ผู้เขียน หัวข้อ: ลุยผ่าตัดวันเดียวกลับ 9 เดือน ลดนอน รพ.ได้ 3.8 พันวัน พบผ่าตัดไส้เลื่อนสูงสุด  (อ่าน 657 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
สปสช.เผย ผ่าตัดวันเดียวกลับ 9 เดือน ผู้ป่วยรับบริการ 9 กลุ่มโรค 2,176 ราย ผ่าตัดไส้เลื่อนสูงสุด ช่วยลดวันนอน รพ.ได้ถึง 3,826 วัน เพิ่มเตียงว่างดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ลดค่าใช้จ่าย รพ. ทั้งค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ปี 62 เตรียมขยายบริการกลุ่มโรคอื่นเพิ่มเติม 


นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนได้ทำการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรักษาพยาบาล เพื่อรองรับและได้ออกเป็นประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ จากการให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคม-20 กันยายน 2561 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการผ่าตัดวันเดียวกลับจำนวน 2,176 ครั้ง กลุ่มโรคที่ผู้ป่วยรับบริการผ่าตัดวันเดียวกลับมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคไส้เลื่อนขาหนีบ มีผู้ป่วยรับบริการมากที่สุดจำนวน 761 ราย รองลงมา หลอดเลือดดำของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารขอด จำนวน 388 ราย และ ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ จำนวน 349 ราย


นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า การบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ ประกอบด้วย 12 กลุ่มโรค ได้แก่ 1. โรคไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia) 2. โรคถุงน้ำอัณฑะ (Hydrocele) 3. โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) 4. ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด (Vaginal bleeding) 5. หลอดเลือดดำของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารขอด (Esophageal varices, Gastric varices) 6. ภาวะหลอดอาหารตีบ (Esophageal stricture) 7. โรคมะเร็งหลอดอาหารระยะลุกลามที่อุดตัน (Obstructive esophageal cancer/tumor) 8. ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ (Colorectal polyp) 9. นิ่วในท่อน้ำดี (Bile duct stone) 10. นิ่วในท่อตับอ่อน (Pancreatic duct stone) 11. ภาวะท่อน้ำดีตีบ (Bile duct stricture) และ 12. ภาวะท่อตับอ่อนตีบ (Pancreatic duct stricture) โดยมีหน่วยบริการที่สามารถให้บริการได้จำนวน 103 แห่ง กระจายอยู่ในทุกเขตทั่วประเทศ


“จาก 12 กลุ่มโรคที่ให้บริการ มี 3 กลุ่มโรค คือ โรคมะเร็งหลอดอาหารระยะลุกลามที่อุดตัน นิ่วในท่อตับอ่อน และภาวะท่อตับอ่อนตีบ ยังไม่มีข้อมูลเบิกจ่ายจากหน่วยบริการ สำหรับในส่วนข้อมูลบริการเมื่อแยกตามพื้นที่ พบว่า พื้นที่เขต 2 มีอัตราบริการผ่าตัดวันเดียวกลับมากที่สุด จำนวน 345 ราย รองลงมาเขต 5 จำนวน 342 ราย และ เขต 1 จำนวน 296 ราย” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว


นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จากข้อมูลจำนวนบริการรักษาผ่าตัดวันเดียวกลับข้างต้นนี้ ได้มีการประมวลผลและเบิกจ่ายแล้ว 22.89 ล้านบาท แต่ผลที่ได้รับสามารถลดวันนอนและลดค่าใช้จ่ายทางอ้อมของญาติได้ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการบริการของโรงพยาบาล ทำให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการอื่นในการนอนโรงพยาบาล และจากการสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ ภาพรวมผู้ป่วยให้คะแนนความพึงพอใจบริการผ่าตัดวันเดียวกลับเฉลี่ย 4.58 คะแนน จาก 5 คะแนน ซึ่งการบริการผ่าตัดวันเดียวกลับนี้ได้ลดวันนอนจากการเป็นผู้ป่วยในเพื่อรับการผ่าตัดรักษาจากจำนวน 5,777 วัน เหลือเพียง 1,951 วัน คิดเป็นจำนวนวันนอนที่ลดลงถึง 3,826 วัน ช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และทำให้มีเตียงว่างเพื่อรองรับบริการผู้ป่วยในโรคอื่นเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายทั้งของโรงพยาบาลและผู้ป่วยได้ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ซึ่งในปี 2562 คาดว่า จะมีการขยายการผ่าตัดวันเดียวกลับไปยังกลุ่มโรคอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความร่วมมือในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อดูแลสุขภาพคนไทย



เผยแพร่: 11 พ.ย. 2561  โดย: ผู้จัดการออนไลน์