ผู้เขียน หัวข้อ: สภาเภสัชกรรม ร่อนแถลงถึงรัฐบาล วิตก CPTPP กระทบอุตสาหกรรมยาในไทย  (อ่าน 646 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ไทยยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้ (28 เม.ย.)

สภาเภสัชกรรมโดย รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม ออกแถลงการณ์เรียกร้องกลไกทางวิชาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการที่ไทยจะยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วม CPTPP เพื่อความรอบคอบและส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศ

ในการยื่นขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP นั้น ไม่ควรเสนอให้หน่วยงานปรับแก้กฎระเบียบให้สอดคล้องกับความตกลง CPTPP ทั้งๆ ที่การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วม เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มกระบวนการเท่านั้น ควรใช้เงื่อนไขที่ต้องใช้เวลาการปรับแก้กฎระเบียบเพื่อต่อรอง แต่ควรเสนอให้หน่วยงานเสนอเงื่อนไขต่างๆ เพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองกับประเทศภาคีต่างๆ ให้ไทยได้ผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด

สภาเภสัชกรรมได้ศึกษาติดตามการเจรจาและเนื้อหาของข้อตกลง CPTPP มาโดยตลอด จนถึงฉบับล่าสุดที่สหรัฐถอนตัวออกแล้วนั้น แม้ว่าหลายประเด็นในเรื่องสิทธิบัตรที่ส่งผลต่อการเข้าถึงยาจะถูกถอดออกไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีเนื้อหาอีกหลายส่วนที่ส่งผลต่อการเข้าถึงยา การพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ

นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อเรื่องสุขภาพและระบบสาธารณสุขในด้านอื่นอีก เช่น การผูกโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับระบบสิทธิบัตร (Patent linkage) ข้อผูกมัดในบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและทรัพย์สินทางปัญญา บทที่ว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่ให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องรัฐผ่านกลไกอนุญาโตตุลาการนอกประเทศได้ และกรณีสินค้าเหล้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบบุหรี่ ที่ลดภาษีนำเข้าลดลงจนเหลือ 0% และการเข้าร่วมความตกลง UPOV 1991 เป็นต้น

ในการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ ประเทศต่างๆ มีความระมัดระวัง มีกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และกลไกทางวิชาการ โดยให้หน่วยงานทางวิชาการอิสระและมีความน่าเชื่อถือ ทำการศึกษาอย่างรอบด้านถึงผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ และทำรายงานเสนอต่อรัฐสภาและต่อสาธารณะ เพื่อช่วยให้การเจรจาความตกลงระหว่างประเทศมีความรอบคอบและส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศ เช่น รายงานวิเคราะห์เพื่อผลประโยชน์ชาติ (National Interest Analysis, NIA) ของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ที่เผยแพร่สู่สาธารณะและเสนอต่อรัฐสภา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ เป็นต้น

ประเทศไทยเคยมีกลไกที่สำคัญบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 ซึ่งเป็นกลไกที่ดีก่อให้เกิดความโปร่งใส รอบคอบ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะรัฐสภาที่เป็นผู้แทนปวงชาชาวไทย ทั้งก่อนการเจรจา ระหว่างการเจรจา และหลังการเจรจา แต่ไม่มีความแน่ชัดในการกำหนดให้มีกลไกทางวิชาการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ เสนอต่อสาธารณะและรัฐสภา

ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมขอเรียกร้องให้รัฐบาลชุดนี้ใช้กลไกเช่นที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 ในการเริ่มเจรจาขอเข้าร่วม CPTPP เพื่อก่อให้เกิดความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และสร้างกลไกทางวิชาการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ โดยต้องทำรายงานการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ เสนอต่อสาธารณะและรัฐสภาก่อนการทำความตกลงระหว่างประเทศ

27 เม.ย. 63
https://www.sanook.com/news/8103846/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความเข้าใจและความก้าวหน้าหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (CPTPP/ซีพีทีพีพี) ตามแผนการของรัฐบาล เพราะเกรงว่าอาจทำให้ไทยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงยาของคนไทยและการแพทย์

การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนายอนุทินประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เพื่อพิจารณาผลกระทบจาก CPTPP เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (27 เม.ย.)

รัฐมนตรีรายนี้ ยังสั่งให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากประเทศไทยตัดสินใจเป็นสมาชิกของ CPTPP ให้คณะรัฐมนตรีทราบ โดยให้ระบุลงไปด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุน

หวั่นยา-เวชภัณฑ์-เครื่องมือแพทย์ ราคาพุ่ง
นายอนุทิน ระบุอีกว่าตนกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิต และสุขภาพของคนไทย ทั้งเรื่องผลกระทบต่อการผลิตยา ซึ่งเป็นความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทย และตนจะแจ้งเรื่องนี้ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เม.ย. ทราบ แต่คาดการณ์ไม่ได้ว่าคณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไร

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมด้วยว่าการจะแลกมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวทางการค้า การส่งออก กับ ความมั่นคงของระบบสาธารณสุขไทย เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า การเข้าร่วมในข้อตกลง CPTPP ประเทศไทย จะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์

สมาชิก CPTPP ส่วนใหญ่ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญ
นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมอีกว่า ขณะนี้มีเพียง 11 ประเทศ เท่านั้นที่เป็นสมาชิก และส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นประเทศที่เป็นตลาดส่งออก ที่สำคัญของเรา ประกอบกับ มิติการค้าระหว่างประเทศ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และหลังการระบาดจบลง ยังไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดจึงต้องรีบเร่งพิจารณาในช่วงนี้

ด้านองค์การเภสัชกรรม กล่าวระหว่างการประชุมกับนายอนุทินอีกว่า หน่วยงานรู้สึกกังวลในหลายประเด็นหากไทยจะเข้าร่วม CPTPP โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน และไทยอาจเสียประโยชน์ 3 ด้านได้แก่

1.ด้านสิทธิบัตรและยา
2.ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกิดการผูกขาดสายพันธุ์พืชเป็น 20-25 ปี
3.ด้านจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ไทยไม่สามารถกำหนดมูลค่าและจะผ่อนผันได้

27 เม.ย. 63
https://www.sanook.com/news/8103734/