ผู้เขียน หัวข้อ: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯเผยคนไทยป่วยเสียชีวิต ด้วยโรคหลอดเลือดสมองสูง เป็นอันดับ1  (อ่าน 494 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9703
    • ดูรายละเอียด
ราชวิทยาลัยอายุแพทย์แห่งประเทศไทย เผยคนไทยป่วย เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ยังเป็นสาเหตุทำให้พิการและเสียชีวิต แนะหากมีอาการหน้าเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด รีบพบแพทย์เร็วที่สุด ส่วนใครมีสภาวะหูเสื่อม เสี่ยงสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ในอนาคต

ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้สูญเสียการทำงานอย่างเฉียบพลัน เป็นสาเหตุความพิการและเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ พิการ ปีละ 2.5 แสนรายต่อปีและเสียชีวิตจำนวน 5 หมื่นรายต่อปี โดยให้สังเกตอาการที่เรียกว่า FAST ประกอบด้วย 1. F: Face หน้าเบี้ยว 2. A: arm แขน ขา อ่อนแรง 3. S: Speech พูดไม่ชัดและ4.T: Time เกิดขึ้นทันใด และ30 เปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยจะพิการระยะยาว แต่หากผู้ป่วยมารักษาเร็วภายใน4.5ชั่วโมงโอกาสพิการจะลดลง

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็น 2ชนิด ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มักเกิดกับหลอดเลือดในสมองหรือหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่ผนังหนาตัวขึ้น เกิดหลอดเลือดตีบและอุดตัน มักพบในผู้มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ หรือไขมันในเลือดสูง หรือการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดสมองในรายโรคหัวใจบางชนิด เช่น ลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เกิดลิ่มเลือดลอยอยู่ในกระแสเลือดแล้วอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันและ สาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดอักเสบจากโรคภูมิต้านทานผิดปกติ หรือจากยาเสพติด การได้รับความกระทบกระเทือนที่หลอดเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด ได้ผลดีในรายมาถึงโรงพยาบาล ภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์พิเศษดึงลากลิ่มเลือดออกจากหลอดเลือดสมอง ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและยังมีการรักษาอื่น เช่น การให้ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน, ยาลดระดับไขมันในเลือด เป็นต้น

2.โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือเลือดออกในสมอง พบประมาณร้อยละ 20 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน และควบคุมได้ไม่ดี ส่วนน้อยเกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติ โป่งพองหรือเปราะง่าย หรือผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติ เมื่อมีภาวะหลอดเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกในเนื้อสมองหรือชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง และเกิดภาวะสมองขาดเลือดและสูญเสียการทำงานเฉียบพลันผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรค มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนปกติทั่วไปอาการข้างเคียงที่พบได้เช่น ชาครึ่งซีก ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็นหรือมองเห็นภาพครึ่งซีกของลานสายตาหรือเห็นภาพซ้อน ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและหมดสติ

การรักษาระดับความดันโลหิตให้เหมาะสม หรือให้ยาแก้ไขภาวะเลือดออกง่าย แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อลดความเสียหายต่อสมอง และรักษาชีวิตผู้ป่วย การควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยงของโรคอย่างสม่ำเสมอคุมความดันโลหิต ให้น้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท.การเต้นของหัวใจและระดับไขมันและระดับน้ำตาล การงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์, รับประทานผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด และอาหารที่มีไขมันสูง, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30- 40 นาทีต่อวันจำนวน 3 -5 ครั้งต่อสัปดาห์พบแพทย์ตามนัดและรับประทานยาสม่ำเสมอและ ถ้ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ควรรอดูอาการควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ด้าน รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่าโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมของสมองจากการประชุม Alzhimer’s Association International Conference 2017 (AAIC 2017) ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษล่าสุดเมื่อ 2 ปีก่อน พบว่า คนที่ได้รับการศึกษาน้อยและผู้ที่มีสภาวะหูเสื่อม มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อม และกลุ่ม คือผู้ป่วยซึมเศร้า ซึ่งปัญหาในสังคมไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ การอยู่คนเดียวเพิ่มโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมสาเหตุสำคัญของสมองเสื่อมคือเซลล์สมองตายไปก่อนเวลาอันควรพบได้ร้อยละ 60-70 ของอาการสมองเสื่อมรองลงมาคือสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองในรายเป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจจะผสมกันทั้ง 2 อย่างสาเหตุอื่นๆ ที่พบน้อย ได้แก่ สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน เป็นต้นปัจจุบันรักษาเพียงแบบประคับประคองเท่านั้น เพียงร้อยละ 5-10 สามารถหาสาเหตุชัดเจนที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, การขาดวิตามินบี 12,โพรงสมองคั่งน้ำ, ภาวะซึมเศร้า, ยาบางชนิดที่รบกวนการทำงานของระบบประสาทและดื่มเหล้าจัด

ยังไม่มียารักษาโรคสมองเสื่อมให้หายขาดได้ การลดปัจจัยเสี่ยงของโดยแบ่งออกตามอายุดังนี้คือวัยเด็ก การศึกษาน้อยคือปัจจัยเสี่ยงจนถึงอายุ 15 ปี, วัยกลางคน ความดันโลหิตสูง,โรคอ้วน,โรคหูตึงและวัยผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้า, โรค เบาหวาน, ไม่ออกกำลังกาย,สูบบุหรี่ และการไม่เข้าสังคมดังนั้นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สามารถจะทำได้ตั้งแต่วัยเด็ก ให้มีการศึกษาที่เหมาะสมตามเกณฑ์ การรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดทั้งหลาย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ในวัยหนุ่มสาวการแก้ไขโรคหูตึง โรคซึมเศร้าในวัยกลางคนการปรับปรุงการดำเนินชีวิตประจำ เช่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นต้น. การพูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อย ๆ การเข้าชมรมผู้สูงอายุพยายามมีสติและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลาช่วยลดการเกิดสมองเสื่อมได้

21 มี.ค. 2562 โดย: ผู้จัดการออนไลน์