ผู้เขียน หัวข้อ: อย.แฉเครือข่าย “หมอ” ลอบขายยานอนหลับ พัวพัน 9 คลินิก 7 หมอ ใช้ชื่อคนตายปลอม  (อ่าน 540 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
อย.แฉเครือข่ายลอบขายยาลดอ้วน-ยานอนหลับ พบพัวพัน 9 คลินิก หมอ 7 ราย ตำรวจยื่นหมายสมคบ 2 ราย อีก 5 ราย เป็นพยาน ชี้แอบใช้ชื่อคนตายยื่นรายงานใช้ยา เจอสั่งซื้อยาเฟนเตอร์มีนจาก อย.มากผิดปกติ ลั่นเป็นตัวการเจอโทษหนักคุก 4-20 ปี ปรับ 4 แสน-2 ล้านบาท พ่วง ปปง.ยึดทรัพย์

วันนี้ (12 มี.ค.) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงการตรวจจับเครือข่ายลักลอบขายยาลดความอ้วน “เฟนเตอร์มีน” ว่า ยาเฟนเตอร์มีน เป็นยาลดความอ้วน ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 ซึ่งมีการควบคุมการขายและการใช้ โดย อย.จะกำหนดบริษัทที่นำเข้า และเป็นผู้จำหน่ายให้แก่สถานพยาบาลที่ต้องการใช้ยาดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลมาขึ้นทะเบียนในการใช้ยาดังกล่าวจำนวน 526 แห่ง แบ่งเป็น รพ.รัฐ 4 แห่ง รพ.เอกชน 38 แห่ง และคลินิก 484 แห่ง โดย อย.กำหนดโควตาให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งซื้อได้ไม่เกิน 5,000 เม็ดต่อครั้ง ซึ่งแต่ละแห่งก็จะระบุจำนวนที่ต้องการซื้อมา ส่วนการใช้ยาจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ และต้องมีการทำรายงานมายัง อย.ทุกเดือนว่า จ่ายให้ใครจำนวนเท่าไร ซึ่งหากใช้ไม่หมดก็ไม่ต้องส่งคืน แต่สามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้โดยไม่ต้องทำการสั่งซื้อใหม่

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ส่วนการตรวจจับในครั้งนี้ เราตรวจสอบพบความผิดปกติในการสั่งซื้อตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 โดยพบว่า คลินิกหลายแห่งมีการซื้อมากผิดปกติจนเต็มโควตา จึงมีการตรวจสอบในเชิงลึก จนพบว่า มีการกระทำเป็นกระบวนการ มีการลักลอบนำยาดังกล่าวออกจากคลินิกไปขายต่อให้แก่นายทุน นำมาซึ่งการตรวจจับทั้ง 33 จุดทั่วประเทศ ทั้งคลินิก สถานที่ประกอบการ บ้านของนายทุน โดยพบว่า มีคลินิกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 แห่ง แบ่งเป็น คลินิกใน จ.หนองบัวลำภู 1 แห่ง อุดรธานี 1 แห่ง นครราชสีมา 2 แห่ง อุบลราชธานี 1 แห่ง พิษณุโลก 2 แห่ง และตาก 2 แห่ง มีแพทย์เกี่ยวข้องทั้งหมด 7 ราย โดยมี 2 รายที่ทางตำรวจออกหมายสมคบ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยแพทย์ทั้งสองรายเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลด้วย ส่วนอีก 5 ราย ได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยาน ทั้งนี้ ได้มีการประสานเลขาธิการแพทยสภาเพื่อให้ดำเนินการทางจริยธรรมกับแพทย์ทั้ง 2 ราย และจะสรุปรายชื่อคลินิกส่งให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ดำเนินการเอาคลินิกที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ดำเนินการกับคลินิกในต่างจังหวัด

“นอกจากยาเฟนเตอร์มีนแล้ว ยังพบว่ามีการลักลอบนำยาไดอะซีแพม ซึ่งเป็นยานอนหลับในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 มาใช้ด้วย เนื่องจากเวลาทำยาลดความอ้วนมักจะมีการผสมยานอนหลับเข้าไปด้วย และยังตรวจพบว่า การทำรายงานซึ่งการตรวจจับครั้งนี้ ตำรวจแจ้งเบื้องต้นประมาณ 40 กว่าล้านบาท ซึ่งหากแพทย์ที่เกี่ยวข้องมีความผิดจริง และเป็นตัวการสำคัญ นอกจากจะมีโทษรุนแรง คือ ขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 โดยไม่รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 4-20 ปี และปรับไม่เกิน 4 แสน-2 ล้านบาท และขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 โดยไม่รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2-10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสน-1 ล้านบาท ยังเข้าข่ายที่จะถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ยึดทรัพย์ด้วย” นพ.ธเรศ กล่าว

นพ.ธเรศ กล่าวว่า หลังจากนี้ จะมีการทำระบบการติดตามการใช้ยาให้เข้มแข็งมากขึ้น คือ 1. ระบบรายงาน สถานพยาบาลจะต้องรายงานถึงการใช้ยาเฟนเตอร์มีนในระดับบุคคล โดยจะต้องระบุเลขประชาชน 13 หลักของผู้ป่วยด้วย ซึ่งการจับกุมครั้งนี้ พบการใช้รายชื่อของผู้เสียชีวิตแล้วมาใช้ในระบบรายงานด้วย 2. ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการแต่ละราย แพทย์จะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงผลข้างเคียงของยา เพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะใช้ยานี้หรือไม่ และ 3.ทำระบบรายงานแบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการตกแต่งข้อมูลในกระดาษ

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ยาเฟนเตอร์มีน จะใช้เป็นเม็ดๆ เพราะตัวยาสามารถช่วยลดความอ้วนได้ ซึ่งมักจะใช้รักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่อ้วนมากๆ เพื่อให้น้ำหนักลดลงมา และค่อยปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย เพราะคนอ้วนเมื่ออ้วนก็ยิ่งเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และก้ยิ่งทำให้อ้วนไปอีก โดยยานี้มีผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นอนุพันธ์ของยาแอมเฟนตามีนหรือยาบ้า จึงส่งผลต่อระบบเลือด ความดันโลหิตสูง เลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ หากไม่เสียชีวิตก็อาจมีอาการมึนงง นอนไม่หลับ จึงต้องใช้ในระยะเวลาสั้นๆ คือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ และตรวจติดตามโดยแพทย์ อย่างไรก็ตาม การลักลอบขายยาลดความอ้วนนั้น มักพบว่า จะมีการผสมเป็นสูตร เช่น ยานอนหลับ ยาระบาย และฮอร์โมน เพื่อให้ผอมเร็วขึ้น สำหรับกลุ่มที่ไม่ควรใช้ยาเฟนเตอร์มีน คือ 1.กลุ่มที่แพ้ยาดังกล่าว 2.คนที่มีการใช้ยางตัวหรือยาทางด้านจิตเวช เพราะอาจทำให้มีอาการมากขึ้น 3.ผู้ที่ใช้ยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitors (MAOI) และ 4.กลุ่มโรคหัวใจและความดัน

ทพ.อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า ขณะนี้ สบส. ได้ประสานขอข้อมูลคลินิกที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแล้ว เบื้องต้นอาจเข้าข่ายมีการดำเนินการผิดประเภท โดยผู้ดำเนินการไม่ทำการควบคุมดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ ปล่อยให้มีการดำเนินการผิด เช่น เปิดเพื่อรักษาคนไข้แต่ปล่อยให้มีการขายยาอันตรายผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ตรวจร่างกาย หรือปล่อยให้มีผู้นำยาจากคลินิกออกมาขายก็จะมีความผิดด้วย โดยการจะสรุปความผิดได้ต้องลงไปตรวจสอบในสถานที่ด้วย ซึ่ง สบส.จะเร่งดำเนินการตรวจสอบให้เร็วที่สุด

12 มี.ค. 2562 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9704
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาส่งข้อมูล "7 หมอ" เข้าคณะอนุฯ จริยธรรม สอบสวนเกี่ยวข้องคดีขายยาลดความอ้วนมากน้อยแค่ไหน ผิดส่วนไหนลงโทษส่วนนั้น

วันนี้ (15 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า วันนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายลักลอบขายยาลดความอ้วน "เฟนเตอร์มีน" ทั้ง 7 คน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีมาให้กับแพทยสภาดำเนินการพิจารณาทางจริยธรรม ซึ่งตนได้ส่งเรื่องให้กับคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่ 5 พิจารณาแล้ว ซึ่งคณะอนุฯ จะมีการประชุมทุกเดือน โดยจากนี้คงมีการสอบข้อเท็จจริงและเรียกแพทย์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ข้อมูล โดยจะดูว่าแต่ละคนมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทั้งหมดตรงนี้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า แพทย์ทั้ง 7 คน มี 2 คนที่ถูกตั้งข้อหาสมคบ อีก 5 คน ถูกกันไว้เป็นพยาน จะพิจารณาจริยธรรมแตกต่างกันหรือไม่ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าวว่า ไม่แตกต่าง เพราะเป็นการพิจารณาจริยธรรมวิชาชีพในคดีเดียวกัน แต่จะมาดูว่าใครเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน ผิดส่วนไหนก็จะพิจารณาโทษตามนั้น เพราะในหนึ่งคดีมีหลายความผิด ส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพทยสภาก็พิจารณาได้เลย เช่น ผิดจริยธรรมแพทย์อย่างไร ทำให้เสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพหรือไม่ แต่ส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมาย อย. กฎหมายอาญา ก็ต้องรอคำตัดสิน อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการโดยไม่ชักช้า

พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าวว่า ที่ผ่านมาการพิจารณาลงโทษแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการโฆษณา ซึ่งบางครั้งแพทย์ไม่ทราบว่าบางอย่างไม่สามารถทำได้ หรือถูกแอบอ้าง หรือเอเยนซีทำให้ แต่เมื่อถูกลงลงโทษก็เหมือนถูกครูตี จึงไม่ทำอีก รวมถึงเป็นเรื่องมาตรฐานวิชาชีพที่มีการฟ้องร้องกัน ที่ผ่านมาค่อนข้างต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ยาวนาน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขายยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นั้นน้อยมาก

15 มี.ค. 2562  โดย: ผู้จัดการออนไลน์