ผู้เขียน หัวข้อ: ไขมันทรานส์ การแพทย์ยูเทิร์น กับการเมืองและผลประโยชน์  (อ่าน 1484 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด

ตอนที่ 1 จุดเรื่มต้นของการแบนไขมันทรานส์

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เลขที่ 388 พ.ศ. 2561
เรื่อง กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย

โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids)
จากน้ํามันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลต่อการ
เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้น้ํามันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ํามันที่ผ่าน
กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย

ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
................................................................................

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2522

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มี
อํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกําหนดคำธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกําหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 6 เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมอาหารให้รัฐมนตรีมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(8) กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย

หมวด 8
บทกําหนดโทษ
มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝีนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(8) ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึง
สองปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท
...........................................................
องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้ยุติการใช้ไขมันสังเคราะห์ทั่วโลก
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ประกาศว่าจะรณรงค์ให้ระบบการผลิตอาหารโลกปราศจากไขมัน Trans fat ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ WHO เดินหน้าให้เกิดการเลิกใช้สารซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไม่ติดต่อ โดยตั้งเป้าการกำจัดไขมัน Trans fat ออกจากกระบวนการผลิตอาหารโลก ภายในปี ค.ศ. 2023 หรืออีก 5 ปีจากนี้

เลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก นายแพทย์ เทย์ เทโดรส อัดฮานอม กีเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) เป็นผู้ประกาศความตั้งนี้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา

ไขมัน Trans fat เป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับ LDL หรือ คอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดอุดตันในสมอง

นอกจากนี้ Trans fat ยังไปลดระดับคอเลสเตอรอล HDL ที่ดีต่อสุขภาพเพราะช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจอีกด้วย

ไขมันเทียมนี้เป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นจากนำ้มันพืชที่ผ่านกระบวนการที่ใช้ไฮโดรเจน เพื่อให้นำ้มันกลายมาเป็นไขมันแข็ง เช่น เนยมาการีน เป็นต้น

นอกจากนี้ Trans fat ยังพบมากในขนมขบเคี้ยว เช่นมันฝรั่งทอด ขนมปัง เค้ก และของทอดต่างๆ

ไขมันสังเคราะห์ดังกล่าวถูกใช้อย่างแพร่หลายเพราะมีราคาถูก และเก็บได้นานกว่านำ้มันตามธรรมชาติ รวมทั้งสามารถนำกลับมาให้ความร้อนได้หลายๆครั้ง

องค์การอนามัยโลก ประเมินว่า แต่ละปีประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจจำนวน 5 แสนราย

เลขาธิการ WHO กล่าวว่า "เหตุใดเยาวชนทั่วโลกจึงต้องเผชิญกับส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ปลอดภัยเช่นไขมัน Trans fat"

ประเทศรำ่รวยหลายแห่งสามารถกำจัดไขมันเทียมนี้ได้ทั้งหมด ด้วยวิธีการทางกฎหมายที่กำหนดระดับของ Trans fat ในอาหารชนิดต่างๆ ที่ใส่บรรจุภัณฑ์

ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศเเรกที่ดำเนินการเช่นนี้ ผลที่ได้คือ คนในประเทศป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยลง และปัจจุบันรัฐบาล 40 ประเทศใช้กฎหมายห้ามใช้ส่วนผสมอาหารที่เป็นไขมันดังกล่าว

นายแพทย์ทอม ฟรีเดน (Tom Frieden) อดีตหัวหน้าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ของสหรัฐฯ ร่วมเปิดโครงการนี้กับเลขาธิการใหญ่ WHO และบอกกับวีโอเอว่า หากสามารถกำจัดไขมันชนิดนี้ออกจากระบบการผลิตอาหารได้ ประชากร 17 ล้านคนจะได้ประโยชน์ในอีก 25 ปีจากนี้

ทั้งนี้นายแพทย์ ฟรีเดนเป็นผู้ร่วมผลักดันให้ฝ่ายบริหารของนครนิวยอร์ก ห้ามการใช้ Trans fat เป็นส่วนประกอบอาหาร ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขของนิวยอร์ก เขากล่าวด้วยว่า สิ่งที่นำมาใช้แทน Trans fat หลายชนิดมีราคาถูกถูกและหาซื้อง่าย

ในโครงการรณรงค์ให้ระบบผลิตอาหารโลกปราศจากไขมันไม่อิ่มตัว องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆใช้ยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย

พิจารณาและทบทวนที่มาของไขมันTrans fat และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ นอกจากนั้นควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ไขมันชนิดนี้หากจำเป็น

สนับสนุนการใช้ส่วนประกอบอาหารทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า และสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยจาก Trans fat ในหมู่ประชาชน

https://www.voathai.com/a/trans-fat-who/4395858.html
..............................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2019, 21:25:37 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เริ่มแล้ว 9 ม.ค. บังคับใช้ กม.ห้ามไขมันทรานส์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 มกราคม 2019, 00:51:36 »
เริ่มแล้ว บังคับใช้ กม.ห้ามใช้ไขมันทรานส์ 9 ม.ค. อย.เผยผู้ประกอบการทราบ เรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารจากท้องตลาดแล้ว ชี้จากนี้ต้องทำใบรับรองยืนยันอาหารนำเข้าปลอดไขมันทรานส์

วันนี้ (9 ม.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลใช้บังคับในวันที่ 9 มกราคม 2562 นี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้รับการชื่นชมจาก WHO ที่มีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจน รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและสื่อสารถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

นพ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า กฎหมายฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมมือกับภาคเครือข่าย ทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมกันดำเนินการ โดยได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหลังจากประกาศฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ พร้อมจัดทำคู่มือสำหรับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งประเด็นถาม - ตอบ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับไขมันทรานส์อย่างถูกต้อง

“อย่างไรก็ตาม การห้ามนำไขมันทรานส์มาใช้ในการผลิตอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ ไม่รวมถึงไขมันทรานส์ที่พบอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว จึงขอให้ผู้บริโภคตระหนักในการรับประทานอาหารแต่อย่าตระหนกจนเกินไป เพราะการมีสุขภาพที่ดีนั้นมาจากการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่กับการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ” นพ.ปิยะสกล กล่าว

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการรับทราบและได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ ไม่ให้มีในท้องตลาด ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบรับรองเพื่อยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าไม่มีการปนเปื้อนไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมอาหาร

ทั้งนี้ อย.ได้จัดทำแผนตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวัง ณ สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค หากพบการกระทำฝ่าฝืน จะมีโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท นอกจากนี้ อย. ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ อย. อีกทั้งได้ร่วมกับ สสส. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และคนไทยไร้พุง จัดทำข้อมูล Infographics เพิ่มเติม

9 ม.ค. 2562 18:13   โดย: ผู้จัดการออนไลน์