ผู้เขียน หัวข้อ: ทุ่ม 9 หมื่นล้าน ผลิตแพทย์เพิ่ม 24,562 คน ตั้งเป้าเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร  (อ่าน 657 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
มติ ครม.เห็นชอบโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม อนุมัติงบผลิตบัณฑิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ 34,838.4 ล้านบาท พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณผูกพันอีก 58,497.2 ล้านบาท รวมเป็น 93,335.6 ล้านบาท ผลิตแพทย์เพิ่ม 2 ระยะ รวมเป็น 24,562 คน ภายในปี 2570 เป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ในปี 2576

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561-2570 และอนุมัติงบประมาณการผลิตบัณฑิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ 34,838.4 ล้านบาท อาทิ 1.ผลิตบัณฑิต 1.8 ล้านบาท/คน/หลักสูตร รวม 16,502.4 ล้านบาท 2.งบการเรียนการสอนด้านการแพทย์ 2 ล้านบาท/คน/หลักสูตร รวม 18,336 ล้านบาท เป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ในปี 2576
แผนการผลิตแพทย์ระยะที่ 1 (2561-2564) 9,168 คน วงเงินที่อนุมัติ 34,838.4 ล้านบาท ระยะที่ 2 (2565-2570) 15,394 คน ภายใต้ กรอบวงเงินงบประมาณผูกพัน 58,497.2 ล้านบาท
มีรายละเอียดดังนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561- 2570 (ดำเนินการเฉพาะในระยะที่ 1 พ.ศ. 2561 – 2564) และอนุมัติให้ดำเนินการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้ ศธ. จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและความเหมาะสมที่จะต้องใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณ รวมทั้งพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
1. ให้ดำเนินการพิจารณาทบทวนการเป็นนักศึกษาคู่สัญญาของนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แล้วนำเสนอคณะกรรมการกำหนดและนโยบายกำลังคนภาครัฐและคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 และมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่ให้นำเหตุแห่งการบรรจุแพทย์เข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนมาใช้ในการขอกำลังแพทย์เพิ่มขึ้นอีก
2. ในการดำเนินโครงการฯ ให้พิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายกำลังคนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งการธำรงรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการด้วย
3. รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐไปพิจารณาดำเนินการ

สาระสำคัญของเรื่อง
1. การเพิ่มกำลังการผลิตแพทย์ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบันใช้แนวทางการจัดทำโครงการพิเศษเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 อนุมัติในหลักการโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 โดยสามารถรับนักศึกษาได้ทั้งสิ้น จำนวน 8,137 คน จากเป้าหมาย จำนวน 9,039 คน คิดเป็นร้อยละ 90.02 ซึ่งทำให้จำนวนแพทย์ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานรายภูมิภาค ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. เพื่อดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 และรองรับการขยายศักยภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในทุกภาคส่วน รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในระดับภูมิภาค (Medical Hub) สังคมผู้สูงอายุ และความซับซ้อนของโรคในอนาคต (มีความต้องการอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวมเท่ากับ 1 : 1,200 คน ในปี 2576)
กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสารณสุขได้จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 - 2570 โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการผลิต (Community based) เพื่อให้เกิดความผูกพันกับชุมชนและสามารถอยู่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างยาวนาน รับนักเรียนในพื้นที่เข้าศึกษาและจัดสรรไปปฏิบัติงานในพื้นที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเขตสุขภาพที่มีการขาดแคลนแพทย์เป็นจำนวนมาก
โดยในครั้งนี้ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการเฉพาะระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 – 2564) โดยมีเป้าหมายที่จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์เพิ่มจากแผนการรับปกติจำนวน 9,168 คนรวมทั้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตนักศึกษาแพทย์ดังกล่าวโดยขอเบิกจ่ายในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งสิ้น 34,838.4 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561- 2570 แบ่งเป็น งบดำเนินการผลิตบัณฑิตในอัตรา 300,000 บาท/คน/ปี หรือ 1.8 ล้านบาท/คน/หลักสูตรวงเงิน 16,502.4 ล้านบาท และงบลงทุนเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ในอัตรา 2 ล้านบาท/คน/หลักสูตร วงเงิน 8,336 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราเดิมที่ได้รับการสนับสนุนในการดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพิ่มที่ผ่านมา
ที่        สถาบันการศึกษา                                                                                                                                                                                 จำนวนการผลิตเพิ่ม (คน)       งบประมาณ (ล้านบาท)
1         โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ(โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม เดิม)                                                                 4,384                             16,659.2
2         โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (โครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม เดิม)                                                      4,784                             18,179.2
รวม                                                                                                                                                                                                                             9,168                              34,838.4

3. เมื่อรวมกับแผนการรับปกติที่สามารถรับนักศึกษาได้ จำนวน 3,384 คน จะทำให้สามารถรับศึกษาได้ทั้งหมด 12,552 คน (เฉลี่ยปีละ 3,198 คน) ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนบริหารจัดการกำลังคนและแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีคาดการณ์ความต้องการแพทย์ในอนาคต 20 ปี

สำหรับการรับนักศึกษาแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันผลิตแพทย์ได้กำหนดโควตาและพื้นที่รับนักเรียนเข้าศึกษาต่อ เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องกลับไปปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนา หรือเขตสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ รับนักเรียนชั้น ม.6 พื้นที่ชายขอบ พื้นที่ขาดแคลน หรือนักเรียนที่มีภูมิลำเนาไม่อยู่ในเขตอำเภอเมือง
2. กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน รับนักเรียนชั้น ม.6 ที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนาในจังหวัดที่สมัครต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
3. กลุ่มจบการศึกษาปริญญาตรี เน้นรับข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขที่จบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 5 ปี

Sat, 2019-03-30 10:00 -- hfocus