ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นจีโอกับการคอรัปชั่น  (อ่าน 1659 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เอ็นจีโอกับการคอรัปชั่น
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2011, 01:07:25 »


วันที่  ๒๓ ธ.ค. ๕๔ ไทยทีอาร์แอลได้เข้าสัมภาษณ์ อ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เรื่อง สตง. กับ สปสช.  จึงได้รับบทความเด่นสุดๆ เรื่อง NGO กับการคอรัปชั่น... 

วัตถุประสงค์สำคัญของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน สนใจกับการตรวจสอบสปสช.และองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ที่เกิดขึ้นมากมายในระยะประมาาณ ๑๐ ปีนี้ ทั้งนี้เพื่อให้ยุติปัญหาการคอรัปชั่นเงินภาษีประชาชนไปเป็นประโยชน์ส่วนตน    ปัจจุบันนี้ มีการกล่าวถึงปัญหาการคอรัปชั่นว่าเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้เกิดอุปสรรคขัดขวางความเจริญของประเทศชาติไทยอันเป็นที่รักและที่อยู่อาศัยของเราชาวไทย จนถึงกับมีการตั้งสมาคม ชมรม หรือองค์กรเพื่อต่อต้านการคอรัปชั่น เกิดขึ้นมากมาย  ส่วนมากก็มักจะกล่าวถึงการคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจากนักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือองค์กรส่วนท้องถิ่น (ต่อไปจะเรียกบุคลากรจากทุกองค์กรเหล่านี้รวมๆกันว่า เจ้าพนักงานของรัฐ )ซึ่งเป็นฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์อันมิบังควรจะได้จากการมีตำแหน่งหน้าที่การงานของตน ทั้งๆที่ควรจะเป็นฝ่ายที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทำให้ประชาชนที่ต้องรับผลการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐนี้เสียผลประโยชน์

  ยังมีอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายประชาชนที่มิใช่เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ได้รับผลประโยชน์จากพฤติกรรมคอรัปชั่นจาการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ  ในพฤติการณ์ที่เรียกว่า “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ตัวอย่างเช่น การจ่ายเงิน “ใต้โต๊ะ” เพื่อให้ตนเองและพวกพ้องได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณภาษีของประชาชน และพฤติกรรมอื่นๆอีกมากมาย ที่ประชาชนไทยก็รู้กันดีแล้วว่า มีพฤติกรรมที่เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนต่างร่วมกันแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากงบประมาณแผ่นดิน

 ทั้งนี้องค์กรที่ตรวจสอบและลงโทษพฤติกรรมการคอรัปชั่นเช่น คตส. ปปช. สตง. ก็คงทำงานในการปราบปรามพฤติกรรมการคอรัปชั่น กันอยู่ตามหน้าที่ แต่ก็คงจะตามไม่ทันในการที่จะปราบปรามการคอรัปชั่นให้หมดไป

  แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอำนาจรัฐในตอนต้น แต่พยายามที่จะหาทางในการที่จะได้ครอบครองอำนาจรัฐ ในการผลักดันให้ฝ่ายรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายต่างๆ โดยที่อ้างว่าเป็นการตรากฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทุกคน แต่จะเขียนไว้ในกฎหมายให้มีการ ตั้งองค์กรใหม่ให้เป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายราชการ และมีการ“ตั้งกองทุน” ซึ่งจะได้เงินมาจากงบประมาณแผ่นดิน หรือเรียกเก็บเงินจากองค์กรต่างๆ เพื่อจะได้มีเงินในการดำเนินงาน

ที่สำคัญ หน่วยงานหรือองค์กรใหม่เหล่านี้ ต่างก็มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายพิเศษเฉพาะนี้ว่า องค์กรจะบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยอาศัยการโหวตหรือลงคะแนนการทำงานตามความเห็นของคณะกรรมการ โดยกำหนดให้ประธานกรรมการเป็นผู้บริหารในฝ่ายรัฐเช่น นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง แต่ประธานกรรมการนี้ ไม่มีอำนาจการบังคับบัญชาสำนักงาน มีหน้าที่ เพียงการ “กำกับดูแล”สำนักงานเท่านั้น คือมีสิทธิ์ออกเสียงได้เพียง “หนึ่งเสียง” เท่ากับกรรมการคนอื่นๆ

  แต่คนพวกที่เขียนกฎหมายและผลักดันให้กฎหมายออกมามีผลบังคับใช้นี้จะเขียนรายนามคณะกรรมการหรือกรรมการสรรหาคณะกรรมการขององค์กรใหม่นี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยการ“ล็อกสเเปค” ตัวบุคคลที่จะมาเป็นกรรมการชุดแรกตามบทเฉพาะกาล หรือกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรเกิดใหม่ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยอ้างว่าเพื่อต้องการเข้ามาทำงานต่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรตามภารกิจที่เขียนไว้ แต่ความจริงก็คือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องมา “กุมอำนาจ” การบริหารองค์กร การบริหารเงิน ในรูปแบบของคณะกรรมการ แล้วสามารถออกกฎระเบียบต่างๆในการใช้เงินกองทุนตามความคิดของกลุ่มตน เนื่องจากเป็นผู้เลือกและแต่งตั้งกรรมการได้เองตามที่ล็อกสเปคไว้แล้ว

 การกระทำเหล่านี้จึงถือเป็นการคอรัปชั่นรูปแบบใหม่ ที่ทำให้คณะกรรมการหรือผู้บริหารองค์กรนั้น มีช่องทางในการคอรัปชั่นหรือแสวงหาผลประโยชน์จากเงินภาษีของประชาชน มาเป็นผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องโดยมิชอบ โดยที่ประธานกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแลไม่สามารถรู้เท่าทันหรือ “ตามไม่ทัน” ขบวนการฉ้อฉลหรือคอรัปชั่นเหล่านี้ ทำให้บุคคลเหล่านี้ มี “เงินจากกองทุน” ไปดำเนินการต่างๆได้ตามอำเภอใจ เป็นเวลานานหลายปี โดยที่องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน ก็ไม่สามารถ “จับได้ไล่ทัน” พฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงขององค์กรเหล่านี้มานานนับสิบปี แต่คนเหล่านี้ก็ยังมีความสามารถที่จะผลักดันกฎหมายใหม่ๆออกมา ตามรูปแบบ (pattern) เดิมๆ อีกต่อไป

  เมื่อผู้อ่านได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจจะเกิดความสงสัยว่า ผู้เขียนกำลังพูดถึงใคร และองค์กรใดจึงมีความสามารถดำเนินการในแบบที่ผู้เขียนกล่าวมา

ผู้เขียนกำลังจะบอกอยู่เดี๋ยวนี้ว่า ผู้เขียนพูดถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดพ.ร.บ.ต่างๆเหล่านี้ได้แก่ พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ (สวรส.) พ.ร.บ.กองทุนการสร้างเสริมสุขภสพ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕(สปสช.) พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ (สช.) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑ และกำลังผลักดันพ.ร.บ.องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... และพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ..ศ. ....

บุคคลกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “กลุ่มสามพราน” ผู้อ้างตัวเองว่า “ ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพไทย “มาอย่างยาวนาน โดยบุคคลเหล่านี้ มาจากกลุ่มแพทย์ผู้เคยไปทำงานในโรงพยาบาลอำเภอรุ่นแรกๆ โดยยึดเอาอาจารย์ประเวศ วะสีเป็นผู้นำกลุ่ม เริ่มจากการก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท เพื่อดำเนินการในการที่จะ ”ปฏิรูประบบสาธารณสุข”ตามแนวคิดของกลุ่มพวกตน โดยมีนพ.ประเวศ วะสีเป็นหัวหน้ากลุ่ม โดยการตั้งทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา กล่าวคือ 
๑. ต้องมี “หัวข้อเรื่อง”โดยอ้างงานวิจัย (เพื่อให้ดูมีหลักฐานน่าเชื่อถือ) ก่อน(ว่าต้องการทำอะไร)
๒. แล้วก็ทำให้ “สังคมตื่นตัว” เรียกว่าให้สังคมรับรู้และเห็นด้วย (Social Movement) เมื่อสังคมเริ่มพูดกันเป็นข่าวใหญ่ ๓.แล้วก็เข้าหาผู้มีอำนาจบริหารบ้านเมืองในขณะนั้น เพื่อให้การผลักดันในการทำงานของตนเป็นไปตามเป้าหมาย

เริ่มจากการตั้งสำนักงานระบาดวิทยาแห่งชาติ ที่ได้เงินสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ แล้วก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ การตั้งมูลนิธิก็เพื่อระดมทุนมาทำงานตามแนวคิดของตน ขอสรุปย่อๆก็คือ เริ่มจากการจัดตั้งสำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุขจากพ.ร.บ.สวรส.ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วออกผลงานวิจัยที่คนไทยคงจะเคยได้ยินมาแล้วว่า คนไทย “โง่ จน เจ็บ”

ถ้าจะแก้ความโง่ ก็ต้องตั้ง สสส. เพื่อให้ความรู้

 และพยายามจะให้ประชาชนหายเจ็บโดยคิดว่าผู้บริหารต้องดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ประชาชนหายเจ็บ  จึงพยายามจะออกพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับทำนโยบายสาธารณสุขให้ประชาชนมีสุขภาพดี แต่ไม่สำเร็จ จนนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้ไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้หฺช็นด้วยกับหลักการประกันสุขภาพแก่ประชาชน จึงได้ออกพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำเร็จ มีนพ.สงวนฯ มาเป็นเลขาธิการสองสมัย แต่ถึงแก่กรรมก่อนหมดวาระที่สอง

 การตั้งสปสช.ช่วยให้ประชาชนหายเจ็บและหายจนจากการไม่ต้องจ่ายค่ารักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย สปสช.จึงแก้ได้ทั้งเจ็บและจน

  ต่อมาในยุคคมช.คนกลุ่มนี้ก็เข้าหาคณะปฏิวัติ ผลักดันให้เกิดพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๔ โดยนพ.อำพล จินดาวัฒนะเลขานุการนพ.มงคล ณ สงขลารมว.สธ.ในขณะนั้น เป็นผู้ผลักดันจนผ่านสนช.โดยที่ไม่ครบองค์ประชุม แต่ก็ออกมาเป็นกฎหมายจนได้ และนพ.อำพลฯ ก็มาเป็นเลขาธิการคนแรกของ

สช. โดย สช.จะจัดทำสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดทำนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพ แล้วเอามา “บังคับ”ให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายของการบริหาร โดยอ้างการบัญญัติในพ.ร.บ.สช.มาอ้าง

นอกจากนี้ องค์กรเหล่านี้ ยังได้ขยายตัวตั้งองค์กรลูกที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เพื่อขยายเครือข่ายการทำงานของตน โดยยึดหลักการเหมือนเดิม คือ เขียนพ.ร.บ. ตั้งกองทุน ตั้งกรรมการกองทุน ออกระเบียบการใช้เงินเอง ระเบียบนี้มักจะ เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง โดยการเบียดบังงบประมาณของกองทุนที่มาจากเงินภาษีของประชาชน แล้วกรรมการที่มาจากตำแหน่งไม่สามารถโหวตชนะกรรมการที่เป็นพรรคพวกตนและเอ็นจีโอสาธารณสุข ที่มาเป็นกรรมการจากการคัดเลือกกรรมการที่ไม่โปร่งใส ทำให้องค์กรเหล่านี้ ทำผิดระเบียบสำนักนายกฯ ระเบียบสตง. มติคณะรัฐมนตรี   และทำผิดพระราชบัญญัติเฉพาะขององค์กรของตนเอง  โดยที่สตง.ก็เพิ่งจะชี้ประเด็นความผิดของสปสช.,เมื่อเร็วๆนี้

  และนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดสปสช.ที่สตง.ชี้ประเด็นมา ยังไม่ทราบว่า จะสามารถกระชากหน้าการการบริหารที่ผิดกฎหมายของสปสช.ได้หรือไม่

  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้จัดการ(ผ่านพรรคการเมืองและรัฐบาล)ให้เกิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกคณะ มิได้ดูแลกำกับให้เลขาธิการสปสช.บริหารการเงินกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน แต่ได้ทำการบริหารที่น่าสงสัยว่า ได้ฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยการเบียดบังเงินบริหาร เงินกองทุน ไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกของเลขาธิการสปสช. จนทำให้เงินกองทุนเหลือไม่พอให้บริการที่ดีแก่ประชาชน

แทนที่คนเหล่านี้จะสำนึกผิด กลับยกย่องเชิดชูว่านพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็น “บิดาแห่งหลักประกันสุขภาพไทย” มิได้ให้เครดิตความดีความชอบนี้แก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ได้ให้การสนับสนุนผ่านสภาให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทยแต่อย่างใด ถึงแม้ประชาชนจะชื่นชอบนโยบายนี้ แต่การทุจริตทำให้ประชาชนและระบบโรงพยาบาลเสียหายอย่างชัดเจน

 ที่ผู้เขียนได้เขียนมาทั้งหมดนี้ มิได้เป็นการกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานรองรับแต่อย่างใดทั้งสิ้น ผู้อ่านสามารถไปหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากหนังสือ “แสงดาวแห่งศรัทธา” หนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพของนพ.สงวน นิตยารัมภง์พงศ์ เลขาธิการสปสช.คนแรก ท่านจะเห็นความเกี่ยวโยงต่างๆโดยละเอียด จากกลุ่มบุคคลที่เขียนชื่นชมนพ.สงวนฯ ทุกคน เริ่มจากหัวหน้าใหญ่คือประเวศ วะสี วิชัย โชควิวัฒน์ อำพลจินดาวัฒนะ ฯลฯ บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่อยู่ในขบวนการสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งอาจจะมีหลักการที่”อ้างประโยชน์”ต่อประชาชน แต่เมื่อมีอำนาจ มีเงินมากมายมาบริหาร ก็จะหลงใหลมัวเมาในการถือเงินและถืออำนาจ จนลืมตัว ทำการฉ้อราษฎร์บังหลวง กอบโกยผลประโยชน์จากกองทุนมาเพื่อประโยชน์ตนดังที่สตง.ได้ชี้ประเด็นความผิดมาแล้ว

  ผู้เขียนขอเรียกร้องให้สตง. ปปช.และคณะกรรมการที่นายวิทยา บุรณศิริตั้งขึ้น ได้พิจารณาสอบสวนให้ได้ความจริงอย่างตรงไปตรงมา สุจริต โปร่งใส เพื่อนำเอาคนทุจริตมาลงโทษ และยุติการ “คอรัปชั่น” โดยกลุ่มคนเหล่านี้ให้ได้

และขอให้ประชาชนทั่วไป ได้สนใจป้องกันและช่วยกันยุติการคอรัปชั่นโดยองค์กรอิสระเหล่านี้อย่างใกล้ชิดด้วย

 และถ้าสอบสวนต่อไปถึงพ.ร.บ.ที่กำลังพิจารณาอยู่ในวุฒิสภาในเวลานี้ คือพ.ร.บ.องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ก็จะเห็นว่าเลียนแบพ.ร.บ.สปสช.อย่างชัดเจน และจะสามารถเกิดการทำผิดระเบียบการเงิน และอาจเกิดการคอรัปชั่นได้ง่าย ถ้าไม่มีระบบการตรวจสอบที่ดี

เขียนโดย วิบูลาลา   
thaitrl.org   23 ธ.ค. 2011