ผู้เขียน หัวข้อ: ทำเกณฑ์พัฒนา “คลินิกผู้สูงอายุ” ทั่ว กทม.เพิ่มคุณภาพบริการ ค้นเจอโรคเรื้อรังไวข  (อ่าน 507 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
กทม. ร่วมศิริราช และสมาคมพฤฒาวิทยาฯ ทำเกณฑ์ประเมิน “คลินิกผู้สูงอายุ” หวังเพิ่มคุณภาพ ให้บริการมีคุณภาพ ค้นพบโรคเรื้อรังได้ตั้งแต่ระยะต้น ช่วยผู้สุงอายุมีสุขภาพ คุรภาพชีวิตที่ดี เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษามหาราชินี


วันนี้ (10 ส.ค.) นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าวโครงการความร่วมมือพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ กรุงเทพมหานคร - ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษามหาราชินี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีคุณูปการต่อประชาชนผู้สูงอายุไทย โดยการขยายการดำเนินงานของคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร



นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ และสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย จะสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการและการวิจัย เพื่อจัดทำคู่มือผู้สูงอายุกำหนดเกณฑ์การประเมินคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยจะนำหลักเกณฑ์ที่ได้ไปจัดทำคู่มือเพื่อให้โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสถานพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ กทม. ใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขต กทม. และจะขยายสู่ศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกชุมชนอบอุ่น เพื่อร่วมจัดบริการที่มีคุณภาพแก่ผู้สูงอายุต่อไป โดยคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพดังกล่าว จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการค้นพบโรคเรื้อรังในระยะเริ่มแรก ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งปัจจุบัน กทม.มีผู้สูงอายุจำนวน 978,455 คน


“การค้นพบโรคเรื้อรังในระยะเริ่มต้นในผู้สูงอายุ การส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพให้สามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือสังคมได้ สร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุประกอบกิจกรรมร่วมกัน สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม เป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง” นายทวีศักดิ์ กล่าว


ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2563-2564 คือ ประชากรมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งผู้ป่วยสูงอายุมีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากผู้ป่วยผู้ใหญ่ทั่วไป เช่น หกล้ม ไม่เดิน ความสามารถทางสมองเสื่อมถอย เป็นต้น ซึ่งระบบการดูแลสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการในด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องมีคลินิกผู้สูงอายุ ซึ่งมีบทบาทไม่เพียงแค่ด้านการวินิจฉัยโรค การรักษาโรค แต่ต้องผนวกเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูบำบัด ตลอดจนการคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคม



เผยแพร่: 10 ส.ค. 2561  โดย: MGR Online