ผู้เขียน หัวข้อ: มฤตยูเงียบ! “มะเร็งโพรงจมูก” พบผู้ป่วยใหม่ 90-100 คนต่อปี  (อ่าน 607 ครั้ง)

patchanok3166

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
    • ดูรายละเอียด
     จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับท็อปเท็นหนึ่งในสิบของโรคร้ายภัยเงียบ ซึ่งมะเร็งโพรงจมูกจากผลการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลศิริราชสามารถพบได้ถึง 90-100 คนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยอาการของระยะที่มะเร็งลุกลามในระยะท้ายๆ ส่งผลให้ยากแก่การรักษา วันนี้เราจึงหยิบนำวิธีสังเกตขั้นตอนของโรคและวิธีป้องกันดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อสุขภาพของเราที่ดีและห่างไกลโรคร้ายมาให้ระแวดระวังกัน
  โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกนี้เกิดจากสาเหตุอะไร ทว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้ายภัยเงียบให้แฝงตัวอยู่ในร่างกายเรานั้นมาจาก ได้แก่

1.พันธุกรรม จากการที่พบว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในบางเขตภูมิศาสตร์ เช่นในประเทศจีนตอนใต้ และส่วนอื่นๆที่ชาวจีนอพยพไป ทำให้มีการศึกษาว่าพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งชนิดนี้

2.ไวรัส เป็นที่ยอมรับกันว่าไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) มีส่วนสำคัญต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี

3.อาหาร โดยพบว่าในมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าประชาชนประเทศจีนในแถบส่วนอื่นของภูมิภาค

4.สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่างๆ ตลอดจนบุหรี่

    ซึ่งอาการเบื้องต้นผู้ป่วย มักไม่ค่อยปรากฏอาการในระยะแรกๆ แต่อาจมีหูอื้อข้างเดียว มีเสียงดังในหู ปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกกระจายตัวมาถึง เกิดอาการทางจมูก เช่น มีน้ำมูกปนเลือดบ่อยครั้ง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายรายอาจได้รับการรักษาแบบโพรงจมูกหรือโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน เกิดอาการทางระบบประสาท ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า ในรายที่ลุกลามมาก ผู้ป่วยก็อาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก นอกจากนี้ยังมีอาการที่ก้านคอซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกเมื่อโรคมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง โดยจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณลำคอสามารถคลำจับได้อาจจะเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้

    การป้องกันมะเร็งโพรงจมูก  วิธีป้องกันเบื้องต้นคือควรพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับฝุ่นละลองควันจากสารเคมี แต่ถาหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เครื่องป้องกันหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสูดดม นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกายและควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหมักเค็มอันเป็นปัจจัยเสี่ยงส่วนหนึ่งร่วมด้วย ที่สำคัญควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเฉพาะทางเป็นประจำทุกปี

17 มี.ค. 2561 โดย: MGR Online