ผู้เขียน หัวข้อ: ผุดศูนย์บริการคนพิการในรพ. 32 แห่ง  (อ่าน 546 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
ผุดศูนย์บริการคนพิการในรพ. 32 แห่ง
« เมื่อ: 24 ธันวาคม 2018, 10:13:06 »
สธ.-พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปในโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในระดับอำเภอ สนับสนุนการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 นำร่องในโรงพยาบาล จำนวน 32 แห่ง


วันนี้ (22 ธ.ค.) นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน กล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ประชุมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน เพื่อหารือการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป รูปแบบการจ้างงานคนพิการการดูแลสุขภาพคนพิการที่ได้รับการจ้างงานในโรงพยาบาล และแนวทางการสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับคนพิการและชุมชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ โดยเริ่มนำร่องในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ที่มีศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบ จำนวน 32 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน 29 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 3 แห่ง


นพ.ยงยศ กล่าวต่อว่า การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปในโรงพยาบาล จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนพิการในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงสิทธิและสวัดิการ และการบริการภาครัฐ ขับเคลื่อนนโยบายผลักดันให้เกิดการดำเนินการจัดบริการให้แก่คนพิการ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 เพื่อสร้างโอกาส และคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐ และสถานประกอบการเอกชน ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการในสัดส่วน 100 ต่อ 1 ตามมาตรา 33 รวมทั้งการดำเนินการสร้างงานสร้างอาชีพตามมาตรา 35


ทั้งนี้ หลักการจ้างงานคนพิการของ สธ.มี 3 ลักษณะดังนี้ 1.การจ้างงานตามมาตรา 33 โดยกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจ้างเอง สามารถจ้างคนพิการได้ทุกประเภท แบบเต็มเวลาเป็นลูกจ้างประจำ จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนหรือรายวันตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี 2.การจ้างตามมาตรา 35 โดยกระทรวงสาธารณสุขจ้างเอง เช่น การให้สัมปทานแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ การจัดสถานที่ในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ การจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ การฝึกงานแก่คนพิการให้มีความรู้ ทักษะที่นำไปประกอบอาชีพได้ เป็นต้น และ3.การจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 และจ้างเหมาบริการคนพิการตามมาตรา 35 โดยประสานภาคเอกชน ทั้งมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมและกรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ



เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์