ผู้เขียน หัวข้อ: เร่งผลิตแพทย์เพิ่ม ยังไม่ตอบโจทย์ ชี้ต้องให้ความสำคัญรักษาแพทย์อยู่ในระบบไปด้วย  (อ่าน 1609 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

ประธาน สพศท.ชี้ มติ ครม.เร่งผลิตแพทย์ 2.4 หมื่นคนภายในปี 2570 ยังไม่ตอบโจทย์ แนะต้องให้ความสำคัญเรื่องการรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบควบคู่กันไปด้วย แนะรัฐบาลต้องช่วยจริงจังเพราะเรื่องนี้เกินกำลังกระทรวงสาธารณสุขจะแก้ไขได้ โดยเฉพาะเรื่องการเงินการคลัง

นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) ให้ความเห็นถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม อนุมัติงบผลิตบัณฑิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ 34,838.4 ล้านบาท พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณผูกพันอีก 58,497.2 ล้านบาท รวมเป็น 93,335.6 ล้านบาท เพื่อผลิตแพทย์เพิ่ม 2 ระยะ รวมเป็น 24,562 คน ภายในปี 2570 และตั้งเป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ในปี 2576 ว่าหากถ้าดูตามตัวเลขขององค์การอนามัยโลกแล้ว ประเทศไทยก็ยังขาดแคลนแพทย์อยู่ ในกรุงเทพมหานครตัวเลขอาจจะเกิน แต่ในต่างจังหวัดบางพื้นที่มีทั้งขาดแคลนน้อยและขาดแคลนมาก ขณะเดียวกัน ปัจจุบันเมืองไทยอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดูแลคนไข้และคนไข้ก็หวังจะได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาก็ยังขาดแคลนเช่นกัน
อย่างไรก็ดี หากถามว่ามีการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นจะช่วยหรือไม่ ตนคิดว่าสามารถช่วยได้ส่วนหนึ่งแต่ปัญหาที่เจอทุกวันนี้คือแพทย์ไหลออกจากระบบอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเหมือนเลือดยังไหลอยู่ ดังนั้นสิ่งที่น่าจะทำควบคู่กันไปหรือให้ความสำคัญมากขึ้นคือทำให้แพทย์อยู่ในระบบได้ การเร่งผลิตอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์ เพราะถ้าน้ำไหลออกก็ต้องอุดรูรั่วก่อนเติมเข้าไปใหม่ ถ้ายังมีรูรั่วอยู่ก็จะแก้ปัญหาได้ไม่ดีนัก

ขณะเดียวกัน สพศท. ยังกังวลด้วยว่าการเร่งผลิตแพทย์จำนวนมากๆ จะกระทบกับคุณภาพ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเร่งผลิตมากขึ้นๆ จะกระทบต่อคุณภาพไม่มากก็น้อย สุดท้ายก็จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนอยู่ดี
"สรุปว่าการผลิตเพิ่มขึ้นดี แต่ต้องมีอย่างอื่นควบคู่กับไปด้วย ถ้าเร่งผลิตอย่างเดียวมันไม่ตอบโจทย์ 10 ปีที่ผ่านมาผลิตแพทย์เยอะแยะ เราเปิดโรงเรียนแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุขจากเดิมที่มีอยู่ไม่กี่แห่ง แต่ผมว่ามันยังไม่ตอบโจทย์ ยิ่งคนรุ่นใหม่ด้วยก็แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ไม่ยอมทนแบบหมอสมัยเก่าๆ ถ้ามีช่องทางที่คิดว่าทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีกว่าเดิม เขาก็ตัดสินใจไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ไปเปิดคลินิคเอง ยิ่งตอนนี้ธุรกิจแพทย์ความงามกำลังบูม รายได้ดี งานเบา เขาก็ไหลไป หรือภาคเอกชนที่เติบโตอย่างมาก ถ้ามีช่องทางที่ดีกว่าเขาก็ไป หรืออีกส่วนคือไม่เป็นแพทย์เลย ไปทำอย่างอื่นเลยเพราะช่วงนี้แพทย์มีความเสี่ยงถูกฟ้องร้องด้วย" นพ.ประดิษฐ์ กล่าว
สำหรับแนวทางการรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบได้นั้น นพ.ประดิษฐ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการศึกษาเยอะแล้ว จึงขอไม่ลงในรายละเอียด แต่ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต ภาระงานหนัก แพทย์บางส่วนยังทำงานมากเกินไปจนแทบไม่มีเวลาหยุด หรือเรื่องค่าตอบแทน ถ้าทำงานหนักค่าตอบแทนก็ควรสมเหตุสมผล แต่ปัจจุบันยังมีข่าวค้างค่าตอบแทนแพทย์ออกมาเป็นระยะๆ อยู่เลย หรือเรื่องอื่นๆ เช่นความก้าวหน้าในอาชีพด้วย 3-4 ประเด็นนี้ต้องตอบโจทย์ ไม่อย่างนั้นก็แก้ปัญหาการไหลออกไม่ได้ และรัฐบาลต้องช่วยด้วยเพราะเรื่องเหล่านี้อาจเกินกำลังกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องการเงินการคลัง

Wed, 2019-04-03 12:14 -- hfocus
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2019, 00:37:04 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศมี ๒๒ แห่งแล้ว(๒๕๖๑)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 เมษายน 2019, 23:36:27 »
เริ่มจากศิริราช จุฬา เชียงใหม่ รามา ขอนแก่น และสงขลา ๖ แห่งของโรงเรียนแพทย์ดั่งเดิม
หลังจาก ๒๕๑๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์เพิ่มขึนอีก ๑๖ แห่ง
โรงเรียนผลิตแพทย์ที่เป็นของรัฐบาล
๑.คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
๒.คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๔.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
๕.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๖.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๗.วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
๘.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
          --- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
          --- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร)
๙.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          --- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
          --- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
๑๐.คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
๑๑.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
๑๒.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๑๓.สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
๑๔.วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๑๕.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
๑๖.สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
๑๗.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
๑๘.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
๑๙.สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
๒๐.คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
            ---หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

โรงเรียนผลิตแพทย์ที่เป็นของเอกชน
๑.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
๒.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ข้อมูลจากแพทยสภา (Last update: ๒๕๖๑)

นอกจากนี้ยังมีศูนย์แพทยศาสตร์ในโรงพยาบาลต่างๆอีกหลายแห่ง
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย
กระทรวงสาธารณสุข
กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • เจ้าพระยาอภัยภูเบศร • ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ • ชลบุรี • เชียงรายประชานุเคราะห์ • ตรัง • นราธิวาสราชนครินทร์ • บุรีรัมย์ • ปัตตานี • พระปกเกล้า • พหลพลพยุหเสนา • พิจิตร • พุทธชินราช พิษณุโลก • แพร่ • นครพิงค์ • พะเยา • มหาราชนครราชสีมา • มหาราชนครศรีธรรมราช • มหาสารคาม • เมืองฉะเชิงเทรา • ยะลา • ร้อยเอ็ด • ระยอง • ราชบุรี • ลำปาง • วชิระภูเก็ต • ศรีสังวรสุโขทัย • ศรีสะเกษ • สงขลา • สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช • สรรพสิทธิประสงค์ • สระบุรี • สวรรค์ประชารักษ์ • สุราษฎร์ธานี • สุโขทัย • สุรินทร์ • หาดใหญ่ • หัวหิน • อุดรธานี • อุตรดิตถ์

กระทรวงกลาโหม
ภูมิพลอดุลยเดช • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

สภากาชาดไทย
สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

กรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2019, 00:38:34 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลจำนวนแพทย์ ( 31 ธันวาคม 2561 )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 05 เมษายน 2019, 10:15:06 »
* แพทย์ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม นับแต่มี พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 จานวน 60,583 คน เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (วุฒิบัตร/อนุมัติบัตร) 35,996 คน
* แพทย์ในประเทศที่ติดต่อได้ 55,763 คน (ตามที่อยู่ที่ติดต่อได้)
                อยู่  กทม.            27,511 คน
                อยู่   ภูมิภาค       28,252 คน
* ช่วงอายุแพทย์ ---ครึ่งแรกของการทำงาน                             24-40 ปี    32,131  คน
                        --- ครึ่งหลังของการทำงาน(ก่อนเกษียน)         41-60 ปี    16,023  คน
* จำนวนแพทย์ที่จบการศึกษาในแต่ละปี
2542---1.201   คน
2543---1.250   คน
2544---1.272   คน
2547---1.430   คน
2548---1.550   คน
2549---1.544   คน
2550---1.572   คน
2551---1.449  คน
2552---1.377   คน
2553---1.814   คน
2554---1.888   คน
2555---2.228  คน
2556---2.298   คน
2557---2.481   คน
2558---2.546   คน
2559---2.708  คน
2560---2.762  คน
2561---2.662  คน

(ข้อมูลจากแพทยสภา ณ 31 ธันวาคม 2561)
...

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
มติ ครม.เห็นชอบโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม อนุมัติงบผลิตบัณฑิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ 34,838.4 ล้านบาท พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณผูกพันอีก 58,497.2 ล้านบาท รวมเป็น 93,335.6 ล้านบาท ผลิตแพทย์เพิ่ม 2 ระยะ รวมเป็น 24,562 คน ภายในปี 2570 เป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ในปี 2576

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561-2570 และอนุมัติงบประมาณการผลิตบัณฑิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ 34,838.4 ล้านบาท อาทิ 1.ผลิตบัณฑิต 1.8 ล้านบาท/คน/หลักสูตร รวม 16,502.4 ล้านบาท 2.งบการเรียนการสอนด้านการแพทย์ 2 ล้านบาท/คน/หลักสูตร รวม 18,336 ล้านบาท เป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ในปี 2576
แผนการผลิตแพทย์ระยะที่ 1 (2561-2564) 9,168 คน วงเงินที่อนุมัติ 34,838.4 ล้านบาท ระยะที่ 2 (2565-2570) 15,394 คน ภายใต้ กรอบวงเงินงบประมาณผูกพัน 58,497.2 ล้านบาท

Sat, 2019-03-30 10:00 -- hfocus