ผู้เขียน หัวข้อ: สาวลูก 6 บุก สธ.ขอความเป็นธรรม หลัง รพ.ทุ่งสง ตรวจเอชไอวีพลาด ต้องถูกตีตรา  (อ่าน 526 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ทนายความพาสาวร้อง สธ.ขอความเป็นธรรม หลังคลอดลูกคนที่ 4 และ 5 ที่ รพ.ทุ่งสง หมอบอกพบเชื้อเอชไอวี จนต้องกินยาต้าน ถูกสังคมตีตรา จนต้องย้ายครอบครัวไปพิษณุโลก แต่พอมีลูกคนที่ 6 กลับตรวจไม่พบเชื้อทั้งตัวเองและลูก จี้ตรวจสอบ พร้อมเรียกร้องค่าเสียหาย สธ.เตรียมสอบข้อเท็จจริง

วันนี้ (3 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความ และประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม พร้อมด้วย นางมณีรัตน์ คงหอม อายุ 31 ปี ผู้เสียหายจากการตรวจเชื้อเอชไอวีผิดพลาดที่ รพ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จนเข้าใจผิดว่า ติดเชื้อเอชไอวีมานานกว่า 5 ปี เดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อให้ตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น และเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมี นพ.พิทักษ์พล บุญยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขต 11 เป็นตัวแทนปลัด สธ. รับมอบหนังสือ

นางมณีรัตน์ กล่าวว่า ตนมีลูกกับสามีคนแรก 5 คน โดยไปคลอดลูกคนที่ 4 และ 5 ที่ รพ.ทุ่งส่ง เมื่อปี 2557 และ 2558 ซึ่งแพทย์ระบุว่า ตรวจพบเชื้อเอชไอวีในเลือด ตนและลูกจึงต้องรับยาต้านไวรัส แต่ตนไม่ได้กิน ให้แค่ลูกคนที่ 4 และ 5 กินยาอย่างต่อเนื่องมา 5 ปี ซึ่งลูกก็แข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม เหตุที่เกิดขึ้นทำให้ได้รับความทุกข์ทรมาน จากการถูกสังคมตีตรา ลูกถูกเพื่อนล้อว่าแม่เป็นเอดส์มารับ ทำให้ไม่กล้าไปรับลูกที่โรงเรียน พี่เลี้ยงเด็กที่จ้างมาก็รังเกียจลูกทั้ง 2 คน ข้างบ้านไม่มีเด็กเล่นด้วย จนต้องย้ายครอบครัวไปพิษณุโลก จึงได้พบสามีคนที่ 2 และมีลูกคนที่ 6 แต่เมื่อไปคลอดที่ รพ.ชาติตระการ พิษณุโลก โดยไม่ได้มีการฝากครรภ์ จึงรู้ว่าลูกไม่ติดเชื้อเอชไอวี ตนก็ไม่พบเชื้อ โดย รพ.ได้ตรวจยืนยันอีก 3 ครั้งก็ไม่พบเชื้อ จึงนำลูกคนที่ 4 และ 5 ไปตรวจก็ไม่พบเชื้อเอชไอวี

นางมณีรัตน์ กล่าวว่า ตนต้องการมาขอความเป็นธรรม อยากให้คนรอบข้างรู้ว่า ตนและครอบครัวไม่มีใครป่วยหรือติดเชื้อเอชไอวี และอยากให้ สธ.ถอดชื่อตนและลูกออกจากบัญชีผู้ติดเชื้อ และให้ รพ.ทุ่งสงแสดงความรับผิดชอบ เพราะ รพ.ระบุว่า จะจ่ายเงินเยียวยา 50,000 บาท ก็ยังไม่ดำเนินการ กระทั่งมาร้องศูนย์ดำรงธรรมก็ยังเงียบ จึงมาร้องต่อสภาทนายความ ขณะที่คำชี้แจงของ รพ.ระบุแค่ว่า เป็นความผิดพลาดของเครื่องมือในการตรวจ ไม่ใช่แพทย์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็คิดว่าน่าจะมีคนที่เป็นลักษณะคล้ายตนอีกในพื้นที่

นพ.พิทักษ์พล กล่าวว่า เรื่องการตรวจสอบ สธ.จะดำเนินการตามระบวนการ โดยจะประสานให้ รพ.ทุ่งสง ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มายัง สธ. คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ ส่วนการเยียวยาผู้เสียหายจะรับผิดชอบชดเชยโดยไม่ดูว่าใครถูกหรือผิด โดยใช้การเยียวยาตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณา


3 ก.ค. 2562 13:45   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สธ.ตั้ง คกก.สืบข้อเท็จจริงสาวร้อง รพ.ตรวจเอชไอวีพลาดแล้ว เรียกเอกสารรักษามาตรวจสอบได้เร็วๆ นี้ เผยไม่มีการฝากครรภ์ เป็นการคลอดฉุกเฉิน มีการตรวจเอชไอวีตามปกติ เมื่อพบจึงให้ยาต้านไว้ก่อน ระบุ แล็บ อุปกรณ์ได้มาตรฐาน ยันดูแลเยียวยา ประสาน สปสช.พิจารณา

นพ.พิทักษ์พล บุญยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขตสุขภาพที่ 11 กล่าวถึงกรณีสาวลูก 6 ร้องให้ตรวจสอบ นพ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ตรวจเอชไอวีพลาดทำให้เข้าใจว่าติดเชื้อนานกว่า 5 ปี ว่า ปลัด สธ.ได้รับเรื่องร้องเรียน และให้มีการตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงแล้ว อยู่ระหว่างการเรียกเอกสารการดูแลผู้ป่วยรายนี้ คาดว่าน่าจะได้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังพื้นที่ ข้อมูลเบื้องต้น ทราบว่าห้องแล็บเป็นไปตามมาตรฐานของสภาเทคนิคการแพทย์ อุปกรณ์การตรวจเชื้อเอชไอวีก็เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.)

นพ.พิทักษ์พล กล่าวว่า ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นเบื้องต้น คือ ระหว่างที่หญิงสาวรายนี้ตั้งครรภ์ลูกคนที่ 4 ไม่ได้มาฝากครรภ์ที่ รพ.ทุ่งสง วันที่คลอดก็เป็นการคลอดฉุกเฉิน ระหว่างที่มาเฝ้าไข้ลูกอีกคนที่ป่วยเข้า รพ.ทุ่งสง ซึ่งหลังคลอดเจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อเอชไอวีตามปกติเพื่อจะได้ป้องกันทารก โดยครั้งแรกตรวจด้วย Rapid Test ให้ผลเร็ว พบว่ามีปฏิกิริยา ซึ่งยังไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นการติดเชื้อจริง จึงต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีอีไลซา ซึ่งวิธีนี้ต้องรอผล แต่ระหว่างรอผล ตามมาตรฐานรพ.ก็ต้องให้ยาต้านไวรัสกับทารก เพื่อป้องกันเอาไว้ และหลังคลอดได้นัดหมายหญิงสาวคนดังกล่าวมาตรวจยืนยันผลในครั้งที่เหลือ เพราะตามมาตรฐานต้องตรวจยืนยันด้วย 3 วิธี จึงจะบอกได้ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่

"อย่างไรก็ตาม ทราบว่าหญิงสาวรายนี้มาตามนัด แต่ไม่สะดวกให้มีการเจาะเลือดแต่อย่างใด ดังนั้น ปัญหาอาจจะเป็นเรื่องของช่องว่างในการสื่อสารหรือไม่ ส่วนการตั้งครรภ์ลูกคนที่ 5 ก็ไม่ได้มีการมาฝากครรภ์ ช่วงที่คลอดก็เป็นการคลอดฉุกเฉินเช่นเดียวกัน ผลตรวจเลือดก็พบว่ามีปฏิกิริยาเช่นกัน" นพ.พิทักษ์พล กล่าวและว่า ส่วนมีสิทธิ รพ.ทุ่งสงหรือทีรอื่น หรือฝากครรภ์จากที่อื่นมาก่อนหรือไม่ ยังไม่ได้ตรวจสอบ แต่เคยพาลูกมารักษาที่รพ.ทุ่งสง จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าสิทธิอยู่ที่รพ.ทุ่งสง

เมื่อถามว่า หลังจากนั้นได้พาลูกมารับยาต้านไวรัสฯ อย่างไร นพ.พิทักษ์พล กล่าวว่า การให้ยาต้านไวรัสในเด็กเราไม่ได้ให้ไปตลอดชีวิต ปกติจะให้ตามสูตร อย่างรายนี้ยาต้านที่ให้กับทารกเป็นสูตร 1 เดือน พอครบเกณฑ์แล้วตรวจเลือดพบว่าไม่มีเชื้อ เท่ากับเราประสบความสำเร็จในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก

นพ.พิทักษ์พล กล่าวว่า เรื่องการเยียวยาเรียนว่า จะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้พิจารณา ซึ่งมีหลักเกณฑ์ว่าต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปี หลังทราบความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทาง สธ.ยินดีที่จะอำนวยความสะดวกทางเอกสารที่เกี่ยวข้อง และยินดีให้คำแนะนำในการยื่นเรื่อง อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าการดูแลผู้เสียหายให้ดีที่สุดเป็นเรื่องเหนืสิ่งอื่นใด จึงได้กำชับพื้นที่ให้ดูแลเคสนี้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม หากต้องการการช่วยเหลือสิ่งใดก็ขอให้ช่วยเหลือกัน

 5 ก.ค. 2562 12:10   โดย: ผู้จัดการออนไลน์