ผู้เขียน หัวข้อ: ติงเก็บเงินผู้ป่วยบัตรทอง 10-20% กระทบคนรายได้น้อย-ใช้บริการ ประหยัดเงินแค่หลัก  (อ่าน 531 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
กก.สปสช.ชี้ แนวคิดให้ผู้ป่วยบัตรทองร่วมจ่าย 10-20% ประหยัดเงินแค่หลักพันล้าน แต่ส่งผลผู้มีรายได้น้อยมารับบริการน้อยลง ย้ำถ้าเก็บจริงต้องเก็บเหมือนกันทุกกองทุน และต้องหาวิธีแก้ไขผลกระทบด้วย


จากกรณีข่าวกระทรวงการคลังมีแนวคิดลดสิทธิบัตรทอง โดยให้ประชาชนที่มีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อปี หรือมีฐานะดี จ่ายเงินเองด้วย เช่น จ่าย 10% บัตรทองจ่าย 90% เป็นต้น เพื่อแบ่งเบาภาระเงินงบประมาณ โดยคงสิทธิเดิมให้คนจนผู้มีรายได้น้อย


วันนี้ (4 ก.ย.) นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ไม่ใช่แค่สิทธิของประชาชนอย่างเดียว แต่พิสูจน์แล้วว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า โดยผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่า การลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพ 100 บาท จะได้ผลตอบแทน 20 บาท เพราะมีผลในเชิงเศรษฐกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา เครื่องมือแพทย์ โลจิสติกส์ ฯลฯ ซึ่งธนาคารโลกประเมินแล้วพบว่า ไทยลงทุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนที่ได้ประโยชน์ คือ คนที่มีรายได้ระดับล่างสุด 20% มีอำนาจซื้อมากขึ้นทุกปี เพราะไม่ต้องเก็บเงินไว้สำหรับสุขภาพ สามารถเก็บเงินไว้ใช้จ่ายสิ่งของจำเป็นอื่นๆ มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ส่วนประเทศที่ไม่มีระบบหลักประกันฯ อำนาจการซื้อของคนที่มีรายได้ต่ำสุด 20% ลดลงเรื่อยๆ


นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า เมื่อมองเป็นการลงทุน คำถามคือ ประชาชนควรร่วมลงทุนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการร่วมลงทุนหรือร่วมจ่ายมี 2 ประเภทคือ จ่ายก่อนป่วย และจ่ายหลังป่วย โดยจ่ายก่อนป่วยคือ เบี้ยประกัน ซึ่งมีเพียงประกันสังคมเท่านั้นที่มีเบี้ยประกัน บัตรทองและสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ไม่มี ถ้าจะมีเบี้ยประกันกับบัตรทอง ก็ควรมีเบี้ยประกันสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการด้วย มิเช่นนั้นจะไม่เป็นธรรม และต้องจ่ายอย่างเป็นธรรม ใครรายได้มากก็จ่ายมาก ใครรายได้น้อยก็จ่ายน้อย ส่วนการจ่ายหลังป่วย มี 3 แบบ 1. Co-payment หรือค่าเหยียบแผ่นดิน เข้าไปใช้บริการก็ต้องจ่ายทันที ซึ่งมีเฉพาะบัตรทอง


2.Deductible หรือจ่ายขั้นต่ำก่อนประกันจ่าย เช่น ค่ารักษา 1,000 บาท ถ้ารักษาไม่เกิน 1,000 ก็จ่ายเต็มตามจำนวนเงินจ่ายจริง แต่ถ้าค่ารักษา 1,500 บาท ก็จ่ายที่เพดาน 1,000 บาท อีก 500 ประกันจ่าย เป็นต้น ขณะนี้ยังกองทุนสุขภาพในเมืองไทยยังไม่มีการจ่ายแบบนี้ และ 3. Co-insurance หรือร่วมประกัน ซึ่งเป็นข่าวในขณะนี้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล 100 บาท ประกันจ่าย 90 บาท ผู้ป่วยจ่าย 10 บาท ระบบนี้ดีน้อยที่สุด การวิจัยทั่วโลกรวมทั้งงานวิจัยในประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ โดยอาจารย์ อุดมศักดิ์ โง้วศิริ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่า การร่วมจ่ายแบบนี้ทำให้คนใช้บริการน้อยลง โดยที่คนจนหรือคนที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ที่สำคัญคือการไปรับบริการที่น้อยลง เกิดทั้งกับบริการที่จำเป็นและไม่จำเป็น หรือพูดง่ายๆว่ายอมป่วยอยู่บ้านแม้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้บริการ


“เรื่องนี้ไม่ได้เป็นข่าวที่มีแถลงการณ์หรือยืนยันอย่างเป็นทางการจากกรมบัญชีกลาง เราก็ว่ากันไปตามข่าวและข้อมูลเชิงวิชาการ สมมติถ้าจะทำกับบัตรทอง ปัจจุบันรัฐใช้งบประมาณปีละ 180,000 ล้านบาทกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้าจะให้ร่วมจ่าย 10% อย่างมากสุดก็ได้ 18,000 ล้านบาท แต่เมื่อไม่เก็บจากคนจนซึ่งขั้นทะเบียนไว้ประมาณ 10 ล้านคนจากจำนวนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 45 ล้านคน ก็หักออกไปอีก 25-30% เงิน 18,000 ล้านบาท ก็เหลือประมาณ 10,000 ล้านบาท และยังมีอีกส่วนที่มีสิทธิแต่ไม่ใช้สิทธิ เช่น ไปใช้บริการหน่วยบริการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วควักเงินจ่ายเอง เมื่อหักลบออกไปอีก รวมๆแล้วก็จะประหยัดงบประมาณได้ไม่มาก ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท” นพ.สุวิทย์ กล่าว


นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า การประหยัดงบประมาณไปได้หลักพันล้านแต่มีผลกระทบทำให้คนระดับล่างเช่น คนที่ไม่มีบัตรคนจน ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ไปใช้บริการทั้งๆที่มีความจำเป็น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ และจะมีการแก้ไขผลกระทบอย่างไร นอกจากนี้ ถ้าจะเก็บ 10% จากบัตรทอง ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจะเก็บ 10% เหมือนกันหรือไม่ เพราะฉะนั้นหลักการง่ายๆ คือถ้าจะเก็บก็ต้องเก็บให้ทั่วถึง ทำให้เหมือนกันทั้ง 3 กองทุนและหาทางปกป้องคนยากคนจนให้ได้ ถ้าทำได้ มันก็น่าจะรับการยอมรับ และถ้าจะทำจริงๆ กรมบัญชีกลางควรจะเก็บจากสวัสดิการข้าราชการก่อน เพราะเป็นสิทธิที่กรมบัญชีกลางบริหาร ส่วนประกันสังคมต้องให้กระทรวงแรงงานพิจารณา ขณะที่บัตรทองก็เป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณา แต่ละระบบมีคนรับผิดชอบอยู่



เผยแพร่: 4 ก.ย. 2561    โดย: ผู้จัดการออนไลน์