ให้ “อยู่บ้าน” และถือระยะห่างทางสังคม แต่ที่สุดก็ได้เห็นภาพของความสามัคคีร่วมมือเป็นอย่างดี จนไม่ต้องปิดเมืองปิดประเทศอย่างที่หวั่นเกรงกัน

แต่ถึงอย่างไร ผมก็ยังรักอิตาลี รักคนอิตาเลียน ที่มีอะไรคล้ายคนไทยหลายอย่าง หวังแต่ว่า เราคนไทยจะไม่พลาด ทำให้สถานการณ์วิกฤตนี้ลุกลามจนกลายเป็นโศกนากฎกรรมที่น่าเศร้าที่สุด แม้แต่สงครามโลก คนตายก็ยังมีญาติไปฝัง วันนี้ คนตายที่อิตาลีไม่มีคนไปดูแลสวดมนต์ร่วมทำพิธี ตายอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีใครไปฝังหรือเผา น่าเศร้าที่สุด

แต่คนอิตาเลียนก็ผ่านวิกฤติมากมายมาหลายร้อยหลายพันปี ยังเปิดประตูหน้าต่างมายืนร้องเพลงกันทั้งบ้านทั้งเมือง ตั้งแต่เพลงชาติ ไปจนถึงเพลงประจำชาติอย่าง O Sole Mio, Santa Lucia, Nessun Dorma! รวมทั้งเพลง Bella Ciao เพลงเก่าแก่ที่ปรับมาใช้ในขบวนการปลดปล่อยอิตาลีจากฟัสชิสม์ รวมพลังเพื่อให้พ้นวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้

Viva Italia! สู้ๆ พี่น้องอิตาเลียน

27 มี.ค. 2563 18:00   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.asiatimes.com)

Democracies’ Covid-19 cures could be worse than the disease
by Andrew Salmon
18/03/2020

ขณะที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังล็อกดาวน์ปิดเมือง กำลังอุดปากอุดจมูกเสรีภาพและการค้าขายต่างๆ พวกเขาก็กำลังมองข้ามบทเรียนวิธีการที่ใช้อยู่ในประเทศประชาธิปไตยด้วยกันรายหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการตอบโต้ไวรัสสายพันธ์ใหม่ “โควิด-19” โดยที่ยังคงเชิดชูให้ความสำคัญกับหลักการต่างๆ ทางประชาธิปไตย

เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่ทั้งเตะตาและน่าตกใจ กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ประเทศประชาธิปไตยจำนวนมากกำลังชูธงประกาศว่านี่เป็นมาตรการอันจำเป็นสำหรับการควบคุมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ให้อยู่หมัด แล้วเข้าควบคุมจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการเคลื่อนไหว, เสรีภาพในการชุมนุม, หรือเสรีภาพในการเคารพบูชาตามความเชื่อความศรัทธา ประเทศเหล่านี้กำลังบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับห้ามออกนอกบ้าน และปิดกั้นการเดินทางเข้าออกในพื้นที่บริเวณระดับท้องถิ่นหรือกระทั่งทั่วทั้งประเทศ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องสร้างผลกระทบเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบรรดาธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยการไหลเวียนของกระแสเงินสด ในสหภาพยุโรปที่เคยประกาศกล่าวอ้างว่า “ไร้พรมแดน” ปรากฏว่าพรมแดนต่างๆ กำลังหวนกลับคืนมาอย่างฉับพลัน และอียูก็กำลังประกาศห้ามผู้คนภายนอกเข้าไปเป็นระยะเวลา 30 วัน

ขั้นตอนมาตรการปฏิบัติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีการประกาศใช้กันมาก่อนในยามบ้านเมืองสันติไร้สงคราม และก็โหดร้ายเข้มงวดมาก ขณะที่ โควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวางมาก ทว่ามันก็เป็นการป่วยไข้ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ กระนั้นรัฐบาลจำนวนมากก็กำลังดำเนินการตอบโต้รับมือโดยอาศัยตัวอย่างมาตรวัดของดินแดนพื้นที่ซึ่งเกิดการระบาดอย่างเลวร้ายที่สุด อันได้แก่ เมืองอู่ฮั่นของจีน และแคว้นลอมบาร์ดีทางภาคเหนือของอิตาลี

เวลาเดียวกันนั้น ฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ในกรณีเลวร้ายที่สุด ได้ถูกเผยแพร่กระจายไปทั่วโดยพวกผู้เชี่ยวชาญ แล้วถูกสำรอกออกมาป่าวประกาศสำทับโดยพวกนักการเมือง จนกระทั่งสร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัวไปในหมู่สาธารณชนวงกว้าง ยังมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ที่จะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสได้ –โดยไม่ต้องมีการล็อกดาวน์ปิดเมืองหรือสั่งแบนห้ามการเดินทาง?

เรื่องราวของความสำเร็จ

อียูและสหรัฐฯต่างกำลังกระตุ้นส่งเสริมพวกมาตรการแบบสุดโต่งและมีลักษณะเป็นเผด็จการรวบอำนาจอย่างโจ่งแจ้ง โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้นก็กำลังมองข้ามประสบการณ์ของเพื่อนรัฐประชาธิปไตยรายหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีฐานะเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 2 บนพื้นพิภพนี้

ประเทศดังกล่าว ซึ่งเวลานี้ได้ถอยลงมาอยู่อันดับ 5 บนชาร์ตจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยตามหลังทั้งจีน, อิตาลี, อิหร่าน, และสเปน กำลังเสนอให้เห็นผลงานที่ควรถือเป็นตัวอย่างในเรื่องการควบคุมโรคระบาดใหญ่ระดับโลก โดยที่ไม่ต้องเหยียบย่ำเสรีภาพขั้นเบสิกและการค้าขายขั้นพื้นฐาน

ในประเทศดังกล่าว เราได้เห็นเคสผู้ติดโรครายใหม่ลดวูบลงจากระดับหลายๆ ร้อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เหลือเป็นระดับตัวเลขสองหลักในทุกๆ วันตลอดสัปดาห์นี้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.yna.co.kr/view/AEN20200318002800320?section=science/medicine) ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศนี้บางทียังน่าจะมีเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่สุด –เพียงแค่ 0.7%-- ในท่ามกลางทุกๆ ประเทศซึ่งบาดเจ็บเสียหายอย่างสำคัญจากการระบาดของโควิด-19

ประเทศนี้ทุ่มเทใช้ความพยายามจนกระทั่งบรรลุผลลัพธ์เหล่านี้โดยที่ไม่ได้มีการประกาศปิดเมืองล็อกดาวน์เลย แม้กระทั่งในเมืองที่ประสบการระบาดหนักหนาสาหัสที่สุดของตน ขณะที่กำลังใช้มาตรการระมัดระวังเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อนอย่างสมเหตุสมผล ประเทศนี้ก็ไม่ได้อุดปากอุดจมูกห้ามปรามกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งไม่ได้มีการสั่งห้ามการเดินทางใดๆ ด้วย

ประเทศดังกล่าวนี้ คือประเทศไหนหรือ? คำตอบคือ เกาหลีใต้ ครับ

การควบคุมภัยพิบัติในแบบระบอบประชาธิปไตย

มีผู้เขียนกันเอาไว้มากมายแล้ว ในเรื่องวิธีการที่เกาหลีใต้ดำเนินการตรวจทดสอบผู้ต้องสงสัยจำนวนมากมาย สูงถึง 20,000 คนต่อวันทีเดียว แล้วยังติดตามมาในทันทีด้วยมาตรการแยกตัวกักกันโรคและการบำบัดรักษาในขั้นต้น (หรือดูเพิ่มเติมได้ที่บทความของผู้เขียนใน https://asiatimes.com/2020/03/why-are-koreas-covid-19-death-rates-so-low/) นอกจากนั้น โซลยังมีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาดเหนือชั้น ตั้งแต่ศูนย์ตรวจทดสอบที่สามารถดำเนินการได้เพียงแค่ด้วยการขับรถผ่านเข้าไป ไปจนถึงพวกแอปป์ตรวจตราเฝ้าระวังตัวเอง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://asiatimes.com/2020/03/south-korea-turns-to-tech-to-take-on-covid-19/)

ปัจจัยต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมก็กำลังแสดงบทบาทเช่นเดียวกัน รัฐบาลทั้งหลายของเกาหลีใต้นั้นโดยประเพณีปฏิบัติแล้วมีความคิดจิตใจที่จะดูแลผู้คนในประเทศแบบ “รัฐแม่นม” (Nanny State) มากกว่าพวกประเทศประชาธิปไตยในโลกตะวันตก ผลก็คือ มีคำร้องทุกข์คำบ่นว่าน้อยที่สุดเกี่ยวกับเรื่องการรุกรานก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว – ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการใช้ บิ๊กดาต้า และ จีพีเอส เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของพวกผู้ติดเชื้อ

แล้วชาวเกาหลีใต้ ยังเหมือนกับผู้คนชาติอื่นๆ ในเอเชียตะวันออก มีนิสัยพร้อมสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันมลพิษกันอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาจากเรื่องที่มีการสวมหน้ากากอนามัยกันแทบจะทั่วไปหมดทุกตัวคนเช่นนี้ จึงดูมีความเป็นไปได้ว่าพวกที่ติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ จะไม่ปล่อยเชื้อไปติดต่อคนอื่นๆ ได้ง่ายๆ ในขณะที่ทางการรับผิดชอบของหลายชาติตะวันตก กลับออกคำเตือนคัดค้านการที่สาธารณชนจะสวมหน้ากากอนามัยกันอย่างกว้างขวาง

ยิ่งไปกว่านั้น ในทางภูมิศาสตร์เกาหลีใต้มีลักษณะเป็นเสมือนเกาะ โดยที่มีทะเลมหาสมุทรล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งก็เป็นพรมแดนที่มีการสร้างป้อมปราการขึ้นมาอย่างแข็งแรง อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้มีการจัดตั้งจัดวางอาคารสถานที่และโปรแกรมในการติดตามเฝ้าระวังด้านสาธารณสุขอย่างทรงประสิทธิภาพในช่องทางเข้าเมืองทุกๆ ช่องทาง

แต่สิ่งที่อยู่เหนือกว่านี้อีก ได้แก่พวกยุทธวิธีและเงื่อนไขต่างๆ สิ่งที่ยังมีการเขียนเผยแพร่กันน้อย ได้แก่หลักการซึ่งโซลถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอย่างอื่นๆ ในการควบคุมไวรัสให้อยู่หมัด หลักการดังกล่าวก็คือ ธรรมาภิบาลแบบประชาธิปไตย

“เกาหลี (ใต้) ในฐานะที่เป็นประเทศประชาธิปไตย จึงให้คุณค่าความสำคัญแก่เรื่องโลกาภิวัตน์ และเรื่องสังคมพหุนิยม” รองรัฐมนตรีสาธารณสุขและสวัสดิการ คิม กังลิป (Kim Gang-lip) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวต่างประเทศในสัปดาห์ที่แล้ว “ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เกาหลีจึงกำลังนำเอาโมเดลที่มีความแตกต่างออกไป มาใช้เพื่อการตอบโต้รับมือกับการระบาดของโรคติดต่อ ความเชื่อสำคัญที่สุดของโมเดลของเรานั้นสามารถที่จะนิยามจำกัดความได้ว่า เราต้องการที่จะเป็น “ระบบการตอบโต้รับมืออย่างมีพลวัตเพื่อสังคมประชาธิปไตยอันเปิดกว้าง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่เกาหลีใต้ไม่ได้ทำ?

เกาหลีใต้ไม่ได้มีออกกฎประกาศใช้มาตรการการปราบปราม –แม้กระทั่งกับลัทธิศาสนาลัทธิหนึ่งซึ่งกลายเป็นแหล่งทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นจำนวนมากมาย ขณะเดียวกันก็ไม่มีการล็อกดาวน์ปิดเมือง แม้กระทั่งในพื้นที่สุดฮ็อตอย่างเมืองแทกู ขบวนรถไฟความเร็วสูงยังคงแล่นเข้าไป, แล่นออกมา, และผ่านนครแห่งนี้อยู่โดยตลอด

ถึงแม้ชาวเกาหลีใต้ตกเป็นเป้าหมายถูกห้ามเดินทางเข้าไป, ถูกจำกัดด้านต่างๆ , และถูกกักกันโรค จากประเทศต่างๆ กว่า 100 แห่ง แต่แดนโสมขาวออกคำสั่งห้ามชาวต่างประเทศเข้าเมือง เฉพาะพวกที่มาจากมณฑลหูเป่ยในจีน และจากญี่ปุ่นเท่านั้น โดยที่ในกรณีหลัง เป็นเรื่องของเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเรื่องการป้องกันทางสาธารณสุขด้วยซ้ำไป ผู้เดินทางเข้ามาทุกๆ รายถูกตรวจตรา ณ จุดที่เข้าเมือง และล้วนได้รับแอปป์ติดตามตัวเฝ้าระวัง

ขณะที่การชุมนุมรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมากๆ ถูกสั่งระงับ และสถานที่อย่างพิพิธภัณฑ์, โรงเรียน, และมหาวิทยาลัยก็ถูกสั่งปิดทำการ แต่บรรดาร้านรวง, คาเฟ่, บาร์, ยิมออกกำลังกาย ฯลฯ ยังคงเปิดได้ แล้วก็ไม่มีการแห่กันไปกว้านซื้อข้าวของด้วยความตื่นตระหนกหวาดกลัวใดๆ ขึ้นมาเลย

“เราพยายามมาโดยตลอดที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดการติดขัดกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน” รองรัฐมนตรีกิจการต่างประเทศ ลี แตโฮ (Lee Tae-ho) พูดอธิบาย

แม้กระนั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจก็ยังคงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ และกำลังมีการเรียกระดมงบประมาณฉุกเฉินก้อนต่างๆ ย่านช็อปปิ้งแถวดาวน์ทาวน์อยู่ในสภาพเกือบเป็นเมืองร้าง การเลย์ออฟปลดคนงานก็มีการดำเนินการกันอยู่ บรรดาธุรกิจขนาดเล็กๆ ที่เอเชียไทมส์ได้พบเห็นพูดคุยด้วย อาทิ แท็กซี่, ร้านค้า, คาเฟ่, และร้านอาคาร ต่างบ่มพึมว่ารายได้ลดลงไป 50% หรือกว่านั้น

ลองเปรียบเทียบกันดู ระหว่างการตอบโต้รับมือแบบสายกลางไม่รุนแรงเช่นนี้ กับพวกมาตรการสุดโต่งที่ใช้กันในเหล่าประเทศตะวันตก ซึ่งการติดต่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและทางสังคมทั้งหลายกำลังถูกระงับไปเป็นส่วนใหญ่หรือกระทั่งถูกระงับไปอย่างสิ้นเชิง

โหมดแพนิกตื่นตระหนก

ไม่มีรัฐบาลไหนหรอกที่เป็นองค์การซึ่งมุ่งรับมือจัดการกับประเด็นปัญหาเพียงแค่ประเด็นปัญหาเดียวเท่านั้น โดยละเลยไม่สนใจประเด็นปัญหาอื่นๆ ทว่าในปัจจุบันเรากำลังกลายเป็นประจักษ์พยานของกระบวนการจัดลำดับความสำคัญแบบคิดคำนึงอยู่เพียงแค่ประเด็นปัญหาเดียวเท่านั้น นั่นคือ เรื่องการบริหารจัดการกับไวรัส เรากำลังพบเห็นการตัดสินใจทางการเมืองแบบสุดโต่งต่างๆ ในช่วงจังหวะเวลาตอนที่เศรษฐกิจโลกกำลังโซซัดโซเซอยู่ที่ปากขอบเหวอยู่แล้ว

ตลาดต่างๆ ซึ่งได้เริ่มต้นหันมามองโลกแบบสดใสเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และเกี่ยวกับสายโซ่อุปทาน (supply chain) ของจีนที่ค่อนข้างเหือดแห้งสะดุดติดขัด แท้ที่จริงแล้วเป็นตลาดซึ่งอยู่ในเส้นทางขาขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตการณ์ภาคการเงินโลกปี 2008 แล้ว และดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอยู่ในภาวะล่าช้ามานานเกินไปแล้วสำหรับการปรับฐานลงมา หรือกระทั่งการปรับฐานลงมาอย่างแรงๆ

ครั้นแล้วก็เกิดภาวะช็อกจากสงครามราคาน้ำมัน จากนั้น เขตเศรษฐกิจทรงความสำคัญยิ่งยวดที่สุดของโลก 2 เขต อันได้แก่สหรัฐฯและอียู ก็เริ่มต้นมาตรการจำกัดควบคุมอย่างเข้มงวดรุนแรงในด้านการคมนาคมขนส่งและการติดต่อไปมาหาสู่กัน โดยในเวลาเดียวกันนั้นก็กำลังทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้หายใจไม่ออกไปด้วย มูลค่าของหลักทรัพย์ต่างๆทั่วโลกกำลังถูกลบทอนหายสูญไปถึงราวๆ 30 ล้านล้านดอลลาร์ทีเดียว

ท่ามกลางมหาพายุที่ช่างเหมือนกับปัจจัยเลวร้ายนานาต่างรุมกระหน่ำรวมเข้ามาด้วยกันคราวนี้ มาตรการล็อกดาวน์ปิดเมืองคือการตอบโต้แบบ “ขนาดเดียวใช้ได้กับทุกคน” ประการหนึ่ง ที่ควรต้องตั้งคำถามข้อข้องใจ ในจุดที่ว่ามันไม่ได้มีการจัดลำดับความสำคัญให้แก่ประชากรกลุ่มหลักที่ตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งก็คือผู้ที่มีภาวะเงื่อนไขต่างๆ ทางด้านสุขภาพดำรงอยู่ก่อนแล้ว และที่จะต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด ได้แก่ ผู้สูงอายุ

มีความชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่แล้วว่าอันตรายถึงชีวิตวางวายจากไวรัสนี้ รวมศูนย์กันอยู่ที่ตรงไหน รายงานการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งของ ศูนย์กลางเพื่อวิทยาการประชากรศาสตร์ เลเวอร์ฮูล์ม (Leverhulme Centre for Demographic Science) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ นัฟฟีลด์ คอลเลจ (University of Oxford & Nuffield College) ชี้เอาไว้ว่า “ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 มีการรวมศูนย์กันอย่างสูงยิ่งในหมู่ผู้ที่อายุยิ่งสูงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อายุสูงเกินกว่า 80 ปี ในจีนนั้น อัตราประมาณการสำหรับการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ อยู่ในระดับตั้งแต่ 0.4% (กลุ่มที่มีอายุ 40-43 ปี) กระทั่งกระโจนพรวดขึ้นไปเป็น 14.8% (กลุ่มที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป) ตัวเลขข้อมูลนี้สอดคล้องกับตัวเลขข้อมูลที่ออกมาจากอิตาลีนับจนกระทั่งถึงวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 10.8% สำหรับกลุ่มอายุระหว่าง 70-79 ปี, 17.5% สำหรับกลุ่มอายุ 80-89 ปี, และ 21.1% สำรับผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป โดยที่มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 รายเท่านั้นในกลุ่มผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี จวบจนถึงเวลานี้ ในหมู่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีมีอัตราการเสียชีวิตเพียงแค่ 3% เท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมเราจึงไม่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ และระบบต่างๆ ให้สอดคล้องเป็นไปตามโครงสร้างทางประชากรเช่นนี้?

เรื่องสุขอนามัยที่จำเป็น, การอยู่ห่างจากคนอื่นๆ, การระมัดระวังเอาไว้ก่อน ตลอดจนกติกามารยาทในด้านการเฝ้าระวังซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการพิทักษ์คุ้มครองผู้สูงอายุ เหล่านี้สามารถต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาจากการดูแลของครอบครัวและกรอบโครงการดูแลด้านสวัสดิการสังคมซึ่งมีอยู่แต่เดิมแล้ว ทั้งนี้ การใส่ใจเพิ่มขึ้นให้มากๆ เกี่ยวกับความจำเป็นต่างๆ ของผู้สูงอายุ บางทีอาจจะกลายเป็นผลิตผลพลอยได้ในทางบวกที่คุ้มค่าของวิกฤตการณ์โควิด-19 ก็เป็นได้

ความวิบัติหายนะของธุรกิจขนาดเล็กๆ

หากกระทำสิ่งเหล่านี้แล้ว พวกสมาชิกที่มีความเสี่ยงต่ำของประชากรก็สามารถที่จะเป็นอิสรเสรีจากมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อที่จะได้หายใจเอาอย่างน้อยที่สุดก็ออกซิเจนสักจำนวนหนึ่งเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

แต่ว่ายิ่งเวลาผ่านไป ก็มีการประกาศพื้นที่ล็อกดาวน์ปิดเมืองกันมากขึ้นเรื่อยๆ ภาคธุรกิจ B2C (Business to Consumer ธุรกิจที่ขายหรือให้บริการแก่ผู้บริโภค) เป็นต้นว่า การเดินทางและการท่องเที่ยว, ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการและการค้าปลีก, การจัดเลี้ยงและการพักผ่อนหย่อนใจ, กีฬาและธุรกิจบันเทิง เหล่านี้ต่างต้องเผชิญกับความวิบัติหายนะ

พวกผู้เล่นรายใหญ่ เป็นต้นว่า สายการบิน น่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือไม่ให้ตกเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ทว่าภาคธุรกิจที่กล่าวไว้ข้างต้นเหล่านี้ซึ่งจำนวนมากมายเป็นธุรกิจขนาดเล็กๆ เป็นกิจการในครอบครัว ที่ต้องพึ่งพาอาศัยการไหลเวียนของเงินสด อย่างเช่น ร้านค้า และเกสต์เฮาส์, ร้านอาหาร, คาเฟ่และบาร์, โรงยิม, และกิจการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีธุรกิจขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมากมาย คือสิ่งที่แทบไม่ต้องจินตนาการกันเลย

พวกนักปล่อยข่าวสร้างแพนิกความตื่นตระหนก ?

ใครคือผู้ที่กำลังส่งอิทธิพลต่อสื่อและรัฐบาล ? นักระบาดวิทยามืออาชีพจำนวนหยิบมือหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นหัวเรือใหญ่ในการแถลงในการออกความเห็นทางสื่อระดับโลก เป็นพวกที่กำลังพยากรณ์ว่าอัตราการติดต่อโรคจะอยู่ในระดับ 70-80% ตัวเลขข้อมูลเหล่านี้เองกำลังถูกสำรอกเอากลับมาเผยแพร่ต่อโดยพวกผู้นำ อย่างเช่น อังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี

แต่ในเวลานี้ไม่เพียงเราทราบแล้วว่า โมเดลบางโมเดลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกที่เคยเสนอกันออกมาก่อนหน้านี้นั้น เป็นการทำนายที่เกินความเป็นจริงไปมากเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีพวกผู้ทรงอิทธิพล (อินฟลูเอนเซอร์) บางรายกำลังแสดงทัศนะมุมมองแบบฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ในกรณีเลวร้ายที่สุด (absolute worst-case scenarios) อีกด้วย

“มีนักระบาดวิทยาชื่อเสียงโด่งดัง 2 คนกำลังเป็นผู้ที่ออกความคิดเห็นจำนวนมากเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 นี้” แดน สตริกแลนด์ (Dan Strickland) นักระบาดวิทยาชาวสหรัฐฯที่ปัจจุบันเกษียณอายุแล้วบอกกับเอเชียไทมส์ พร้อมกับชี้ว่า “การทำนายของพวกเขาเป็นสิ่งที่มีน้ำหนักสูงสำหรับสื่อและพวกผู้วางนโยบาย”

อย่างไรก็ตาม “ทั้งคู่กำลังเลือกที่จะบรรยายพรรณนาถึงฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ชนิดเลวร้ายที่สุดของการระบาด โดยที่ดูเหมือนออกมาจากความต้องการระมัดระวังป้องกันเอาไว้ก่อนที่มีมากมายมหาศาลเหลือเกิน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจกันได้” สตริกแลนด์บอก และกล่าวต่อไปว่า แต่ “ไม่ใช่ว่าทุกๆ คนเห็นด้วยกับการประเมินเหล่านี้หรอก ทว่าเมื่อมาถึงจุดนี้ พวกรัฐบาลของมลรัฐและของท้องถิ่นต่างๆ ในสหรัฐฯ ต่างกำลังนิยมชมชอบความคิดจิตใจแบบต้องระมัดระวังป้องกันเอาไว้ก่อนอย่างสูงลิ่วอย่างนี้แหละ มาใช้ในการกำหนดจัดวางนโยบาย”

ในอียู ดูเหมือนรัฐบาลต่างๆ ที่นั่นรู้สึกตกใจกลัวกับตัวเลขผู้เสียชีวิตในอิตาลี ทว่าอิตาลีนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัยที่สุดในยุโรป และอัตราการเสียชีวิตของที่นั่น ซึ่งอยู่ในระดับแถวๆ สูงกว่า 5% (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scientificamerican.com/article/why-deaths-from-coronavirus-are-so-high-in-italy/ ) ก็ต้องถือว่าสูงกว่าอัตราเฉลี่ย – โดยที่การศึกษาวิจัยซึ่งกระทำเมื่อเร็วๆ นี้เอง คำนวณออกมาว่าอยู่ที่ประมาณ 1.4% (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.statnews.com/2020/03/16/lower-coronavirus-death-rate-estimates/ )

ตัวเลขข้อมูลของภาพใหญ่ภาพรวมกำลังบอกกล่าวให้เราฟังกันอยู่แล้ว การติดเชื้อในทั่วโลกขณะนี้มีจำนวนต่ำกว่า 200,000 รายนิดเดียว และไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเลขจะต้องทะลุขีดดังกล่าวนี้ไปเรียบร้อยแล้วในเวลาที่คุณๆ อ่านข้อเขียนชิ้นนี้อยู่ ปัจจุบันโลกมีประชากรทั้งสิ้นราว 8,000 ล้านคน จำนวนผู้ติดเชื้อจะต้องพุ่งพรวดไปถึง 80 ล้านคนทีเดียวจึงจะไปถึงระดับแค่ 1% ดังนั้น จำนวนการเสียชีวิตเวลานี้ ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 8,000 คน หรือเท่ากับ 0.00001% ของประชากรทั่วโลก

ถ้าหากว่าในที่สุดแล้ว การประมาณของของพวกมืออาชีพได้รับการพิสูจน์ว่าผิดพลาดอย่างเลวร้าย พวกเขา- ตลอดจนพวกเจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้เคยเชิดชูฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ชนิดเลวร้ายที่สุดว่าเป็นภาพจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นมา รวมทั้งใช้มันเป็นฐานสำหรับการกำหนดนโยบาย— จะต้องอย่าลืมคิดคำนึงถึงความรับผิดชอบของพวกเขาด้วย

ในระยะยาว พวกเขาอาจเป็นเสมือนเด็กเลี้ยงแกะในนิทานอีสปที่ร้องตะโกนว่า “หมาป่า” –โดยที่ถ้าหากต่อไปเกิดการระบาดใหญ่ระดับทั่วโลกซึ่งเป็นของจริงขึ้นมา การทำนายของพวกเขาก็อาจจะถูกโห่ฮาใส่และถูกเพิกเฉยละเลย ส่วนในระยะสั้น พวกเขาอาจค้นพบว่าพวกเขาถูกประณามกล่าวโทษด้วยข้อหาเข่นฆ่าเศรษฐกิจอย่างใหญ่โตเลวร้าย

ไวรัส VS เศรษฐกิจถดถอย

เรื่อง “การเข่นฆ่าเศรษฐกิจ” นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจริงๆ มันหมายถึงการสูญเสียรายได้, เงินชดเชยการให้พนักงานออกจากงาน, การล้มละลาย, ธุรกิจปิดกิจการ, ความยากจน, ความหวังที่ถูกพังทำลาย, และบาดแผลทางจิตใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดติดตามมาก็จะทำให้ผู้คนถึงตายกันได้จริงๆ

ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2018 ของ บัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Academy of Science of the USA) พบว่า ความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2008 มีผลทำให้ความดันเลือดของผู้คนในสหรัฐฯเพิ่มสูงกันจริงๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pnas.org/content/115/13/3296) การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อดัง “แลนสิต” (Lancet) เมื่อปี 2016 พบว่า ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลกๆ ราวๆ ครึ่งล้านคน มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจถดถอยคราวเดียวกันนี้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.telegraph.co.uk/news/2016/05/25/financial-crisis-caused-500000-extra-cancer-death-according-to-l/ ) งานวิจัยจากออกซ์ฟอร์ดก็ค้นพบว่า มีกรณีฆ่าตัวตายมากกว่า 10,000 รายโยงใยกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.forbes.com/sites/melaniehaiken/2014/06/12/more-than-10000-suicides-tied-to-economic-crisis-study-says/#2b39354d7ae2)

จะเอามากกว่านี้ไหม? ความยากลำบากภายหลังเศรษฐกิจถดถอยครั้งนี้ ได้ขับดันให้เกิดกรณีการฆ่าตัวตาย 10,000 รายในอียูและสหรัฐฯ ขณะที่ครอบครัวชาวสหราชอาณาจักร 10,000 ครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้านและผู้คนราว 1 ล้านคนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้ตามรายงานข่าวใน เดอะ การ์เดียน ปี 2013 (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/society/2013/may/15/recessions-hurt-but-austerity-kills )

การที่ โควิด-19 จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น เวลานี้ดูทำท่าจะแน่นอนแล้ว แต่ภาวะดังกล่าวจะยืดเยื้อยาวนานแค่ไหนยังไม่เป็นที่ทราบกัน ถ้าหากไวรัสนี้ออกฤทธิ์เดชถึงจุดสูงสุดในเดือนเมษายน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการดีดตัวกระเตื้องกลับขึ้นมา ด้วยแรงขับดันจากพวกผู้บริโภคที่อาจออกมาจับจ่ายใช้สอยอย่างระเบิดระเบ้อหลังถูกกักเอาไว้มาหลายเดือน และการฟื้นตัวแบบกราฟรูปตัว V ก็จะเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อน ทว่านี่เป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น

สิ่งที่แน่นอนยิ่งกว่านี้เสียอีกคือว่า พวกที่มีความเสี่ยงอาจเสียชีวิตจากไวรัสนั้นจะอยู่ในจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ชัดเจนแน่นอน แต่พวกที่อยู่ในความเสี่ยงจากผลร้ายทางเศรษฐกิจซึ่งติดตามมานั้นจะถูกจัดถูกจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ที่กว้างขวางใหญ่โตกว่ากันนักหนา ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะติดตามมา มีความเป็นไปได้ที่จะเข่นฆ่าผู้คนได้มากยิ่งกว่าไวรัสด้วยซ้ำ

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้อันรุนแรงร้ายกาจทำนองนี้แล้ว รัฐบาลของชาติต่างๆ จึงต้องโฟกัสความสนใจให้มากกว่าเพียงแค่ประเด็นปัญหาเพียงประเด็นหนึ่งเดียว พวกเขาจำเป็นต้องคาดคำนวณความเสี่ยงต่างๆ, จัดลำดับความสำคัญของจุดมุ่งหมายต่างๆ, และพิจารณาทางเลือกที่อาจกระทำได้ทั้งหมด จากทัศนะมุมมองที่กว้างขวางและหลากหลาย ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการ --แล้วจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติการด้วยความสุขุม ไม่ใช่เพราะแพนิกตื่นกลัว

ในการนี้พวกเขามีกรณีศึกษาที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ --โดยที่โดดเด่นก็คือเกาหลีใต้ แต่นอกจากนั้นแล้วยังมีพวกระบอบประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน ให้ใช้เป็นมาตรวัดได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี น่าเสียใจว่าจังหวะเวลาสำหรับกระทำดังกล่าวนี้ อาจจะผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว

19 มี.ค. 2563    โดย: แอนดรูว์ แซลมอน
https://mgronline.com/around/detail/9630000027996

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
รพ.รามาฯ กลับมาตรวจโควิด-19 ได้แล้ว หลังประกาศงดตรวจเพราะสั่งซื้อน้ำยาตรวจเข้ามาไม่ทัน ล่าสุด ได้รับสนับสนุนน้ำยาจากกรมวิทย์แล้ว วอนคนไม่มีอาการอย่าเพิ่งมาตรวจ

วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าวถึงกรณี รพ.รามาฯ ออกประกาศงดให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า ที่ออกประกาศไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีปัญหาการสั่งซื้อน้ำยาตรวจจากบริษัทเอกชนเข้ามาไม่ทัน โดยน้ำยาตรวจจะเข้ามาถึงวันที่ 23 มี.ค.นี้ แต่ล่าสุด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานมาว่า จะส่งน้ำยาตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาให้ รพ.รามาฯ ใช้ระหว่างรอของที่สั่งไว้จะมาถึง ทำให้ขณะนี้ รพ.รามาฯ สามารถกลับมาตรวจหาเชื้อฯ ได้ใกล้เคียงปกติแล้ว

“อย่างไรก็ตาม ขอวิงวอนประชาชนว่า หากยังไม่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อย่าเพิ่งมาตรวจ เพราะเป็นการเพิ่มความต้องการเทียม ทำให้การตรวจที่จำเป็นจริงๆ เกิดความล่าช้าไปด้วย ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข คำแนะนำของบุคลากรสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด หากมีประวัติเสี่ยงให้กักตัวเองที่บ้าน 14 วันเพื่อรอดูอาการ” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

20 มี.ค. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
แพทย์เตือนดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในโรคโควิด-19 เหตุทำลายปอด ระบบทางเดินหายใจ หลังพบ 11 คน ติดจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน หนุนมาตรการปิดสถานบันเทิงผับบาร์ สนามมวย เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น

วันนี้ (17 มี.ค.) ที่เดอะฮอลล์ บางกอก เครือข่ายปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนา “เหล้า บุหรี่ กับความเสี่ยง โควิด-19” ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำ ด้วยถูกการคัดกรองจากเครื่องวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัย และนั่งห่างกันมากกว่าหนึ่งเมตร

รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเสวนาผ่านการวิดีโอคอลว่า แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อ อาทิ วัณโรคปอด ปอดบวม โรคติดเชื้อในปอด ส่วนเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในปอดได้เช่นกัน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสรับเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเมื่อดื่มเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆได้ การตั้งวงดื่มเหล้ากับเพื่อนหรือเที่ยวในสถานบันเทิงยิ่งเสี่ยงหนัก หากมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแค่หายใจ หรือหยิบจับภาชนะร่วมกันก็ติดเชื้อได้แล้ว เพราะนั่งในระยะใกล้ จากสถิติพบผู้ใหญ่ ติดไวรัสโควิด-19 ง่ายกว่าวัยอื่น ส่วนผู้ที่เสียชีวิตจะเป็นกลุ่มคนสูงวัยและคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

“หลายคนอาจสงสัยว่าทุกคนที่ดื่มเหล้าแก้วเดียวกันจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกคนหรือไม่นั้น อาจกล่าวได้ว่ามีสิทธิรับเชื้อกันทุกคน เพราะนักดื่มส่วนใหญ่มีกลไกในแง่ความเป็นอยู่ด้านสุขลักษณะหรือการดูแลตัวเองน้อย จึงมีโอกาสรับเชื้อมากขึ้น เชื้อไวรัสจะส่งผ่านแก้วที่ใช้ร่วมกัน เข้าสู่ทางเดินหายใจทางจมูกและปาก เพียงหายใจใกล้กันหรือนั่งใกล้กันก็สามารถติดเชื้อได้แล้วเพราะผู้ติดเชื้อจะมีอาการไอ และมีน้ำมูกเชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะและน้ำลายถ้าเกิดการไอ ละอองน้ำลายจะฟุ้งกระจายไปสู่ภาชนะของผู้อื่นส่งผลให้โต๊ะเดียวกันติดเชื้อ” รศ.พญ.รัศมน กล่าว ​

รศ.พญ.รัศมน กล่าวต่อว่า ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำต้องระมัดระวังตัวมากกว่าคนปกติ เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ติดเหล้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดเชื้อในปอดถึง 2.9 เท่า และยังพบอีกว่า เหล้าเป็นสาเหตุของอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มของผู้ติดเชื้อวัณโรค ปอดบวมถึง 13.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร ทั้งนี้เห็นด้วยกับการที่ภาครัฐกำลังออกมาตรการปิดสถานบันเทิง ถือเป็นมาตรการทั่วไปในการสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็พบว่ามีสถานบันเทิงหลายแห่งก็ทยอยปิดกันไปบ้างแล้ว การงดสังสรรค์ จัดกิจกรรมที่มีผู้คนแออัด รวมถึงปิดสถานบันเทิง จะช่วยชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นจังหวะดีที่นักดื่มจะหันมาดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการปกป้องตนเอง ต้องพยายามเว้นระยะห่างกัน ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายให้แข็งแรง การใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านเชื้อโรคนี้ได้​

ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสูบบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. การสูบบุหรี่มวน และบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ปอดไม่แข็งแรง การสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียว ก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพปอด และถ้าสูบเป็นระยะเวลานานสามารถนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานจากวารสารการแพทย์จีน ระบุว่า ในผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงรวมถึงเสียชีวิตเป็นผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง14 เท่า 2. การแบ่งกันเสพ บุหรี่มวนเดียวกัน หรือการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกัน อาจจะส่งผลต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้จากทางน้ำลายหรือเสมหะ ดังจะเห็นได้จากที่มีข่าว คนไทย 11 คนติดเชื้อจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ร่วมกับชาวฮ่องกงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดังนั้น ช่วงเวลานี้ จึงเป็นเวลาอันสมควรที่จะเลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างสุขภาพปอดให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการติดไวรัสโควิด-19

ดร.วศิน กล่าวว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนจากทั่วโลกกล่าวถึงการงดสูบบุหรี่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เช่น ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ วิตตี้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของอังกฤษ ระบุว่า “เป็นช่วงเวลาที่จะเลิกบุหรี่ เพราะคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงมีความเสี่ยงต่อ โคโรน่าไวรัส” ตามรายงานจากสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ การเลิกสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสมีสุขภาพที่ดีได้ภายใน 20 นาที หลังเลิกสูบบุหรี่หัวใจจะกลับสู่อัตราการเต้นปกติ การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ความดันโลหิตก็เริ่มลดลง และภายใน 72 ชั่วโมงเซลล์ที่แข็งแรงจะเริ่มแทนที่เซลล์ที่เสียหายในปอด และปอดก็จะกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง รวมถึงการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าด้วย มีการทดลองในหนู พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความไวในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ และเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบซึ่งเกิดจากการสูบไอของบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “อิวาลี่” (EVALI) ซึ่งขณะนี้ในสหรัฐฯ มียอดผู้เสียชีวิต 68 ราย และปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนถึง 2,807 ราย (ข้อมูลวันที่18กุมภาพันธ์ 2563)

​ทั้งนี้ ภายในงาน องค์กรด้านเด็กและเยาวชน 17 องค์กร ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์และมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจุดยืนและข้อเสนอ ดังนี้ 1. ขอให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามข้อแนะนำ ของกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด ไม่กระทำการใดๆที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมเฝ้าระวังแจ้งเหตุบุคคลกลุ่มเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง 2. ขอเรียกร้องต่อเพื่อนเยาวชน ให้หยุดพฤติกรรมการสังสรรค์ การรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยง รวมถึงงดเข้าไปในพื้นที่ถูกระบุเป็นสถานที่ห้าม เช่น สถานบันเทิง ผับบาร์ สนามมวย ฯลฯ ตลอดจนขอให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงของโรค 3. ขอให้เด็กและเยาวชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้หลีกเลี่ยงการส่งต่อข้อมูลที่มีที่มาไม่ชัดเจน ไม่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลที่อาจสร้างความสับสนเข้าใจผิด สร้างความเกลียดชัง ความตื่นกลัว (เฟกนิวส์) 4. ขอให้รัฐบาล จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ แจกฟรีให้กับประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 “....บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”

5. ขอเรียกร้องต่อผู้ประกอบการ บริษัทห้างร้านต่างๆ อาทิ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทุกแบรนด์ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อทั้งรายใหญ่และรายย่อย ได้ถือโอกาสแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดเตรียมจุดล้างมือ สบู่ น้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ประชาชนได้ดูแลสุขอนามัย ล้างมือให้เป็นกิจวัตรประจำวัน 6.​ขอให้รัฐบาล จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ แจกฟรีให้กับประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 “....บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” 7.​ขอเรียกร้องต่อผู้ประกอบการ บริษัทห้างร้านต่างๆ อาทิ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทุกแบรนด์ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อทั้งรายใหญ่และรายย่อย ฯลฯ ได้ถือโอกาสแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดเตรียมจุดล้างมือ สบู่ น้ำ เจลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ประชาชนได้ล้างมือให้เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยเร็วๆนี้เครือข่ายจะประสานกับเพื่อนอาชีวะ เพื่อช่วยกันออกแบบอุโมงค์ล้างมือต้นแบบ เพื่อส่งต่อให้บริษัทต่างๆ ไปขยายผลต่อ

17 มี.ค. 2563 15:34   โดย: ผู้จัดการออนไลน์