ผู้เขียน หัวข้อ: ไขความกระจ่างเรื่องกระดูกพรุน กับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลธนบุรี  (อ่าน 570 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
ขึ้นแท่นกลายเป็นโรคยอดฮิตที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว ทว่าด้วยไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ ทำให้กระทั่งวัยรุ่นก็มีสิทธิ์เข้าข่ายเป็น “โรคกระดูกพรุน” ได้


เมื่อเข้าสู่ภาวะของการเป็นกระดูกพรุน คุณภาพในการใช้ชีวิตจะลดลงโดยทันที จากที่เคยลุกนั่งได้ตามปกติ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เนื่องจากกระดูกที่เปราะบางเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย ทำให้ชีวิตต้องอยู่ในขอบเขตของคำว่าระมัดระวัง ซึ่งตัวเลขล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากถึง 300,000 ราย


ด้วยเหตุนี้ SANOOK! จึงขอเป็นตัวแทนไขความกระจ่างเรื่องกระดูกพรุนพร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลธนบุรีถึงแนวทางการดูแลตัวเอง รวมถึงวิธีทดสอบอาการเบื้องต้นว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคนี้หรือเปล่า โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลธนบุรีซึ่งอยู่ในการดูแลของบริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ผู้ดำเนินธุรกิจ รักษาพยาบาล ให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจร ทั้งโรงพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ ที่พร้อมให้บริการด้านการรักษาพยาบาลโรคทั่วไป และเป็นศูนย์รวมแพทย์เฉพาะทางในด้านต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน ภายใต้การทำงานของคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านการเข้าอบรมความรู้และเทคโนโลยีในการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการให้บริการด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมไปถึงการรับจ้างบริหารโรงพยาบาล ให้บริการดูแลสุขภาพนอกสถานที่ และยังมีโครงการที่พักอาศัยพร้อมบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายสำหรับผู้สูงวัย ส่งผลให้โรงพยาบาลภายใต้กลุ่มบริษัทฯ ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล โดยได้การรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เป็นการรับรองว่าโรงพยาบาลฯ ภายใต้กลุ่มบริษัทฯ มีการจัดระบบงานที่ดี เอื้อต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย


การพูดคุยในครั้งนี้คุณหมอบอกชัดว่าขอขยายความให้ครอบคลุมครบทุกด้านตั้งแต่ข้อสงสัยเรื่องกระดูกพรุน จนถึงความเชื่อเรื่องการกินแคลเซียม



หากไปห้างสรรพสินค้าได้รับการตรวจมวลกระดูกที่บริเวณข้อมือ หรือส้นเท้า และพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนควรทำอย่างไร

การตรวจมวลกระดูกที่บริเวณข้อมือหรือส้นเท้า เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น แต่ไม่สามารถใช้วินิจฉัยได้อย่างแน่นอนว่าบุคคลนั้นเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ดังนั้น หากผลการตรวจมวลกระดูกที่บริเวณข้อมือหรือส้นเท้าได้ค่าผิดปกติก็ควรมาปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจมวลกระดูกด้วยวิธีมาตรฐานต่อไป การตรวจมวลกระดูกที่ใช้วินิจฉัยโรคกระดูกพรุนและจัดเป็นการตรวจที่ได้มาตรฐาน จะทำโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดมวลกระดูกโดยการใช้รังสี 2 แนว ที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry (DEXA) ซึ่งตรวจวัดมวลกระดูกที่ 2 ตำแหน่งหลัก ได้แก่ ที่บริเวณกระดูกสันหลัง และบริเวณกระดูกข้อสะโพก



ควรตรวจมวลกระดูกเมื่อไร

การตรวจมวลกระดูกเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยทั่วไปจะแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือในผู้ชายที่มีอายุ ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป แต่หากมีผู้ป่วยหญิงหรือชายที่มีอายุน้อยกว่าที่กำหนดไว้นี้ รวมถึงมีปัจจัยเสื่อมที่ระบุไว้ เช่น มีประวัติกระดูกหักในอดีต รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น สารสเตียรอยด์ หรือพ่อแม่มีประวัติกระดูกข้อสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนมาก่อน ก็แนะนำให้ตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนได้



มีอาการปวดตามข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อเท้า การกินแคลเซียมเสริมกระดูกจะช่วยให้หายปวดได้ไหม

โดยทั่วไปอาการปวดตามข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อเท้า มักจะเป็นอาการแสดงของโรคของข้อ เช่น ข้อเสื่อม หรือมักมีอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อนั้น อาการปวดตามข้อไม่ใช่อาการแสดงของโรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกเสื่อม ดังนั้นการรับประทานแคลเซียมจึงไม่ช่วยทำให้อาการปวดข้อดีขึ้นได้ ทั้งนี้ หากมีอาการปวดข้อจากข้อเสื่อม แพทย์จะแนะนำให้บรรเทาอาการปวด โดยให้บริหารข้อและกล้ามเนื้อรอบข้อ ร่วมกับการใช้ยาต้านการอักเสบ การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และหลีกเลี่ยงใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างที่อาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น


อาการของการขาดแคลเซียมเป็นอย่างไร

เนื่องจากแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบกระดูกและข้อ ช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ เช่น เซลล์ระบบประสาท ผ่านการหลั่งสารสื่อประสาทจากปลายประสาท รวมถึงการหลั่งฮอร์โมน นอกจากนี้ยังควบคุมการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจและยังช่วยให้กลไกลการแข็งตัวของเลือด ทำหน้าที่ได้ตามปกติอีกด้วย หากร่างกายมีภาวะขาดแคลเซียม จะทำให้เกิดอาการดังนี้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวง่าย กล้ามเนื้อแข็งเกร็งเป็นก้อน เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย นอนไม่ค่อยหลับ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร และมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักจากการหกล้มที่ไม่รุนแรง หากมีภาวะขาดแคลเซียมเรื้อรัง อาจทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ความจำเสื่อม เซื่องซึม เฉื่อยชาและเกิดอาการชัก


จำเป็นต้องดื่มนมที่เสริมแคลเซียม หรือนมถั่วเหลืองที่ผสมงาดำหรือไม่ เพื่อให้ร่างกายได้แคลเซียมเพียงพอ

ปกติแล้ว นมวัว 1 กล่อง (250 มิลลิลิตร) จะมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม ส่วนนมถั่วเหลืองที่เสริมแคลเซียมจะมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 250-300 มิลลิกรัม โดยทั่วไปร่างกายคนปกติต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน การดื่มนมหรือนมถั่วเหลืองที่มีแคลเซียมสูง หรือผสมงาดำจะทำให้ได้แคลเซียมเพิ่มขึ้นมากกว่าการดื่มนมปกติ เนื่องจากในงาดำมีปริมาณแคลเซียมสูง (งาดำ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณแคลเซียมประมาณ 132 มิลลิกรัม) อย่างไรก็ตามอาหารที่มีแคลเซียมสูง ไม่ได้มีแค่ในนมเท่านั้น อาหารประเภทอื่นก็มีแคลเซียมสูงเช่นกัน เช่น เต้าหู้แข็ง ถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ปลาป่น กะปิ กุ้งแห้ง ผักคะน้า และผักกวางตุ้ง ดังนั้น ควรบริโภคอาหารเหล่านี้ควบคู่กันไปเพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน


การกินแคลเซียมมีผลต่อหัวใจหรือไม่

การศึกษาในต่างประเทศพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานแคลเซียมเสริมกับอุบัติการณ์ ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากส่งผลต่อหัวใจแล้ว การรับประทานแคลเซียมเสริมในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะหรือโรคเหล่านี้พบได้ไม่บ่อย ฉะนั้นก่อนจะรับประทานแคลเซียมเสริมจะต้องคำนึงถึงประโยชน์และโทษของแคลเซียมให้ดีก่อน โดยทั่วไปควรจะรับประทานแคลเซียมเสริมเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้แคลเซียมไม่เพียงพอจากอาหารแล้วเท่านั้น ทั้งนี้หากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจ หรือ นิ่วในไต ก็ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเสริมเอง แต่ควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานแคลเซียมเสริมชนิดนั้นๆ


หากรับประทานอาหารแคลเซียมเสริมแล้ว เกิดอาการท้องผูก จะมีวิธีแก้อย่างไร

ท้องผูกเป็นภาวะที่เกิดร่วมได้บ่อยจากการรับประทานแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคลเซียมเสริมชนิดแคลเซียมคาร์บอเนต หากรับประทานแคลเซียมเสริมแล้วเกิดอาการท้องผูก แนะนำให้ดื่มน้ำตามมากๆ ประมาณ 1 แก้ว ทุกครั้งหลังรับประทานแคลเซียมเสริมร่วมกับรับประทานผลไม้ที่ช่วยลดอาการท้องผูก เช่น ส้ม กล้วย มะละกอสุก หรือน้ำมะขาม หากอาการท้องผูกยังไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นแคลเซียมรูปแบบอื่น เช่น แคลเซียมซิเตรต แคลเซียมอะซิเตต หรือแคลเซียมกลูโคเนต เป็นต้น หากอาการยังไม่ดีขึ้นอาจจะต้องรับประทานยาระบายเป็นครั้งคราว หรือแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป



ควรรับประทานอาหารประเภทใดบ้างที่ช่วยเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกาย ??

อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และน้ำมันตับปลา ตับวัว ไข่แดง เนย หรือเห็ดสดบางชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด นมสดและนมถั่วเหลืองชนิดเสริมวิตามินดี นอกจากนี้วิตามินดียังเกิดขึ้นได้จากการสังเคราะห์ไขมันใต้ผิวหนัง ดังนั้นการรับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้าหรือตอนเย็นครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละประมาณ 3-5 ครั้ง จึงมีความสำคัญเพราะเป็นการกระตุ้นให้ผิวหนังมีการสร้างวิตามินดีเพิ่มขึ้น


22 พ.ย. 61 sanook.com