ผู้เขียน หัวข้อ: เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ให้เด็กไทยไม่ติดหวาน  (อ่าน 620 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
                  จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 พบว่าเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ร้อยละ 11.2 มีภาวะอ้วน ซึ่งสาเหตุสำคัญ มาจากการมีไลฟ์ไตล์เนือยนิ่ง และกินอาหารที่มีพลังงานและน้ำตาลสูงเกินไป แต่คุณแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าอาหารและเครื่องดื่มที่ให้เด็กๆ กิน-ดื่มเป็นประจำนั้นเหมาะสมหรือไม่ ถึงเวลาแล้ว ที่เราควรหันมาทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ลูกๆ ไม่ติดหวานขานรับนโยบายภาครัฐ เพื่อส่งเสริมเด็กไทยให้กินอาหารและเครื่องดื่มอย่างเข้าใจมากขึ้น
ผศ.ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า “ตามข้อกำหนดของหลากหลายหน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO), สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา The American Heart Association (AHA), สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณน้ำตาลที่สามารถเติมในรูปแบบของน้ำตาลที่เติมเพิ่มในอาหารและเครื่องดื่มในแต่ละวันดังนี้ ตามข้อมูลธงโภชนาการของคนไทย แนะนำเด็กอายุ 6-13 ปี ซึ่งมีความต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน ควรรับประทานน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัมต่อวัน โดยน้ำตาล 1 ช้อนชา คิดเป็น 4 กรัม และเด็กอายุ 2-6 ปี ไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 2-3 ช้อนชา”

                  “แต่อย่างไรก็ตาม การจะไม่รับประทานน้ำตาลเลยก็ไม่สมควร เพราะร่างกายยังต้องการน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร เครื่องดื่ม และผลไม้ เช่น น้ำตาลแลคโตส ที่พบได้ในนม น้ำตาลมอลโตส ที่พบได้ในมอลต์และน้ำตาลฟรุกโตส พบได้ใน ผลไม้ โดย น้ำตาลแลคโตส และ น้ำตาลมอลโตส มีประโยชน์มากกว่าน้ำตาลที่เติมเพิ่มเพื่อเพิ่มรสชาติอย่างน้ำตาลทราย เพราะแม้ ให้พลังงานเหมือนกัน แต่น้ำตาลเหล่านี้ ให้รสหวานน้อยกว่า และมาพร้อมสารอาหารอื่นๆ ที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ ด้วย ส่วนน้ำตาลฟรุกโตส มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย การได้รับน้ำตาลฟรุกโตสจากการกินผลไม้จะทำให้ได้ใยอาหารและวิตามินจากผลไม้นั้นด้วย อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรได้รับมากเกินไป ”ผศ.ดร.ฉัตรภา แนะวิธีการอ่านฉลากโภชนาการว่า เคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่ยุคใหม่สามารถบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อเด็กๆ ในแต่ละวันคือ การเข้าใจฉลากโภชนาการที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพอยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าได้รับการรับรองแล้วว่า มีปริมาณน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้ง่ายต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดย ผศ.ดร.ฉัตรภา แนะวิธีการอ่านฉลากโภชนาการว่า “เพียงแค่อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ก็จะช่วยให้เรารู้ถึงพลังงานและสารอาหารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย และยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องการจำกัดสารอาหารบางประเภท สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม เช่น เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาลพอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป”
             ความหมายของคำบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับน้ำตาล
• น้ำตาลน้อยกว่า (Less / Low Sugar) หมายถึงมีการลดน้ำตาลลงอย่างน้อย 25% จากสูตรปกติ
• ไม่มีน้ำตาลที่เติมเพิ่ม หรือ ไม่มีน้ำตาลทราย (No Added Sugar / Without Added Sugars or No Sucrose) หมายถึงไม่มีการเติมน้ำตาลทรายเพิ่มลงไปในอาหารและเครื่องดื่มในการผลิตอาหารนั้นๆ แต่อาจมีความหวานที่เกิดจากธรรมชาติของอาหารเองได้ มาร่วมสร้างนิสัยให้เด็กไทยไม่ติดหวาน พร้อมเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการของร่างกายที่ดีสู่อนาคต ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อย่างน้ำตาลแลคโตสจากนมและน้ำตาลมอลโตสจากมอลต์ ที่มอบคุณค่าและพลังงานให้เด็กได้อย่างเหมาะสม และอย่าลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานด้วยนะคะ



เผยแพร่: 28 มี.ค. 2562 23:24   โดย: ผู้จัดการออนไลน์