ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอธีระวัฒน์” ไขทางออก “ผู้ป่วย” ล้นทะลัก รพ.ต้องละลายกฎซับซ้อน สปสช.ไม่ตกเป็น  (อ่าน 549 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
“หมอธีระวัฒน์” ชี้ ปัญหาผู้ป่วยล้นทะลักหมักหมมกว่า 10 ปี ต้องทำให้ ปชช.เป็น Smart Citizen รพ.รั ฐต้องไม่เป็นตัวประกันของ สปสช. ผ่านการกำหนดวิธีการและเงินในการรักษาแต่ละโรค ย้ำ ไกด์ไลน์ต้องคำนึงปัญหาจริงในพื้นที่ ร.ร.แพทย์ต้องเข้ามาช่วยดูแลด้วย เน้นทำให้คนไม่เป็นโรค ดูแลคนเจ็บป่วยให้ดี ละลายกฎซับซ้อน ให้คนยากจนเข้าถึง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีผู้ป่วยล้นทะลักโรงพยาบาลรัฐจนเกิดปัญหาโรงพยาบาลแออัด ว่า ต้องยอมรับว่า มีปัญหาหมักหมมมาเป็น 10 ปี ทำให้ประชาชนเป็น Smart Citizen และทำให้โรงพยาบาลรัฐไม่เป็นตัวประกันของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เนื่องจากถูกกำหนดวิธีขั้นตอนและกรอบเงินที่สามารถใช้ได้ในการรักษาแต่ละโรค แต่เงินที่กำหนด ยืดหยุ่นแบบน้อยลงเรื่อยๆ โดยตั้งงบปลายปิด มีเงินเท่าไร ที่เหลือก็ให้ใช้ได้เท่านั้น ที่ใช้ไปแล้วก็ให้ใช้ไปแต่ไม่ส่งเงินให้โรงพยาบาลรัฐก็ขาดทุนไปเรื่อยๆ

ขณะที่ กรอบการรักษา หรือ practice guideline เป็นเรื่องดีที่ผู้ปฏิบัติจะได้ไม่ต้องวกวน ลองผิดลองถูก แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ที่หมอผู้รักษาเจอกับผู้ป่วยตรงหน้าได้ การกำหนดแนวทางการรักษาของ สปสช. ตามที่ผู้บริหารได้เคยกล่าวอย่างภาคภูมิใจว่าสามารถกำหนดสิ่งมีชีวิต คือ ผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ ให้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตสามารถกำหนดได้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรใช้เงินเท่าใด ผู้ที่เขียนกรอบกำหนดเหล่านี้ ต้องประกอบด้วยหมอที่ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ รู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปริมาณงานที่ต้องประสบ การตั้งกรอบโดยอิงจากต่างประเทศอาจไม่ได้ทั้งหมด โดยไม่ได้ควบรวมความเป็นจริงของผู้ที่ทำงานว่ามีตั้งแต่ไม่มีประสบการณ์เลย เช่น แพทย์ฝึกหัด เริ่มจะมีบ้าง เช่น แพทย์ใช้ทุน มีมากขึ้นไปอีก เช่นแพทย์ประจำบ้าน ที่เจอกับสภาพที่หนักที่สุดซับซ้อนที่สุดและจำนวนผู้ป่วย มากเกินกว่าอัตราส่วนที่ควรจะเป็น

โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยจะต้องลงมาร่วมกันคิดหาแนวทางในการสร้างระบบและกรอบการปฏิบัติรวมทั้งให้นักเรียนแพทย์ ที่จะต้องลงไปในสนามรบ รู้สถานการณ์จริงเสียก่อนและวิธีการเรียนการสอนต้องตรงเป้าและต้องคิดเป็นโดยมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างแน่นหนาและสามารถคิดเป็นระบบ ทั้งนี้เนื่องจาก guideline ไม่สามารถตอบโจทย์ที่เห็นตรงหน้าได้ทุกอย่าง ข้อคิด คือ จะหาพี่เลี้ยงได้จากที่ไหนอย่างไร เทเลเมดิซีน จะช่วยได้แค่ไหนอย่างไร

เรื่องนี้ไม่ต้องคิดซับซ้อน คิดถึงสุขภาพคนไทยอย่างเดียว ทำอย่างไรให้ไม่เป็นโรค เป็นแล้วทำอย่างไรให้โรคสงบ เกิดเป็นหนักทำอย่างไรให้ไม่ตาย แต่ต้องกลับมามีชีวิตอย่างมีคุณภาพ และคิดเหมือนกันทั้งประเทศว่า เงินก้อนเดียวกันต้องใช้ด้วยกัน และคนที่ต้องการมากที่สุด คือ คนที่ยากไร้ คนจนคนที่เข้าถึงระบบได้ยากที่สุด คิดง่ายๆ เท่านี้ และละลายกรอบกฎระเบียบซับซ้อน

4 ต.ค. 2561 20:40   โดย: ผู้จัดการออนไลน์