ผู้เขียน หัวข้อ: กฎหมายใหม่เกินครึ่งบังคับใช้ไม่ได้  (อ่าน 690 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรียุติธรรม ไปพูดในงานวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรมเรื่อง “การปฏิรูป กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” วันก่อน ฟังแล้วก็ถึงบบางอ้อ มีกฎหมายจำนวนมากที่ออกมาแล้วไม่สามารถใช้บังคับได้จริง ซ้ำร้าย รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีกฎหมายออกมาแล้ว สองปีหลังการปฏิวัติ การปฏิรูปประเทศไทยจึงยังไม่ก้าวหน้าไปไหน

การประชุมมีขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ละหัวข้อน่าสนใจทั้งสิ้น เช่น รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม, การปฏิรูปกิจการตำรวจ, การปฏิรูปการดำเนินงานในองค์กรกระบวนการยุติธรรม, การปฏิรูปเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความยุติธรรมเพื่อประชาชน, การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับพันธสัญญาระหว่างประเทศ

เห็นหัวข้อการประชุมแล้ว ผมก็ฝันอยากให้สิ่งดีๆเหล่านี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยของเรา ถ้า รัฐบาล คสช. สามารถปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 5 ข้อนี้ได้สำเร็จ มันจะกลายเป็น Amazing Thailand จริงๆ ประเทศไทยจะพลิกโฉมหน้าจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว จะกลายเป็น “ประเทศศิวิไลซ์” ที่เต็มไปด้วย “อารยธรรม” แห่งความเจริญ และ จะส่งผลให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองโชติช่วงชัชวาล ประชาชนอยู่กันอย่างสงบสุข ทำมาหากินกันอย่างยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆจะลดลงโดยสิ้นเชิง

กระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ ถ้าในยุครัฏฐาธิปัตย์ยังทำไม่ได้ ก็ไม่รู้จะไปทำได้ตอนไหน แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในวันนี้ ลองไปฟังปาฐกถาของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรียุติธรรมดูครับ Amazing Thailand อีกเหมือนกันอย่างไม่น่าเชื่อ

รัฐมนตรียุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้พยายามควบคุมงานเกี่ยวกับกฎหมายให้มากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น กฎหมายที่เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม กฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เคยระบุว่า รัฐบาลนี้ออกกฎหมายมากถึง 465 ฉบับ มากกว่ารัฐบาลชุดต่างๆ

แต่ในการขับเคลื่อนด้านกฎหมายที่ผ่านมา กลับพบว่า มีกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว 151 ฉบับ แต่เกิดปัญหาคือ มีกฎหมายเกินครึ่งที่พบว่าไม่สามารถใช้บังคับได้จริง เพราะ กฎหมายลูก หรือ ประกาศกระทรวง ไม่สามารถออกมาใช้บังคับได้ นี่คือปัญหาของประเทศไทย

ในข้อเท็จจริงยังพบว่า มีรัฐมนตรีบางคน ยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายแล้ว หรือ กฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ยังไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไร กฎหมายลูกของกระทรวงตัวเองไม่ออก

ก็ต้องขอบคุณ พล.อ.ไพบูลย์ รัฐมนตรียุติธรรม ที่กล้าพูดความจริงออกมา เพื่อให้สังคมได้รู้ ให้ผู้นำรัฐบาลได้รู้ ทำไมสองปีหลังการปฏิวัติ การปฏิรูปประเทศด้านต่างๆจึงไม่ก้าวหน้าไปไหน จะได้ไม่ไปโทษคนอื่น และหันกลับไปดูผลงานของรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเสียใหม่ ไปดูการทำงานของภาครัฐอย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปก้าวหน้าไปได้ พื้นฐานสำคัญที่สุดก็คือ “กฎหมาย” นั่นเอง รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายที่ดีออกมารองรับ และกำจัดกฎหมายที่เป็นอุปสรรคออกไป

ผมไม่รู้ว่า กฎหมายใหม่ 151 ฉบับ เกินครึ่งหรือกว่า 76 ฉบับ ที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้ เพราะไม่มีประกาศกฎกระทรวงออกมารองรับ มีกฎหมายอะไรบ้าง สำคัญมากแค่ไหน แต่ที่น่าเศร้าใจที่สุดก็คือ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงไม่รู้ว่ามีกฎหมาย แล้วจะไปบริหารงานปฏิรูปประเทศได้อย่างไร

เรื่องที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรียุติธรรม เปิดเผยออกมานี้ เป็นเรื่องใหญ่มากครับ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ถ้าไม่มีกฎหมายเป็นใบเบิกทางและรองรับการปฏิรูปทุกอย่างก็เกิดขึ้นไม่ได้ ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายไม่ว่า ประชารัฐ หรือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ รีบแก้ไก่อนมีเลือกตั้ง ก็ยังทันนะครับ.


โดย ลม เปลี่ยนทิศ 30 พ.ค. 2559
ไทยรัฐ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 14

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้ร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับพันธกรณีระหว่างประเทศ” ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 14 (The 14th National Symposium on Justice Administration) “การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” จัดโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม (สกธ.) ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

โดยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ได้กล่าวถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่สำคัญที่มีผลผูกมัดประเทศไทย อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) และ ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง (ข้อกำหนดกรุงเทพฯ หรือ The Bangkok Rules) เป็นต้น พร้อมกล่าวถึงบทบาทของประเทศไทยและ TIJ ในเวทีระหว่างประเทศ อีกทั้งยังได้แสดงความคิดเห็นและวิสัยทัศน์เพิ่มเติมในเรื่องปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ทัศนคติของผู้บังคับใช้กฎหมาย และการขาดซึ่งวัฒนธรรมแห่งการเคารพกฎหมายในประเทศไทยอีกด้วย

การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอวิสัยทัศน์ นโยบาย และระดมพลังสมองจากบุคลากรทุกระดับ เพื่อกำหนดแนวทางและเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคื่อนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,500 คน ทั้งบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

http://www.tijthailand.org/main/th/content/422.html