ผู้เขียน หัวข้อ: “ยาฉีด” หายเร็วกว่า “ยากิน” จริงหรือ?  (อ่าน 598 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
หลายคนที่ไม่สบาย แล้วอยากให้ไข้ลดลงเร็วๆ อาจมีการกราบกรานอ้อนวอน ขอให้หมอช่วยฉีดยาให้ ด้วยคิดว่ายาฉีดออกฤทธิ์แรงกว่า เร็วกว่า แล้วหลังจากนั้นก็จะขอยาฉีดอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าราคาจะสูงกว่ายากินก็ตาม แต่ก็คิดเสียเองว่า เป็นไข้เมื่อไร ยาฉีดเท่านั้นถึงจะเอาอยู่ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ยาฉีดกับยากินต่างกันอย่างไร ออกฤทธิ์ไม่เท่ากันจริงหรือไม่ และหากใช้ยาฉีดบ่อยๆ จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ

 

ยาฉีด VS ยากิน

จริงๆ แล้ว ยาฉีด กับยากิน หากมีระดับยาที่เท่ากัน จะออกฤทธิ์ได้เท่ากัน ต่างกันเพียงระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ซึ่งโดยหลักการใช้ยาแล้ว แพทย์จะคำนึงถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการเลือกชนิดยาให้กับผู้ป่วย มากกว่ามุ่งเป้าไปที่การออกฤทธิ์เร็วแต่เพียงอย่างเดียว การใช้ยากิน จึงค่อนข้างปลอดภัยกว่า

 

อันตรายจากยาฉีด

แม้ยาฉีดจะออกฤทธิ์เร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะเมื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือด ยาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที หากพบว่าผู้ป่วยแพ้ยา หรือได้รับยาผิด ก็จะมีอาการผิดปกติอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่ายากินมากเช่นกัน

นอกจากนี้ ยาฉีดยังมีราคาสูงกว่ายากิน นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องของยาโดยใช่เหตุแล้ว เราควรเตือนตัวเองว่า ยาฉีดอันตรายมากกว่ายากิน



ผู้ป่วยขอยาฉีดกับหมอเองได้หรือไม่?

การขอยาฉีดนั้น ควรพิจารณาโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย และคุ้มค่า

 

ดังนั้นครั้งหน้า อย่าคิดไปเองว่าต้องเป็นยาฉีดเท่านั้นถึงจะรักษาหาย ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณายาที่เหมาะสมในการรักษาให้เราเองจะดีกว่าค่ะ

 
23 มี.ค. 61  ข้อมูล :องค์การเภสัชกรรม