ผู้เขียน หัวข้อ: บรรยากาศการสัมมนา Safe and Healthy Workplace (๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑)  (อ่าน 2044 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด

การประชุมสัมมนา “Safe and Healthy Workplace”
โดย สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯ และแพทยสมาคมฯ
ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
วันที่  ๓๐  มีนาคม ๒๕๖๑ 

เอกสารประกอบการสัมมนา
ประเด็นในการสัมมนา
๐๙.๓๐ – ๑๐.๔๕ น.   Safe and Healthy Eating   
          ๑. สารปนเปื้อนในวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น Pesticides, Aflatoxin
และ สารที่เกิดในขั้นตอนการประกอบอาหาร เช่น Nitrosamine, Trans fat, PAHs, Aldehyde, Acrylamide
          ๒. ภาวะน้ำหนักเกิน
          ๓. พฤติกรรมหรือนิสัยการบริโภคอาหาร
...
๑๐.๔๕ -๑๒.๐๐ น.         Safe and Healthy Work Environment
          ๑. โรงพยาบาลปลอดควันบุหรี่
          ๒. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่
          ๓. สุนัขจรจัด นกพิราบจรจัด
...
๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.        Healthy Mind and Healthy Relationships
          ๑. ภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย
          ๒. ภาวะหมดไฟ และการลาออกจากราชการ
          ๓. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกันเอง และระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร
...
สธ.เตือน’คะน้า ตำลึง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง’เจอปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเพียบ แนะวิธีลดสารตกค้าง
มติชนออนไลน์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559
............................................................................
ฉีดยาฆ่าแมลงปนเปื้อนอาหารผิด พ.ร.บ.สาธารณสุข-กฎหมายอาญา
เขียนโดย กรมอนามัย วันที่ 4 ธันวาคม 2560
........................................................................
'ผัก-ผลไม้' มียาฆ่าแมลงตกค้างเกินครึ่ง 
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เปิดเผยว่า คนไทยมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก จากการบริโภคผักและผลไม้ที่มียาฆ่าแมลงปนเปื้อน พร้อมเดินหน้าผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.สารกำจัดศัตรูพืช ให้ได้ภายในปลายปีนี้
Jun 17, 2015
................................................................
อันตรายจากไนโตรซามีนในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป
รู้ทันมะเร็ง : เนื้อสัตว์แปรรูปก่อมะเร็ง คงไม่มีข่าวสุขภาพเรื่องใดที่จะร้อนแรงไปกว่าข่าวเรื่องเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปถูกจัดเข้าทำเนียบสารก่อมะเร็งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยองค์การวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ หน่วยงานในสังกัดขององค์การอนามัยโลก ออกมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ทำเอาผู้คนพากันแตกตื่น ในขณะที่ผู้ประกอบการแปรรูปเนื้อสัตว์ก็ออกมาโต้แย้งกันอุตลุด https://www.sdtc.go.th/paper/823
.........................................................
สารโพลาร์เกิดขึ้นในน้ำมันที่ผ่านการนำไปใช้ทอดอาหารซ้ำหลาย ๆ ครั้ง โดยเฉพาะในน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง อันตรายของสารโพลาร์ อันตรายของน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพเกิดจากสารโพลาร์ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ
มาตรฐานปริมาณ สารโพลาร์ในน้ำมัน
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 เรื่องกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันพืชที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ได้กำหนดให้ในน้ำมันมีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก ผู้ประกอบการอาหารที่ใช้น้ำมันพืชทอดอาหารที่มีปริมาณสารโพลาร์เกินมาตรฐานที่กำหนดและจำหน่ายแก่ผู้บริโภคถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน
.....................................................
รู้จัก อะฟลาท็อกซิน สารก่อมะเร็ง ดีพอหรือยัง?
"อะฟลาท็อกซิน" ถูกจัดอันดับเป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งในโลก แถมยังทนความร้อนได้สูงมาก การปรุงอาหารจึงไม่สามารถทำลายได้ สารพิษนี้เกิดจากอะไร และเราจะสามารถหลีกเลี่ยงพ้นได้อย่างไร
อะฟลาทอกซิน สามารถพบได้ในถั่วแห้ง ธัญพืช และเมล็ดพืชน้ำมันต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะพร้าว สมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในภาชนะ หรือสภาพแวดล้อมที่ชื้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง และพืชที่อยู่ในดิน รวมไปถึงพืชที่ถูกนำไปแปรรูปทุกชนิด อาจพบเชื้อราอะฟลาทอกซินปนเปื้อนอยู่ได้เช่นกัน เพราะเชื้อราชนิดนี้ทนต่อทุกกระบวนการในการผลิต เก็บเกี่ยว เก็บรักษา ไปจนถึงการขนส่งได้
.........................................................
ช็อก!อย.ห้ามใช้ไขมันทรานส์ อุตฯอาหาร-เบเกอรี่ปรับสูตรผลิต
วงการอาหาร-เบเกอรี่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ อย.-สาธารณสุข เตรียมออกประกาศ ห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหาร ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด หลังสหรัฐคุมเข้มสั่งห้ามใช้เด็ดขาดหลังมิถุนายน 61 แจงต้องเร่งสกัด หวังปิดทางอาหารมีส่วนผสมไขมันทรานส์สูงจากสหรัฐทะลักเข้าไทย สถาบันโภชนาการ มหิดล ชี้ “โดนัท-พัฟ-เพสทรี-เวเฟอร์-มาร์การีน-เนย” แจ็กพอตยกแผง ผู้ผลิตป่วนถึงขั้นต้องรื้อสูตร
วันที่ 21 ธันวาคม 2560
ข้อมูลเกี่ยวกับไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์ อันตรายใกล้ตัว
https://www.facebook.com/praditc/media_set?set=a.1388761687841802.1073741866.100001239514505&type=3
ประเทศไทย รออะไร เรื่องไขมันทรานส์
https://www.facebook.com/praditc/media_set?set=a.1515894505128519.1073741869.100001239514505&type=3
ไขมันทรานส์กับสมรรถภาพทางเพศ
https://www.facebook.com/praditc/media_set?set=a.1384343098283661.1073741865.100001239514505&type=3
.......................................................
สารประกอบเคมีจาก'น้ำมันพืช' เป็นหนึ่งสาเหตุการเกิดมะเร็ง-โรคหัวใจ
Nov 18, 2015
ศาสตราจารย์มาร์ติน กรูทเวลด์ จากมหาวิทยาลัย เดอ มอนท์ฟอร์ท ในเมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ออกมาเตือนว่าน้ำมันพืชที่คนทั่วไปนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารนั้น เมื่อได้รับความสูง น้ำมันพืชเหล่านี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า อัลดีไฮด์ ในปริมาณสูงมากๆ ซึ่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดนี้ มีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, และโรคสมองเสื่อม

โดยก่อนหน้านี้ เคยมีแพทย์ออกมาสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แทนการใช้เนยและมันหมู

จนกระทั่ง ศาสตราจารย์กรูทเวลด์ นำปลากับมันฝรั่งที่ทอดในน้ำมันพืชมาทดสอบ พบว่ามีสารประกอบอัลดีไฮด์ (toxic aldehyde)สูงกว่าปกติถึง 200 เท่า มากกว่าที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดตัวเลขที่ปลอดภัยไว้เสียอีก เขาจึงอยากให้ศูนย์ดูแลสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรแก้ไขคำแนะนำเรื่องของกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
......................................................................
อะคริลาไมด์ (acrylamide)
อะคริลาไมด์ (acrylamide) เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เมื่อสำนักงานอาหารแห่งประเทศสวีเดน ทำการสุ่มตรวจอาหารกว่า 100 ตัวอย่างมาวิเคราะห์ โดยพบว่าขนมปังกรอบทำจากมันฝรั่ง และมันฝรั่งทอด มีสารอะคริลาไมด์ปนเปื้อนสูงมาก ปริมาณที่พบในขนมปังกรอบทำจากมันฝรั่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในมันฝรั่งทอดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และยังพบอีกว่าปริมาณอะคริลาไมด์ในอาหารชนิดเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต

ความจริงเป็นที่ทราบกันดีมานานแล้วว่าสารอะคริลาไมด์ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ และในปริมาณสูงสารอะคริลาไมด์ยังก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ในระบบประสาทของสัตว์ และมนุษย์ นอกจากรายงานจากประเทศสวีเดนแล้ว ยังมีรายงานต่อมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาโดยพบในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ผ่านความร้อนสูง
…………………………………………………
สําหรับอาหารไทยมีรายงาน  การตรวจพบสารปนเปื้อนอะคริลาไมด์เช่นกันในแกงกระทิ ขนมถุงขบเคี้ยว ขนมไทยพื้นเมือง บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป และกาแฟผงปรุงสําเร็จ ที่มีแป้งและไขมันเป็นองค์ประกอบหลักและใช้วิธีการปรุงด้วยความร้อนสูง
สารอะคริลาไมด์ที่แฝงมากับอาหารไทย
Acrylamide in Thai Foods
จิตติมา เจริญพานิช ว.วิทย. มข. 40(4) 1059-1072 (2555)
…………………………………………………….
คุมน้ำหนัก ลดแป้งหรือไขมัน อย่างไหนดีกว่า
เรื่อง ควบคุมน้ำหนัก มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันเทรนด์การกินอาหารประเภทต่างๆ กำลังมาเเรงในกลุ่มคนรักสุขภาพ และคนก็สงสัยกันมากว่า “ควบคุมแป้งหรือไขมันอย่างไหนดีกว่า เราเลยหาคำตอบมาให้

วันนี้ขอนำผลวิจัยล่าสุดจัยจาก Journal Cell Metabolism เปรียบเทียบอาหาร 2 ประเภท ระหว่างอาหารไขมันต่ำ(Low Fat) กับอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ(Low Carb) อย่างไหนจะตอบโจทย์คนรักสุขภาพมากกว่ากัน ดังนี้
                                                              อาหารไขมันต่ำ                           อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ
การลดน้ำหนัก(ระยะยาว)                                 ไม่ค่อยได้ผล                                        ได้ผลดี
ผลข้างเคียง                                                     มาก                                                  น้อย

19 January 2017
http://goodlifeupdate.com/healthy-body/health-education/18104.html
..............................................................................

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่
เวบไซด์สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปแห่งประเทศไทย
www.thaihospital.org
เฟสบุ๊ค สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป
เวบไซด์แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
www.mat-thailand.org
...


นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ กล่าวรายงานต่อประธาน (นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ความว่า
" เรียน นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผมในนามของคณะกรรมการจัดการสัมมนา ท่านวิทยากร และผู้เข้าร่วมการสัมมนา รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ท่านให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธิเปิดการสัมมนาในวันนี้

การทำงาน มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสุขภาพก็มีผลต่อการทำงานเช่นกัน บุคลากรด้านสาธารณสุขได้ทำงานท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อาจมีพิษ เป็นภัย มีอันตรายต่อสุขภาพของตัวเองอยู่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค สารเคมี รังสี รวมถึงสภาวะที่ไม่น่าอภิรมย์ ที่ตึงเครียด ที่โศกเศร้าและหดหู่ ทั้งหมดล้วนแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และต่อสุขภาพจิตใจของคนทำงาน

หากผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย มีสุขภาพที่ไม่ดีเสียเอง เป็นคนป่วยเสียเอง ย่อมไม่สามารถดูแลผู้อื่นได้ดีอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปฯ และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้ร่วมมือกันจัดการสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น โดยได้เชิญแพทย์ พยาบาล ทั้งที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหาร มากกว่า ๕๐๐ ท่าน และได้เชิญวิทยากรผู้ที่รอบรู้ และมีประสบการณ์มาร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรด้านสาธารณสุขสามารถทำงานในสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย ที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี

ในการนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเรียนเชิญ ท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวเปิดการสัมมนา safe and healthy workplace  เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย ครับ"

ท่านประธานในการสัมมนา (นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ได้กล่าวเปิดการประชุม และได้กล่าวถึงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "เจ้าหน้าที่มีความสุข"

นายแพทย์วันชาติ ศุภจัตุรัส (กรรมการแพทยสมาคมฯ) ได้มอบของที่ระลึกแก่ท่านประธานในการสัมมนา (นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข)



การสัมมนาหัวข้อ Safe and Healthy Eating
เรียงลำดับจากรูปด้านซ้ายไปด้านขวา นพ.ดนัย ธีวันดา (รองอธิบดีกรมอนามัย)...นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน (รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)...นพ.ประดิษฐ์  ไชยบุตร (ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ) และผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)



การสัมมนาหัวข้อนี้เต็มอิ่มด้วย ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสารที่เป็นพิษเป็นอันตรายต่อร่างกาย... ภาวะน้ำหนักเกินและหลักการกินที่ช่วยลดน้ำหนัก...นิสัยการกินที่ช่วยให้สุขภาพดี...การลดมื้ออาหาร...junk food...fast food...street food...อาหารพื้นบ้าน...Healh literacy เรื่องการกินอาหาร...Health model ในการกินอาหาร...ความร่วมมือของฝ่ายต่างๆในการทำให้ประชาชนมีความรอบรู้เรื่องการกินอาหาร

หลังจากนั้นนายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร



การสัมมนาหัวข้อ  Safe and Healthy Work Environment
เรียงลำดับจากรูปด้านซ้ายไปด้านขวา นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส (กรรมการแพทยสมาคมฯ)...นายโกวิทย์ บุญมีพงศ์ (ผอก.ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม)...นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี)... นพ.เดชาศักดิ์ สุขนวล (กรรมการสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ)



เซสชั่นนี้ได้ความรู้ ข้อคิด และแนวทางปฏิบัติจากนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารโรงพยาบาลอย่างครบเครื่อง

หลังจากนั้น นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เลขาธิการแพทยสภา ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และได้มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร


หลังจากพักเที่ยง กลับมาช่วงบ่าย เป้นการสัมมนาหัวข้อ Healthy Mind and Healthy Relationships
เรียงลำดับจากรูปด้านซ้ายไปด้านขวา น.ส มัลลิกา ลุนจักร์ (ประธานสหภาพพยาบาลฯ)...นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าตอง จ.ภูเก็ต)... นพ.ปราโมทย์ ศรีสำอางค์ (กรรมการสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ)...และ  ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์( นายกแพทยสมาคมฯ)

เซสชั่นนี้เข้มข้น ลึกซึ้ง กินใจ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมุ่งมั่น และปลุกขวัญกำลังใจได้เป็นอย่างดี ยอดเยี่ยมจริงๆ                                             
                                             


ตบท้ายด้วย หลากหลายความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนา และสัญญาใจร่วมกัน ที่จะมุ่งมั่นสร้างความปลอดภัยและความสุขให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในทุกระดับในทุกวิชาชีพ

การสัมมนามีเริ่ม ก็มีการเลิกลา แต่ไฟที่ถูกจุดในใจของพวกเรา จะไม่เป็นไฟไหม้ฟางอย่างแน่นอน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2018, 09:44:07 โดย story »