ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอ รพ.กาฬสินธุ์” ฆ่าตัวตาย ไม่พบประวัติโรคซึมเศร้า  (อ่าน 950 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
กรมสุขภาพจิต เผย “หมอ รพ.กาฬสินธุ์” ฆ่าตัวตาย ไม่มีประวัติป่วยโรคซึมเศร้า แต่มีปัญหาอารมณ์ฉุนเฉียว ปลีกตัว ไม่ค่อยยุ่งกับใคร ห่วงสถิติคนไทยฆ่าตัวตายเพิ่ม ในกลุ่มวัยรุ่น - คนทำงาน


วันนี้ (29 พ.ค.) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีแพทย์จังหวัดกาฬสินธุ์ กระโดดเม่น้ำชีฆ่าตัวตาย ว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ซึ่งจัดทีมลงไปสอบสวนโรคแล้ว พบว่า เป็นแพทย์ประจำ รพ.จังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่องการทำงานที่ผ่านมาไม่มีเคยมีประวัติป่วยและรักษาโรคทางด้านจิตเวช ไม่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่เคยเข้ารับคำปรึกษาและแนะนำจาก ผอ.รพ.กาฬสินธุ์ ว่า ให้แพทย์คนดังกล่าวเข้ารับการปรึกษาจิตแพทย์เนื่องจากมีพฤติกรรม มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น บางครั้งมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างระหว่างการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมอารมณ์ บางครั้งชอบปลีกตัว ไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับใคร ทั้งนี้ อารมณ์หุนหันพลันแล่นควบคุมอารมณ์ไม่ได้นั้นอาจจะมีความแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอยู่ แต่การปลีกตัวออกมาอาจจะเป็นเพียงความรู้สึกของคนรอบข้าง ซึ่งยังไม่ได้ถูกวินิจฉัยโดยแพทย์อย่างจริงจัง


น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า เมื่อดูที่ภาระงานพบว่า ที่ รพ.กาฬสินธุ์ นั้น ปริมาณงานค่อนข้างมาก บุคลากรของ รพ. รับภาระงาน แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็น รพ. ที่มีระบบคุณภาพที่ได้รับการรับรองอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็น รพ. ตัวอย่าง ทั้งเรื่องคุณภาพ และบุคลากรมีความสุขในการทำงาน แต่รายนี้กำลังสอบสวนสาเหตุ เพราะรายนี้ยังคงทำงานได้ตามปกติ เพียงแต่มีบางครั้งที่อารมณ์ฉุนเฉียวเหมือนเป็นบุคลิกภาพส่วนตัว ส่วนเรื่องปัญหาทางการเงินของรพ.นั้นไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงาน แต่เป็นเรื่องของผู้บริหารมากกว่า สำหรับการพูดคุยกับครอบครัวนั้นยังไม่ได้ข้อมูลเท่าที่ควร เขายังไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ เหมือนบอกว่าแพทย์ป่วย ซึมเศร้า แต่เราก็ต้องพยายามดู เพราะคนที่จะทำร้ายตัวเองได้มันต้องถึงจุดหนึ่งไม่มีทาง คิดไม่ออกแล้วว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งพอมองที่เพื่อนร่วมงานก็บอกว่ารับผิดชอบงานได้ดี แต่ข้อมูลครอบครัวยังไม่เปิดเผยเท่าไร


น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวช เช่น ซึมเศร้าก็มีโอกาสฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าภาวะทางจิตทั่วไป และมีการทำร้าย ฆ่าตัวตายมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่า โดยมากพบในผู้ป่วยซึมเศร้าสูงอายุ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การฆ่าตัวตายของไทยในรอบปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.5 ต่อแสนประชากร ถือเป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับทั่วโลกจะอยู่ที่ราวๆ 5.8 - 6.4 ต่อแสนประชากร เพราะฉะนั้นของไทยจึงถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สถิติครั้งนี้ของไทยก็นับว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นนิดหน่อยและมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานที่ฆ่าตัวตายด้วยภาวะหุนหันพลันแล่น ไม่สมหวัง


ทั้งนี้ ภาวะสุขภาพจิต ความเครียด วิตกกังวลความรู้สึกไม่สมหวังจะมากขึ้นเรื่อยๆ และนำมาสู่ความวิตกกังวลสูญเสียอารมณ์ที่ดีไป เมื่อสะสมนานๆ ไปจะเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น ขอให้สังเกตคนรอบข้าง อย่าดูแค่การซึม ไ/ม่พูดจากับใคร แต่อยากให้ดูพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หรือจากคนทั่วไป ให้เราเริ่มต้นจากการพูดคุย ห่วงใย สอบถามเขาก็จะช่วยไม่ให้ลามไปถึงขั้นเป็นภาวะซึมเศร้า






29 พ.ค. 2561  MGR ONLINE.