ผู้เขียน หัวข้อ: ระเบียบที่ปฏิบัติไม่ได้ ความล้มเหลวของการสื่อสารระหว่าง สธ กับ รัฐบาล  (อ่าน 5047 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

'คลัง' ให้ส่วนราชการหลีกเลี่ยงจ้างลูกจ้างด้วยเงินนอกงบประมาณ หากจำเป็นต้องขออนุญาตก่อน


กระทรวงการคลังออกระเบียบการจ้างลูกจ้างโดยใช้เงินนอกงบประมาณ ระบุให้ส่วนราชการหลีกเลี่ยงการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ หากจำเป็นต้องจ้างต้องขออนุญาตคลังก่อน และจ้างได้ไม่เกินปีงบประมาณ และอัตราค่าจ้างไม่เกินค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่ง-วุฒิ และไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 นายจุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ลงนามในหนังสือถึง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เลขาธิการ ผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อธิการบดี เรื่องระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยระบุว่า

ด้วยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 อนุมัติการเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และให้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้มีระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินนอกงบประมาณไปใช้ในการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงาน

กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังคนส่วนราชการที่ใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นไปตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 จึงยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลัง ที กค 0527.6/ว 31 ลงวันที่ 26 เมษายน 2542 และ ที่ กค 0415/ว 23 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2562

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 กระทรวงการคลังออกระเบียบว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยมีสาระสำคัญใน

ข้อ 4 ที่ระบุว่า “ให้ส่วนราชการหลีกเลี่ยงการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ

กรณีได้ดำเนินการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณก่อนระเบียบฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งมิใช่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังไว้เป็นการเฉพาะ ให้ส่วนราชการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างต่อไปได้ตามกำหนดระยะเวลาเดิม และเมื่อพนักงานหรือลูกจ้างลาออกหรือส่วนราชการหมดความจำเป็นในการจ้างให้ยุบเลิกตำแหน่งพนักงานหรือลูกจ้างนั้น

ข้อ 5 ในกรณีส่วนราชการมีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานหรือลูกจ้างให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน โดยต้องแสดงเหตุผล ความจำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ 6 ระยะเวลาการจ้าง ให้จ้างได้ไม่เกินปีงบประมาณ หรือตามระยะเวลาที่กระทรวงการคลังอนุญาต สำหรับอัตราค่าจ้าง ให้จ้างได้ไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งและวุฒิ และไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้าง

ข้อ 7 ให้ส่วนราชการรายงานการจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง ทั้งจำนวนอัตราและจำนวนงินค่าจ้างให้กรมบัญชีกลางทราบทุกสิ้นปีงบประมาณ หรือสิ้นระยะเวลาการจ้างที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง โดยให้รายงานภายใน 30 วัน นับจากสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว”

ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวนี้ ได้กำหนดว่า “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใดที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำสั่งคลัง

และกำหนดว่า “พนักงานหรือลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายคาบ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขหรือพนักงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีลักษณะเดียวกัน

ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

Tue, 2018-05-22 13:10   -- hfocus
..........................................................................
หนังสือกระทรวงการคลังที่ยกเลิก(กค0415/ว 23) จากระเบียบจ้างลูกจ้างด้วยเงินบำรุง


.......................................................................
หนังสือกระทรวงการคลังที่ยกเลิก(กค0527.6/ว 31-26 เมษายน 2542)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2018, 03:18:46 โดย pradit »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ค้านระเบียบจ้างพนักงาน ก.คลัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2018, 22:04:36 »
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ว่า ระเบียบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจ้างพนักงาน หรือลูกจ้างของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นส่วนราชการ ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่จัดจ้างพนักงานหรือลูกจ้างจำนวนหนึ่ง จากเงินนอกงบประมาณ ในการช่วยปฏิบัติงานตามพันธกิจ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่ขาดความคล่องตัว และไม่เอื้อต่อการ ทำงานของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นพลังขับเคลื่อนการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และการผลิตผลงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมได้ จึงขอให้กรมบัญชีกลางได้พิจารณาทบทวนการจ้างพนักงานและลูกจ้างจากเงินนอกงบประมาณ โดยในส่วนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับชมรมแพทย์ชนบทที่ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ระบุถึงกรณี ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ โดยได้มีการเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ

1.ขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ
2.ขอให้ รมว.สธ.แก้ไขระเบียบเงินบำรุงปี 2561 และ
3.การออกระเบียบใหม่หรือแก้ไขระเบียบเดิมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ ต้องมีผู้แทนของสถานบริการในพื้นที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเข้าร่วมทุกครั้ง

หากข้อเรียกร้องทั้ง 3 ประการไม่ได้รับการตอบสนองแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วจะรวมพลังของพี่น้องชาวสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อแสดงออกหน้ากระทรวงการคลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้.

 โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 พ.ค. 2561


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณ ทำให้บุคคลากรทางการแพทย์แสดงความไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะประเด็นค่าจ้างของลูกจ้างที่อาจลดลง และไม่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย ทำให้วันนี้ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังร่วมหารือก่อนยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับลูกจ้างชั่วคราวปัจจุบัน ส่วนอนาคตต้องเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

เมื่อวันที่ (23 พ.ค. 61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ถูกโพสต์ผ่านแฟนเพจเฟชบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” ทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับการออกระเบียบดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาจ้างงาน กำหนดไว้เกินปีงบประมาณ  จ้างได้ไม่เกินอัตราขั้นต่ำของตำแหน่งและวุฒิ และไม่สามารถเลื่อนขั้นค่าจ้างได้ หลายคนมองว่าอาจทำให้ลูกจ้างขาดกำลังใจในการทำงาน และอาจส่งผลต่อการจ้างบุคลากรเข้าทำงาน ในแต่ละโรงพยาล เพราะหากพิจารณาตัวเลขบุคลากรลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวงสาธารณสุขมีมากถึง 140,000 คน

หนึ่งในกลุ่มคัดค้านระเบียบของกระทรวงการคลัง คือ น.ส.จารุจิต ประจิตร รองประธานสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ปกติแล้วลูกจ้างชั่วคราว จะมีการปรับขึ้นเงินเดือนปีละ 100 บาท แต่ระเบียบฉบับใหม่สั่งห้ามขึ้นเงินเดือน ถือว่าสร้างความเหลื่อมล้ำ

ขณะที่ระเบียบข้อ 4 ที่ระบุให้สั่งยุบตำแหน่งพนักงานหรือลูกจ้างทันที หากลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง อาจทำให้โรงพยาบาลขาดแคลนบุคลากร และส่งผลให้การขออัตรากำลังล่าช้า จนส่งผลกระทบกับการให้บริการประชาชน

หลังมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก  ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขขอเข้าพบ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง คืออธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อทำความเข้าใจ ได้รับคำชี้แจงว่า การออกระเบียบ เพราะต้องการจัดระเบียบการใช้เงินนอกระบบของหน่วยงานภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาเงินส่วนนี้ ไม่ถูกรายงานมายังกระทรวงการคลัง

ส่วนกรณีกระทรวงสาธารณสุข ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการออกระเบียบใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณไว้อย่างชัดเจน จากการหารือครั้งนี้สรุปว่า ยังใช้แนวทางเดิมต่อไปกับลูกจ้างที่อยู่ในระบบในปัจจุบัน จนกว่าจะหมดสัญญา  ส่วนลูกจ้างใหม่และ ลูกจ้างที่หมดสัญญา และต้องการต่อสัญญาใหม่  ส่วนจำนวนอัตราและการปรับเงินตามตำแหน่งกระทรวงสาธารณสุข สามารถเสนอให้กรมบัญชีกลางพิจารณาได้

ปลัดกระทรวงสาธาณสุข ยืนยันว่า เชื่อว่าการขออัตรากำลัง และเพิ่มเงินของกระทรวงสาธารณสุข จะไม่มีปัญหา เพราะที่ผ่านมาส่งเรื่องให้กรมบัญชีกลางพิจารณามาตลอด แต่ถึงแม้กระทรวงสาธาณสุข จะยืนยันว่าระเบียบการที่ออกมาไม่มีปัญหา แต่อนาคตการพิจารณาอัตรากำลัง การปรับขึ้นเงินเดือน หรือเงินพิเศษต่างๆ ของลูกจ้างชั่วคราว ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกระทรวงการคลังหลังจากนี้

23 พ.ค. 2561
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/81880

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมือวันที่ 24 พฤษภาคม นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า กรณีที่ทางชมรมแพทย์ชนบทจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออกในวันที่ 1 มิุถนายนนี้ ถือเป็นสิทธิของแต่ละกลุ่ม แต่ทางกลุ่ม สพศท.คงไม่ได้ไปร่วมเคลื่อนไหวด้วย เนื่องจากทางกระทรวงการคลังได้มีการออกมาชี้แจงแล้วว่าระเบียบเรื่องการจ้างลูกจ้างที่ออกมาใหม่นั้นไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข เพราะได้มีการทำข้อตกลงกันไว้ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามการจ้างลูกจ้างของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ถือว่าจำเป็นมาก เพราะร้อยละ50ของโรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็นพนักงานลูกจ้าง ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการคืออยากให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เห็นสภาพปัญหาของโรงพยาบาลว่ามีภาระงานมาก จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมากขึ้น แต่โรงพยาบาลก็ต้องให้บริการผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่ สพศท. จะเดินหน้าคือ การกระตุ้นให้ ก.พ.จัดสรรบุคลากรให้เพี่ยงพอกับภาระงานที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะใช้วิธีการหารือกันผ่านทางช่องทางต่างๆมากกว่า

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง ระเบียลกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ม.มหิดล ได้ออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ระเบียบดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างหรือไม่ คงต้องมาศึกษาระเบียบให้แน่ชัดก่อนว่า ส่วนราชการนั้นจะครอบคลุมมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือไม่ หากครอบคลุมก็อาจมีผลกระทบ

ด้าน ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ม.มหิดล ออกจากระบบทั้งหมด ตรงนี้คงต้องให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลไปศึกษาก่อนว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะกระทบ เพราะออกจากระบบแล้ว

ด้าน ผศ.(พิเศษ) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า สือเนื่องจากกรณีที่กระทรวงการคลัง ออกระเบียบว่าด้ายการจ้างพนักงาน หรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ทันตแพทยสภาเห็นว่า แม้ว่าเจตนารมณ์ในการออกระเบียบ จะทำเพื่อต้องการจัดระเบียบการจ้างพนักงานและลูกจ้างของส่วนราชการ เพื่อวางกรอบอัตรากำลังหรือจัดสรรงบประมาณในอนาคต แต่การออกระเบียบแบบเหมารวมโดยไม่พิจารณาบริบทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ดี ได้ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของลูกจ้างและพนักงาน โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ที่ปัจจุบันมีกรอบอัตรากำลังไม่สอดคล้องกับภาระงานในการดูแลสุขภาพของประชาชน และต้องใช้เงินบำรุงมาจ้างลูกจ้างหรือพนักงานให้ทำหน้าที่ต่างทั้่งภารกิจสนับสนุนเพื่อให้การรักษาเป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐาน
ผศ.(พิเศษ) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ  กล่าวว่า ปัจจุบันมีการจ้างด้วยเงินนอกงบประมาณในทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ เวรเปล ฯลฯ ทำงานสอดประสานเป็นทีมเดียวกัน ซึ่งทุกตำแหน่งล้วนมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้นทันตแพทย์สภาขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังทบทวนการออกระเบียบดังกล่าวไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพนักงานและลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ และได้โปรดทำความเข้าใจบริบทการทำงานของโรงพยาบาล รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นก่อนการดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมในวงกว้าง


24 พฤษภาคม 2561
มติชนออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
23 พ.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ชมรมแพทย์ชนบท” และโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ได้ออกมาเคลื่อนไหวและแสดงจุดยืนคัดค้านการออกระเบียบฉบับใหม่ของกระทรวงการคลัง ที่สั่งห้ามโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงโรงเรียนแพทย์ และหน่วยบริการรัฐทั้งหมด ทำการจ้างและขึ้นเงินเดือนให้กับลูกจ้างจากเงินนอกงบประมาณ หรือหากต้องการจ้างก็ต้องขออนุญาตจากกรมบัญชีกลางก่อน

โดยกรณีดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากมองว่า เป็นการออกระเบียบที่ย้อนแย้งกับข้อเท็จจริง เนื่องจากปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชนในต่างจังหวัดเกือบทุกแห่งอยู่ในภาวะที่งานล้นมือและค่าตอบแทนน้อย ซ้ำยังไม่มีการบรรจุตำแหน่งข้าราชการเพิ่มมานาน ดังนั้นการออกระเบียบเช่นนี้ จึงยิ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นและเพิ่มภาระให้กับโรงพยาบาลขึ้นมาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งเป็นการทำลายขวัญกำลังใจลูกจ้างว่าให้ทำงานในอัตราขั้นต่ำราคาเดียวจนวันตาย คุณภาพจะมีได้อย่างไร บางแห่งขยายตึกขยายโรงพยาบาลเพื่อรองรับความต้องการ ก็ไม่ให้จ้างคนมาให้บริการ

ล่าสุดเฟซบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” โพสต์ภาพ พร้อมข้อความ ระบุว่า “รพ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ขึ้นป้ายไว้อาลัยกระทรวงการคลัง จี้ รมว.คลังและผู้เกี่ยวข้อง แสดงสปิริต ลาออก”

นอกจากนี้ ยังมีการโพสต์ข้อความอย่างต่อเนื่อง เช่น “แพทย์หลายสาขาเรียกร้อง รมช.กระทรวงการคลัง ออกมารับผิดชอบ และมาดูแลสุขภาพประชาชนแทน”

รวมถึง “ชมรมแพทย์ชนบทไม่สน ป่าหี่กระทรวงการคลัง ที่จะทำเพียงแค่ชะลอคำสั่ง เพราะลงนามเผยแพร่ไปทั่วประเทศแล้ว จี้ลาออกทั้ง รมว.และ รมช. แสดงความรับผิดชอบ”

แนวหน้า 23 พค 2561
.............................................
ปิยะสกล’ โทรสายตรงจากสวิส ประสานรมช.ก.คลัง หาทางออกผลกระทบระเบียบคุมจ้างงาน สธ.
23 พฤษภาคม 2561
มติชนออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มิถุนายน 2018, 01:01:02 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข หารือกระทรวงการคลัง เรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไม่ให้กระทบต่อผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลในสังกัด โดยจะนำทีมปรึกษาร่วม กพ. และกรมบัญชีกลาง บ่า

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข หารือกระทรวงการคลัง เรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไม่ให้กระทบต่อผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลในสังกัด โดยจะนำทีมปรึกษาร่วม กพ. และกรมบัญชีกลาง บ่ายวันนี้
          นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงระเบียบกระทรวงการคลังเรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยในขั้นตอนปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลกระทบกับผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมากที่จ้างด้วยเงินนอกงบประมาณ ได้บ่ายวันนี้ นายแพทย์ธวัช  สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข จะนำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หารือกับผู้บริหารกระทรวงการคลังและกพ. เพื่อหาแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่กระทบกับการให้บริการประชาชนในบ่ายวันนี้ พร้อมทั้งให้ผู้บริหารในส่วนภูมิภาคเร่งทำความเข้าใจกับพนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้างทุกประเภทของหน่วยงาน
          นายแพทย์เจษฎากล่าวต่อว่า หากระเบียบนี้ประกาศใช้ จะมีผลกระทบกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เช่น พนักงานเปล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย และมีการจ้างงานตามระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีสัญญาจ้างระยะเวลา 4 ปี กำหนดให้มีสวัสดิการและการขึ้นค่าจ้างรายปี จึงต้องหาแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับเจ้าหน้าที่ และระบบการให้บริการประชาชน
   ***************************23 พฤษภาคม 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12455

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลางร่วมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และนายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. ผู้แทนฝ่ายบริหารสำนักงาน ก.พ.ชึ้แจงกรณีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ว่าเป็นการจัดระเบียบการใช้เงินนอกงบประมาณจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งในปัจจุบันมีการจ้างอยู่ 2แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กรณีมรการตกลงกับกระทรวงการคลัง เช่น กรณีกระทรวงสาธารณสุข และแบบที่ 2 กรณีไม่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง เช่น กรณีกรมบัญชีกลาง หลังจากระเบียบนี้ออกมา การจ้างลูกจ้างทั้ง 2 กรณีทีดำเนินการก่อนระเบียบนี้ออกมายังคงดำเนินการได้ต่อไป ไม่มีผลกระทบอย่างใดทั้งนี้เมื่อหมดรอบของการจ้างในแต่ละรอบแล้ว เช่น รอบ 1 ปี หรือ รอบ 4 ปี กระทรวงสาธารณสุข ก็สามารถทำความตกลงกับกระทรวงการคลังได้ เพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลังและค่าจ้างในรอบต่อไปได้ กรณีของส่วนราชการอื่นๆ ก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน

สาระสำคัญ
เพจชมรมแพทย์ชนบทแชร์ข้อความของนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ รองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ ซึ่งโพสต์เฟสบุ๊คแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีกระทรวงการคลังออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยกำหนดให้โรงพยาบาลและทุกส่วนราชการต้องเสนอเรื่องขออนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน หากจะดำเนินการจัดจ้างลูกจ้างที่มีอัตราเงินเดือน 7500 บาทขึ้นไป ต่อกรณีดังกล่าวโซเชียลมีเดียส่วนหนึ่งมีการแชร์ข้อความและหนังสือจากกระทรวงการคลัง พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบว่า การออกระเบียบดังกล่าวถือเป็นการกระชับอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง และทำให้ส่วนราชการขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน

ข้อเท็จจริง
กรมบัญชีกลางได้ชี้แจงว่า การจ้างลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นการจ้างจากเงินนอกงบประมาณประเภทเงินบำรุงตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2561 ซึ่งได้รับการอนุญาตกับกระทรวงการคลังไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นในเรื่องของกรอบอัตรา ค่าจัาง และการจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานสาธารณสุขจากเงินบำรุง โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 แต่อย่างใด

สำนักงาน ก.พ.

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมื่อเวลา 13.20 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีเครือข่ายทางการแพทย์เตรียมชุมนุมเรียกร้องให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ห้ามจ้างและขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง โดยใช้เงินนอกงบประมาณว่า วันนี้ได้มีการหารือในที่ประชุมครม. ตรงนี้อาจเกิดจากความไม่เข้าใจกันในระเบียบที่ออกมาโดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งจริงๆ แล้วออกมาครอบคลุมการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ ให้คุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน ประหยัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีข้อตกลง มีข้อยกเว้นให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งการหารือในที่ประชุมวันนี้ ไม่ได้มีข้อขัดแย้งอะไร สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่ต้องมีแผนงานให้ชัดเจนว่าจะใช้เงินอย่างไร เพราะเงินนอกงบประมาณก็มีความสำคัญ ถึงแม้จะไม่ใช่เงินของรัฐก็ตาม

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เงินจำนวนนี้มีหลายอย่างด้วยกันที่ต้องนำมาใช้ ทั้งเรื่องการพัฒนาโรงพยาบาล รักษาสภาพ เครื่องมือต่างๆ ใช้ดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลประชาชนตามหลักประกันสุขภาพ และการจ้างลูกจ้างพนักงาน ซึ่งมีความขาดแคลนจำนวนมาก เพราะฉะนั้นต้องไปดูสัดส่วนการใช้งบประมาณดังกล่าวให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะพากันลากไปทั้งหมด รัฐก็ไม่สามารถไปดูแลได้มากนัก เพราะเราต้องใช้จ่ายงบประมาณในเรื่องนี้มากพอสมควร เรามีการปรับหลายๆ อย่างให้สูงขึ้นไปอยู่แล้ว ตนเป็นห่วงกลัวสถานพยาบาลต่างๆ จะแย่ลง หมอ พยาบาล ก็หมดกำลังใจกัน เพราะว่างานต่างๆ เยอะมาก

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญตนพูดในเรื่องนี้แล้วว่า ควรจะเน้นเรื่องการป้องกัน การรักษาพยาบาลการใช้ระบบออนไลน์ แม้กระทั่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีหลายเทคโนโลยีออกมา ทางกระทรวงสาธารณะสุขก็จัดหมอ แพทย์ชุมชนลงไปข้างล่าง และในเรื่องการใช้ระบบออนไลน์ในการปรึกษาโรค รักษาพยาบาลในขั้นต้น สำหรับผู้มีรายได้สูงก็สามารถใช้อุปกรณ์หุ่นยนต์เฝ้าคนไข้ ก็เลือกได้ แต่รัฐบาลก็อยากให้ทุกอย่างมากกว่านี้ เพราะเป็นโครงการที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องทำอย่างไรไม่ให้งบประมาณสิ้นเปลืองมากเกินไปจนทำอย่างอื่นไม่ได้เลย จนพอกหางหมูไปเรื่อยๆ รัฐบาลก็จะลำบาก 5 ปี 10 ปี เป็นสังคมผู้สูงอายุอีก ก็ต้องดู อย่างไรก็ตาม วันนี้กระทรวงการคลังจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือ เพื่อรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หาทางการแก้ปัญหาข้อติดขัด ความไม่เข้าใจกันในเรื่องกฎระเบียบตรงนี้ ถ้าจำเป็นก็แก้ไข ก็ไม่ได้หมายความว่าทำให้ทุกอย่างทำไม่ได้ ทำได้ แต่ควรจะทำอย่างไร ไม่ต้องการเพิ่มภาระให้ทุกคน

28 พฤษภาคม 2561
ข่าวสด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กรมบัญชีกลาง ยืนยันระเบียบจ้างลูกจ้างชั่วคราวใหม่ไม่กระทบ แพทย์ชนบท ด้าน ก.พ.ชี้บริการกำลังพลต้องสอดคล้องกับงบประมาณ

นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า กรณีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราว ด้วยการใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 เพื่อต้องการจัดระเบียบการจ้างงานลูกจ้างชั่วคราวที่ใช้เงินนอกงบประมาณของส่วนราชการ
เพราะยอบรับว่าปัจจุบันอาจทำให้เกิดความลักลั่นในการจ้างลูกจ้าง เนื่องจากหลายหน่วยงานมีแหล่งที่มาของรายได้แตกต่างกัน ระเบียบดังกล่าวไม่ได้จัดระเบียบบังคับใช้กับลูกจ้างของกระทรวงสาธารณสุขเพียงแห่งเดียว แต่บังคับใช้กับทุกหน่วยงานราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยทางการเงินการคลังของรัฐ และสร้างความโปร่งใสในการใช้เงินนอกงบประมาณ

ขอร้องให้แพทย์ชนบททำความเข้าใจกับแนวทางออกระเบียบดังกล่าว และไม่จำเป็นต้องรวมตัวเดินทางมาสอบถามข้อมูลยังกระทรวงการคลังในวันที่ 1มิถุนายน นี้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีระเบียบและจะทำข้อตกลงเป็นการเฉพาะสำหรับโรงพยาบาล จึงไม่ได้ลดจำนวนลูกจ้างชั่วคราว จึงไม่ได้รับผลกระทบจากระเบียบครั้งนี้ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว

นางเมธนี เทพมณี เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กล่าวว่า สำนักงาน ก.พ. ยืนยันการออกระเบียบจ้างพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารกำลังพลของข้าราชการพลเรือนสอดคล้องกับเงินงบประมาณ เพื่อจัดจ้างกำลังพลในสายงานที่จำเป็นและขาดแคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยอมรับว่าปัจจุบันข้าราชการพลเรื่อน 400000 คน รวมกับข้าราชการทั้งหมด 3 ล้านคน ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ

สำหรับการออกหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติในการจ้างลูกจ้างชั่้วคราวเงินนอกงบประมาณ จะพิจารณาจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากตำแหน่ง หน้าที่ วุฒิการศึกษา อัตราค่าจ้าง เหตุผลความจำเป็นของหน่วยงาน

หากสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดีวยกันกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.พ.กำหนดไว้เป็นรายตำแหน่ง และในกรณีขอจ้างเกิน 1ปี ต้องเป็นไปตามนโยบาย หรือโครงการที่กำหนดในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และหากค่าจ้างเกินกว่าอัตราจ้างงานขั้นต่ำต้องพิจารณาตามความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมสำหรับงานเฉพาะด้าน การจ้างงานใหม่โดยต้องมีระยะเวลายื่นตกลงภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี กรมบัญชีกลางจะใช้เวลาพิจารณาภายใน1 เดือน หลังจากนั้นจะทำหนังสือขอทำความตกลงต่อไปภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อประเมินจำนวนลูกจ้างชั่้วคราว และการใช้เงินนอกงบประมาณแต่ละปี

25 พค 2561
https://www.thebangkokinsight.com/
.........................................................
กรมบัญชีกลางแถลงข่าวเรื่อง “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561”

นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นพ.ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร่วมแถลงข่าวเรื่อง “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561” ณ ห้องแถลงข่าวกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 เพื่อชี้แจงประเด็นการจ้างลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เป็นการจ้างจากเงินนอกงบประมาณประเภทเงินบำรุงตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561 ซึ่งได้รับการอนุญาตกับกระทรวงการคลังไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ในเรื่องของกรอบอัตรา ค่าจ้าง และการจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานสาธารณสุขจากเงินบำรุง จึงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงฯ โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 แต่อย่างใด

ประกาศ ณ วันที่ 24/05/2561
โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มิถุนายน 2018, 01:16:37 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เสียงแตก!หมอชนบทจี้เลิกระเบียบคลัง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2018, 23:39:38 »
ไทยโพสต์ * จากกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าหารือร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ส่งผลให้กลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะชมรมแพทย์ชนบท ออกมาคัดค้าน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีความจำเป็น เพราะ รพ.มีภาระงานเยอะ ขณะเดียวกันหากต้องให้ขออนุญาตทางกระทรวงการคลังในการจ้างงานทุกครั้ง อาจไม่ทัน แม้จะบอกว่าระเบียบดังกล่าวไม่กระทบต่อการจ้างงานบุคลากรสาธารณสุข เพราะมีข้อตกลงด้วยการจัดทำระเบียบ สธ.ว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัด พ.ศ.2561 แต่ดูเหมือนว่าเรื่องยังไม่จบ เพราะระเบียบนี้ไม่ได้ใช้บังคับแค่ สธ.เท่านั้น

นพ.วิชัย อัศวภาคย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน้ำพอง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ถึงแม้จะบอกว่าระเบียบนี้ไม่กระทบการจ้างงานพนักงานกระทรวงและลูกจ้างของหน่วยบริการ สธ. ซึ่งหากมาพิจารณาในส่วนของ สธ.ที่ระบุว่ามีระเบียบเงินบำรุง ทำให้ไม่ต้องอยู่ในข่ายของระเบียบกระทรวงการคลัง แต่ปัญหาคือ ระเบียบว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัด สธ. พ.ศ.2561 ในข้อที่ 10 ระบุว่า การกำหนดกรอบอัตราและค่าจ้างของลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงาน สธ. จากเงินบำรุงต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อน จึงไม่แน่ใจว่าต่างอย่างไรกับระเบียบกระทรวงการคลัง ต้องขอบพระคุณ รมว.สธ.และปลัด สธ. ที่มีความพยายามในการช่วยบุคลากร สธ. แต่ส่วนตัวก็กังวลว่าจะทำอย่างไรในการว่าจ้างบุคลากรมาทำงาน เช่น กรณีคนขับรถพยาบาล หากป่วยหรือไม่เพียงพอแล้วมีเคสฉุกเฉินขึ้นมา ที่ผ่านมาก็ต้องจ้างคนขับแบบรายวันมาทำงานก่อนได้ แต่หากตามระเบียบเงินบำรุง ต้องทำหนังสือขออนุญาตไปยังกระทรวงการคลังก่อนหรือไม่ ซึ่งหากใช่ ก็อาจส่งผู้ป่วยไม่ทัน

ด้านชมรมแพทย์ชนบท ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่าย ระบุว่า แม้กระทรวงการคลังและ สธ.ได้มีการประชุมและออกมาชี้แจงว่า เรื่องนี้ทางผู้เกี่ยวข้องเข้าใจผิด และ สธ.ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ชมรมฯ เห็นว่า การชี้แจงดังกล่าวยิ่งตอกย้ำว่า กระทรวงการคลังไม่ถอย เพียงแต่พยายามอธิบายอย่างเอาสีข้างเข้าถู และซื้อเวลาจากความร้อนระอุที่เกิดขึ้นในขณะนี้

"ดังนั้น การที่กระทรวงการคลังอ้างว่าไม่กระทบนั้น จึงไม่จริง เพราะสุดท้ายการขออนุมัติจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณก็ต้องไปจบที่กระทรวงการคลังตามประกาศที่ได้ระบุไว้อยู่ดี"

ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.ขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างลูกจ้างเงินนอกงบประ มาณ ซึ่งลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 โดยขอให้ รมว.คลังยกเลิกคำสั่ง ไม่ใช่ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมาแก้ไข อธิบดีจะใหญ่กว่าการลงนามของรัฐมนตรีช่วยไม่ได้ 2.ขอให้ รมว.สธ.แก้ไขระเบียบเงินบำรุงปี 2561 ให้กระจายอำนาจให้สถานบริการของ สธ.มีอิสระในการบริหารเงินบำรุงให้มีประสิทธิภาพตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น และ 3.การออกระ เบียบใหม่หรือแก้ไขระเบียบเดิมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ ต้องมีผู้แทนของสถานบริการในพื้นที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเข้าร่วมทุกครั้ง

ขณะที่ นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า กรณีที่ทางชมรมแพทย์ชนบทจะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ถือเป็นสิทธิของแต่ละกลุ่ม แต่ทางกลุ่ม สพศท.คงไม่ได้ไปด้วย เนื่องจากทางกระทรวงการคลังได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าระเบียบเรื่องการจ้างลูกจ้างที่ออกมาใหม่นั้นไม่เกี่ยวกับ สธ.

อย่างไรก็ตาม การจ้างลูกจ้างของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ถือว่าจำเป็นมาก เพราะร้อยละ 50 ของโรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็นพนักงานลูกจ้าง ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการคืออยากให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เห็นสภาพปัญหาของโรงพยาบาลว่ามีภาระงานมาก จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมากขึ้น แต่ก็ต้องให้บริการผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่ สพศท.จะเดินหน้าคือ การกระตุ้นให้ ก.พ.จัดสรรบุคลากรให้เพียงพอกับภาระงานที่เกิดขึ้น โดยจะใช้วิธีการหารือกันผ่านทางช่องทางต่างๆ มากกว่า

ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ม.มหิดล ได้ออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ระเบียบดังกล่าวจะมีผลกระทบหรือไม่ คงต้องมาศึกษาระเบียบให้แน่ชัดก่อนว่าส่วนราชการนั้นจะครอบคลุมมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือไม่ หากครอบคลุม ก็อาจมีผล กระทบ

เช่นเดียวกับ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามา
ธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ม.มหิดลออกจากระบบแล้วทั้งหมด ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะกระทบ
ที่โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายแพทย์แหลมทอง แก้วตระกูลพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ พร้อมด้วยพนักงาน ลูกจ้างของโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ รวมตัวกันแต่งชุดดำ ถือป้ายข้อความ "โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ขอไว้อาลัยกระทรวงการคลังที่ออกระเบียบห้าม รพ.จ้างลูกจ้าง ห้ามขึ้นค่าจ้างลูกจ้าง" นำไปติดไว้หน้ารั้วโรงพยาบาล เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วยกับการเล็งออกกฎระเบียบกระทรวงการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อลูกจ้างสังกัด สธ.

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- ศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2561


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ทำเนียบฯ 28 พ.ค.2561
-โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้ระเบียบการจ้างพนักงานลูกจ้างโดยเงินนอกงบประมาณ ไม่กระทบกระทรวงสาธารณสุข

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงกรณีที่กระทรวงการคลังออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายเงินนอกระบบงบประมาณ ว่า เรื่องนี้ไม่กระทบกับกระทรวงสาธารณสุขหรืออาชีพแพทย์ พยาบาล เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังอยู่แล้ว แต่การจ้างพนักงานในหน่วยงานอื่น จะต้องนำระเบียบนี้ไปใช้ เนื่องจากต้องการให้ในอนาคต ไทยมีจำนวนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป แต่ระหว่างนี้ ผู้ที่ได้รับการจ้างก่อนระเบียบดังกล่าวจะออกมา ก็ยังได้รับค่าจ้างตามเดิมจนกว่าจะครบสัญญาจ้าง.

-สำนักข่าวไทย

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ที่ประชุมอธิการบดีม.ราชภัฏ ค้านระเบียบก.คลัง ให้เลี่ยงจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ ยันในปัจจุบันดำเนินการจัดจ้างอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง มีระเบียบการเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามหลัก
ธรรมาภิบาล

หลังจากกรมบัญชีกลาง ออกระเบียบกระทรวงการคลัง เรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ที่ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 โดยระเบียบดังกล่าว กำหนดให้ส่วนราชการหลีกเลี่ยงการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ จนกระทรวงสาธารณสุข  ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ทันตแพทยสภา ออกมาคัดค้าน

ล่าสุดวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ออกแถลงการณ์ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ  เรื่อง ระเบียบการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561

ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกระเบียบว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง โดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้กระทรวงการคลังจัดระเบียบการจ้างพนักงานและลูกจ้างของหน่วยราชการแล้วนั้น ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏขอชี้แจงว่า ระเบียบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการจัดจ้างพนักงานหรือลูกจ้างจำนวนหนึ่งจากเงินนอกงบประมาณเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานตามพันธกิจ โดยการดำเนินการจัดจ้างอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง และมีระเบียบการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ขอยืนยันว่า ระเบียบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทำให้ขาดความคล่องตัวในการบริหาร และไม่เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิตเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย

วันเดียวกัน นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แถลงข่าวชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 ณ ห้องแถลงข่าวกระทรวงการคลัง ระบุถึงหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ

1. หลักเกณฑ์พิจารณา

1.1 พิจารณาตำแหน่ง หน้าที่ วุฒิการศึกษา อัตราค่าจ้าง เหตุผลความจำเป็น หากสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดไว้ ซึ่งจะกำหนดเป็นรายตำแหน่ง

1.2 หากต้องการขอเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด เช่น

- กรณีขอจ้างเกินระยะเวลาเกิน 1 ปี เช่น ต้องเป็นไปตามนโยบาย หรืองาน/โครงการที่มีกำหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี

- กรณีการขอเกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะพิจารณาความรู้ความสามารถ ความเหมาะสม ประสบการณ์การทำงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะด้าน

2. มีการกำหนดปฏิทินการดำเนินการ

2.1 การกำหนดระยะเวลาการยื่นขอตกลง ภายในเดือนกรกฎาคม ก่อนสิ้นปีงบประมาณ

2.2 ระยะเวลาพิจารณา ภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับหนังสือขอทำความตกลง

2.3 กำหนดแบบฟอร์มในการขอข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณา

นางสาวสุทธิรัตน์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์เพียงต้องการจัดระเบียบ และใช้กับส่วนราชการโดยทั่วไป ถ้าไม่ใช่ส่วนราชการไม่ใช้ตามระเบียบนี้ สำหรับหน่วยงานที่ยังไม่รับอนุญาต มีการจ้างลูกจ้างอยู่ ยังไม่เคยได้รับการตกลงจากกระทรวงการคลัง ระเบียบฯ นี้ให้ดำเนินการไปตามนั้นทุกประการ จนหมดสัญญา และจะจ้างต่อถึงเข้าระเบียบนี้

"มาตรฐานเวลาจ้างลูกจ้าง คือ 1 ปี หากจำเป็นต้องจ้างเกินกว่า 1 ปี ก็ทำเรื่องขอมา ส่วนอัตราจ้าง เป็นไปตามกรอบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ใช้กรอบเดียวกับกพ. ระบบราชการที่จ่ายจากเงินงบประมาณ"

อธิบดีกรมบัญชีกลาง  กล่าวด้วยว่า กรมบัญชีกลางมีกองลูกจ้าง ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นการพิจารณาจะมีหลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินงานรองรับอยู่แล้ว

25 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:37 น.เขียนโดย thaireform
สำนักข่าวอิศรา

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ทปอ.แถลงค้านระเบียบ ก.คลัง จ้างพนง.-ลูกจ้าง จ่ายเงินนอกงบฯ 61 กระทบสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นส่วนราชการ ทำให้ขาดความคล่องตัว ไม่เอื้อทำงาน ขอกรมบัญชีกลางทบทวนให้การดำเนินงานอยู่ภายใต้สภามหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากกรณีที่มีกระแสการคัดค้านระเบียบกระทรวงการคลังฉบับใหม่ ว่าด้วยเรื่องการจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง โดยใช้จ่ายจากเงินงบนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ไม่ให้ต่อสัญญาลูกจ้างเดิม หรือจะจ้างใหม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงการคลัง และห้ามขึ้นเงินเดือน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขออกมายืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อการจ้างนั้น (อ่านประกอบ:สธ.เผยผลหารือกรมบัญชีกลาง ไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้าง)

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า วันที่ 24 พ.ค. 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 มีรายละเอียดว่า

จากการที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง โดยใช้จ่ายจากเงินงบนอกงบประมาณ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 18 พ.ค. 2561 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้กระทรวงการคลังจัดระเบียบการว่าจ้างพนักงานและลูกจ้างของหน่วยราชการแล้วนั้น

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงว่า ระเบียบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นส่วนราชการ ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่จัดจ้างพนักงานหรือลูกจ้างจำนวนหนึ่ง จากเงินนอกงบประมาณ ในการช่วยปฏิบัติงานตามพันธกิจ

ทั้งนี้ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง และระเบียบการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณในเรื่องดังกล่าว เพื่อความโปร่งใสตามหลักการบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ขอยืนยันว่า ระเบียบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่ขาดความคล่องตัว และไม่เอื้อต่อการทำงานของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นพลังขับเคลื่อนการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และการผลิตผลงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมได้

จึงขอให้กรมบัญชีกลางได้พิจารณาทบทวนการจ้างพนักงานและลูกจ้างจากเงินนอกงบประมาณ โดยในส่วนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย .

24 พฤษภาคม 2561 เวลา 13:28 น.เขียนโดยThaireform
สำนักข่าวอิศรา

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ประกาศล่าสุดของกระทรวงการคลังเรื่องการควบคุมการจ้างบุคลากรของหน่วยงานรัฐทุกวงการโดยใช้เงินนอกงบประมาณนั้น ส่งผลต่อวิกฤติศรัทธาของคนทำงานในระบบอย่างยิ่ง ตั้งแต่ระดับบริหารหน่วยงานไปจนถึงระดับปฏิบัติการ จะยกเว้นก็คงเป็นเพียงวงอำนาจในส่วนกลาง

05232018 ss
 

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์  ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผมคงไม่ไปก้าวล่วงในวงการอื่น แต่จะแสดงความเป็นห่วงถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานพยาบาลภาครัฐ ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลประชาชนทั่วประเทศ

ในปัจจุบันคนทำงานหน้างานในพื้นที่ต่างๆ ต่างพูดได้เป็นเสียงเดียวกันว่า เจอปัญหาขาดแคลนทั้งคน เงิน ของ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานดูแลรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยการเอาตัวรอดโดยการระดมหาเงินบริจาคจากแหล่งต่างๆ มาไว้เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบงาน และจ้างบุคลากรมาช่วยกันทำงานโดยไม่หวังพึ่งงบประมาณจากรัฐ แม้จะพอเอาตัวรอดได้ แต่ก็ทำงานกันเต็มที่ภายใต้คุณภาพชีวิตที่จำกัดจำเขี่ยเต็มทน

จู่ๆ ส่วนกลางคงไม่มีอะไรจะทำ จึงออกนโยบายมาบังคับกะเกณฑ์ ห้ามจ้างเพิ่มโดยเงินนอกงบประมาณ หากจะจ้างต้องทำเรื่องขออนุมัติก่อนแถมต้องส่งข้ามกระทรวงซะด้วย ทำอย่างกับกระทรวงต่างๆ นั้นมีคนทำงานที่เพียงพอจะดูแลอย่างครบถ้วนทั่วถึงและทันเวลา คนอ่านนโยบายจึงเดาได้ว่าส่งเรื่องไป กว่าจะได้ผลคงเป็นชาติ ไม่ต้องทำงานทำการกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่หนำใจ ดันเขียนไว้อีกว่า จ้างได้ทีละปีงบประมาณ ห้ามเกินค่าจ้างขั้นต่ำ และห้ามขึ้นหรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ในทางปฏิบัติจริงจึงน่าจะถามคนเขียนนโยบายว่า หากเป็นท่านและลูกหลานท่าน จะมาทำงานแบบมองหาอนาคตไม่เจอแบบนี้ไหม ผลกระทบที่เห็นชัดเจนคือ สถานพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศคงระส่ำระสาย ขาดคนมาทำงาน ตั้งแต่เวรเปล ประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยพยาบาล พยาบาล หมอ และอื่นๆ แล้วใครล่ะจะได้รับผลกระทบระลอกถัดมา รู้ทั้งรู้ว่าสถานพยาบาลภาครัฐต้องรับดูแลประชาชนทั้งประเทศแบบปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นคนในระบบที่ขาดแคลนอยู่แล้วนั้นก็จำเป็นต้องแบกรับภาระเกินตัวมากยิ่งขึ้น ปัญหาลาออกจากระบบจะทวีความรุนแรง และที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนที่เจ็บป่วยไม่สบายก็จะได้รับการดูแลรักษาได้น้อยลง ช้ามากขึ้น ไม่ทั่วถึง และอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพของการดูแลรักษาต่างๆ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การออกนโยบายดังกล่าวนั้นบ่งถึงทัศนคติของการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันสักนิดเกี่ยวกับเรื่องนี้

บทความของสถาบันพระปกเกล้าได้นำเสนอเรื่องการรวมศูนย์อำนาจไว้อย่างกระชับน่าอ่าน โดยปกติแล้วการรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) มีได้ 2ประเภท คือ การรวมศูนย์อำนาจในทางการเมืองและการรวมศูนย์อำนาจในทางการปกครอง โดยความหมาย ประเภทแรกการรวมศูนย์อำนาจในทางการเมือง หมายถึง มีศูนย์รวมอำนาจอธิปไตยหรือมีเอกภาพในการใช้อำนาจรัฐทั้งภายในและภายนอกรัฐโดยสมบูรณ์ และประเภทที่สองการรวมศูนย์อำนาจในทางปกครอง หมายถึงการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ โดยให้รัฐแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ดำเนินการปกครองหรือจัดทำบริการสาธารณะต่างๆให้แก่ประชาชน โดยมีการรวมอำนาจในการตัดสินใจ การวินิจฉัยสั่งการเป็นยุติเด็ดขาดอยู่ที่รัฐส่วนกลาง (1)

ลักษณะสำคัญของการรวมศูนย์อำนาจปกครองเป็นการรวมอำนาจไว้ที่เดียว กล่าวคือ เป็นการรวมอำนาจตัดสินใจในภารกิจหลักๆของรัฐ อาทิ เช่น กำลังทหาร ตำรวจ อำนาจวินิจฉัยสั่งการ อนุมัติ ยกเลิก แก้ไข ระงับหรือเพิกถอนการกระทำต่างๆที่เกิดจากการบริหารราชการส่วนกลาง ซึ่งเป็นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่แบบลดหลั่นกันไป (Hierarchy) ให้ทุกฝ่ายขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ไม่มีความเป็นอิสระ เพื่อสะดวกและสามารถใช้อำนาจเหล่านี้ได้ทันท่วงที

ข้อดีของการรวมศูนย์อำนาจคือ

หนึ่ง เป็นการรวมกำลังและรวมอำนาจบังคับบัญชาไว้ที่ส่วนกลางทั้งหมด ทำให้อำนาจของรัฐมั่นคง เป็นหลักที่ทำให้เกิดเอกภาพ (Unity) ในการปกครอง เป็นวิธีการปกครองที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองอย่างเสมอภาคกัน

สอง ในส่วนของการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนนั้น ส่วนกลางมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดใหญ่ ทำให้เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง จนมีความรู้ความสามารถ สามารถจัดบริการสาธารณะได้ดีอย่างมีมาตรฐาน และเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันทั้งหมดทั่วประเทศ

ในขณะที่ข้อเสียที่ควรตระหนัก และควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกใช้การรวมศูนย์อำนาจได้แก่

หนึ่ง การรวมศูนย์อำนาจทำให้อำนาจการตัดสินใจรวมอยู่ที่ส่วนกลาง เมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่ห่างไกล การรั้งรอการตัดสินใจจากส่วนกลางย่อมทำให้ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและไม่ทั่วถึง

สอง การรวมศูนย์อำนาจจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีความสัมพันธ์กันในลักษณะบังคับบัญชาเป็นชั้นลดหลั่นกันไป การปฏิบัติหน้าที่เต็มไปด้วยความล่าช้า การแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานต้องกระทำตามกฎระเบียบที่เคร่งครัดตามลำดับขั้นตอนในการบังคับบัญชาก่อให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน

สาม การแก้ปัญหาในพื้นที่ห่างไกล เช่นในท้องถิ่นต่าง ๆ อำนาจในการตัดสินมิได้เป็นของคนในพื้นที่นั้น ๆ ทำให้การจัดทำบริการสาธารณะและการแก้ปัญหาไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่

กล่าวสรุปได้ว่า การรวมศูนย์อำนาจทางการปกครองนั้นคือการที่รวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการ ในการจัดระบบระเบียบการบริหารราชการ หรือการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนไว้ที่รัฐส่วนกลางเพียงผู้เดียว ทำให้แบบแผนการดำเนินของทั่วประเทศเป็นแบบเดียวกัน มีลำดับการบังคับบัญชา ทุกภาคส่วนขึ้นอยู่กับส่วนกลางทั้งหมด จึงทำให้ประเทศที่มีการรวมศูนย์อำนาจมักจะมีเอกภาพในการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไรก็ตามในการดำเนินโดยผ่านการตัดสินใจของส่วนกลางเพียงผู้เดียว ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการแก้ปัญหาที่เร่งด่วน และยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายในพื้นที่ต่างๆได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าหากพิจารณาข้อดีข้อเสียของการรวมศูนย์อำนาจแล้ว กรณีการประกาศนโยบายดังกล่าวนั้นมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ส่วนกลางมิได้มีกำลังคน กำลังเงิน และกำลังปัญญา ที่เพียงพอต่อการดูแลทุกองคาพายพในทุกเรื่อง

หลายปีที่ผ่านมา มีการประโคมข่าวให้คนทั้งประเทศตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชันว่ารุนแรง และเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และต่อประชาชน ดังนั้นจึงมุ่งที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อจัดการปัญหาคอร์รัปชัน แต่หากตามข่าวดูมาตลอดจะพบว่า สถานการณ์ดูจะไม่ค่อยคลี่คลาย เพราะยิ่งสาวก็ยิ่งเจอสายป่านที่โยงใยไปถึงคนในระบบบริหารภาครัฐหลายต่อหลายวงการ ซึ่งส่วนหนึ่งก็บ่งถึงความอ่อนแอของกลไกอภิบาลระบบ ไม่พร้อมที่จะดำเนินการแบบ inside-out ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเริ่มก่อให้เกิดความสงสัยเคลือบแคลงเป็นคำถามวิจัยที่น่าหาคำตอบว่า "ต้นเหตุแห่งการคอร์รัปชันนั้นจะสัมพันธ์กับการรวมศูนย์อำนาจหรือไม่?" สำหรับผมแล้วคิดว่า คำถามนี้หน่วยงานวิจัยระดับประเทศควรลงทุนทำเพื่อหาคำตอบโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม กลับมาที่สถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดจากการประกาศนโยบายดังกล่าว มาถึงตรงนี้แล้ว จะทำอย่างไรกันต่อดี?

ประเมินสถานการณ์แล้วคงยากที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของวงอำนาจ เพราะมีจุดยืนชัดเจนตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและถึงอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าว่า จะเป็นคนกุมบังเหียนทิศทางการบริหารจัดการ ซึ่งเน้นการสั่งการจากบนลงล่าง กำกับตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือที่มีได้แก่ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ และมีแนวโน้มจะเป็นการออกแบบในลักษณะ One size fits all มากกว่าจะคำนึงถึงความแตกต่างที่มีอยู่จริงในหน้างาน

บทเรียนจากนโยบายนี้ น่าจะเป็นตัวกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในสังคม และบุคลากรทุกคนในระบบสุขภาพ ได้เตรียมพร้อมรับมือปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาจากนโยบายนี้และนโยบายอื่นที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

หนึ่ง เค้าเน้นการจัดการตามระเบียบกฎเกณฑ์ เน้นความถูกต้องตามหลักการและลายลักษณ์อักษร มากกว่าการจะตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการที่แท้จริงที่หลากหลายของประชาชน ดังนั้นกรอบการทำงาน ทรัพยากรที่ขอและที่ได้รับ กระบวนการทำงาน และผลผลิตที่จะเกิดขึ้นจากระบบงานสาธารณะนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปแบบดั้งเดิม ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถคาดหวังให้ออกไปจากกรอบได้ หากคิดอยากจะทำอย่างอื่นที่นอกไปจากกรอบ ก็จำเป็นต้องสร้างสนามใหม่ กลไกใหม่ กระบวนการใหม่ โดยไม่ยึดติด และดำเนินการแบบอิสระไม่ขึ้นกับระบบเดิม เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ทำให้ขัดต่อหลักกฎหมายบ้านเมือง

สอง จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ประชาชน ผู้นำในชุมชน (ทั้งผู้นำเชิงอำนาจนโยบาย และผู้นำทางความคิด) และคนทำงานในระบบ ต้องมาจับเข่าคุยกัน วางแผนพัฒนาให้เกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาต่างๆ ในสังคม และสร้างให้เกิดสายสัมพันธ์อันดีในชุมชน ให้เกิดภาวะชุมชนเข้มแข็ง และทำให้ชุมชนรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าข้าวเจ้าของบริการสาธารณะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งการกินการอยู่ การเดินทาง การสื่อสาร ตลอดจนการรักษาพยาบาล และร่วมกันพัฒนากลไกสังคม ที่ประกอบด้วยทั้งคน เงิน ของ ที่เกิดจากการร่วมกันลงทุน ร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา โดยหวังพึ่งความช่วยเหลือจากรัฐให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากทำเช่นนั้นได้ ก็จะทำให้"ชุมชนยืนได้ด้วยตนเอง (Community resilience)" ไม่หวั่นไหวต่อ"วันมามาก" หรือวันที่รัฐครึ้มอกครึ้มใจประกาศนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณะดังกรณีศึกษานี้ในอนาคต

สาม สมดุลอำนาจและพลังการต่อรองเชิงนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายสาธารณะที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ตราบใดที่มีแต่การตั้งรับรอนโยบายแบบบนลงล่างดังเช่นที่ผ่านมา ก็จะเกิดวิกฤติแบบเดิมไม่มีที่สิ้นสุด หากนโยบายจากเบื้องบนลงมาดีก็ดีไป แต่หากไม่ดี ก็ต้องมานั่งเก๊กซิมทักท้วงหรือวางแผนแก้ปัญหาอย่างที่เห็น ดังนั้นคงจะดีมาก หากเราสามารถทำให้เกิดกลไกพัฒนานโยบายสาธารณะจากระดับรากหญ้า ให้ประชาชนในทุกพื้นที่ร่วมกันคิดร่วมกันพัฒนา ชี้ให้เห็นว่าปัญหาหลักและความต้องการจำเป็นในแต่ละที่เป็นเช่นไร และผลักดันหรือชงนโยบายจากล่างขึ้นบน อย่างทันต่อเวลา และสม่ำเสมอ ก็จะเกิดประโยชน์ระยะยาว แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชน การรู้เท่าทัน และกระตุ้นให้เกิดความกระหายขวนขวายแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมต่อนโยบายสาธารณะ และสร้างสมดุลอำนาจระหว่างบนกับล่างได้ โดยหวังว่าหากทำได้ดีพอ จะเป็นการฝึกให้ส่วนกลางต้องหันมาฟังเสียงจากระดับพื้นที่ ก่อนจะประกาศนโยบายใดๆ ออกมา

สิ่งที่อยากฝากไปยังหน่วยงานนโยบายของรัฐคือ ก่อนจะประกาศนโยบายสาธารณะในลักษณะรวมศูนย์อำนาจออกมา โปรดตอบคำถามง่ายๆ 3 ข้อ (2) ได้แก่

หนึ่ง เป็นภารกิจจำเป็นที่ต้องทำตามที่กฎหมายระบุ หรือมีหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นหรือไม่?

สอง หากประกาศแล้วทำได้เองอย่างมีประสิทธิภาพแน่นะ?

สาม เกิดผลดีและผลเสียอย่างไร คุ้มจริงหรือที่จะรวมศูนย์อำนาจ?

หากทั้งสองฝ่ายได้ช่วยกันทำเช่นนั้นได้ สังคมเราก็จะเห็น "Mano policy" ลดลง แต่เป็น Evidence-based policy มากขึ้น

23 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:42 น.เขียนโดยผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
สำนักข่าวอิศรา

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
จบดรามา! ระเบียบลูกจ้างไม่กระทบสธ.
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2018, 00:56:48 »
กรมบัญชีกลาง สยบดรามา ยืนยัน ระเบียบจ้างพนักงานฉบับใหม่ไม่กระทบต่อลูกจ้างสาธารณสุขโรงพยาบาลต่างๆ หลังชมรมแพทย์ชนบท เตรียมแต่งดำประท้วงทั่วประเทศ

ชมรมแพทย์ชนบท ออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขอให้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก หลังออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้เงินนอกงบประมาณ พ.ศ.2561 ที่ทางชมรมแพทย์ชนบท อ้างว่า จะกระทบต่อการจ้างลูกจ้างของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมประกาศรณรงค์ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศแต่งชุดดำเพื่อเป็นการประท้วง

ภายหลังทางกระทรวงสาธารณสุข ได้หารือร่วมกับกรมบัญชีกลาง เพื่อทำความเข้าใจระเบียบดังกล่าว โดยนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า ไม่มีผลกระทบต่อการจ้างงานของลูกจ้าง สธ. แต่ระเบียบมุ่งเน้นกับส่วนราชการที่ยังไม่เคยทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง

ด้านนางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ชี้แจงว่า ระเบียบดังกล่าวรัฐต้องการแค่จัดระเบียบข้อมูลพนักงานและลูกจ้างนอกงบว่ามีกี่คน ใช้เงินงบประมาณเท่าไร แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งคลังมาแล้วว่าจะจ้างพนักงานและลูกจ้างนอกเงินงบประมาณแบบ 1 ปี 7,900 อัตรา และแบบ 4 ปี 31,000 อัตรา ซึ่งน่าจะได้รับอนุมัติทั้งหมด อีกทั้งยังมีระเบียบการใช้เงินบำรุงซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณของตัวเองกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่งด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากความเข้าใจ การสื่อสารที่ไม่ตรงกันระหว่างคนเขียนกฎหมาย และคนที่อ่านกฎหมาย ทำให้เกิดการสื่อความที่คลาดเคลื่อน ทั้งที่จริงแล้วหากทำความเข้าใจกันได้ ระเบียบนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร

24 พฤษภาคม 2561
http://www.one31.net/news/detail/2112