ผู้เขียน หัวข้อ: พยาบาลจิตเวชท้อแท้ !! โดนลดอัตรากำลังสวนทางงานเพิ่ม ห้ามป่วย ห้ามลา ห้ามตาย  (อ่าน 1028 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
การจัดทำโครงสร้าง กรอบอัตรากำลังใหม่ รพ.ชุมชน ทุกแห่ง ไม่มี “พยาบาล จิตเวช” เลย เป็นตัวเลขศูนย์ ตั้งแต่ รพ.ชุมชน ขนาดใหญ่ จนถึง รพ.ชุมชน ขนาดเล็ก

รพ.ศูนย์ มีพยาบาลจิตเวช ได้ไม่เกิน 3
รพ.ทั่วไป ไม่เกิน 2

ลองคิดดู เป็น พยาบาล จิตเวชผู้ใหญ่ ( PG) 1 จิตเวชเด็ก และวัยรุ่น 1 พยาบาล ยาเสพติด 1 รวม สามชนิด อย่างละคน ก็เกินกรอบแล้วครับ

รับงานทุกชนิด ที่กระทรวงสั่ง งานและตัวชี้วัดเยอะมาก ไปประชุมอย่างเดียวก็ไม่มีเวลาทำงานแล้วครับ

เครือข่ายที่ทีมจิตเวช สป. สร้างมา 10-20 ปี โดยมี พยาบาล จิตเวช รพ.ชุมชน เป็น แนวหน้า สร้างเครือข่าย การดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่คัดกรอง ผู้ป่วยใหม่ในชุมชน โดย อสม. ให้การรักษาเบื้องต้น

โดย รพ.ชุมชน ตาม cpg /protocol ที่มีจิตแพทย์ เป็นที่ปรึกษา สามารถสกัดการที่ต้อง admit ในผู้ป่วยใหม่ และการ maintain การรักษา ไม่ให้โรคจิตเวชเรื้อรัง กำเริบ โดยการตามเตือน และฉีดยาให้ถึงบัาน ในรายที่ไม่ยอมมารพ. มีการส่งยาให้ใกล้บ้าน เพื่อป้องกันการขาดยา มีกลุ่มญาติผู้ป่วย ที่มาแชร์ความรู้ ประสบการณ์ การดูแล ผู้ป่วยร่วมกัน

และบางแห่ง มี เปิด opd จิตเวช รักษา ผู้ป่วยใหม่ ดูแล ผู้ป่วยรับ refer ส่งกลับบัานจาก รพ.จิตเวช มียาจิตเวช ในรพ.ชุมชน

เราทำไปได้ไกลขนาดนี้แล้ว

มีการบูรณาการทำงาน ท่ามกลางความขาดแคลน ช่วยตัวเองมานาน โดยไม่มีความก้าวหน้า ตันที่ระดับ 7 กันถ้วนหน้า จนใกล้เกษียณก็ยังบากบั่น มุ่งมั่น ทำงานกันไป

เพราะทำงานไปแล้ว ผูกพันกับผู้ป่วย ญาติ เป็นความภูมิใจ

ขอให้เข้าใจ หัวอกคนทำงาน ด้วยเถิด
ขอให้เขาได้มีที่ยืน มีที่ทำงาน ได้รับความเข้าใจจากเบื้องบน (ผู้บริหารกระทรวง) และสามารถดำรงตน ด้วยความภาคภูมิใจด้วยเถิด


ผมเข้าใจว่า ลักษณงานที่เล่าให้ฟังนี้ จะเข้าใจยาก ว่า สถานการณ์ เป็นอย่างไร หากท่านไม่เคยได้ทำงาน หน่วยงานจิตเวช สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ( เรียกย่อๆ ว่า จิตเวช สป. ) เพราะเรียนมาอย่าง มาทำงานจริงเป็นอีกอย่าง

เรื่อง ที่เข้าใจง่ายสุด คือ เรียนมาให้ตรวจคนไข้ 5-10 คน/วัน
แต่มาทำงานจริง ต้องตรวจให้ได้ 80-100 คน/วัน ต้อง apply ความรู้ขนาดไหน ไม่ให้มีข้อผิดพลาด ร้ายแรงได้

เข้าใจว่า มีกฎระเบียบที่ยุ่งยาก ในการแก้ไข แก้กรอบ

แต่ปัญหาคือ การทำกรอบออกมา โดยคนที่ไม่เข้าใจงาน ไม่เชิญคนที่ทำงานจริงไปเข้าร่วมทำกรอบ ไม่ใช่หรือ ทำเสร็จแล้วก็ประกาศ ใช้

โดย จิตเวช สป. ไม่รู้มาก่อน แบบนี้ จะให้คนที่กำลังอยู่หน้างาน เขาไม่เสียขวัญ เสียกำลังใจได้อย่างไร
เพราะกระบวนการแก้ไขน่าจะยุ่งยาก และใช้เวลานานมาก ผ่านหลายหน่วยงาน มากมาย

ถ้าระบบนี้ ระส่ำระสาย หรือล่มสลาย เพราะไม่มีคนทำงาน ผลกระทบจะตกที่ผู้ป่วย และญาติ จะมีการป่วยเพิ่มขึ้น การรักษา ล้าช้า อาการกำเริบบ่อย สุดท้ายจะไปเป็นภาระ ให้สังคม และรพ.จิตเวชทุกแห่งคงจะมีงานเพิ่มขึ้น จากงานเดิมที่หนักอยู่แล้ว

ผมรู้สึกหดหู่ ครับ

อีกไม่กี่ปี ผมจะอายุครบ 60 ปี ใกล้จะครบเวลา หมดหน้าที่ในการรับราชการ แล้ว

ไม่อยากเกษียณในบรรยากาศแบบนี้เลยครับ

ชาญชัย ปวงนิยม
๒๘ เมษายน ๒๕๖๑

30 เมษายน 2561
ข่าวสด