ผู้เขียน หัวข้อ: การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขไม่ควรเป็นข่าวเช่นนี้  (อ่าน 2082 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด


เข้าสู่ฤดูการแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราขการแล้ว ข้อความข้างล่างนี้เป็นข่าว และคำสัมภาษณ์ของบุคคลต่างๆเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
--- นิดาโพล (สำรวจระหว่าง 24-26 กย 2562)
ประชาชนครึ่งหนึ่ง(50.64%) คิดว่าการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ไม่มี/ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม  และ
เกือบครึ่ง(46.65%)คิดว่ามีการใช้เส้นสาย
ประชาชนคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งตั้งโยกย้าย 3 อันดับแรก คือ
*ความสามารถและประสบการณ์ (37.95%)
*ความสามารถและผลงาน(24.36%)
*ความอาวุโสในตำแหน่ง(16.93%)
--- ยึดกฎ ยึดระเบียบ ยึดหลักการ ยึดความเป็นธรรม ยึดความโปร่งใส ทำเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน ทำเพื่อส่วนรวม น่าจะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับผู้มีอำนาจ
--- ไม่ใช่ใครไร้เส้น ไร้สาย ก็ถูกจับยัดไปลงตำแหน่งที่ไม่ถนัด ไม่เต็มใจเหมือนที่ผ่านๆ มา
--- การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ในบางหน่วยงาน เหมือน สงครามที่มิรู้จบ
--- การแต่งตั้งข้าราชการ...จะต้องยึดหลัก”อาวุโส” ไม่ให้มีการแต่งตั้งข้ามหัวกัน

--- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๖ วรรค ๒
รัฐพึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ  ให้เป็นไป ตามระบบคุณธรรม  โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อํานาจ  หรือกระทําการ โดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่  หรือกระบวนการแต่งตั้งหรือการพิจารณา ความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

--- ส่วนราชการ ต้องยึดถือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหลักคุณธรรมจริยธรรม หลัก ผลงาน และความรู้ความสามารถเป็นที่ตั้ง ส่งเสริม และรักษา “คนเก่ง” และ “คนดี” ให้คงอยู่ในระบบราชการและเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้บังคับบัญชา ผู้นําองค์กร ข้าราชการผู้ปฏิบัติจะไม่กล้าที่จะใช้ระบบอุปถัมภ์ เกิดจิตสํานึกที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรม จริยธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่และการดําเนินชีวิต เมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการแล้ว  คุณงามความดีก็คงยังปรากฏและจารึกอยู่ในหัวใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและสังคม โดยทั่วไป เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับข้าราชการรุ่นหลังที่จะเกิดความหวังและ แรงจูงใจที่จะทําความดี เพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยราชการและ ประเทศชาติโดยรวมสืบต่อไป ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงพระราชทานไว้ 
 
“... ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทําทุกคนให้เป็น คนดีได้ทั้งหมด การทําให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่อยู่ที่ การทําให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ตุลาคม 2019, 11:59:24 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
NIDA Poll การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2019, 11:34:08 »
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 กันยายน 2562 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.95 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 24.36 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 16.93 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 12.54 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 6.23 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.03 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ การใช้เส้นสายของผู้พิจารณา เอาพรรคพวกเดียวกัน ขณะที่บางส่วนระบุว่าใครสามารถเข้าถึงหัวหน้ามากกว่าก็จะได้ และร้อยละ 0.24 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.04 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 25.68 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 17.68 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 9.36 ระบุว่า ความรู้ (เช่นระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรม ในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 5.84 ระบุว่า เป็นวิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.36 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 5.44 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างประกอบกันที่ดูจากความเหมาะสมและความสามารถในการทำงาน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ หน้าที่และความผิดชอบ และบางส่วนระบุว่า การใช้เส้นสายว่าของบุคคลผู้พิจารณาเอาพรรคพวกเดียวกัน ที่ใครเข้าถึงหัวหน้ามากกว่าก็จะได้ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.86 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 13.10 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 12.78 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 3.59 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ สำหรับผลสำรวจในปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.92 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 34.00 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 11.04 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย ร้อยละ 10.56 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก และร้อยละ 4.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.07 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 23.72 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 13.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 3.83 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.68 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 22.56 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 22.00 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 15.60 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.65 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 21.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 18.85 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 6.23 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 8.63 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ปี 2559 ผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.16 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 19.92 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 8.32 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 9.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้าย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 29.55 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะ ทำอะไรไม่ได้เลย เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 9.02 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.07 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 2.40 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 0.08 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ พิจารณาด้วยตนเองแล้วนำไปปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ หรือฝ่ายกฎหมายในหน่วยงาน และร้อยละ 1.20 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.76 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 28.56 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะทำอะไรไม่ได้เลย เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามสั่งผู้บังคับบัญชา ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 12.24 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 2.72 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 2.48 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 1.04 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พิจารณาตนเองและปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ ขณะที่บางส่วนระบุว่าฟ้องร้องสหภาพแรงงาน และฟ้องศูนย์ดำรงธรรม และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขอดูที่สาเหตุและความรุนแรงก่อน
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.29 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.58 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
ตัวอย่างร้อยละ 58.23 เป็นเพศชาย และร้อยละ 41.77 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 3.03 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 21.25 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 26.68 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 43.85 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 5.19 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.05 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.51 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.28 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 25.40 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 71.80 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.72 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 0.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 12.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 52.39 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 5.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 24.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 15.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 24.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 3.43 ไม่ระบุรายได้

ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 30 กันยายน 2562
...…...……………………....



story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ส่วนหนึ่งมาจากการดึงคนนอกที่ไม่มีความรู้ ไร้ประสบการณ์มาบริหาร จึงไม่เข้าใจสภาพปัญหาทำให้การแก้ไขผิดพลาด.......................................
เป็นเสียงสะท้อนจากคนในกระทรวงคมนาคม ที่ผิดหวังต่อการทำงานจากผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยไม่มีความรู้ และความสามารถที่เหมาะกับงานแต่ละกรม กลับเลือกเอาคนใกล้ชิดที่ขอบประจบเอาใจนาย ทั้งที่ไร้ความรู้ประสบการณ์ ทำให้งานออกมาแย่....................

มติชนออนไลน์ 22 ตุลาคม 2561

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
อาวุโสกับพวกพ้อง?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2019, 11:45:17 »
......แต่รัฐธรรมนูญก็ยังเปิดทางออกไว้ให้ว่า ถ้าจัดทำกฎหมายไม่ทันกำหนด “ให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจดำเนินการตามหลักอาวุโส” ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ ครม.กำหนดให้ใช้หลักอาวุโสแค่ 33% แสดงว่าส่วนที่เหลือให้ใช้หลักความเหมาะสม และความรู้ ความสามารถ เปิดช่องสู่ระบบอุปถัมภ์.........

รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ จะต้องได้รับความเป็นธรรม โดยให้ดำเนินการตามระบบคุณธรรม ยึดถือความรู้ความสามารถ และความเหมาะสมเป็นหลักพื้นฐาน แต่ต้องคำนึงถึงหลักอาวุโสด้วย แต่การปฏิรูปตำรวจยังถูกแช่แข็งอยู่ แค่หลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งโยกย้ายก็ยังคาราคาซังอยู่...........

ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 ส.ค. 2562

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
--- การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม
โดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให็เป็นรูปธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย ค่านิยม
• ลักษณะของระบบอุปถัมภ์
• วิธีการที่ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์
• ความเสียหายจากระบบอุปถัมภ์
• แนวคิด กฎเกณฑ์ที่ควรนำมาปฏิบัติ
• กระบวนการบริหารงานบุคคลในระบบราชการ
• กระบวนการให้ความเป็นธรรมสถิติคดี คดีตัวอย่าง
 • หนทางสู่ความเป็นรูปธรรม
• แนวคิดยุทธศาสตร์ชาติ
• วาระแห่งชาติ
• ข้อเสนอแนะ
.................................................................
ลักษณะที่ไม่ดีของสังคมไทย
ตีค่าคนจากทรัพย์สินเงินทอง ยกย่องคนรวย
ยกย่องผู้มีฐานะทางสังคน คนมีอำนาจบารมี
ชอบใช้ระบบเส้นสาย เล่นพรรค เล่นพวก ต้องการมีอำนาจบารมี
นิยมการประจบสอพลอ
ชอบห้อมล้อมใกล้ชิดผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ ยึดถือระบบเจ้านายลูกน้อง
ยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการ และเหตุผล
ไม่เคารพกฎระเบียบ/วินัย ยุดถือประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม
ชอบอิสระ ไม่ทำงานตามระบบ
ชอบพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่อยู่บนพืนฐานของความเป็นจริง

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
 ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องสร้างพฤติกรรมองค์กรในการปฏิเสธการให้ อุปถัมภ์และการรับอุปถัมภ์ ด้วยการทําให้เกิดความละอายใจที่จะให้หรือรับการ อุปถัมภ์ (ควบคุมจากภายใน) และการทําให้เกิดความเกรงกลัวผลที่จะตามมา อันได้แก่ ความเกรงกลัวต่อบาป ต่อกฎหมายอาญา ต่อการถูกยึดทรัพย์สิน  ต่อความผิดทางวินัย ต่อความเสียหายแก่ตําแหน่งหน้าที่ และต่อการเสื่อมเสีย ชื่อเสียงในสังคม (ควบคุมจากภายนอก) .......................

สังคมของส่วนราชการต่าง ๆ ควรยกย่อง สนับสนุนบุคคลที่เป็น คนดี มีคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร โดยการให้รางวัล ยกย่องชมเชย ผลจากการประกอบคุณงามความดีและเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่น ๆ  ในองค์กรได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง สร้างแรงบันดาลใจให้เป็นคนดี เมื่อเป็นคนดี ก็ย่อมได้รับแต่สิ่งที่ดี โดยไม่จําเป็นต้องพึ่งพาอํานาจบารมีจากบุคคลใด ตลอดจน เพื่อลดแรงจูงใจของการเกิดระบบอุปถัมภ์และนําไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน..........................

ภาคสื่อมวลชนควรนําเสนอข่าวผลเสียหายจากการใช้ระบบอุปถัมภ์ การทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งผลเสียหายและผลของคดีความที่เกิดขึ้นให้กับสังคม ได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์ สร้างจิตสํานึกให้กับประชาชนได้ตระหนักถึง คุณงามความดี การไม่กระทําผิดกฎหมาย กฎ ระเบียบของนักการเมืองและข้าราชการ รวมถึงการปฏิเสธบุคคลที่มีอํานาจ ร่ํารวยที่มาจากระบบอุปถัมภ์และเข้ามา กอบโกยผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ ................................

โดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ