ผู้เขียน หัวข้อ: อย.แจงปรับประเภทยาภูมิแพ้ “ลอราทาดีน” เฉพาะแผงบรรจุไม่เกิน 10 เม็ด  (อ่าน 538 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
อย.แจงปรับประเภทยาภูมิแพ้ “ลอราทาดีน” เฉพาะแผงบรรจุไม่เกิน 10 เม็ด หวังผู้ป่วยเข้าถึงยา ผู้เชี่ยวชาญเห็นชอบแล้ว



อย. แจงปรับสถานะยาภูมิแพ้ “ลอราทาดีน” แค่ขนาดบรรจุแผงละไม่เกิน 10 เม็ด กล่องละไม่เกิน 2 แผง หวังคนเข้าถึงยามากขึ้น เผย ผ่านความเห็นจากแพทย์ด้านภูมิแพ้แล้ว ย้ำ เภสัชกรยังแนะนำการใช้ยาได้ พร้อมสั่งเพิ่มข้อความบนฉลาก เพื่อใช้ให้ตรงโรค


จากกรณีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จับปรับประเภทยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน” จากยาอันตราย เป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ทำให้เกิดกระแสคัดค้านจากเภสัชกร เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ยาได้


วันนี้ (28 พ.ย.) นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการ อย. แถลงข่าวกรณีดังกล่าว ว่า การปรับประเภทยา “ลอราทาดีน” ซึ่งเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ เป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ เป็นการปรับเฉพาะขนาดบรรจุแผงละไม่เกิน 10 เม็ด กล่องละไม่เกิน 2 แผง เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้มาก ในไทยพบได้ 10-30% ของประชากร การวินิจฉัยโรคค่อนข้างง่าย แต่การเข้าถึงยายังไม่ดีมาก หากไปรอรับยาที่โรงพยาบาลอาจต้องใช้เวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจะกำหนดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ซื้อในร้านขายยาทั่วไปได้ จึงได้มีการนำยาตัวนี้ขึ้นมาพิจารณาในคณะอนุกรรมการปรับเปลี่ยนประเภทยา ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ อาจารย์แพทย์ และเภสัชศาสตร์ มาให้ความคิดเห็น และมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน


นพ.สุรโชค กล่าวว่า การพิจารณาได้คำนึงถึงการเข้าถึงยาในประชาชน และผลข้างเคียงที่อาจต้องระวัง พบว่า ผลข้างเคียงมีน้อยมาก อาการรุนแรงแทบไม่มีเลย อาการง่วงนอนน้อยมาก ส่วนทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะพบได้น้อยมาก ข้อควรระวังขนาดยา คือ คนที่เป็นโรคตับ ไต แต่บางคนทำให้เจริญอาหารขึ้น ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบในการปรับเปลี่ยนประเภทยา และเสนอเข้าสู่คณะกรรมการยาพิจารณาเห็นชบ ขณะนี้อยู่ระหว่างทำเรื่องเสนอ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนาม เพื่อปรับเปลี่ยนประเภทยา


“ยาภูมิแพ้กลุ่มเดิมที่ใช้กัน คือ คลอเฟนิรามีน ซึ่งเหมาะกับคนที่เป็นโรคหวัด แต่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมาใช้ในโรคภูมิแพ้ จึงมีผลข้างเคียงให้มีการง่วงนอนมาก ปากแห้ง คอแห้ง อาการภูมิแพ้กลับรุนแรงมากขึ้น ส่วนยาที่มีการปรับประเภทยา จะเหมาะกับโรคภูมิแพ้ ซึ่ง อย.จะกำหนดให้ระบุข้อความว่า ยานี้เหมาะกับคนที่เป็นภูมิแพ้ ไม่เหมาะกับคนที่เป็นน้ำมูกจากไข้หวัด เพื่อความชัดเจนในการใช้ยา ทั้งนี้ การปรับประเภทยานี้ ส่งผลให้สามารถซื้อยาดังกล่าวในร้านขายยาทั่วไปได้ แต่ทางเภสัชกรก็ยังสามารถให้คำแนะนำในการใช้ได้อยู่ อย่างไรก็ตาม อย.มีหน่วยงานที่เฝ้าระวังโรคที่เกิดจากความแทรกซ้อนจากยา ซึ่งกำหนดให้หลังจากที่ยาเปลี่ยนสถานะ จะต้องมารายงานคณะกรรมการยาในทุก 6 เดือน และ 12 เดือน” นพ.สุรโชค กล่าว


ผู้สื่อข่าวถามว่า หากขายในร้าน ขย.2 อาจไม่มีเภสัชกรในการให้คำแนะนำ นพ.สุรโชค กล่าวว่า ตรงนี้จะมีเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนในทุกกล่องยา ซึ่งจะมีข้อความแนะนำว่า ยานี้เป็นยาอะไร มีผลข้างเคียงอะไร และข้อควรระวังอย่างไร แต่เราคาดหวังว่า ประชาชนจะมีความเข้าใจในยาตัวนี้มากขึ้น และไปซื้อในร้านที่มีเภสัชกรอยู่


ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงปรับเฉพาะขนาดบรรจุแผงละไม่เกิน 10 เม็ด กล่องละไม่เกิน 2 แผง นพ.สุรโชค กล่าวว่า ไม่ได้หมายความว่า ยานี้กินได้แค่ 10-20 เม็ด สามารถกินต่อไปได้เรื่อยๆ แต่หากกินยาแล้วคนไข้ที่มีความเข้าใจโรคอาการดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ แต่ยานี้จริงๆ ในรายที่เป็นเรื้อรังจะต้องกินต่อกันเป็นเดือนๆ ดังนั้น หากมีอาการดีขึ้นก็จะกลับมาซื้อต่อ หากไม่ดีขึ้นผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าก็จะได้เปลี่ยนหรือไปพบแพทย์ ไม่ต้องรอให้ยาหมดก่อนเช่นกรณีที่ซื้อไปทีละมากๆ ดังนั้น เราจึงคิดว่า ขายทีละ 10-20 เม็ด ก็น่าจะพอ





เผยแพร่: 28 พ.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์