ผู้เขียน หัวข้อ: กลืนไม่ลง!! หมดยุค “ข้อมูลสุขภาพ” ชุดเดียวใช้ทั้งประเทศ กรมอนามัยลุยทำ “การตลาด”  (อ่าน 619 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
กลืนไม่ลง!! หมดยุค “ข้อมูลสุขภาพ” ชุดเดียวใช้ทั้งประเทศ กรมอนามัยลุยทำ “การตลาด” เจาะทุกกลุ่มวัย เล็งหารือ “กูเกิล” ช่วยติดอันดับค้นหา


กรมอนามัยลุยใช้ “การตลาด” สร้างสื่อรณรงค์-ข้อมูลสุขภาพแนวใหม่ ตรงใจคนแต่ละกลุ่ม หวังชักจูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพคนไทยได้ดีขึ้น รับแต่ละคนสนใจต่างกัน ไลฟ์สไตล์ต่างกัน ใช้ข้อมูลชุดเดียวสื่อสารคนทั้งประเทศไม่ได้ เร่งทำคลังข้อมูลสุขภาพบนเว็บไซต์ คิดประสานกูเกิลช่วยติดอันดับการค้นหาเรื่องสุขภาพ เพิ่มการเข้าถึง ลดปัญหาแชร์ข้อมูลสุขภาพแบบผิดๆ


พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนไทย ว่า ขณะนี้กรมฯ กำลังหันมาใช้หลักการตลาดเข้ามาช่วยเรื่องการสื่อสารให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หรือ นำความรู้สุขภาพต่างๆ ไปใช้ เพราะต้องยอมรับว่า แต่ละคนมีความชอบ ความสนใจ และจริตที่แตกต่างกันออกไป จะใช้ข้อมูลความรู้สุขภาพหรือสื่อรณรงค์เพียงชุดเดียวที่มีความเป็นแมส (Mass) มากๆ แล้วเอาไปใช้สื่อสารกับคนทุกกลุ่มวัยอีกต่อไปคงไม่ได้ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะกลืนหรือรับข้อมูลทั้งหมดเข้าไปได้ เพราะเมื่อคำแนะนำที่ให้เป็นการฝืนไลฟ์สไตล์เขาก็จะไม่สนใจหรือไม่ทำ ดังนั้น จะต้องใช้หลักการตลาดแบ่งกลุ่มคนออกมาและทำสื่อรณรงค์หรือชุดความรู้ที่จะสื่อสารไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ เหล่านี้ให้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เหมือนกับสินค้าที่วางขาย ยังต้องทำออกมาหลากหลายให้คนเลือกตามความสนใจ ความรู้ทางสุขภาพหรือสื่อรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เช่นกัน ควรจะต้องมีความหลากหลายให้เหมาะกับคนหลายๆ กลุ่มในสังคมหรือเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเขาเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้


พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า การจะสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมายนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อน เหมือนอย่างบริษัทต่างๆ ที่ทำการตลาดก็ต้องเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเช่นกัน ถึงจะทำสินค้าออกมาตรงกับความต้องการและทำให้คนหันมาซื้อสินค้าได้ ความรู้ทางสุขภาพก็เช่นกัน จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อให้รู้ก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนั้นสนใจเรื่องอะไร พูดคุยเรื่องอะไร เพื่อที่จะได้ทำข้อความส่งไปได้ตรงมากขึ้น เช่น สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเล่มสีชมพู ซึ่งมีความรู้ทั้งหมดอยู่ในนั้น แต่ก็ต้องมาเปิดหาเรื่องที่สนใจเอง พอถึงเวลาก็ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ เราก็กำลังทำเป็นแอปพลิเคชัน ที่มีระบบประมวล ว่า แม่นั้นสนใจค้นหาเรื่องอะไร หรือพูดคุยเรื่องอะไร ก็จะได้ทำข้อมูลสื่อสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้โดยเฉพาะเลย แต่ถามว่าคนอื่นอ่านได้หรือไม่ ก็สามารถอ่านได้ เรียกว่าต้องทำสื่อรณรงค์ให้จับใจผู้รับสาร และหวังว่าเมื่อจับใจเขาแล้วเขาก็จะไปเปลี่ยนตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งอาจจะต้องประสานทางอาจาย์มหาวิทยาลัยที่สอนด้านการตลาดในการช่วยเรื่องเหล่านี้ด้วย



พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ส่วนการสื่อสารออกไปให้คนรับรู้ก็จะมีหลายช่องทาง อย่างแรกคือ ทำคลังข้อมูลของตัวเอง คือ เว็บไซต์กรมอนามัยที่จะเป็นคลังความรู้สุขภาพทั้งหมด และมีการจัดทำออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาค้นหาได้ตามความชอบ และอาจต้องประสานงานกับเสิร์ชเอนจินอย่าง “กูเกิล” เพื่อให้เวลาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพแล้ว ข้อมูลของกรมอนามัยควรจะติดอันดับอยู่ในหน้าแรกของการค้นหา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ เป็นแหล่งอ้างอิงได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการลงทุน นอกจากนี้ อาจต้องใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มคนต่างๆ มากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเราทำองค์ความรู้เช่นนี้ ก็จะช่วยลดปัญหาการถูกหลอกลวงหรือข้อมูลสุขภาพผิดๆ ที่แชร์กันในสื่อสังคมออนไลน์ได้ด้วย



เผยแพร่:  4 ม.ค. 2562    โดย: ผู้จัดการออนไลน์